วันนี้ --วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2550 - เป็นวันที่ตื่นตาตื่นใจอีกวันหนึ่งสำหรับคนไทย
เพราะจะมีพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามในตอนเย็น โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเต็มรูปแบบจากท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวราราม ใครสนใจใคร่ชมถ้าไม่สามารถจับจองที่นั่งที่ยืนริมสองฝั่งเจ้าพระยาระหว่างสะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) ไปถึงเลย ๆ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ก็ต้องรีบกลับบ้านเปิดดูการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์กันสถานเดียวแหละครับ
ผมเองคงจะขอเจียดที่ยืนบริเวณบ้านเจ้าพระยา ที่ทำการ ASTV ทัศนาเป็นขวัญตาเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปี
ชมที่ไรก็ขนลุกชันทีนั้น !
จำได้นะครับว่าเราได้ชมไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
หลายท่านคงได้รับความประทับใจจากการชมกระบวนเรือพระราชพิธี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 กันถ้วนหน้าแล้ว บางท่านได้มีโอกาสชมด้วยตาตนเอง บางท่านก็ชมผ่านโทรทัศน์ ภาพเหล่านี้สำนักข่าวต่างประ เทศได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลกด้วยความชื่นชมในวัฒนธรรมที่งดงามอลังการของประเทศไทย
กระบวนเรือพระราชพิธีในวันนั้น และวันนี้ มีเท่ากัน คือรวมทั้งสิ้น 52 ลำ
แบ่งเป็น 3 ระดับกว้าง ๆ
- เรือพระที่นั่ง 4 ลำ (สุพรรณหงส์, อนันตนาคราช, อเนกชาติภุชงค์นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 )
- เรือรูปสัตว์ 12 ลำ (6 คู่)
-และเรืออื่น ๆ คือ เรือดั้ง เรือแซง เรือตำรวจ เป็นต้น
ขออธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
1. การจัดรูปกระบวนเรือ และการกำหนดชั้นของเรือราชพิธี หรือการเห่ และท่าพาย ล้วนเป็นแบบแผนสืบต่อกันมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เคยกำหนดเอาไว้แบบไหน ก็จำลอง ปรับมาใช้ โดยยึดเกณฑ์ดั้งเดิม
2. ขอเสริมเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมว่า เอกสารโบราณที่เขายึดเป็นหลักในการจัดรูปกระบวนนั้น ได้มาจากหนังสือสมุดไทยตกทอดมาแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 350 ปีมาแล้ว สมุดข่อยได้วาดรูปกระบวนเรือเอาไว้ เขียนชื่อกำกับ เป็นภาพเรือ 5 กระบวน จำนวนถึง 113 ลำ ซึ่งใหญ่กว่ากระบวนเรือในเห็นในปัจจุบันถึง 1 เท่าตัว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นแล้วละครับกระบวนเรือ 113 ลำน่ะ
3. ลองนึกภาพว่า กระบวนเรือ 52 ลำ ที่เราจะเห็นอีกครั้งในวันนี้ มีความยาวประมาณ 1,200 เมตร กำลังพล 2,100 นาย
หากว่าเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะยาวถึงกว่า 2 กิโล เมตร และต้องใช้กำลังพลร่วม 5, 000 นาย ทีเดียว
นี่เป็นความงดงามอลังการของวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมา
4. จุดที่อยากจะให้ท่านผู้อ่านได้สังเกตก็คือ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่เป็นโขนเรือ (หรือหัวเรือ) รูปต่าง ๆ นั้น มีความหมายที่อธิบายได้หลายมิติ เมื่อปีที่แล้วหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับทำซับพลีเมนท์เป็นแผนภูมิจำลองให้เราดูประกอบ ถ้าท่านยังเก็บเอาไว้ก็โปรดนำมากางดูอีกครั้ง
หลายมิติที่อธิบายได้จากโขนเรือก็คือ
หนึ่ง - เป็นเครื่องแบ่งระดับชั้น ตั้งแต่กระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางชั้นสูง ขุนพลทหาร เรื่อยลงมาถึงเรือของทหารทั่วไป
สอง -แสดงที่มาถึงรากวัฒนธรรมของระบบความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือเทวราชา ดังนั้น รูปและตราที่มาจาก "สัตว์หิมพานต์" และในตำนานตะวันออกทั้งหลาย เช่น ครุฑ ยักษ์ ลิง ปักษี ปลา นาค ฯลฯ ก็จะใช้ในกิจกรรมส่วนพระองค์
ตราของสัตว์หิมพานต์ที่เอามาใช้เป็นโขนเรือรูปสัตว์ แท้จริงแล้วก็คือ สัญลักษณ์แสดงถึงพระบารมีขององค์เทวราชา
แล้วมอบให้ ขุนนางทั้งหลาย ในแต่ละลำดับไปใช้
พาลีรั้งทวีป, สุครีพครองเมือง--คือลิงในรามเกียรติ
อสูรวายุภักษ์, อสูรปักษี --คือรูปยักษ์ผสมกับนก
กระบี่ปราบเมืองมาร, กระบี่ราญรอนราพณ์ -- คือรูปลิงที่มีฤทธิ์ปราบยักษ์
ครุฑเหินเห็จ, ครุฑเตร็จไตรจักร - - ครุฑ คือราชพาหนะทรงของพระนารายณ์ เป็นตราแผ่นดิน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีเรือรูปสัตว์มากกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เช่น
ราชสีห์น้อย -มี พระยามหาอำมาตย์ ประจำเรือ
คชสีห์น้อย -มี พระยาสุรเสนา ประจำเรือ
ราชสีห์ใหญ่ -มี สมุหนายก ประจำเรือ
คชสีห์ใหญ่ -มี สมุหพระกลาโหม ประจำเรือ
ส่วนเรือรูปสัตว์อื่น ๆ เช่น นกอินทรี นกหัสดิน นกเทศ นกหงอนตั้ง รูปสิงโต รูปกิเลน รูปมกร รูปนาค ฯลฯ ก็ให้ อาสา 6 เหล่า ประจำเรือ เป็นต้น
5. เครื่องหมายที่เป็นดวงตรา หรือ รูปสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของพระ มหากษัตริย์ ในสมัยก่อนขุนนางที่เป็นคนธรรมดาไม่สามารถจะเอามาใช้ในกิจการส่วนตัวได้ ถ้าบังเอิญมีคนอุตริเอามาใช้ ก็จะถูกข้อหากบฏ - ทำตัวเทียมเจ้านาย
..................
วันนี้ จะมีการปิดจราจรบริเวณสะพานพระราม 8 และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ช่วงที่เรือพระที่นั่งผ่านเท่านั้น คาดว่า จะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 15.40 -16.00 น. และห้ามประชาชนขึ้นบนสะพานทั้ง 2 แห่งตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ตั้งแต่กระบวนเรือออกจากท่าวาสุกรี จนกว่ากระบวนเรือจะผ่านพ้น
ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว จนถึงเวลา 16.00 น.
ส่วนประชาชนที่จะเข้าร่วมชมความงดงามของกระบวนเรือ สามารถรับชมการถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์ หรือรับชมได้ตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ขอให้เดินทางมาชมโดยรถสาธารณะ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบ มีที่จอดรถจำนวนจำกัด
ตั้งแต่เวลา 11.30 -21.00 น. จะปิดการจราจรทางน้ำ ตั้งแต่สะพานกรุงธนบุรี ถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเป็นเขตควบคุมการเดินเรือด้วย
ขอให้มีความสุขในการชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคโดยทั่วกัน
เพราะจะมีพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามในตอนเย็น โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเต็มรูปแบบจากท่าวาสุกรีไปยังวัดอรุณราชวราราม ใครสนใจใคร่ชมถ้าไม่สามารถจับจองที่นั่งที่ยืนริมสองฝั่งเจ้าพระยาระหว่างสะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) ไปถึงเลย ๆ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ก็ต้องรีบกลับบ้านเปิดดูการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์กันสถานเดียวแหละครับ
ผมเองคงจะขอเจียดที่ยืนบริเวณบ้านเจ้าพระยา ที่ทำการ ASTV ทัศนาเป็นขวัญตาเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปี
ชมที่ไรก็ขนลุกชันทีนั้น !
จำได้นะครับว่าเราได้ชมไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
หลายท่านคงได้รับความประทับใจจากการชมกระบวนเรือพระราชพิธี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549 กันถ้วนหน้าแล้ว บางท่านได้มีโอกาสชมด้วยตาตนเอง บางท่านก็ชมผ่านโทรทัศน์ ภาพเหล่านี้สำนักข่าวต่างประ เทศได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลกด้วยความชื่นชมในวัฒนธรรมที่งดงามอลังการของประเทศไทย
กระบวนเรือพระราชพิธีในวันนั้น และวันนี้ มีเท่ากัน คือรวมทั้งสิ้น 52 ลำ
แบ่งเป็น 3 ระดับกว้าง ๆ
- เรือพระที่นั่ง 4 ลำ (สุพรรณหงส์, อนันตนาคราช, อเนกชาติภุชงค์นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 )
- เรือรูปสัตว์ 12 ลำ (6 คู่)
-และเรืออื่น ๆ คือ เรือดั้ง เรือแซง เรือตำรวจ เป็นต้น
ขออธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
1. การจัดรูปกระบวนเรือ และการกำหนดชั้นของเรือราชพิธี หรือการเห่ และท่าพาย ล้วนเป็นแบบแผนสืบต่อกันมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เคยกำหนดเอาไว้แบบไหน ก็จำลอง ปรับมาใช้ โดยยึดเกณฑ์ดั้งเดิม
2. ขอเสริมเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมว่า เอกสารโบราณที่เขายึดเป็นหลักในการจัดรูปกระบวนนั้น ได้มาจากหนังสือสมุดไทยตกทอดมาแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 350 ปีมาแล้ว สมุดข่อยได้วาดรูปกระบวนเรือเอาไว้ เขียนชื่อกำกับ เป็นภาพเรือ 5 กระบวน จำนวนถึง 113 ลำ ซึ่งใหญ่กว่ากระบวนเรือในเห็นในปัจจุบันถึง 1 เท่าตัว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นแล้วละครับกระบวนเรือ 113 ลำน่ะ
3. ลองนึกภาพว่า กระบวนเรือ 52 ลำ ที่เราจะเห็นอีกครั้งในวันนี้ มีความยาวประมาณ 1,200 เมตร กำลังพล 2,100 นาย
หากว่าเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จะยาวถึงกว่า 2 กิโล เมตร และต้องใช้กำลังพลร่วม 5, 000 นาย ทีเดียว
นี่เป็นความงดงามอลังการของวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมา
4. จุดที่อยากจะให้ท่านผู้อ่านได้สังเกตก็คือ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่เป็นโขนเรือ (หรือหัวเรือ) รูปต่าง ๆ นั้น มีความหมายที่อธิบายได้หลายมิติ เมื่อปีที่แล้วหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับทำซับพลีเมนท์เป็นแผนภูมิจำลองให้เราดูประกอบ ถ้าท่านยังเก็บเอาไว้ก็โปรดนำมากางดูอีกครั้ง
หลายมิติที่อธิบายได้จากโขนเรือก็คือ
หนึ่ง - เป็นเครื่องแบ่งระดับชั้น ตั้งแต่กระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนางชั้นสูง ขุนพลทหาร เรื่อยลงมาถึงเรือของทหารทั่วไป
สอง -แสดงที่มาถึงรากวัฒนธรรมของระบบความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์คือเทวราชา ดังนั้น รูปและตราที่มาจาก "สัตว์หิมพานต์" และในตำนานตะวันออกทั้งหลาย เช่น ครุฑ ยักษ์ ลิง ปักษี ปลา นาค ฯลฯ ก็จะใช้ในกิจกรรมส่วนพระองค์
ตราของสัตว์หิมพานต์ที่เอามาใช้เป็นโขนเรือรูปสัตว์ แท้จริงแล้วก็คือ สัญลักษณ์แสดงถึงพระบารมีขององค์เทวราชา
แล้วมอบให้ ขุนนางทั้งหลาย ในแต่ละลำดับไปใช้
พาลีรั้งทวีป, สุครีพครองเมือง--คือลิงในรามเกียรติ
อสูรวายุภักษ์, อสูรปักษี --คือรูปยักษ์ผสมกับนก
กระบี่ปราบเมืองมาร, กระบี่ราญรอนราพณ์ -- คือรูปลิงที่มีฤทธิ์ปราบยักษ์
ครุฑเหินเห็จ, ครุฑเตร็จไตรจักร - - ครุฑ คือราชพาหนะทรงของพระนารายณ์ เป็นตราแผ่นดิน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีเรือรูปสัตว์มากกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เช่น
ราชสีห์น้อย -มี พระยามหาอำมาตย์ ประจำเรือ
คชสีห์น้อย -มี พระยาสุรเสนา ประจำเรือ
ราชสีห์ใหญ่ -มี สมุหนายก ประจำเรือ
คชสีห์ใหญ่ -มี สมุหพระกลาโหม ประจำเรือ
ส่วนเรือรูปสัตว์อื่น ๆ เช่น นกอินทรี นกหัสดิน นกเทศ นกหงอนตั้ง รูปสิงโต รูปกิเลน รูปมกร รูปนาค ฯลฯ ก็ให้ อาสา 6 เหล่า ประจำเรือ เป็นต้น
5. เครื่องหมายที่เป็นดวงตรา หรือ รูปสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของพระ มหากษัตริย์ ในสมัยก่อนขุนนางที่เป็นคนธรรมดาไม่สามารถจะเอามาใช้ในกิจการส่วนตัวได้ ถ้าบังเอิญมีคนอุตริเอามาใช้ ก็จะถูกข้อหากบฏ - ทำตัวเทียมเจ้านาย
..................
วันนี้ จะมีการปิดจราจรบริเวณสะพานพระราม 8 และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ช่วงที่เรือพระที่นั่งผ่านเท่านั้น คาดว่า จะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 15.40 -16.00 น. และห้ามประชาชนขึ้นบนสะพานทั้ง 2 แห่งตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ตั้งแต่กระบวนเรือออกจากท่าวาสุกรี จนกว่ากระบวนเรือจะผ่านพ้น
ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว จนถึงเวลา 16.00 น.
ส่วนประชาชนที่จะเข้าร่วมชมความงดงามของกระบวนเรือ สามารถรับชมการถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์ หรือรับชมได้ตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ขอให้เดินทางมาชมโดยรถสาธารณะ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบ มีที่จอดรถจำนวนจำกัด
ตั้งแต่เวลา 11.30 -21.00 น. จะปิดการจราจรทางน้ำ ตั้งแต่สะพานกรุงธนบุรี ถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเป็นเขตควบคุมการเดินเรือด้วย
ขอให้มีความสุขในการชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคโดยทั่วกัน