“พาณิชย์”อ้อนผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าถึงสิ้นปี หลังปีใหม่ค่อยมาว่ากัน แต่ไม่ปิดกั้นหากรายการใดต้นทุนเพิ่มจนรับไม่ได้ พร้อมพิจารณาให้ เผยน้ำมันปาล์มขอขึ้นขวดละ 5 บาท มาม่าขอขึ้น 1 บาท เร็วสุด 1 ธ.ค.นี้ ช้าสุด 1 ม.ค.ปีหน้า สั่งคุมหมูหน้าเขียงห้ามขายเกินกิโลละ 90 บาท หลังไฟเขียวปรับราคาหน้าฟาร์มขึ้นอีก 3 บาท
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับผู้ประกอบการสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และของใช้ประจำวัน วานนี้ (26 ต.ค.) ว่า กรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอกการที่ยังสามารถแบกรับภาระต้นทุนได้ ขอให้ตรึงราคาสินค้าไปจนถึงสิ้นปีนี้ ส่วนการปรับราคาขึ้นขอให้เป็นหลังปีใหม่ไปแล้ว แต่ในระหว่างนี้ หากรายการใดมีความจำเป็นต้องปรับราคา ก็จะพิจารณาให้ โดยยึดหลักที่ว่าจะต้องไม่กระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กระทบกับผู้บริโภค และกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งหมายความว่า การปรับราคาจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ปรับขึ้นทีเดียว
ทั้งนี้ ในระหว่างการหารือได้มีการวิเคราะห์สินค้าแต่ละรายการว่ามีต้นทุนเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่าต้นทุนส่วนใหญ่ของสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม จะเป็นต้นทุนจากวัตถุดิบเกือบทั้งหมด ซึ่งบางรายการต้องนำเข้า และไม่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งได้หารือถึงแนวโน้มรายการวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่าบางรายการจะยังคงมีราคาแพงไปจนถึงปีหน้า
“เท่าที่คุยกับผู้ประกอบการ ปัญหาต้นทุนหลักๆ อยู่ที่วัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ และควบคุมไม่ได้ เช่น นมผง ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และแป้งสาลี ซึ่งเมื่อต้นทางขึ้น ปลายทางก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งสินค้าที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นนี้ กรมฯ ไม่ขัดข้องที่จะให้ปรับราคา แต่การปรับขึ้นราคาต้องมีการชี้แจงต้นทุนให้ครบถ้วน โดยเฉพาะรายการสินค้าที่อยู่ระหว่างการยื่นของปรับราคากับกรมฯ 13 รายการ ขอให้มีการยื่นแสดงต้นทุนที่ชัดเจนอีกครั้ง”นายยรรยง กล่าว
ทั้งนี้ สินค้าที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก และผู้ประกอบการได้ชี้แจงว่าประสบภาวะขาดทุนมา 2 เดือนแล้ว คือ น้ำมันปาล์ม ที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบผลปาล์มดิบที่เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 5 บาท จาก 2 บาท น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 29 บาท จาก 17-18 บาท ขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้ประกอบการบอกว่าจะเริ่มไม่มีกำไรตั้งแต่เดือนพ.ย.นี้เป็นต้นไป เพราะแป้งสาลีซึ่งเป็นต้นทุนหลักมีการปรับราคาขึ้นมาก ส่วนสินค้าของใช้ประจำวัน ผู้ประกอบการแจ้งว่ายังมีกำไร
นาวาโทหญิงวรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า สมาคมฯ จะขอปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น 4 บาท/ลิตร เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนวัตถุดิบ หรือน้ำมันปาล์มดิบราคาสูงขึ้นมากหรือมาอยู่ก.ก.ละ 30 บาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ก.ก. 17-18 บาท ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว จึงต้องขอปรับขึ้นราคา โดยที่ผ่านมา ได้มีการปรับราคาจนชนเพดานที่ขวดละ 38 บาทไปแล้ว แต่ราคาวัตถุดิบก็ยังไม่หยุดเพิ่มขึ้น
นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ประธานบริหาร บริษัท ไทย เพรซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะยื่นหนังสือพร้อมหลักฐานโครงสร้างต้นทุนย้อนหลัง 2 ปี ต่อกรมการค้าภายในเพื่อขอปรับขึ้นราคาสินค้ามาม่าซองและมาม่าบรรจุถ้วยในราคาอย่างละ 1 บาท สาเหตุของการปรับราคาเป็นจากต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะข้าวสาลีปรับเพิ่มขึ้น 100% ตั้งแต่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้บริษัทไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับขึ้นได้ หากไม่สามารถปรับขึ้นราคาบริษัทจะขาดทุนจากการจำหน่ายในเดือนพ.ย-ธ.ค.นี้ โดยราคาสินค้าที่ปรับขึ้นเร็วสุดจะเป็นวันที่ 1 ธ.ค.2550 ช้าสุด 1 ม.ค.2551
นายยรรยง กล่าวอีกว่า วันเดียวกันนี้ ได้หารือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ค้าสุกรชำแหละไทย และตัวแทนผู้เลี้ยงสุกรที่เกี่ยวข้อง โดยกรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ขายหมูเนื้อแดงหน้าเขียงห้ามขายเกินก.ก.ละ 90 บาท เนื้อสะโพก ห้ามขายเกินก.ก.ละ 85 บาท แม้ว่าจะอนุมัติให้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติปรับขึ้นราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นอีกก.ก.ละ 3 บาท ก็ตาม เนื่องจากเห็นว่าผู้เลี้ยงหมู ซึ่งเป็นต้นทางได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้นจริง แต่ราคาขายเนื้อหมูปลายทางขณะนี้ ยังพอมีกำไร ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้ปรับราคาตามราคาหมูต้นทาง เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน
“จากการหารือ กรมฯยอมให้ผู้เลี้ยงสุกรขึ้นราคาได้ไม่เกิน 3 บาท หรือจากก.ก.ละ 41 บาท ขึ้นเป็น 44 บาท เนื่องจากเห็นว่าผู้เลี้ยงขาดทุนจากราคาอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก แต่ปลายทางหรือราคาหมูหน้าเขียง จะเข้าไปดูแล เพราะไม่ต้องการให้กระทบกับประชาชน ซึ่งหากไม่เชื่อก็พร้อมที่จะกำหนดราคาขายสูงสุด เพราะหมูอยู่ในบัญชีควบคุม สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายได้ แต่จะทำเมื่อจำเป็นจริงๆ หรือหากพบว่าพื้นที่ไหนมีปัญหาด้านราคาแพง ก็พร้อมจะนำหมูราคาถูกในโครงการธงฟ้ามาจำหน่ายให้ประชาชนในราคา 2 ก.ก. 100 บาท”นายยรรยง กล่าว
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า แม้กระทรวงพาณิชย์จะอนุมัติให้หมูเป็นหน้าฟาร์มปรับขึ้นราคา 3 บาท/ก.ก. แต่ผู้เลี้ยงหมูยังขาดทุน เพราะต้นทุนการเลี้ยงขณะนี้อยู่ที่ 44.91 บาท/ก.ก. เนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นสูงมากทุกรายการขึ้นกว่า 30% เช่น ข้าวโพด ขึ้นจาก 6 บาท เป็น 8.70 บาท ถั่ว 12-13 บาท เป็น 18 บาท มันป่น 4 บาท เป็น 6.50 บาท จนทำให้ขณะนี้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยล้มหายไป 30% หรือจาก 1.4 แสนราย เหลือ 1.1 แสนราย ทำให้ปริมาณหมูลดลงเหลือ 13-14 ล้านตัว จากปีก่อนที่มีจำนวน 15 ล้านตัว
“ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี และก็ขึ้นมาเรื่อยๆไม่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งการปรับขึ้นครั้งนี้ ทางผู้เลี้ยงยังขาดทุนอยู่ดี ส่วนจะมีการขอปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มรอบใหม่หรือไม่นั้น ต้องรอดูราคาวัตถุดิบก่อน และคงหารือกับกรมฯ เพราะผู้เลี้ยงก็ต้องทำเพื่อความอยู่รอด แต่ขณะนี้ยังพูดอะไรมากไม่ได้การ เพราะการปรับราคาหมูอาจทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าโปรตีนทดแทนได้เช่นกัน”
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับผู้ประกอบการสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และของใช้ประจำวัน วานนี้ (26 ต.ค.) ว่า กรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอกการที่ยังสามารถแบกรับภาระต้นทุนได้ ขอให้ตรึงราคาสินค้าไปจนถึงสิ้นปีนี้ ส่วนการปรับราคาขึ้นขอให้เป็นหลังปีใหม่ไปแล้ว แต่ในระหว่างนี้ หากรายการใดมีความจำเป็นต้องปรับราคา ก็จะพิจารณาให้ โดยยึดหลักที่ว่าจะต้องไม่กระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กระทบกับผู้บริโภค และกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งหมายความว่า การปรับราคาจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ปรับขึ้นทีเดียว
ทั้งนี้ ในระหว่างการหารือได้มีการวิเคราะห์สินค้าแต่ละรายการว่ามีต้นทุนเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่าต้นทุนส่วนใหญ่ของสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม จะเป็นต้นทุนจากวัตถุดิบเกือบทั้งหมด ซึ่งบางรายการต้องนำเข้า และไม่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งได้หารือถึงแนวโน้มรายการวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่าบางรายการจะยังคงมีราคาแพงไปจนถึงปีหน้า
“เท่าที่คุยกับผู้ประกอบการ ปัญหาต้นทุนหลักๆ อยู่ที่วัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ และควบคุมไม่ได้ เช่น นมผง ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และแป้งสาลี ซึ่งเมื่อต้นทางขึ้น ปลายทางก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งสินค้าที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นนี้ กรมฯ ไม่ขัดข้องที่จะให้ปรับราคา แต่การปรับขึ้นราคาต้องมีการชี้แจงต้นทุนให้ครบถ้วน โดยเฉพาะรายการสินค้าที่อยู่ระหว่างการยื่นของปรับราคากับกรมฯ 13 รายการ ขอให้มีการยื่นแสดงต้นทุนที่ชัดเจนอีกครั้ง”นายยรรยง กล่าว
ทั้งนี้ สินค้าที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก และผู้ประกอบการได้ชี้แจงว่าประสบภาวะขาดทุนมา 2 เดือนแล้ว คือ น้ำมันปาล์ม ที่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบผลปาล์มดิบที่เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 5 บาท จาก 2 บาท น้ำมันปาล์มดิบเพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 29 บาท จาก 17-18 บาท ขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้ประกอบการบอกว่าจะเริ่มไม่มีกำไรตั้งแต่เดือนพ.ย.นี้เป็นต้นไป เพราะแป้งสาลีซึ่งเป็นต้นทุนหลักมีการปรับราคาขึ้นมาก ส่วนสินค้าของใช้ประจำวัน ผู้ประกอบการแจ้งว่ายังมีกำไร
นาวาโทหญิงวรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า สมาคมฯ จะขอปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น 4 บาท/ลิตร เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนวัตถุดิบ หรือน้ำมันปาล์มดิบราคาสูงขึ้นมากหรือมาอยู่ก.ก.ละ 30 บาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ก.ก. 17-18 บาท ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว จึงต้องขอปรับขึ้นราคา โดยที่ผ่านมา ได้มีการปรับราคาจนชนเพดานที่ขวดละ 38 บาทไปแล้ว แต่ราคาวัตถุดิบก็ยังไม่หยุดเพิ่มขึ้น
นายพันธ์ พะเนียงเวทย์ ประธานบริหาร บริษัท ไทย เพรซิเดนท์ ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะยื่นหนังสือพร้อมหลักฐานโครงสร้างต้นทุนย้อนหลัง 2 ปี ต่อกรมการค้าภายในเพื่อขอปรับขึ้นราคาสินค้ามาม่าซองและมาม่าบรรจุถ้วยในราคาอย่างละ 1 บาท สาเหตุของการปรับราคาเป็นจากต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะข้าวสาลีปรับเพิ่มขึ้น 100% ตั้งแต่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้บริษัทไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับขึ้นได้ หากไม่สามารถปรับขึ้นราคาบริษัทจะขาดทุนจากการจำหน่ายในเดือนพ.ย-ธ.ค.นี้ โดยราคาสินค้าที่ปรับขึ้นเร็วสุดจะเป็นวันที่ 1 ธ.ค.2550 ช้าสุด 1 ม.ค.2551
นายยรรยง กล่าวอีกว่า วันเดียวกันนี้ ได้หารือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ค้าสุกรชำแหละไทย และตัวแทนผู้เลี้ยงสุกรที่เกี่ยวข้อง โดยกรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ขายหมูเนื้อแดงหน้าเขียงห้ามขายเกินก.ก.ละ 90 บาท เนื้อสะโพก ห้ามขายเกินก.ก.ละ 85 บาท แม้ว่าจะอนุมัติให้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติปรับขึ้นราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นอีกก.ก.ละ 3 บาท ก็ตาม เนื่องจากเห็นว่าผู้เลี้ยงหมู ซึ่งเป็นต้นทางได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้นจริง แต่ราคาขายเนื้อหมูปลายทางขณะนี้ ยังพอมีกำไร ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้ปรับราคาตามราคาหมูต้นทาง เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน
“จากการหารือ กรมฯยอมให้ผู้เลี้ยงสุกรขึ้นราคาได้ไม่เกิน 3 บาท หรือจากก.ก.ละ 41 บาท ขึ้นเป็น 44 บาท เนื่องจากเห็นว่าผู้เลี้ยงขาดทุนจากราคาอาหารสัตว์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก แต่ปลายทางหรือราคาหมูหน้าเขียง จะเข้าไปดูแล เพราะไม่ต้องการให้กระทบกับประชาชน ซึ่งหากไม่เชื่อก็พร้อมที่จะกำหนดราคาขายสูงสุด เพราะหมูอยู่ในบัญชีควบคุม สามารถใช้มาตรการทางกฎหมายได้ แต่จะทำเมื่อจำเป็นจริงๆ หรือหากพบว่าพื้นที่ไหนมีปัญหาด้านราคาแพง ก็พร้อมจะนำหมูราคาถูกในโครงการธงฟ้ามาจำหน่ายให้ประชาชนในราคา 2 ก.ก. 100 บาท”นายยรรยง กล่าว
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า แม้กระทรวงพาณิชย์จะอนุมัติให้หมูเป็นหน้าฟาร์มปรับขึ้นราคา 3 บาท/ก.ก. แต่ผู้เลี้ยงหมูยังขาดทุน เพราะต้นทุนการเลี้ยงขณะนี้อยู่ที่ 44.91 บาท/ก.ก. เนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นสูงมากทุกรายการขึ้นกว่า 30% เช่น ข้าวโพด ขึ้นจาก 6 บาท เป็น 8.70 บาท ถั่ว 12-13 บาท เป็น 18 บาท มันป่น 4 บาท เป็น 6.50 บาท จนทำให้ขณะนี้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยล้มหายไป 30% หรือจาก 1.4 แสนราย เหลือ 1.1 แสนราย ทำให้ปริมาณหมูลดลงเหลือ 13-14 ล้านตัว จากปีก่อนที่มีจำนวน 15 ล้านตัว
“ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี และก็ขึ้นมาเรื่อยๆไม่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งการปรับขึ้นครั้งนี้ ทางผู้เลี้ยงยังขาดทุนอยู่ดี ส่วนจะมีการขอปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มรอบใหม่หรือไม่นั้น ต้องรอดูราคาวัตถุดิบก่อน และคงหารือกับกรมฯ เพราะผู้เลี้ยงก็ต้องทำเพื่อความอยู่รอด แต่ขณะนี้ยังพูดอะไรมากไม่ได้การ เพราะการปรับราคาหมูอาจทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าโปรตีนทดแทนได้เช่นกัน”