.
การเลือกตั้งที่จะมีถึงปลายปีนี้ พี่น้องประชาชนคงตัดสินใจยากว่าจะเลือกใคร เพราะแต่พรรคต่างก็มีนโยบายไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก มีเพียงพรรคพลังประชาชนที่ถอดนโยบายมาจากพรรคไทยรักไทยเดิม
นโยบายจะเป็นคำกล่าวอ้างที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและหลากหลาย การที่แต่ละพรรคพยายามกำหนดนโยบายให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกระดับ เพราะคำนึงถึงว่านโยบายเปรียบเสมือนกับภารกิจของรัฐ
ดังจะเห็นได้จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลทุกชุดทุกสมัยต่อรัฐสภา เป็นดังสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับคนทั้งประเทศ หลังจากที่มีการแถลงนโยบายเสร็จสิ้น หน่วยงานต่างๆ จะรับเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติเพื่อให้นโยบายบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
นอกจากนี้นโยบายของรัฐยังมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน นโยบายสาธารณะจึงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ปัจจัยที่สำคัญมี 3 ประการ คือ 1. สิ่งแวดล้อมและเงื่อนไข 2. ระบบการเมือง 3. นโยบายสาธารณะ
สิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระดับการศึกษาของประชาชน โครงสร้างทางชนชั้น ระบบวัฒนธรรมศาสนา และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ระบบการเมือง ได้แก่ รูปแบบการปกครอง อย่างประเทศไทยเราใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ระบบราชการ ระบบพรรคการเมือง โครงสร้างของอำนาจทางการเมือง และผู้นำทางการเมือง
นโยบายสาธารณะ ได้แก่ นโยบายการป้องกันประเทศ นโยบายการเงินการคลัง นโยบายการศึกษา นโยบายสาธารณสุข นโยบายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
เมื่อเรามองปัจจัยที่เกี่ยวข้องมี 3 ประการหลักๆ เมื่อนำมาวิเคราะห์หรือกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศในขณะนั้น เราต้องไม่ลืมที่จะคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา เพราะการกำหนดนโยบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งย่อมมีผลต่อกลุ่มคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการได้ประโยชน์หรือสูญเสียประโยชน์
ลักษณะนี้เราเรียกว่า บอลลูนเอฟเฟกต์ เปรียบเหมือนกับเรามีลูกโป่งหรือบอลลูนอยู่ 1 ใบ ถ้าเราเพิ่มความดันหรือบีบลูกโป่งจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ใหญ่กว่า
นอกจากนี้การกำหนดนโยบายเราสามารถนำหลักจริยธรรม มาใช้ประกอบได้ เช่น เมื่อเรามีข้อมูลเบื้องต้นว่า คนจนในเมืองไทยมีมาก เราก็มักจะกำหนดนโยบายการกระจายรายได้ไปสู่ชนบท เพื่อสร้างนโยบายที่เป็นธรรม เราจะคิดแค่ว่าจะอัดเงินลงไปสู่ระดับรากหญ้า ชูนโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถม คงเป็นไปไม่ได้
เราต้องพิจารณาตรรกะ หาเหตุหาผล เช่น นโยบายกระจายรายได้จะช่วยให้คนจนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี แต่นโยบายดังกล่าวต้องไม่ทำให้คนชนชั้นกลางและคนรวยเดือดร้อน ไปขึ้นภาษีคนรวยแล้วนำมาแจกคนจน เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เราต้องทำให้ทุกคนมีรายได้เป็นของตนเองตามความสามารถต่างหาก
หลังจากนั้นเราก็เข้ามาสู่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย โดยเสนอทางเลือกนโยบายให้มากที่สุดเหมือนกับการระดมสมอง หลังจากนั้นเราก็มาคัดกรองหาเหตุผลสนับสนุนว่าเราจะเลือกใช้ทางเลือกใด โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ เช่น ความเสมอภาค ความยุติธรรม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นต้น
ต่อมาเราก็จะมาประเมินผลกระทบของนโยบาย มาเปรียบเทียบดูผลได้ผลเสียของแต่ละนโยบาย เมื่อมีการเปรียบเทียบเราก็จะสามารถเลือกนโยบายที่ดีมี่สุดมาใช้ การพิจารณา หรือประเมินผลกระทบต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และความเสี่ยง
เมื่อเราวิเคราะห์รอบด้านเราก็จะสามารถตัดสินใจเลือกหรือกำหนดนโยบายที่ดีที่สุดได้
การที่ผมหยิบยกเรื่องนโยบายมา ก็สืบเนื่องจากบทความคราวที่ เลือกตั้ง เลือกใคร ดังนั้นผมอยากจะบอกพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกท่านว่า การจะเลือกใครก็ไม่ต่างกับการที่ท่านจะเลือกนโยบาย
การเลือกตั้งเราพิจารณาตัวบุคคลเป็นหลักว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประสบการณ์ เรามักจะบอกว่าเลือกคนดีที่จะมาเป็นตัวแทนเราได้ หรือบางท่านบอกว่าเลือกคนที่เคยช่วยเหลือ อุปถัมภ์เรา
การเลือกตั้งคราวนี้เปลี่ยนได้ไหมครับ ลองนำนโยบายแต่ละพรรคมาไล่เรียงเปรียบเทียบกันว่านโยบายของพรรคใดมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติมากที่สุด
ท่านสามารถใช้แนวคิดในการพิจารณาหรือเลือกนโยบายดังที่ผมอรรถาธิบายข้างต้นมาประกอบได้
เพราะตอนนี้แต่ละพรรคก็ชูนโยบาย อัดแคมเปญ โหมโรงโฆษณากันเต็มที่ แต่สุดท้าย ก็หนีไม่พ้นพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ
คำตอบอยู่ที่ท่านแล้วครับ
การเลือกตั้งที่จะมีถึงปลายปีนี้ พี่น้องประชาชนคงตัดสินใจยากว่าจะเลือกใคร เพราะแต่พรรคต่างก็มีนโยบายไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก มีเพียงพรรคพลังประชาชนที่ถอดนโยบายมาจากพรรคไทยรักไทยเดิม
นโยบายจะเป็นคำกล่าวอ้างที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและหลากหลาย การที่แต่ละพรรคพยายามกำหนดนโยบายให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกระดับ เพราะคำนึงถึงว่านโยบายเปรียบเสมือนกับภารกิจของรัฐ
ดังจะเห็นได้จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลทุกชุดทุกสมัยต่อรัฐสภา เป็นดังสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับคนทั้งประเทศ หลังจากที่มีการแถลงนโยบายเสร็จสิ้น หน่วยงานต่างๆ จะรับเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติเพื่อให้นโยบายบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
นอกจากนี้นโยบายของรัฐยังมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน นโยบายสาธารณะจึงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ปัจจัยที่สำคัญมี 3 ประการ คือ 1. สิ่งแวดล้อมและเงื่อนไข 2. ระบบการเมือง 3. นโยบายสาธารณะ
สิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระดับการศึกษาของประชาชน โครงสร้างทางชนชั้น ระบบวัฒนธรรมศาสนา และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ระบบการเมือง ได้แก่ รูปแบบการปกครอง อย่างประเทศไทยเราใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ระบบราชการ ระบบพรรคการเมือง โครงสร้างของอำนาจทางการเมือง และผู้นำทางการเมือง
นโยบายสาธารณะ ได้แก่ นโยบายการป้องกันประเทศ นโยบายการเงินการคลัง นโยบายการศึกษา นโยบายสาธารณสุข นโยบายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
เมื่อเรามองปัจจัยที่เกี่ยวข้องมี 3 ประการหลักๆ เมื่อนำมาวิเคราะห์หรือกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศในขณะนั้น เราต้องไม่ลืมที่จะคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา เพราะการกำหนดนโยบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งย่อมมีผลต่อกลุ่มคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการได้ประโยชน์หรือสูญเสียประโยชน์
ลักษณะนี้เราเรียกว่า บอลลูนเอฟเฟกต์ เปรียบเหมือนกับเรามีลูกโป่งหรือบอลลูนอยู่ 1 ใบ ถ้าเราเพิ่มความดันหรือบีบลูกโป่งจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ใหญ่กว่า
นอกจากนี้การกำหนดนโยบายเราสามารถนำหลักจริยธรรม มาใช้ประกอบได้ เช่น เมื่อเรามีข้อมูลเบื้องต้นว่า คนจนในเมืองไทยมีมาก เราก็มักจะกำหนดนโยบายการกระจายรายได้ไปสู่ชนบท เพื่อสร้างนโยบายที่เป็นธรรม เราจะคิดแค่ว่าจะอัดเงินลงไปสู่ระดับรากหญ้า ชูนโยบายประชานิยมลดแลกแจกแถม คงเป็นไปไม่ได้
เราต้องพิจารณาตรรกะ หาเหตุหาผล เช่น นโยบายกระจายรายได้จะช่วยให้คนจนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี แต่นโยบายดังกล่าวต้องไม่ทำให้คนชนชั้นกลางและคนรวยเดือดร้อน ไปขึ้นภาษีคนรวยแล้วนำมาแจกคนจน เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เราต้องทำให้ทุกคนมีรายได้เป็นของตนเองตามความสามารถต่างหาก
หลังจากนั้นเราก็เข้ามาสู่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย โดยเสนอทางเลือกนโยบายให้มากที่สุดเหมือนกับการระดมสมอง หลังจากนั้นเราก็มาคัดกรองหาเหตุผลสนับสนุนว่าเราจะเลือกใช้ทางเลือกใด โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ เช่น ความเสมอภาค ความยุติธรรม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นต้น
ต่อมาเราก็จะมาประเมินผลกระทบของนโยบาย มาเปรียบเทียบดูผลได้ผลเสียของแต่ละนโยบาย เมื่อมีการเปรียบเทียบเราก็จะสามารถเลือกนโยบายที่ดีมี่สุดมาใช้ การพิจารณา หรือประเมินผลกระทบต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และความเสี่ยง
เมื่อเราวิเคราะห์รอบด้านเราก็จะสามารถตัดสินใจเลือกหรือกำหนดนโยบายที่ดีที่สุดได้
การที่ผมหยิบยกเรื่องนโยบายมา ก็สืบเนื่องจากบทความคราวที่ เลือกตั้ง เลือกใคร ดังนั้นผมอยากจะบอกพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกท่านว่า การจะเลือกใครก็ไม่ต่างกับการที่ท่านจะเลือกนโยบาย
การเลือกตั้งเราพิจารณาตัวบุคคลเป็นหลักว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประสบการณ์ เรามักจะบอกว่าเลือกคนดีที่จะมาเป็นตัวแทนเราได้ หรือบางท่านบอกว่าเลือกคนที่เคยช่วยเหลือ อุปถัมภ์เรา
การเลือกตั้งคราวนี้เปลี่ยนได้ไหมครับ ลองนำนโยบายแต่ละพรรคมาไล่เรียงเปรียบเทียบกันว่านโยบายของพรรคใดมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติมากที่สุด
ท่านสามารถใช้แนวคิดในการพิจารณาหรือเลือกนโยบายดังที่ผมอรรถาธิบายข้างต้นมาประกอบได้
เพราะตอนนี้แต่ละพรรคก็ชูนโยบาย อัดแคมเปญ โหมโรงโฆษณากันเต็มที่ แต่สุดท้าย ก็หนีไม่พ้นพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ
คำตอบอยู่ที่ท่านแล้วครับ