ผู้จัดการรายวัน- “ณอคุณ” ถกสรุปแนวทางติดตั้ง NGV ในแท็กซี่ 5 หมื่นคันเพื่อลดใช้ก๊าซหุงต้มวันนี้เปิดเงื่อนไขให้ปตท.ติดตั้งฟรีทั้งหมดคาดออกเงิน 2-2.5 พันล้านบาทแลกกับการส่งออกก๊าซหุงต้มที่ตลาดโลกราคาพุ่งเท่ากับจำนวนเงินที่ติดตั้ง เผยปตท.เตรียมเสนอแผนทั้งหมดพร้อมเลือกพื้นที่สร้างปั๊ม NGV 4 มุมเมือง 5 แห่งรองรับรถขนาดใหญ่เป็นการเฉพาะ
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า วันนี้ (24ต.ค.) คณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถแท็กซี่ หรือ NGV ที่มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานจะพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่ปตท.และผู้ประกอบการแท็กซี่จะสรุปแนวทางปฏิบัติการนำเสนอเพื่อผลักดันให้รถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซหุงต้ม 5 หมื่นคันหันมาใช้ NGV แทนทั้งหมดภายในปี 2552
ทั้งนี้ เบื้องต้นหลักการปตท.จะออกค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ทั้งหมดซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 2,000-2,500 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการแท็กซี่ไม่ต้องไปหักเงินคืนจากราคาก๊าซที่จ่ายตามกติกาเดิมที่เคยหารือไว้แต่อย่างใด โดยทางภาครัฐจะพิจารณาออกประกาศเพิ่มโควตาการส่งออกก๊าซหุงต้มเพื่อแลกกับการออกค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตามจำนวนเงินทั้งหมดจนครบเนื่องจากราคาก๊าซหุงต้มตลาดโลกปัจจุบันสูงถึง 650 เหรียญต่อตันแต่ราคาจำหน่ายในประเทศหน้าโรงกลั่นจะถูกกำหนดไว้ไม่เกิน 315 เหรียญต่อตัน
“หลักการคือรถแท็กซี่ที่เปลี่ยนมาใช้ NGV ลดการใช้ก๊าซหุงต้มได้เท่าใดก็นำส่วนนั้นเป็นโควตาส่งออกซึ่งเท่ากับมูลค่าที่ติดตั้ง ดังนั้นธพ.ก็จะออกประกาศระเบียบใหม่เพิ่มประเภทจากเดิมกำหนดให้กันไว้ใช้ในประเทศก่อนที่เหลือจึงจะกำหนดเป็นโควตาส่งออก ซึ่งประกาศใหม่ก็จะเพิ่มเป็นการส่งออกประเภทที่ 2 คือกรณีติดตั้ง NGV ดังกล่าว ซึ่งเราจะเปิดกว้างให้ทุกรายเข้ามาแต่ก็เชื่อว่าท้ายสุดคงไม่มีนอกจากปตท.เพราะว่าต้องออกเงินก่อนและไม่ได้กำไรอะไร”นายเมตตากล่าว
นายเมตตากล่าวว่า เพื่อเป็นการจัดระเบียบของจุดจ่ายหรือปั๊ม NGV ที่เหมาะสมเพื่อแยกระหว่างรถบรรทุกกับรถยนต์บ้านและแท็กซี่ปตท.มีแผนงานที่จะสร้างปั๊ม 4 มุมเมืองซึ่งจะดำเนินการสร้าง 5 แห่งตามแนวท่อก๊าซหลักนอกเมืองรองรับรถบรรทุกและรถขนาดใหญ่เป็นการเฉพาะเพื่อไม่ให้ปะปนกับรถในเมืองซึ่งกระทรวงพลังงานจะประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของที่ดินตามแนวท่อดังกล่าวให้โดยปตท.จะเสนอพื้นที่มาให้ว่าจะเลือกที่ใดในวันนี้ (24 ต.ค.) เช่นกัน
“ปั๊ม 4 มุมเมืองนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างมากเป็นพิเศษเพื่อรองรับรถบรรทุก รถบัสขนาดใหญ่ได้จำนวนละมากๆ ขณะที่รถขนก๊าซจะเน้นไปใช้บริการในเขตกทม.ที่ไว้เฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาคือรถใหญ่ไปเติมปั๊มเล็กเพียงแค่คันเดียวก๊าซก็หมดแล้ว จึงเป็นปัญหา ซึ่งระยะยาวแล้วอาจต้องออกระเบียบบังคับว่ารถบรรทุกหรือรถใหญ่ห้ามมาเติมในเมือง”นายเมตตากล่าว
ปัจจุบันการผลิตก๊าซหุงต้มค่อนข้างตึงตัวเมื่อรถยนต์หันมาใช้มากขึ้นจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มใหม่ด้วยการลอยตัวราคาซึ่งจะช่วยเบรกการใช้ให้ลดลง ประกอบกับโรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงที่ 6 ที่คาดว่าจะเสร็จในปี 2552 นั้นปตท.สร้างมาเพื่อมุ่งหวังที่จะนำก๊าซหุงต้มไปป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นมูลค่าเพิ่มมากกว่าจะนำมาใช้ในรถยนต์
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า วันนี้ (24ต.ค.) คณะกรรมการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถแท็กซี่ หรือ NGV ที่มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานจะพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่ปตท.และผู้ประกอบการแท็กซี่จะสรุปแนวทางปฏิบัติการนำเสนอเพื่อผลักดันให้รถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซหุงต้ม 5 หมื่นคันหันมาใช้ NGV แทนทั้งหมดภายในปี 2552
ทั้งนี้ เบื้องต้นหลักการปตท.จะออกค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ทั้งหมดซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 2,000-2,500 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการแท็กซี่ไม่ต้องไปหักเงินคืนจากราคาก๊าซที่จ่ายตามกติกาเดิมที่เคยหารือไว้แต่อย่างใด โดยทางภาครัฐจะพิจารณาออกประกาศเพิ่มโควตาการส่งออกก๊าซหุงต้มเพื่อแลกกับการออกค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตามจำนวนเงินทั้งหมดจนครบเนื่องจากราคาก๊าซหุงต้มตลาดโลกปัจจุบันสูงถึง 650 เหรียญต่อตันแต่ราคาจำหน่ายในประเทศหน้าโรงกลั่นจะถูกกำหนดไว้ไม่เกิน 315 เหรียญต่อตัน
“หลักการคือรถแท็กซี่ที่เปลี่ยนมาใช้ NGV ลดการใช้ก๊าซหุงต้มได้เท่าใดก็นำส่วนนั้นเป็นโควตาส่งออกซึ่งเท่ากับมูลค่าที่ติดตั้ง ดังนั้นธพ.ก็จะออกประกาศระเบียบใหม่เพิ่มประเภทจากเดิมกำหนดให้กันไว้ใช้ในประเทศก่อนที่เหลือจึงจะกำหนดเป็นโควตาส่งออก ซึ่งประกาศใหม่ก็จะเพิ่มเป็นการส่งออกประเภทที่ 2 คือกรณีติดตั้ง NGV ดังกล่าว ซึ่งเราจะเปิดกว้างให้ทุกรายเข้ามาแต่ก็เชื่อว่าท้ายสุดคงไม่มีนอกจากปตท.เพราะว่าต้องออกเงินก่อนและไม่ได้กำไรอะไร”นายเมตตากล่าว
นายเมตตากล่าวว่า เพื่อเป็นการจัดระเบียบของจุดจ่ายหรือปั๊ม NGV ที่เหมาะสมเพื่อแยกระหว่างรถบรรทุกกับรถยนต์บ้านและแท็กซี่ปตท.มีแผนงานที่จะสร้างปั๊ม 4 มุมเมืองซึ่งจะดำเนินการสร้าง 5 แห่งตามแนวท่อก๊าซหลักนอกเมืองรองรับรถบรรทุกและรถขนาดใหญ่เป็นการเฉพาะเพื่อไม่ให้ปะปนกับรถในเมืองซึ่งกระทรวงพลังงานจะประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของที่ดินตามแนวท่อดังกล่าวให้โดยปตท.จะเสนอพื้นที่มาให้ว่าจะเลือกที่ใดในวันนี้ (24 ต.ค.) เช่นกัน
“ปั๊ม 4 มุมเมืองนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างมากเป็นพิเศษเพื่อรองรับรถบรรทุก รถบัสขนาดใหญ่ได้จำนวนละมากๆ ขณะที่รถขนก๊าซจะเน้นไปใช้บริการในเขตกทม.ที่ไว้เฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาคือรถใหญ่ไปเติมปั๊มเล็กเพียงแค่คันเดียวก๊าซก็หมดแล้ว จึงเป็นปัญหา ซึ่งระยะยาวแล้วอาจต้องออกระเบียบบังคับว่ารถบรรทุกหรือรถใหญ่ห้ามมาเติมในเมือง”นายเมตตากล่าว
ปัจจุบันการผลิตก๊าซหุงต้มค่อนข้างตึงตัวเมื่อรถยนต์หันมาใช้มากขึ้นจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มใหม่ด้วยการลอยตัวราคาซึ่งจะช่วยเบรกการใช้ให้ลดลง ประกอบกับโรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงที่ 6 ที่คาดว่าจะเสร็จในปี 2552 นั้นปตท.สร้างมาเพื่อมุ่งหวังที่จะนำก๊าซหุงต้มไปป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นมูลค่าเพิ่มมากกว่าจะนำมาใช้ในรถยนต์