อัดบอร์ดทีโอทีเหลวไหล 2 มาตรฐาน
ผู้จัดการรายวัน – บอร์ดทีโอทียังยึดมั่นแนวทางบริหารงานแบบ 2 มาตรฐาน ปรากฏการณ์ล่าสุดตั้งรองฯวาสุกรีที่ถูกสอบเพียบมารับผิดชอบงานโครงการพิเศษ ในขณะที่แขวนลอยรองฯวรุธ โทษฐานไม่ถูกใจกรรมการบอร์ดบางคน พนักงานร้องระงมที ‘สมควร’ ถูกไล่ออกไป 3 รอบแต่ผลสอบ ‘วาสุกรี’5 เดือนไม่เสร็จสักที เผยสัญญาโรมมิ่งไทยโมบายมัดวาสุกรีเอื้อประโยชน์เอกชนชัด
แหล่งข่าวจากบริษัท ทีโอที กล่าวว่าการโยกย้ายระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบอร์ดทีโอทีของพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยกรรมการบอร์ดบางคนที่มีความทะยานอยากที่จะเป็นฝ่ายบริหารเมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมาถือเป็นการตอกย้ำภาพการบริหารงานแบบเหลวไหลและเลือกปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐานที่บอร์ดทีโอทียึดถือเป็นแนวทางบริหารตลอดมา
“พนักงานตั้งคำถามว่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่โดนสอบทำไมผลสอบไม่ออกสักที แต่กลับถูกย้ายไปอยู่ตำแหน่งที่มีความสำคัญ ในขณะที่รองฯบางคนเนื้อตัวสะอาดสะอ้านไม่ถูกสอบ กลับถูกแขวนลอยไม่มีงานทำ เพียงเพราะไม่ถูกใจบอร์ดนทีกับบอร์ดสุภา”
วรุธ สุวกร กับ วาสุกรี กล้าไพรี เป็นตัวละครที่ทำให้เห็นการบริหารงานแบบ 2 มาตรฐานของบอร์ทีโอทีชุดที่เรียกได้ว่ามีข้อครหามากกว่าบอร์ดระบอบทักษิณ
วาสุกรี ถูกย้ายพ้นหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบแต่ยังเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อยู่ หลังจากที่สตง.ส่งเรื่องให้ทีโอทีตรวจสอบกรณีปัญหาไทยโมบายและเอซีที โมบายล์ พร้อมๆกับนายสมควร บรูมินเหนทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที ทั้งๆที่ในหนังสือสตง.พูดประเด็นสมควรเพียงน้อยนิด แต่บอร์ดทีโอทีที่เคารพก็จับทั้งคู่ย้ายออกพ้นจากหน้าที่ ซึ่งปรากฏภายหลังว่านายสมควรยังถูกไล่ล่าข้อหาเอื้อประโยชน์ค่าปรับโครงการทีเนปให้อัลคาเทล จนกระเด็นตกเก้าอี้
แต่วาสุกรี ที่ถูกตั้งกรรมการสอบประกอบด้วยประสพสุข บุญเดช เป็นประธาน วิไล ศรีปิติวิทยา ดนุชา ยินดีพิศ เจริญ คัมภีรภาพ และปรียา ด่านชัยวิจิตรเป็นกรรมการ ตั้งแต่ 7 มิ.ย.2550 จนทุกวันนี้ยังไม่มีผลเกิดขึ้นแต่อย่างใด
“บอร์ดไล่สมควรออกไป 3 รอบแล้ว แต่วาสุกรีที่ถูกตั้งกรรมการสอบตั้งแต่เดือนมิ.ย. ไม่เห็นเกิดอะไรขึ้น แถมโยกย้ายครั้งหลังยังได้รับผิดชอบสายงานกิจการพิเศษ พวกสเปเชี่ยลโปรเจกต์อย่างโครงการ 5.6 แสนเลขหมาย ซึ่งข้ออ้างฟังแล้วอยากหัวเราะปนสมเพช ที่บอกว่ากลัวว่าจะกินเงินเดือนเปล่า จะอาศัยคอนเน็กชั่นรองฯวาสุกรีหางานเข้ามาให้ทีโอที แต่กรณีรองวรุธฯ ไม่ถูกสอบอะไรทั้งสิ้นกลับแขวนลอยในตำแหน่งรองฯอาวุโส ไม่มีงานทำ เพียงเพราะลักษณะการเป็นคนตรง พูดจาตรงไปตรงมา อาจทำให้บอร์ดที่เคารพบางคนไม่พอใจ”
สำหรับการแต่งตั้งโยกย้ายประกอบด้วยอานนท์ ทับเที่ยง เป็นรองฯด้านทรัพยากรบุคคล ทิพวรรณ วุฑฒิสาร เป็นรองฯด้านตรวจสอบ แน่งน้อย วนานุเวชพงศ์ เป็นรองฯด้านการเงิน สุเทพ ศรีสุวรรณ เป็นรองฯด้านบริหารการลงทุน วรุธ สุวกร เป็นรองฯอาวุโส สายัณห์ ถิ่นสำราญ เป็นรองฯด้านการตลาด พีระพันธุ์ สุนทรศารทูล เป็นรองฯอาวุโส วาสุกรี กล้าไพรี เป็นรองฯด้านโครงการพิเศษ
ในช่วงเดือนที่ผ่านมากรรมการคตส.ได้ส่งหนังสือเชิญมีใจความว่า ตามที่คตส.ได้ตั้งอนุกรรมการเพื่อไต่สวนกรณีกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในส่วนของการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต กิจการโทรคมนาคม และเรื่องอื่นๆเพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของครอบครัวหรือพวกพ้อง ถือเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือ ละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือเป็นการที่ทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฎิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการไต่สวน จึงขอเชิญให้มาให้ถ้อยคำกรณีที่บอร์ดองค์การโทรศัพท์ ได้พิจารณาปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรมือถือในระบบ พรีเพด และกรณีเรื่องการเชื่อมต่อโครงข่ายหรือ roaming ของกิจการร่วมค้า ไทยโมบายกับโครงข่ายของ บริษัท เอไอเอส
อดีตบอร์ดและผู้บริหารส่วนหนึ่งที่ถูกคตส.เชิญไปให้ถ้อยคำอาทิจุมพล เหราบัตย์, ศุภชัย พิศิษฐวานิช, สุธรรม มลิลา, โอฬาร เพียรธรรม, พลตำรวจเอก บุญญฤทธิ์ รัตนะพร, สถิต ลิ่มพงศ์พันธ์,คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์, วันชัย ศารทูลทัต, สิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ, ธีรวิทย์ จารุวัสตร์ ,มิตร เจริญวัลย์ ฯลฯ รวมไปถึงผู้บริหารทีโอทีในปัจจุบันบางคน
มิตร เจริญวัลย์ อดีตประธานสหภาพฯทีโอทีกล่าวว่าได้ถูกเรียกไปให้ถ้อยคำ4 ครั้งในเรื่องทั่วๆไปของการพิจารณาอนุมัติโครงการของบอร์ด การแก้สัญญาพรีเพดของเอไอเอสโดยเฉพาะในเรื่องสัญญาแนบท้ายของกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ในเรื่องของการโรมมิ่งโครงข่ายกับเอไอเอส ที่มีการระบุว่าไทยโมบายจะต้องให้โอกาสเจรจากับเอไอเอสก่อน ในการร่วมทุนหรือร่วมการงาน เพื่อให้บริการ 3G ในระบบความถี่ 1900 MHz หรือ 2000 MHz โดยระหว่างที่เจรจากับเอไอเอสจะไม่คุยกับคนอื่นจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ
ทั้งนี้ข้อตกลงโรมมิ่งไทยโมบายกับเอไอเอสยังมีผลอยู่ตามสัญญาที่วาสุกรีเซ็นไว้ถึง 23 พ.ย.2550 ประเด็นที่น่าสนใจคือมีการเพิ่มเติมในสาระสำคัญหลายจุดในช่วงที่วาสุกรีเป็นผู้จัดการไทยโมบายที่แตกต่างจากสัญญาสมัยอรัญ เพิ่มพิบูลย์เป็นผู้จัดการ ที่ดูเหมือนตั้งใจเอื้อประโยชน์อย่างเช่นมีการเพิ่มเติมข้อ 1.4 ‘Third Generation (3G) หมายถึงเครือข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่3
มีการเพิ่มข้อ 20.2 ผู้ขอใช้บริการเครือข่าย (ไทยโมบาย) ตกลงให้ผู้ให้บริการเครือข่าย (เอไอเอส) รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจของผู้ให้บริการเครือข่ายเป็นรายแรกที่มีสิทธิในการเจรจาการร่วมทุน และ/หรือร่วมดำเนินงานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ Third Generation (3G) ในย่านความถี่ 1900 MHz หรือ 2000 MHzของผู้ขอใช้บริการเครือข่ายที่มี โดยในระหว่างนี้ผู้ขอใช้บริการเครือข่ายตกลงจะไม่ไปเจรจากับผู้อื่นใด จนกว่าจะได้ข้อยุติถึงการเข้าร่วมทุนและ/หรือร่วมดำเนินงานในโครงข่ายดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มข้อ 5 ในเอกสารแนบท้าย 1 ระบุว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายตกลงที่จะขยายพื้นที่การใช้เครือข่ายร่วมเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ หากผู้ใช้บริการเครือข่ายจะไม่ขยายเครือข่ายและบริการในระบบที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันเพิ่มเติมออกไปอีก โดยผู้ใช้บริการเครือข่ายจะต้องพัฒนาเครือข่ายพร้อมทั้งให้บริการในระบบ Third Generation (3G) แล้วและผู้ใช้บริการเครือข่ายตกลงให้ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการเครือข่าย มีสิทธิใช้เครือข่ายร่วมในระบบ Third Generation (3G) ของผู้ใช้บริการเครือข่ายได้ด้วย
ผู้จัดการรายวัน – บอร์ดทีโอทียังยึดมั่นแนวทางบริหารงานแบบ 2 มาตรฐาน ปรากฏการณ์ล่าสุดตั้งรองฯวาสุกรีที่ถูกสอบเพียบมารับผิดชอบงานโครงการพิเศษ ในขณะที่แขวนลอยรองฯวรุธ โทษฐานไม่ถูกใจกรรมการบอร์ดบางคน พนักงานร้องระงมที ‘สมควร’ ถูกไล่ออกไป 3 รอบแต่ผลสอบ ‘วาสุกรี’5 เดือนไม่เสร็จสักที เผยสัญญาโรมมิ่งไทยโมบายมัดวาสุกรีเอื้อประโยชน์เอกชนชัด
แหล่งข่าวจากบริษัท ทีโอที กล่าวว่าการโยกย้ายระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบอร์ดทีโอทีของพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยกรรมการบอร์ดบางคนที่มีความทะยานอยากที่จะเป็นฝ่ายบริหารเมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมาถือเป็นการตอกย้ำภาพการบริหารงานแบบเหลวไหลและเลือกปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐานที่บอร์ดทีโอทียึดถือเป็นแนวทางบริหารตลอดมา
“พนักงานตั้งคำถามว่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่โดนสอบทำไมผลสอบไม่ออกสักที แต่กลับถูกย้ายไปอยู่ตำแหน่งที่มีความสำคัญ ในขณะที่รองฯบางคนเนื้อตัวสะอาดสะอ้านไม่ถูกสอบ กลับถูกแขวนลอยไม่มีงานทำ เพียงเพราะไม่ถูกใจบอร์ดนทีกับบอร์ดสุภา”
วรุธ สุวกร กับ วาสุกรี กล้าไพรี เป็นตัวละครที่ทำให้เห็นการบริหารงานแบบ 2 มาตรฐานของบอร์ทีโอทีชุดที่เรียกได้ว่ามีข้อครหามากกว่าบอร์ดระบอบทักษิณ
วาสุกรี ถูกย้ายพ้นหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบแต่ยังเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อยู่ หลังจากที่สตง.ส่งเรื่องให้ทีโอทีตรวจสอบกรณีปัญหาไทยโมบายและเอซีที โมบายล์ พร้อมๆกับนายสมควร บรูมินเหนทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที ทั้งๆที่ในหนังสือสตง.พูดประเด็นสมควรเพียงน้อยนิด แต่บอร์ดทีโอทีที่เคารพก็จับทั้งคู่ย้ายออกพ้นจากหน้าที่ ซึ่งปรากฏภายหลังว่านายสมควรยังถูกไล่ล่าข้อหาเอื้อประโยชน์ค่าปรับโครงการทีเนปให้อัลคาเทล จนกระเด็นตกเก้าอี้
แต่วาสุกรี ที่ถูกตั้งกรรมการสอบประกอบด้วยประสพสุข บุญเดช เป็นประธาน วิไล ศรีปิติวิทยา ดนุชา ยินดีพิศ เจริญ คัมภีรภาพ และปรียา ด่านชัยวิจิตรเป็นกรรมการ ตั้งแต่ 7 มิ.ย.2550 จนทุกวันนี้ยังไม่มีผลเกิดขึ้นแต่อย่างใด
“บอร์ดไล่สมควรออกไป 3 รอบแล้ว แต่วาสุกรีที่ถูกตั้งกรรมการสอบตั้งแต่เดือนมิ.ย. ไม่เห็นเกิดอะไรขึ้น แถมโยกย้ายครั้งหลังยังได้รับผิดชอบสายงานกิจการพิเศษ พวกสเปเชี่ยลโปรเจกต์อย่างโครงการ 5.6 แสนเลขหมาย ซึ่งข้ออ้างฟังแล้วอยากหัวเราะปนสมเพช ที่บอกว่ากลัวว่าจะกินเงินเดือนเปล่า จะอาศัยคอนเน็กชั่นรองฯวาสุกรีหางานเข้ามาให้ทีโอที แต่กรณีรองวรุธฯ ไม่ถูกสอบอะไรทั้งสิ้นกลับแขวนลอยในตำแหน่งรองฯอาวุโส ไม่มีงานทำ เพียงเพราะลักษณะการเป็นคนตรง พูดจาตรงไปตรงมา อาจทำให้บอร์ดที่เคารพบางคนไม่พอใจ”
สำหรับการแต่งตั้งโยกย้ายประกอบด้วยอานนท์ ทับเที่ยง เป็นรองฯด้านทรัพยากรบุคคล ทิพวรรณ วุฑฒิสาร เป็นรองฯด้านตรวจสอบ แน่งน้อย วนานุเวชพงศ์ เป็นรองฯด้านการเงิน สุเทพ ศรีสุวรรณ เป็นรองฯด้านบริหารการลงทุน วรุธ สุวกร เป็นรองฯอาวุโส สายัณห์ ถิ่นสำราญ เป็นรองฯด้านการตลาด พีระพันธุ์ สุนทรศารทูล เป็นรองฯอาวุโส วาสุกรี กล้าไพรี เป็นรองฯด้านโครงการพิเศษ
ในช่วงเดือนที่ผ่านมากรรมการคตส.ได้ส่งหนังสือเชิญมีใจความว่า ตามที่คตส.ได้ตั้งอนุกรรมการเพื่อไต่สวนกรณีกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ในส่วนของการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต กิจการโทรคมนาคม และเรื่องอื่นๆเพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของครอบครัวหรือพวกพ้อง ถือเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือ ละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือเป็นการที่ทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฎิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการไต่สวน จึงขอเชิญให้มาให้ถ้อยคำกรณีที่บอร์ดองค์การโทรศัพท์ ได้พิจารณาปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรมือถือในระบบ พรีเพด และกรณีเรื่องการเชื่อมต่อโครงข่ายหรือ roaming ของกิจการร่วมค้า ไทยโมบายกับโครงข่ายของ บริษัท เอไอเอส
อดีตบอร์ดและผู้บริหารส่วนหนึ่งที่ถูกคตส.เชิญไปให้ถ้อยคำอาทิจุมพล เหราบัตย์, ศุภชัย พิศิษฐวานิช, สุธรรม มลิลา, โอฬาร เพียรธรรม, พลตำรวจเอก บุญญฤทธิ์ รัตนะพร, สถิต ลิ่มพงศ์พันธ์,คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์, วันชัย ศารทูลทัต, สิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ, ธีรวิทย์ จารุวัสตร์ ,มิตร เจริญวัลย์ ฯลฯ รวมไปถึงผู้บริหารทีโอทีในปัจจุบันบางคน
มิตร เจริญวัลย์ อดีตประธานสหภาพฯทีโอทีกล่าวว่าได้ถูกเรียกไปให้ถ้อยคำ4 ครั้งในเรื่องทั่วๆไปของการพิจารณาอนุมัติโครงการของบอร์ด การแก้สัญญาพรีเพดของเอไอเอสโดยเฉพาะในเรื่องสัญญาแนบท้ายของกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ในเรื่องของการโรมมิ่งโครงข่ายกับเอไอเอส ที่มีการระบุว่าไทยโมบายจะต้องให้โอกาสเจรจากับเอไอเอสก่อน ในการร่วมทุนหรือร่วมการงาน เพื่อให้บริการ 3G ในระบบความถี่ 1900 MHz หรือ 2000 MHz โดยระหว่างที่เจรจากับเอไอเอสจะไม่คุยกับคนอื่นจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ
ทั้งนี้ข้อตกลงโรมมิ่งไทยโมบายกับเอไอเอสยังมีผลอยู่ตามสัญญาที่วาสุกรีเซ็นไว้ถึง 23 พ.ย.2550 ประเด็นที่น่าสนใจคือมีการเพิ่มเติมในสาระสำคัญหลายจุดในช่วงที่วาสุกรีเป็นผู้จัดการไทยโมบายที่แตกต่างจากสัญญาสมัยอรัญ เพิ่มพิบูลย์เป็นผู้จัดการ ที่ดูเหมือนตั้งใจเอื้อประโยชน์อย่างเช่นมีการเพิ่มเติมข้อ 1.4 ‘Third Generation (3G) หมายถึงเครือข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่3
มีการเพิ่มข้อ 20.2 ผู้ขอใช้บริการเครือข่าย (ไทยโมบาย) ตกลงให้ผู้ให้บริการเครือข่าย (เอไอเอส) รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจของผู้ให้บริการเครือข่ายเป็นรายแรกที่มีสิทธิในการเจรจาการร่วมทุน และ/หรือร่วมดำเนินงานเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ Third Generation (3G) ในย่านความถี่ 1900 MHz หรือ 2000 MHzของผู้ขอใช้บริการเครือข่ายที่มี โดยในระหว่างนี้ผู้ขอใช้บริการเครือข่ายตกลงจะไม่ไปเจรจากับผู้อื่นใด จนกว่าจะได้ข้อยุติถึงการเข้าร่วมทุนและ/หรือร่วมดำเนินงานในโครงข่ายดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มข้อ 5 ในเอกสารแนบท้าย 1 ระบุว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายตกลงที่จะขยายพื้นที่การใช้เครือข่ายร่วมเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ หากผู้ใช้บริการเครือข่ายจะไม่ขยายเครือข่ายและบริการในระบบที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันเพิ่มเติมออกไปอีก โดยผู้ใช้บริการเครือข่ายจะต้องพัฒนาเครือข่ายพร้อมทั้งให้บริการในระบบ Third Generation (3G) แล้วและผู้ใช้บริการเครือข่ายตกลงให้ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการเครือข่าย มีสิทธิใช้เครือข่ายร่วมในระบบ Third Generation (3G) ของผู้ใช้บริการเครือข่ายได้ด้วย