คตส.ส่งฝ่ายกฎหมายแจ้งความดำเนินคดี "แม้ว" และครอบครัว รวมทั้ง นพดล ฐานดูหมิ่น คตส.หาว่าเป็นศาลเตี้ย จงใจกลั่นแกล้งครอบครัวชินวัตร "แก้วสรร" เตรียมชง คตส. เชือด"แม้ว"เอื้อประโยชน์ธุรกิจตัวเองและครอบครับ สินเดือนพ.ย.นี้ จ้องฟันบ้านเอื้ออาทรเพิ่ม 5-6 โครงการ พร้อมแบไต๋ ภายในปี 51 หากเวลาเหลือเตรียมรับสอบเพิ่มอีก "หญิงอ้อ" ส่งทนายเลื่อนชี้แจงเพิกถอนอายัดทรัพย์ ด้าน ดีเอสไอ ส่ง 5 สำนวนคดีทุจริตภายในสนามบินสุวรรณภูมิ 5 ให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ
เมื่อเวลา 15.30 น. วานนี้ (17ต.ค.) นายมณเฑียร เจริญผล ผู้อำนวยการกลุ่มงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) เข้าพบพ.ต.อ.จารุวัฒน์ ไวศยะ รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คุณหญิงพจมาน น.ส.พิณทองทา นายพานแท้ นางยิ่งลักษณ์ และนายบรรณพจนด์ ดามาพงษ์ ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 136 ป.วิอาญา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานกฏหมายนิติเอกราช ของนายอภิศักดิ์ อาภัสสมภพ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ถูกร้อง มีหนังสือระบุว่า การที่คตส.สั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของผู้ถูกร้องนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ คตส. มาจากการแต่งตั้งของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการกลุ่มงานฝ่ายกฎหมายยังแจ้งความดำเนินคดีกับ นายนพดล ปัทมะ ทนายความของตระกูลชินวัตรในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน โดยเมื่อวันที่ 19 ก.ค. นายนพดล เปิดแถลงข่าวที่โรงแรมโซฟิเทล กล่าวหาว่า คตส. กลั่นแกล้งสั่งอายัดเงิน ลูกความ ซึ่งพ.ต.อ.จารุวัฒน์ เจ้าหน้าที่รับเรื่องไว้และจะดำเนินการตามกฏหมายต่อไป
ข่าวแจ้งว่าสัปดาห์หน้า นายสัก กอแสงเรือง กรรมการ และโฆษก คตส. จะเข้าพบพนักงานสอบสวนของกองปราบปราม เพื่อแจ้งความดำเนินคดี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ปฏิเสธการให้ถ้อยคำเรื่องการซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่อ คตส.
เร่งสรุป"แม้ว"เอื้อประโยชน์ธุรกิจตัวเอง
นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการบ้านเอื้ออาทร เปิดเผยความคืบหน้าในการทำงานว่า โครงการดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.การทุจริตแบบโครงการ ที่ คตส.ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหาบริษัท เดวาพร็อพเพอร์ตี้ ไปแล้ว ซึ่งในส่วนนั้นได้มีผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเกือบครบทุกคนแล้ว ขณะเดียวได้มีการวางเป้าหมายไว้ว่า ภายในเดือนธ.ค.นี้ จะสามารถสรุปคดีและแจ้งข้อกล่าวหาได้อีก 5-6 โครงการ และหากในปี 51 ถ้ายังมีเวลาเหลือ และพบการทุจริตเพิ่มก็จะรับเข้ามาตรวจสอบอีก
2. การทุจริตแบบโควต้า ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีแจ้งข้อกล่าวกับบริษัท พาสทีญ่า ไปแล้ว โดยขณะนี้ตรวจสอบพบว่าไม่ได้มีเพียงแค่บริษัท พาสทีญ่า แห่งเดียวที่มีการร่วมกระทำความผิด คาดว่าภายในเดือนพ.ย. จะสามารถสรุปคดีในส่วนนี้ได้ โดยการทุจริตของบริษัทอื่นมีรูปแบบเดียวกับบริษัทพาสทีญ่า ที่มีการโอนเงินเข้าไปยังผู้มีอำนาจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้มีการแกะรอยเส้นทางการเงินของบริษัท พาสทีญ่า ที่เข้าไปยังในบริษัทเพรสซิเด้นท์ มีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง นายแก้วสรร กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบบัญชี และเส้นทางการเงินดังกล่าว ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เพราะกลัวไก่ตื่น
นายแก้วสรร ในฐานะอนุกรรมการไต่สวนกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจตัวเองและพวกพ้อง กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในระหว่างการเขียนรายงานข้อสรุปเกี่ยวกับการออกมาตรของรัฐที่เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนที่ทำให้รัฐเสียหาย ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายในเดือนพ.ย.โดยจะไม่มีการสืบพยานเพิ่มอีกแล้ว
"อ้อ"ส่งทนายเลื่อนแจงถอนอายัดทรัพย์
ในวันเดียวกันนี้ ได้มีประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สินเพื่อการเพิกถอนการอายัดทรัพย์ ที่มีนาย อำนวย ธันธรา กรรมการ คตส. เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้นัดให้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร มาชี้แจงเพื่อเพิกถอนการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ คุณหญิงพจมานได้มอบอำนาจให้ นายสมพร พงษ์สุวรรณ ทนายความ เดินทางเข้าชี้แจงแทน โดยนายสมพร กล่าวว่า ได้รับมอบอำนาจให้มายื่นหนังสือเลื่อนการชี้แจง เพื่อเพิกถอนการอายัด จากเดิม วันที่ 17, 24, 31 ต.ค. ออกไปเป็นวันที่ 31 ต.ค. และวันที่ 27 ธ.ค. เนื่องจากยังติดขัดปัญหาในการรวบรวมเอกสาร อาทิ ข้อมูลการแจ้งบัญชีทรัพย์สินของคุณหญิงพจมาน ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่ปี 37– 49 เช่นเดียวกับกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้ทำเรื่องประสานไปยัง ป.ป.ช. เพื่อขอเอกสารการแสดงบัญชีทรัพย์สินของคุณหญิงพจมานแล้ว แต่ได้เอกสารมาเพียงบางส่วน ซึ่งยังไม่ครบถ้วน จึงได้ร้องขอให้ คตส. ทำหนังสือขอเอกสารดังกล่าวไปยัง ป.ป.ช. อีกทางหนึ่งด้วย
นายสมพร ยังกล่าวถึงกรณีที่ คตส. ตรวจพบการเคลื่อนย้ายเงินจำนวน 100 ล้านบาท ที่ คตส. เคยมีคำสั่งอายัดไปแล้วในบัญชีของ นายสมพร จนทำให้มีการออกคำสั่งอายัดเพิ่มเติมว่า ยืนยันว่าการเคลื่อนย้ายเงินจำนวน 87 ล้านบาท นั้นตนไม่ได้มีเจตนาที่จะเคลื่อนย้ายเงินเพื่อหลบเลี่ยงคำสั่งการอายัดทรัพย์ของ คตส. เพราะการเคลื่อนย้ายดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนที่ คตส. จะมีคำสั่งอายัดไว้ และเป็นการเคลื่อนย้ายเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายทางธุรกิจตามปกติ
"การเข้ามาว่าความในคดีให้ครอบครัวชินวัตร มีหลายบริษัทเกี่ยวข้องและต้องใช้คนจำนวนมาก แม้กระทั่งมาที่ คตส.ผมก็มาทำงานไม่ได้มาเที่ยว ซึ่งต้องใช้จ่ายเงิน การทำงานจะต้องมีค่าตอบแทน จึงต้องมีการโอนเงินไปสำรองการใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการต่อสู้คดี ส่วนทรัพย์สินทั้งหมด 100 ล้านบาท ที่ถูกอายัดทรัพย์ไว้ขณะนี้ หาก คตส. นัดหมายให้เข้ามาชี้แจงรายละเอียด ก็พร้อมที่จะเดินทางมาชี้แจง" นายสมพร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คตส. ระบุว่า เงินจำนวน 100 ล้านบาท ยังมีบางส่วนที่ถูกเคลื่อนย้ายออกไป 87 ล้านบาท และเหลือในบัญชีเพียง 5 ล้านกว่าบาท ส่วนที่เหลืออีก 7 ล้านกว่าบาท และยังตามไม่พบนั้น นายสมพร กล่าวว่า เงินไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในบัญชีธนาคารปกติ คตส. สามารถตามหาได้อยู่แล้ว และหากมีคำสั่งอายัดเพิ่มเติม ก็พร้อมที่จะเข้ามาชี้แจง
DSI ส่งสำนวนทุจริตสุวรรณภูมิให้ ป.ป.ช.
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีดีเอสไอ ได้ลงนามส่งสำนวนคดีความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว รวม 5 เรื่อง ตามที่มีผู้ร้องเรียนเป็นคดีพิเศษได้แก่ 1. คดีร้านค้าปลอดอากร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2. ระบบรักษาความปลอดภัย 3. รถเข็นกระเป๋า 4. แท็กซี่ลิมูซีน 5. ระบบไฟฟ้า 400 เฮิรตซ์ และระบบพีซีแอร์ (งวงช้าง) ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมายป.ป.ช. ว่าหากมีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ และน่าเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิดก็ให้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ ซึ่ง ป.ป.ช. ก็จะต้องตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนขึ้นมาทำหน้าที่ หากในอนาคต ป.ป.ช.เห็นว่าคดีน่าจะอยู่ในการสอบสวนของดีเอสไอต่อไป ก็สามารถส่งสำนวนกลับมาให้ได้ นอกจากนี้ ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ยังอยู่ในการพิจารณาของดีเอสไอ อีกจำนวนหนึ่ง และจะส่งให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ ได้แก่ การทุจริตเกี่ยวกับศูนย์ขนส่งและหลังคาผ้าใบ
พ.อ.ปิยะวัฒก์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวน คดีกลุ่มผู้มีอิทธิพลบุกรุกโค่นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสบกกฝั่งขวา บ้านห้วยข่อย หล่อย ม.12 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ว่า จากการลงพื้นที่ พบว่าพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติจริง และมีบุกรุกรวมเนื้อที่ 918 ไร่ คิดเป็น มูลค่าความเสียหาย 62 ล้านบาท และมีการยึดรถแบ็คโฮ ไม้ของกลาง จำนวนหนึ่ง ซึ่ง ขณะนี้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ จะมีการทำหนังสือประสานงานไปยังอัยการ เพื่อให้ส่งอัยการมาร่วมในการ สอบสวน และเชิญอัยการเข้าร่วมประชุมโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะมีการลงพื้นที่อีกครั้งในสัปดาห์หน้า เพื่อไปสอบสวนข้อเท็จจริง เชื่อว่าจะสามารถสรุปสำนวนและตั้ง ข้อกล่าวหาแก่ผู้กระทำผิดในคดีนี้ได้ภายใน 1-2 เดือน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้รับมอบสำนวนสอบสวนที่ทางจังหวัดได้จัดทำไว้ ซึ่งมีนางวันดี อินทร อดีตปลัดอาวุโส อ.เชียงแสน เป็นหัวหน้าทีมสอบสวน และอยู่ในระหว่างการตรวจสำนวนและเอกสาร ว่าเพียงพอหรือไม่ ทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร เบื้องต้นพบว่า กลุ่มที่เข้าไปบุกรุกเป็นกลุ่มนายทุนไทยร่วมกับนายทุนต่างชาติ โดยอาจเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกลุ่มการเมืองในพื้นที่ ทำให้ คณะกรรมการสอบสวนฯเดิมถูกกดดันอย่างมาก ส่วนกรณีที่มีการย้ายปลัดอาวุโสออกนอก พื้นที่นั้น ผวจ.เชียงราย ให้เหตุผลว่า เป็นการย้ายเพื่อความปลอดภัยของตัวปลัดอาวุโสเอง ซึ่งขณะนี้ได้ย้ายกลับมาที่ อ .เวียงชัย จ. เชียงราย ซึ่งอยู่ใกล้กับเขต อ.เมืองแล้ว น่าจะมีความปลอดภัยสูง
เมื่อเวลา 15.30 น. วานนี้ (17ต.ค.) นายมณเฑียร เจริญผล ผู้อำนวยการกลุ่มงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) เข้าพบพ.ต.อ.จารุวัฒน์ ไวศยะ รอง ผบก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คุณหญิงพจมาน น.ส.พิณทองทา นายพานแท้ นางยิ่งลักษณ์ และนายบรรณพจนด์ ดามาพงษ์ ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 136 ป.วิอาญา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานกฏหมายนิติเอกราช ของนายอภิศักดิ์ อาภัสสมภพ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ถูกร้อง มีหนังสือระบุว่า การที่คตส.สั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของผู้ถูกร้องนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ คตส. มาจากการแต่งตั้งของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการกลุ่มงานฝ่ายกฎหมายยังแจ้งความดำเนินคดีกับ นายนพดล ปัทมะ ทนายความของตระกูลชินวัตรในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน โดยเมื่อวันที่ 19 ก.ค. นายนพดล เปิดแถลงข่าวที่โรงแรมโซฟิเทล กล่าวหาว่า คตส. กลั่นแกล้งสั่งอายัดเงิน ลูกความ ซึ่งพ.ต.อ.จารุวัฒน์ เจ้าหน้าที่รับเรื่องไว้และจะดำเนินการตามกฏหมายต่อไป
ข่าวแจ้งว่าสัปดาห์หน้า นายสัก กอแสงเรือง กรรมการ และโฆษก คตส. จะเข้าพบพนักงานสอบสวนของกองปราบปราม เพื่อแจ้งความดำเนินคดี น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ปฏิเสธการให้ถ้อยคำเรื่องการซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่อ คตส.
เร่งสรุป"แม้ว"เอื้อประโยชน์ธุรกิจตัวเอง
นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการบ้านเอื้ออาทร เปิดเผยความคืบหน้าในการทำงานว่า โครงการดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.การทุจริตแบบโครงการ ที่ คตส.ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหาบริษัท เดวาพร็อพเพอร์ตี้ ไปแล้ว ซึ่งในส่วนนั้นได้มีผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเกือบครบทุกคนแล้ว ขณะเดียวได้มีการวางเป้าหมายไว้ว่า ภายในเดือนธ.ค.นี้ จะสามารถสรุปคดีและแจ้งข้อกล่าวหาได้อีก 5-6 โครงการ และหากในปี 51 ถ้ายังมีเวลาเหลือ และพบการทุจริตเพิ่มก็จะรับเข้ามาตรวจสอบอีก
2. การทุจริตแบบโควต้า ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีแจ้งข้อกล่าวกับบริษัท พาสทีญ่า ไปแล้ว โดยขณะนี้ตรวจสอบพบว่าไม่ได้มีเพียงแค่บริษัท พาสทีญ่า แห่งเดียวที่มีการร่วมกระทำความผิด คาดว่าภายในเดือนพ.ย. จะสามารถสรุปคดีในส่วนนี้ได้ โดยการทุจริตของบริษัทอื่นมีรูปแบบเดียวกับบริษัทพาสทีญ่า ที่มีการโอนเงินเข้าไปยังผู้มีอำนาจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้มีการแกะรอยเส้นทางการเงินของบริษัท พาสทีญ่า ที่เข้าไปยังในบริษัทเพรสซิเด้นท์ มีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง นายแก้วสรร กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบบัญชี และเส้นทางการเงินดังกล่าว ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เพราะกลัวไก่ตื่น
นายแก้วสรร ในฐานะอนุกรรมการไต่สวนกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจตัวเองและพวกพ้อง กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในระหว่างการเขียนรายงานข้อสรุปเกี่ยวกับการออกมาตรของรัฐที่เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนที่ทำให้รัฐเสียหาย ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายในเดือนพ.ย.โดยจะไม่มีการสืบพยานเพิ่มอีกแล้ว
"อ้อ"ส่งทนายเลื่อนแจงถอนอายัดทรัพย์
ในวันเดียวกันนี้ ได้มีประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สินเพื่อการเพิกถอนการอายัดทรัพย์ ที่มีนาย อำนวย ธันธรา กรรมการ คตส. เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้นัดให้คุณหญิงพจมาน ชินวัตร มาชี้แจงเพื่อเพิกถอนการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ คุณหญิงพจมานได้มอบอำนาจให้ นายสมพร พงษ์สุวรรณ ทนายความ เดินทางเข้าชี้แจงแทน โดยนายสมพร กล่าวว่า ได้รับมอบอำนาจให้มายื่นหนังสือเลื่อนการชี้แจง เพื่อเพิกถอนการอายัด จากเดิม วันที่ 17, 24, 31 ต.ค. ออกไปเป็นวันที่ 31 ต.ค. และวันที่ 27 ธ.ค. เนื่องจากยังติดขัดปัญหาในการรวบรวมเอกสาร อาทิ ข้อมูลการแจ้งบัญชีทรัพย์สินของคุณหญิงพจมาน ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่ปี 37– 49 เช่นเดียวกับกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้ทำเรื่องประสานไปยัง ป.ป.ช. เพื่อขอเอกสารการแสดงบัญชีทรัพย์สินของคุณหญิงพจมานแล้ว แต่ได้เอกสารมาเพียงบางส่วน ซึ่งยังไม่ครบถ้วน จึงได้ร้องขอให้ คตส. ทำหนังสือขอเอกสารดังกล่าวไปยัง ป.ป.ช. อีกทางหนึ่งด้วย
นายสมพร ยังกล่าวถึงกรณีที่ คตส. ตรวจพบการเคลื่อนย้ายเงินจำนวน 100 ล้านบาท ที่ คตส. เคยมีคำสั่งอายัดไปแล้วในบัญชีของ นายสมพร จนทำให้มีการออกคำสั่งอายัดเพิ่มเติมว่า ยืนยันว่าการเคลื่อนย้ายเงินจำนวน 87 ล้านบาท นั้นตนไม่ได้มีเจตนาที่จะเคลื่อนย้ายเงินเพื่อหลบเลี่ยงคำสั่งการอายัดทรัพย์ของ คตส. เพราะการเคลื่อนย้ายดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนที่ คตส. จะมีคำสั่งอายัดไว้ และเป็นการเคลื่อนย้ายเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายทางธุรกิจตามปกติ
"การเข้ามาว่าความในคดีให้ครอบครัวชินวัตร มีหลายบริษัทเกี่ยวข้องและต้องใช้คนจำนวนมาก แม้กระทั่งมาที่ คตส.ผมก็มาทำงานไม่ได้มาเที่ยว ซึ่งต้องใช้จ่ายเงิน การทำงานจะต้องมีค่าตอบแทน จึงต้องมีการโอนเงินไปสำรองการใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการต่อสู้คดี ส่วนทรัพย์สินทั้งหมด 100 ล้านบาท ที่ถูกอายัดทรัพย์ไว้ขณะนี้ หาก คตส. นัดหมายให้เข้ามาชี้แจงรายละเอียด ก็พร้อมที่จะเดินทางมาชี้แจง" นายสมพร กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คตส. ระบุว่า เงินจำนวน 100 ล้านบาท ยังมีบางส่วนที่ถูกเคลื่อนย้ายออกไป 87 ล้านบาท และเหลือในบัญชีเพียง 5 ล้านกว่าบาท ส่วนที่เหลืออีก 7 ล้านกว่าบาท และยังตามไม่พบนั้น นายสมพร กล่าวว่า เงินไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในบัญชีธนาคารปกติ คตส. สามารถตามหาได้อยู่แล้ว และหากมีคำสั่งอายัดเพิ่มเติม ก็พร้อมที่จะเข้ามาชี้แจง
DSI ส่งสำนวนทุจริตสุวรรณภูมิให้ ป.ป.ช.
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีดีเอสไอ ได้ลงนามส่งสำนวนคดีความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว รวม 5 เรื่อง ตามที่มีผู้ร้องเรียนเป็นคดีพิเศษได้แก่ 1. คดีร้านค้าปลอดอากร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2. ระบบรักษาความปลอดภัย 3. รถเข็นกระเป๋า 4. แท็กซี่ลิมูซีน 5. ระบบไฟฟ้า 400 เฮิรตซ์ และระบบพีซีแอร์ (งวงช้าง) ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมายป.ป.ช. ว่าหากมีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ และน่าเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิดก็ให้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ ซึ่ง ป.ป.ช. ก็จะต้องตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนขึ้นมาทำหน้าที่ หากในอนาคต ป.ป.ช.เห็นว่าคดีน่าจะอยู่ในการสอบสวนของดีเอสไอต่อไป ก็สามารถส่งสำนวนกลับมาให้ได้ นอกจากนี้ ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ยังอยู่ในการพิจารณาของดีเอสไอ อีกจำนวนหนึ่ง และจะส่งให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ ได้แก่ การทุจริตเกี่ยวกับศูนย์ขนส่งและหลังคาผ้าใบ
พ.อ.ปิยะวัฒก์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวน คดีกลุ่มผู้มีอิทธิพลบุกรุกโค่นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสบกกฝั่งขวา บ้านห้วยข่อย หล่อย ม.12 ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ว่า จากการลงพื้นที่ พบว่าพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติจริง และมีบุกรุกรวมเนื้อที่ 918 ไร่ คิดเป็น มูลค่าความเสียหาย 62 ล้านบาท และมีการยึดรถแบ็คโฮ ไม้ของกลาง จำนวนหนึ่ง ซึ่ง ขณะนี้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ จะมีการทำหนังสือประสานงานไปยังอัยการ เพื่อให้ส่งอัยการมาร่วมในการ สอบสวน และเชิญอัยการเข้าร่วมประชุมโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะมีการลงพื้นที่อีกครั้งในสัปดาห์หน้า เพื่อไปสอบสวนข้อเท็จจริง เชื่อว่าจะสามารถสรุปสำนวนและตั้ง ข้อกล่าวหาแก่ผู้กระทำผิดในคดีนี้ได้ภายใน 1-2 เดือน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้รับมอบสำนวนสอบสวนที่ทางจังหวัดได้จัดทำไว้ ซึ่งมีนางวันดี อินทร อดีตปลัดอาวุโส อ.เชียงแสน เป็นหัวหน้าทีมสอบสวน และอยู่ในระหว่างการตรวจสำนวนและเอกสาร ว่าเพียงพอหรือไม่ ทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร เบื้องต้นพบว่า กลุ่มที่เข้าไปบุกรุกเป็นกลุ่มนายทุนไทยร่วมกับนายทุนต่างชาติ โดยอาจเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกลุ่มการเมืองในพื้นที่ ทำให้ คณะกรรมการสอบสวนฯเดิมถูกกดดันอย่างมาก ส่วนกรณีที่มีการย้ายปลัดอาวุโสออกนอก พื้นที่นั้น ผวจ.เชียงราย ให้เหตุผลว่า เป็นการย้ายเพื่อความปลอดภัยของตัวปลัดอาวุโสเอง ซึ่งขณะนี้ได้ย้ายกลับมาที่ อ .เวียงชัย จ. เชียงราย ซึ่งอยู่ใกล้กับเขต อ.เมืองแล้ว น่าจะมีความปลอดภัยสูง