รายการ"ยามเฝ้าแผ่นดิน"ออกอากาศทาง เอเอสทีวี คืนวันที่ 16 ต.ค. นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ และนางจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ ร่วมดำเนินรายการ โดยในช่วงแรกได้กล่าวถึงการไปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของตัวแทนทีมงานเอเอสทีวี และสื่อในเครือผู้จัดการ ที่โรงพยาบาล ซึ่งได้พบกับบรรยากาศที่พสกนิกรต่างหลั่งไหลไปลงนามถวายพระพรด้วยความเรียบร้อย และด้วยความสุดหัวใจ
ต่อมาผู้ดำเนินรายการ กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่กลุ่มวัยรุ่นไทยคลั่งไคล้วงดนตรีบอยแบนด์ “ทงบังชินกิ”จากเกาหลีว่า เป็นการหลงปลื้มเฉพาะภาพภายนอก โดยไม่ได้ดูถึงรากความเป็นมาของดารานักร้องเหล่านี้ว่ากว่าจะขึ้นมามีชื่อเสียงได้ ต้องผ่านการฝึกซ้อม และการต่อสู้กับอุปสรรคมามากน้อยเพียงใด เพราะคนเกาหลีนั้น ใครจะมีชื่อเสียงขึ้นมาได้ ต้องมีความสามารถจริงๆ ไม่ได้ดูแค่หน้าตาหล่อเหลาเท่านั้น
ผู้ดำเนินรายการยอมรับว่า เกาหลีนั้นพัฒนาตัวเองได้เร็วมาก จนเป็นที่ยอมรับทั้งเรื่องเทคโนโลยี อิเลคทรอนิคส์ โทรศัพท์มือถือ การท่องเที่ยว อาหาร และภาพยนตร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์เกาหลีนั้น ได้สะท้อนในเรื่องจริยธรรม ความเอาจริงเอาจริงในการทำงานหนักเพื่อสร้างชาติ และปลูกฝังชาตินิยม รัฐบาลเกาหลีสามารถใช้ภาพยนตร์เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมวัฒนธรรมของเขาเอง ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมของไทยต้องดูเป็นตัวอย่างว่าทำไมวงดนตรีของเกาหลีจึงครองใจวัยรุ่นไทยได้ ไม่ใช่คอยแต่ไปไล่จับเด็กไม่นุ่งกางเกงในหรือคนใส่กระโปรงสั้นบางคน
ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า ปัญหาของวัยรุ่นไทยก็คือการไร้ราก ไม่รู้ว่าตัวเองมาจากไหน อนาคตข้างหน้าจะไปยังไง เรื่องนี้อันตรายมาก โดยธรรมชาติวัยรุ่นจะนิยมมีวีรบุรุษ แต่วัยรุ่นไทยขาดคนที่จะมาเป็นวีรบุรุษ เบิร์ด ธงไชย แม็คอินไตย์ ก็เคยเป็นวีรบุรุษยุคหนึ่ง และนักการเมือง ก็เป็นวีระบุรุษได้
“คนอย่างคุณอภิรักษ์ โกษะโยยิน คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ก็เป็นได้ คนอย่าง พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ก็เป็นแล้ว แต่ปัญหาก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับวีรบุรุษไทย การส่งเสริมให้คนเป็นวีรบุรุษมีมากแค่ไหน ระบบการเมือง สังคม ทุกอย่างมันเป็นต้นแบบหรือเปล่า หรือจะมีแต่ภาพที่ เกิดขึ้นในแวดวงการเมืองทุกวันนี้ มันเจริญหูเจริญตา น่าเอาอย่างแค่ไหน เราเคยหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า มันจะนำสิ่งที่ดีมาสู่สังคมไทยได้บ้าง แต่ตอนนี้ เราจะรู้สึกว่าเรามีความหวังค่อนข้างน้อย คนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสเข้าไปแจ้งเกิดในวงการเมือง แล้วเราจะให้วัยรุ่นเรามีวีรบุรุษได้อย่างไร เมื่อไม่มีอะไรให้เขายึดเหนี่ยว เขาก็ไปกรี๊ด ทงบังชินกิดีกว่า”
ต่อมา ผู้ดำเนินรายการ สนทนาถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับเดิม โดยให้นายกรัฐมนตรี เป็น ผอ.รมน. จากเดิมที่เป็น ผบ.ทบ. โดยนายคำนูณกล่าวว่า ร่างใหม่จะดีกว่าร่างเดิมหรือไม่ ต้องดูรายละเอียดก่อน แต่คิดว่าที่มีการปรับแก้ คงเป็นเพราะในช่วงท้ายๆ รัฐบาลคงต้องการปล่อยกฎหมายสำคัญๆ ออกมา ซึ่งหลายฝ่ายก็เป็นห่วงว่า จะพิจารณาทันหรือไม่ เพราะขณะนี้ก็เดือนตุลาคมแล้ว ขณะที่กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างน้อย 1 เดือน
เย้ย “ต้านซื้อเสียง”แค่คำสวยหรู
ส่วนการที่ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. และมีมติเห็นชอบให้การป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาติ โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการป้องกันซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า ดูเหมือนจะเป็นโรคของรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัย ที่ชอบคิดคำสวยหรู ตั้งวาระแห่งชาติเรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งก็ไม่สามารถทำอะไรได้จริง
“จะไปแก้ยังไง การซื้อสิทธิขายเสียง มันก็ซื้อกันโครมๆ คนที่ได้เป็น ส.ส. มีใครใช้เงินน้อยกว่า 10 ล้านบาทบ้าง 10 ล้านนี่เป็นตัวเลขของ ส.ส.ที่เป็นคนดีด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นระหว่างสิ่งที่เป็นตัวหนังสือที่บัญญัติไว้ กับความเป็นจริงมันสวนทางกันอยู่ ที่สำคัญ ขณะนี้เวลากระชั้นชิดมาแล้ว เขตเลือกตั้งก็ยังแบ่งไม่เสร็จ เขต ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 8 เขตก็เพิ่งแบ่งเสร็จ สุดท้ายแล้วระยะเวลาการหาเสียงจะสั้นมาก นับจากวันรับสมัครวันสุดท้าย 16 พ.ย. ก็จะมีเวลาแค่เดือนเศษๆ ก่อนเลือกตั้ง ขณะที่กติกาของ กกต.ก็กำหนดไว้ละเอียดยิบ แต่เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น แค่จะไปเยี่ยมชาวบ้านสักคนละครั้งก็ยังยาก ส่วนนโยบายก็มีเวลาในการประกาศน้อย เพราะฉะนั้นการใช้เงินจึงสำคัญที่สุด และการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเตรียมเงินไว้ใช้เพื่อเอาชนะสูงมาก”
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า สำหรับชาวบ้านแล้ว การรับเงินเพื่อไปลงคะแนนให้คนใดคนหนึ่ง เขาไม่ถือว่าเป็นความผิด คนดีเขาอยากเลือก แต่ถ้าไม่มีเงินไปจ่ายให้ชาวบ้าน เขาก็เลือกไม่ได้ ถึงเป็นคนดีก็ต้องมีให้บ้าง อาจ 100-200 บาท เป็นเหมือนค่ารถหรือค่าป่วยการ สังคมนอกเมืองหรือแม้แต่สังคมในเมืองเองเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ที่พูดว่าจะให้การป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาตินั้น มันไม่มีทาง
นายคำนูณ ได้ยกคำอภิปรายของนายกีรติ บุญเจือ สมาชิก สนช.ที่เคยอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อย่าไปด่าชาวบ้านที่รับเงิน แล้วก็อย่าไปสอนชาวบ้านแบบผิดๆ ว่าให้รับเงินได้แต่ไม่ไปต้องเลือกคนที่แจกเงิน จะต้องสอนชาวบ้านใหม่ ว่า การรับเงินแล้วไปลงคะแนนให้นั้นถูกแล้วที่รู้จักกตัญญูรู้บุญคุณคน แต่เป็นการกตัญญูที่ผิดคน เพราะคนที่เราควรกตัญญูนั้น คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่างหาก เนื่องจากเดิมนั้นการปกครองประเทศเป็นพระราชอำนาจ แต่รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานให้กับประชาชน ซึ่ง
การพูดแบบนี้เป็นการสอนที่ดี และรัฐบาลควรจะมีอะไรแบบนี้ เมื่อจะเป็นวาระแห่งชาติแล้ว จะต้องมีมากกว่า มติ ครม. หรือคำพูดสวยหรู ไม่เช่นนั้นบ้านเราก็จะมีแต่การเล่นลิเก วัยรุ่นไทยจึงไปร้องไห้กับทงบังชินกิแทน
ต่อมาผู้ดำเนินรายการ กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่กลุ่มวัยรุ่นไทยคลั่งไคล้วงดนตรีบอยแบนด์ “ทงบังชินกิ”จากเกาหลีว่า เป็นการหลงปลื้มเฉพาะภาพภายนอก โดยไม่ได้ดูถึงรากความเป็นมาของดารานักร้องเหล่านี้ว่ากว่าจะขึ้นมามีชื่อเสียงได้ ต้องผ่านการฝึกซ้อม และการต่อสู้กับอุปสรรคมามากน้อยเพียงใด เพราะคนเกาหลีนั้น ใครจะมีชื่อเสียงขึ้นมาได้ ต้องมีความสามารถจริงๆ ไม่ได้ดูแค่หน้าตาหล่อเหลาเท่านั้น
ผู้ดำเนินรายการยอมรับว่า เกาหลีนั้นพัฒนาตัวเองได้เร็วมาก จนเป็นที่ยอมรับทั้งเรื่องเทคโนโลยี อิเลคทรอนิคส์ โทรศัพท์มือถือ การท่องเที่ยว อาหาร และภาพยนตร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์เกาหลีนั้น ได้สะท้อนในเรื่องจริยธรรม ความเอาจริงเอาจริงในการทำงานหนักเพื่อสร้างชาติ และปลูกฝังชาตินิยม รัฐบาลเกาหลีสามารถใช้ภาพยนตร์เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมวัฒนธรรมของเขาเอง ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมของไทยต้องดูเป็นตัวอย่างว่าทำไมวงดนตรีของเกาหลีจึงครองใจวัยรุ่นไทยได้ ไม่ใช่คอยแต่ไปไล่จับเด็กไม่นุ่งกางเกงในหรือคนใส่กระโปรงสั้นบางคน
ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า ปัญหาของวัยรุ่นไทยก็คือการไร้ราก ไม่รู้ว่าตัวเองมาจากไหน อนาคตข้างหน้าจะไปยังไง เรื่องนี้อันตรายมาก โดยธรรมชาติวัยรุ่นจะนิยมมีวีรบุรุษ แต่วัยรุ่นไทยขาดคนที่จะมาเป็นวีรบุรุษ เบิร์ด ธงไชย แม็คอินไตย์ ก็เคยเป็นวีรบุรุษยุคหนึ่ง และนักการเมือง ก็เป็นวีระบุรุษได้
“คนอย่างคุณอภิรักษ์ โกษะโยยิน คุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ก็เป็นได้ คนอย่าง พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ก็เป็นแล้ว แต่ปัญหาก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับวีรบุรุษไทย การส่งเสริมให้คนเป็นวีรบุรุษมีมากแค่ไหน ระบบการเมือง สังคม ทุกอย่างมันเป็นต้นแบบหรือเปล่า หรือจะมีแต่ภาพที่ เกิดขึ้นในแวดวงการเมืองทุกวันนี้ มันเจริญหูเจริญตา น่าเอาอย่างแค่ไหน เราเคยหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า มันจะนำสิ่งที่ดีมาสู่สังคมไทยได้บ้าง แต่ตอนนี้ เราจะรู้สึกว่าเรามีความหวังค่อนข้างน้อย คนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสเข้าไปแจ้งเกิดในวงการเมือง แล้วเราจะให้วัยรุ่นเรามีวีรบุรุษได้อย่างไร เมื่อไม่มีอะไรให้เขายึดเหนี่ยว เขาก็ไปกรี๊ด ทงบังชินกิดีกว่า”
ต่อมา ผู้ดำเนินรายการ สนทนาถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับเดิม โดยให้นายกรัฐมนตรี เป็น ผอ.รมน. จากเดิมที่เป็น ผบ.ทบ. โดยนายคำนูณกล่าวว่า ร่างใหม่จะดีกว่าร่างเดิมหรือไม่ ต้องดูรายละเอียดก่อน แต่คิดว่าที่มีการปรับแก้ คงเป็นเพราะในช่วงท้ายๆ รัฐบาลคงต้องการปล่อยกฎหมายสำคัญๆ ออกมา ซึ่งหลายฝ่ายก็เป็นห่วงว่า จะพิจารณาทันหรือไม่ เพราะขณะนี้ก็เดือนตุลาคมแล้ว ขณะที่กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างน้อย 1 เดือน
เย้ย “ต้านซื้อเสียง”แค่คำสวยหรู
ส่วนการที่ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. และมีมติเห็นชอบให้การป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาติ โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการป้องกันซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า ดูเหมือนจะเป็นโรคของรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัย ที่ชอบคิดคำสวยหรู ตั้งวาระแห่งชาติเรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งก็ไม่สามารถทำอะไรได้จริง
“จะไปแก้ยังไง การซื้อสิทธิขายเสียง มันก็ซื้อกันโครมๆ คนที่ได้เป็น ส.ส. มีใครใช้เงินน้อยกว่า 10 ล้านบาทบ้าง 10 ล้านนี่เป็นตัวเลขของ ส.ส.ที่เป็นคนดีด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นระหว่างสิ่งที่เป็นตัวหนังสือที่บัญญัติไว้ กับความเป็นจริงมันสวนทางกันอยู่ ที่สำคัญ ขณะนี้เวลากระชั้นชิดมาแล้ว เขตเลือกตั้งก็ยังแบ่งไม่เสร็จ เขต ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 8 เขตก็เพิ่งแบ่งเสร็จ สุดท้ายแล้วระยะเวลาการหาเสียงจะสั้นมาก นับจากวันรับสมัครวันสุดท้าย 16 พ.ย. ก็จะมีเวลาแค่เดือนเศษๆ ก่อนเลือกตั้ง ขณะที่กติกาของ กกต.ก็กำหนดไว้ละเอียดยิบ แต่เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น แค่จะไปเยี่ยมชาวบ้านสักคนละครั้งก็ยังยาก ส่วนนโยบายก็มีเวลาในการประกาศน้อย เพราะฉะนั้นการใช้เงินจึงสำคัญที่สุด และการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเตรียมเงินไว้ใช้เพื่อเอาชนะสูงมาก”
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า สำหรับชาวบ้านแล้ว การรับเงินเพื่อไปลงคะแนนให้คนใดคนหนึ่ง เขาไม่ถือว่าเป็นความผิด คนดีเขาอยากเลือก แต่ถ้าไม่มีเงินไปจ่ายให้ชาวบ้าน เขาก็เลือกไม่ได้ ถึงเป็นคนดีก็ต้องมีให้บ้าง อาจ 100-200 บาท เป็นเหมือนค่ารถหรือค่าป่วยการ สังคมนอกเมืองหรือแม้แต่สังคมในเมืองเองเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ที่พูดว่าจะให้การป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาตินั้น มันไม่มีทาง
นายคำนูณ ได้ยกคำอภิปรายของนายกีรติ บุญเจือ สมาชิก สนช.ที่เคยอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อย่าไปด่าชาวบ้านที่รับเงิน แล้วก็อย่าไปสอนชาวบ้านแบบผิดๆ ว่าให้รับเงินได้แต่ไม่ไปต้องเลือกคนที่แจกเงิน จะต้องสอนชาวบ้านใหม่ ว่า การรับเงินแล้วไปลงคะแนนให้นั้นถูกแล้วที่รู้จักกตัญญูรู้บุญคุณคน แต่เป็นการกตัญญูที่ผิดคน เพราะคนที่เราควรกตัญญูนั้น คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่างหาก เนื่องจากเดิมนั้นการปกครองประเทศเป็นพระราชอำนาจ แต่รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานให้กับประชาชน ซึ่ง
การพูดแบบนี้เป็นการสอนที่ดี และรัฐบาลควรจะมีอะไรแบบนี้ เมื่อจะเป็นวาระแห่งชาติแล้ว จะต้องมีมากกว่า มติ ครม. หรือคำพูดสวยหรู ไม่เช่นนั้นบ้านเราก็จะมีแต่การเล่นลิเก วัยรุ่นไทยจึงไปร้องไห้กับทงบังชินกิแทน