xs
xsm
sm
md
lg

รายงาน:ความเสี่ยงและภาระทางการคลัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เนื่องจากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่ามา รัฐบาลมีการดําเนินกิจกรรมนอกงบประมาณในโครงการต่างๆ มากมายหลายโครงการ ทั้งที่เป็นโครงการประชานิยมและโครงการที่เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทําให้กิจกรรมนอกงบประมาณกลายเป็นแหล่งที่มาที่สําคัญของภาระทางการคลัง แต่เนื่องจากระบบการรายงานข้อมูลการคลังในปัจจุบัน มีขอบเขตจํากัดเฉพาะในส่วนของงบประมาณ จึงทําให้ไม่สามารถประเมินภาระทางการคลังของรัฐบาลได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะนําไปสู่การเกิดความเสี่ยงทางการคลังอันเนื่องมาจากการไม่รู้สถานะที่แท้จริงด้านการคลังของรัฐบาล

ดังนั้นสํานักงานเศรษฐกิจการคลังโดยกลุ่มงานบริหารความเสี่ยงด้านการคลัง จึงได้จัดทําการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงและภาระทางการคลังที่เกิดจากกิจกรรมนอกงบประมาณ โดยการรวบรวมภาระทางการคลังจากกิจกรรมนอกงบประมาณ นํามาจัดหมวดหมู่ข้อมูล และจัดกลุ่มของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนประมาณการภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นและที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อประเมินความเสี่ยงและภาระทางการคลัง

จากการศึกษาพบว่าความเสี่ยงและภาระทางการคลังจากกิจกรรมนอกงบประมาณ พบว่า สามารถรักษาตัวชี้วัดที่ 1 ของกรอบความยั่งยืนทางการคลังไว้ได้เมื่อมีการคํานึงถึงภาระทางการคลังจากกิจกรรมนอกงบประมาณ รายการหนี้สินต่างๆ ที่เป็นหนี้สาธารณะตามหลักความโปร่งใสทางการคลัง และหนี้สินที่เป็นภาระเสี่ยงในการวิเคราะห์สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP

แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าหนี้สินจากกิจกรรมนอกงบประมาณต่างๆ นั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลัง แต่เนื่องจาก GDP ของประเทศไทยมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับจํานวนหนี้สาธารณะคงค้างในปัจจุบัน และในการวิเคราะห์มีสมมติฐานการขยายตัวของ GDP ที่ประมาณร้อยละ 7.5 ต่อปี

ดังนั้นหากรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจไม่มีการกู้เพิ่มเติม สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะลดลงอยู่แล้ว โดยประมาณร้อยละ7.5 ต่อปี ดังนั้นผลการวิเคราะห์ที่ว่าจะสามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ได้ไม่เกิน ร้อยละ 50 นั้น เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP Growth) ที่เป็นฐานของการคํานวณแม้ว่าภาระทางการคลังจากกิจกรรมนอกงบประมาณเท่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับฐานที่ใหญ่ขึ้นก็จะทําให้สัดส่วนลดลงได้

โดยปัจจัยที่สําคัญในการประเมินความเสี่ยงและภาระทางการคลังได้แก่ (1) การรวบรวมภาระทางการคลังที่ครบถ?วนและครอบคลุมทั้งภาระจากกิจกรรมในและนอกงบประมาณ (2) วิธีในการประมาณการภาระทางการคลังในอนาคต และ (3) การเลือกใช่เครื่องมือในการวัดที่เหมาะสม

ทั้งนี้การรวบรวมภาระทางการคลังที่ครบถ้วนและครอบคลุมทั้งภาระจากกิจกรรมในและนอกงบประมาณ ในการศึกษานี้มีข้อจํากัดเรื่องข้อมูลในส่วนของกิจกรรมนอกงบประมาณ อันเนื่องมา จากการเข้าถึงข้อมูลได้ค่อนข้างยาก ซึ่งสามารถที่จะปรับปรุงและพัฒนา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมให้ครอบคลุมครบถ้วนมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนการชดเชยการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจ ทั้งในส่วนของ Public Service Obligation (PSO) และ Public Service Agreement (PSA) ที่รัฐบาลโดยสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกําลังดําเนินการอยู่ ซึ่งการเพิ่มขอบเขตของข้อมูลนี้จะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพรวมของภาระทางการคลังที่ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น