นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต. )ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่า ภายหลังจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ มีผลบังคับใช้ กกต. จะกำหนดเรื่องการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ประมาณ กลางเดือนต.ค. โดยการแบ่งเขตแบบสัดส่วนได้หารือกันไปแล้ว ส่วนการแบ่งเขต ส.ส.เขต ให้ กกต.จังหวัดเสนอรูปแบบส่งมาให้ กกต.กลางพิจารณาภายในวันที่ 15 ต.ค. นี้ จากนั้นจะเชิญพรรคการเมืองหารือเรื่องดังกล่าว และเรื่องค่าใช้จ่ายในการหาเสียงอีกครั้ง ซึ่งพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และส.ว. มีการเปลี่ยนหลักการไปมากพอสมควร จึงอยากฝากพรรคการเมืองให้ศึกษากฎหมาย โดยเฉพาะ มาตรา 59 และมาตรา 60 กำหนดเรื่องการติดป้ายหาเสียงให้กกต.เป็นผู้ดำเนินการจัดสถานที่ติดป้ายหาเสียง ทำให้ผู้สมัครไม่สามารถติดป้ายหาเสียงหรือโฆษณาหาเสียงตามสื่อต่างๆ ได้ตามใจชอบ ซึ่งพรรคการเมืองที่ดำเนินการติดป้ายไปแล้ว ขณะนี้ก็ได้แต่ตักเตือน แต่ถ้าพ.ร.ฎ กำหนดวันเลือกตั้งมีผลใช้บังคับก็ต้องปลดป้ายลงทันที แต่ในวันนี้ ( 9 ต.ค.) กกต.จะประชุมเพื่อเสนอเรื่องให้ครม.กำหนดวันเลือกตั้ง และคิดว่าประมาณปลายเดือนต.ค.-ต้นเดือนพ.ย. พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง จะมีผลบังคับใช้
นอกจากนี้ การฉวยโอกาสแจกสิ่งของก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งนั้น สามารถนำมาพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงได้ โดยจะดูเจตนาเป็นหลักว่า ต้องการทำเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้งหรือไม่ เช่นเดียวกับการบริจาค หรือการทำบุญทอดกฐิน ผ้าป่า ที่จะมีขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษานี้ กกต.ก็จะจับตาดูเป็นพิเศษ
ส่วนที่นายกฯ ต้องการให้กกต. ตรวจสอบเรื่องการซื้อเสียงผ่านบัตรเครดิต บัตรเอเทีเอ็ม กกต. ก็ต้องดูเบื้องต้นว่ามีเค้าลางว่ามีการซื้อเสียงหรือไม่ เพราะการเข้าไปตรวจสอบบัญชีของธนาคาร จะกระทบสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้น การตรวจสอบต้องมีน้ำหนัก และข้อมูลพอสมควร ส่วนเรื่องการใช้คะแนนสอบแลกคะแนนเสียงนั้น ถือว่าช่วงนี้ยังไกลเกินไป ไม่ทราบว่าข่าวมาจากพื้นที่ใด แต่การที่ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลางนั้น เราจะขอเป็นมติครม. เพื่อให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลาง หากพบว่าข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง ก็จะรายงานให้ต้นสังกัดรับทราบ เพื่อลงโทษตามกฎหมายต่อไป
"เมื่อพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ และมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ตั้งแต่วันนี้ (8 ต.ค. ) ถือว่านับถอยหลัง 90 วัน ถึงฝนตน แดดออก เปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี กกต.ก็ต้องเดินหน้าต่อไปให้มีการเลือกตั้ง เว้นอย่างเดียวที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้คือ ไม่มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ เพราะรัฐธรรมนูญนี้ผ่านประชามติแล้ว แม้นายกฯ ลาออก บทเฉพาะกาลก็เขียนไว้ว่า ไม่ให้เอาเรื่องนายกฯ ต้องเป็นส.ส .มาบังคับใช้ โดยให้ประธานสนช. เป็นผู้รับผิดชอบหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าต้องคนที่เคยเป็นสนช. มาก่อน อาจจะเป็นรองนายกฯก็ได้ แต่ผมมั่นใจว่า นายกฯ จะไม่ลาออกจากตำแหน่งอย่างแน่นอน เพราะคนที่คิดจะลาออกคงไม่มาหารือกับ กกต.นานถึง 3 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง และผมก็สบายใจที่ นายกรัฐมนตรีประกาศไม่เล่นการเมืองอีกต่อไป เพราะหมายความว่า การเลือกตั้งครั้งนี้นายกฯ จะร่วมดูแลและจะไม่มีการหวังผลทางการเมืองเกิดขึ้น"
นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า คาดว่าประมาณกลางเดือน จะนัดประชุม กกต.จังหวัด และผอ.กกต.จังหวัด เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจการจัดการเลือกตั้งที่จะถือนี้ ให้บริสุทธิ์ ยุติธรรมที่สุด ซึ่งที่มีข่าวว่ากกต.จังหวัดเป็นคนของพรรคการเมืองนั้น หากใครมีข้อมูลก็ขอให้ส่งมา ไม่ได้เพิกเฉยต้องดำเนินการตรวจสอบ ที่ และตามระเบียบ หากพบว่า กกต.จังหวัดไม่เป็นกลางก็สามารถสั่งพักงาน หรือให้พ้นจากตำแหน่งได้
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่า ตนยืนยันว่าจะยังไม่ขอโทษ พีเน็ต เพราะผลการตรวจสอบการนำเงินไปใช้ในการตรวจสอบการเลือกตั้งเมื่อปี 48 ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ช่วงเลือกตั้งดังกล่าวนั้น มีองค์กรในเครื่อข่ายของ พีเน็ต ได้เข้าตรวจสอบการเลือกตั้งเมื่อปี 48 ด้วย ซึ่งมีการเช็นรับรองจาก พล.อ.สายหยุด เกิดผล รองประธานมูลองค์กรกลาง (พีเน็ต) เพื่อให้ตรวจสอบการเลือกตั้งด้วย ซึ่งจนถึงขณะนี้องค์กรเครือข่ายพีเน็ต ยังไม่ได้ทำเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเลือกตั้งส่งมายัง กกต. ส่วนเรื่องการจะขอโทษ หรือไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหา แต่ขอให้รอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของทางสำนักงานกาตรวจเงินแผ่นดิน ที่จะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด ทั้งนี้หากผลการตรวจสอบพบว่า ไม่ผิด ตนก็พร้อมจะขอโทษ แต่หากพบว่ามีการกระทำที่ผิด ก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
**ปชป.ปลดป้าย-หยุดยิงสปอตชั่วคราว
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกสำนักเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคเป็นประธาน ว่าที่ประชุมมีมติให้ปลดป้ายบิลบอร์ด รณรงค์หาเสียงของพรรค และยุติการออกอากาศสปอตโฆษณาของพรรคทางวิทยุ และโทรทัศน์ชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกา การเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ พรรคแสดงความเป็นห่วงเรื่อง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่บทบัญญัติมีการจำกัดในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เช่น การติดป้ายหาเสียง การจำกัดจุดปราศรัย ฯลฯ ดังนั้น พรรคจะมีการสัมมนาผู้สมัครส.ส.ทั้งหมด เพื่อทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าว ภายหลังอนุมัติรายชื่อครบหมดแล้ว
นายเทพไท กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ใน 15 จังหวัด โดยมี 13 จังหวัด ที่อนุมัติผู้สมัครทั้งจังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรปราการ สุพรรณบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี แพร่ น่าน นนทบุรี ปทุมธานี อุทัยธานี และร้อยเอ็ด ขณะที่อีก 2 จังหวัด คือ อุบลราชธานี และยโสธร เป็นการอนุมัติผู้สมัครบางส่วน
นอกจากนี้ การฉวยโอกาสแจกสิ่งของก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งนั้น สามารถนำมาพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงได้ โดยจะดูเจตนาเป็นหลักว่า ต้องการทำเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้งหรือไม่ เช่นเดียวกับการบริจาค หรือการทำบุญทอดกฐิน ผ้าป่า ที่จะมีขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษานี้ กกต.ก็จะจับตาดูเป็นพิเศษ
ส่วนที่นายกฯ ต้องการให้กกต. ตรวจสอบเรื่องการซื้อเสียงผ่านบัตรเครดิต บัตรเอเทีเอ็ม กกต. ก็ต้องดูเบื้องต้นว่ามีเค้าลางว่ามีการซื้อเสียงหรือไม่ เพราะการเข้าไปตรวจสอบบัญชีของธนาคาร จะกระทบสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้น การตรวจสอบต้องมีน้ำหนัก และข้อมูลพอสมควร ส่วนเรื่องการใช้คะแนนสอบแลกคะแนนเสียงนั้น ถือว่าช่วงนี้ยังไกลเกินไป ไม่ทราบว่าข่าวมาจากพื้นที่ใด แต่การที่ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลางนั้น เราจะขอเป็นมติครม. เพื่อให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลาง หากพบว่าข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง ก็จะรายงานให้ต้นสังกัดรับทราบ เพื่อลงโทษตามกฎหมายต่อไป
"เมื่อพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ และมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ตั้งแต่วันนี้ (8 ต.ค. ) ถือว่านับถอยหลัง 90 วัน ถึงฝนตน แดดออก เปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี กกต.ก็ต้องเดินหน้าต่อไปให้มีการเลือกตั้ง เว้นอย่างเดียวที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้คือ ไม่มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ เพราะรัฐธรรมนูญนี้ผ่านประชามติแล้ว แม้นายกฯ ลาออก บทเฉพาะกาลก็เขียนไว้ว่า ไม่ให้เอาเรื่องนายกฯ ต้องเป็นส.ส .มาบังคับใช้ โดยให้ประธานสนช. เป็นผู้รับผิดชอบหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าต้องคนที่เคยเป็นสนช. มาก่อน อาจจะเป็นรองนายกฯก็ได้ แต่ผมมั่นใจว่า นายกฯ จะไม่ลาออกจากตำแหน่งอย่างแน่นอน เพราะคนที่คิดจะลาออกคงไม่มาหารือกับ กกต.นานถึง 3 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง และผมก็สบายใจที่ นายกรัฐมนตรีประกาศไม่เล่นการเมืองอีกต่อไป เพราะหมายความว่า การเลือกตั้งครั้งนี้นายกฯ จะร่วมดูแลและจะไม่มีการหวังผลทางการเมืองเกิดขึ้น"
นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า คาดว่าประมาณกลางเดือน จะนัดประชุม กกต.จังหวัด และผอ.กกต.จังหวัด เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจการจัดการเลือกตั้งที่จะถือนี้ ให้บริสุทธิ์ ยุติธรรมที่สุด ซึ่งที่มีข่าวว่ากกต.จังหวัดเป็นคนของพรรคการเมืองนั้น หากใครมีข้อมูลก็ขอให้ส่งมา ไม่ได้เพิกเฉยต้องดำเนินการตรวจสอบ ที่ และตามระเบียบ หากพบว่า กกต.จังหวัดไม่เป็นกลางก็สามารถสั่งพักงาน หรือให้พ้นจากตำแหน่งได้
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่า ตนยืนยันว่าจะยังไม่ขอโทษ พีเน็ต เพราะผลการตรวจสอบการนำเงินไปใช้ในการตรวจสอบการเลือกตั้งเมื่อปี 48 ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ช่วงเลือกตั้งดังกล่าวนั้น มีองค์กรในเครื่อข่ายของ พีเน็ต ได้เข้าตรวจสอบการเลือกตั้งเมื่อปี 48 ด้วย ซึ่งมีการเช็นรับรองจาก พล.อ.สายหยุด เกิดผล รองประธานมูลองค์กรกลาง (พีเน็ต) เพื่อให้ตรวจสอบการเลือกตั้งด้วย ซึ่งจนถึงขณะนี้องค์กรเครือข่ายพีเน็ต ยังไม่ได้ทำเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเลือกตั้งส่งมายัง กกต. ส่วนเรื่องการจะขอโทษ หรือไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหา แต่ขอให้รอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของทางสำนักงานกาตรวจเงินแผ่นดิน ที่จะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด ทั้งนี้หากผลการตรวจสอบพบว่า ไม่ผิด ตนก็พร้อมจะขอโทษ แต่หากพบว่ามีการกระทำที่ผิด ก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
**ปชป.ปลดป้าย-หยุดยิงสปอตชั่วคราว
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกสำนักเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคเป็นประธาน ว่าที่ประชุมมีมติให้ปลดป้ายบิลบอร์ด รณรงค์หาเสียงของพรรค และยุติการออกอากาศสปอตโฆษณาของพรรคทางวิทยุ และโทรทัศน์ชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกา การเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ พรรคแสดงความเป็นห่วงเรื่อง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่บทบัญญัติมีการจำกัดในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เช่น การติดป้ายหาเสียง การจำกัดจุดปราศรัย ฯลฯ ดังนั้น พรรคจะมีการสัมมนาผู้สมัครส.ส.ทั้งหมด เพื่อทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าว ภายหลังอนุมัติรายชื่อครบหมดแล้ว
นายเทพไท กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ใน 15 จังหวัด โดยมี 13 จังหวัด ที่อนุมัติผู้สมัครทั้งจังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรปราการ สุพรรณบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี แพร่ น่าน นนทบุรี ปทุมธานี อุทัยธานี และร้อยเอ็ด ขณะที่อีก 2 จังหวัด คือ อุบลราชธานี และยโสธร เป็นการอนุมัติผู้สมัครบางส่วน