เชียงราย - "สภาพัฒน์"จับมือเอดีบี เดินหน้าศึกษาศักยภาพแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ รับการเชื่อมโยงระบบคมนาคมไทย พม่า ลาว จีน จี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หาช่องทางสร้างโอกาสให้ สปป.ลาว เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศภาคี แทนเป็นพื้นที่ทางผ่านเท่านั้น พร้อมขอ จีน เพิ่มทางรถไฟผ่านลาวเหนือ-เชียงรายเชื่อมต่อเข้ากับทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย อีกช่องทางหนึ่ง
เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุม ศึกษาศักยภาพการพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ระยะที่ 2 ที่จังหวัดเชียงราย โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำหนังานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ พร้อมด้วยมิสเตอร์ยีน เพียรรี่ เวอร์บิส ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุม มีบุคลากรภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่ จ.เชียงราย ร่วมการประชุมประมาณ 80 คน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อหารือถึงความร่วมมือของประเทศลุ่มน้ำโขง และการรายงานสถานภาพของการศึกษาการพัฒนา Logistic ในแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ พร้อมทั้งรับฟังเป้าหมายการพัฒนาหรือวิสัยทัศน์การพัฒนา ที่ประชาชนชาวเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงต้องการ
ทั้งนี้ เพราะเชียงรายเป็นประตูไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 2 ด้าน และเชื่อมไปถึงจีนตอนใต้ รวมถึงการกำหนดวิธีการดำเนินงาน เพื่อที่จะให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคนี้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ในที่ประชุมจะมีการพิจารณาอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับโครงข่ายการคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน ก่อนที่จะพัฒนาขึ้นไปในระบบ Logistic ด้านการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน เพื่อให้การขนส่งมีความรวดเร็วขึ้น ระดับสูงสุดของการพัฒนาคือการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร การท่องเที่ยว ที่จะให้ประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ได้สูงสุด
นายอาคม กล่าวอีกว่า ศักยภาพด้านการขนส่งเชียงราย เส้นทางตะวันตก มีด่านแม่สาย 2 ที่เชื่อมกับประเทศพม่า ซึ่งเปิดดำเนินการแล้วมีศักยภาพมาก เป็นการเตรียมพร้อมรองรับปริมาณสินค้าที่จะผ่านเข้ามาในอนาคต และถือว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดแต่ก็ห่วงเรื่องของความมั่นคง
ส่วนเส้นทางด้านตะวันออกก็มีศักยภาพมากเช่นกัน แต่มีพื้นที่ผ่านภูเขาและแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ มีต้นทุนในการขนส่งสูง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียด และสิ่งที่น่าเป็นห่วงในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันคือผลประโยชน์โดยตรงจะเกิดขึ้นกับทางการจีนและไทย
ขณะที่ลาวซึ่งเป็นจุดผ่านจะได้ประโยชน์น้อย ซึ่งการพัฒนาจะต้องให้เอดีบีศึกษาเพิ่มเติมว่าจะทำอย่างไรให้ลาวได้รับผลประโยชน์มากเท่าเทียมกัน ไม่ใช่แค่การเก็บค่าผ่านแดน แต่ต้องได้ประโยชน์ทั้งการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม รองรับจุดแวะพักรถ และสินค้าเกษตรด้วย
นายอาคม กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาเชียงรายรองรับการขนส่งในอนาคต ความก้าวหน้าล่าสุดทางด้าน อ.แม่สาย ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย และอีกจุดหนึ่งก็คือท่าเทียบเรือเชียงแสน ที่กระทรวงคมนาคมน่าจะมีความเห็นชอบให้ดำเนินการ และมีความจำเป็นต้องเปิดด่านพรมแดนแห่งที่ 2 ที่เชียงแสน จุดสุดท้ายคือสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในภูมิภาคนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบก่อสร้างคงต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นเป็นการเลือกจุดที่ทำการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554-2555
นอกจากนี้ ในอนาคต รัฐบาลไทยได้เสนอให้รัฐบาลจีน พิจารณาเพิ่มเส้นทางรถไฟเชื่อมไทย-ลาว-จีน (คู่เส้นทาง R3a) ด้านนี้แล้ว และได้แจ้งไปยังกรมทางหลวงให้วางแผนออกแบบการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงนั้น จะต้องเตรียมพื้นที่รองรับการเชื่อมโยงทางรถไฟด้วย รวมทั้งยังต้องปรับแบบเส้นทางรถไฟที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอไว้ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้โดยสาร-การขนส่งสินค้าด้วย
"สภาพัฒน์จะช่วยประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การเชื่อมโยงระบบคมนาคมมีประสิทธิภาพสูงสุด"
รองเลขาฯ สศช.กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนทิศทางการค้าชายแดนเชียงราย เป็นที่ชัดเจนว่าชายแดนแม่สาย น่าจะมีมูลค่าการค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น ด้านการขนส่งสินค้าทางเรือก็มากเป็นปกติอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าท่าเรือเชียงแสน 1 ปริมาณเรือขนส่งสินค้าค่อนข้างหนาแน่น จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มท่าเรือแห่งที่ 2 ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างการขนส่งทางเรือ กับทางบก การขนส่งทางเรือจะมีต้นทุนต่ำกว่า แต่สินค้าบางประเภทก็จำเป็นต้องใช้ทางรถ เนื่องจากถึงผู้บริโภคโดยตรง
เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุม ศึกษาศักยภาพการพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ระยะที่ 2 ที่จังหวัดเชียงราย โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำหนังานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ พร้อมด้วยมิสเตอร์ยีน เพียรรี่ เวอร์บิส ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุม มีบุคลากรภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่ จ.เชียงราย ร่วมการประชุมประมาณ 80 คน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อหารือถึงความร่วมมือของประเทศลุ่มน้ำโขง และการรายงานสถานภาพของการศึกษาการพัฒนา Logistic ในแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ พร้อมทั้งรับฟังเป้าหมายการพัฒนาหรือวิสัยทัศน์การพัฒนา ที่ประชาชนชาวเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงต้องการ
ทั้งนี้ เพราะเชียงรายเป็นประตูไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 2 ด้าน และเชื่อมไปถึงจีนตอนใต้ รวมถึงการกำหนดวิธีการดำเนินงาน เพื่อที่จะให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคนี้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ในที่ประชุมจะมีการพิจารณาอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับโครงข่ายการคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน ก่อนที่จะพัฒนาขึ้นไปในระบบ Logistic ด้านการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน เพื่อให้การขนส่งมีความรวดเร็วขึ้น ระดับสูงสุดของการพัฒนาคือการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร การท่องเที่ยว ที่จะให้ประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ได้สูงสุด
นายอาคม กล่าวอีกว่า ศักยภาพด้านการขนส่งเชียงราย เส้นทางตะวันตก มีด่านแม่สาย 2 ที่เชื่อมกับประเทศพม่า ซึ่งเปิดดำเนินการแล้วมีศักยภาพมาก เป็นการเตรียมพร้อมรองรับปริมาณสินค้าที่จะผ่านเข้ามาในอนาคต และถือว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดแต่ก็ห่วงเรื่องของความมั่นคง
ส่วนเส้นทางด้านตะวันออกก็มีศักยภาพมากเช่นกัน แต่มีพื้นที่ผ่านภูเขาและแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ มีต้นทุนในการขนส่งสูง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียด และสิ่งที่น่าเป็นห่วงในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันคือผลประโยชน์โดยตรงจะเกิดขึ้นกับทางการจีนและไทย
ขณะที่ลาวซึ่งเป็นจุดผ่านจะได้ประโยชน์น้อย ซึ่งการพัฒนาจะต้องให้เอดีบีศึกษาเพิ่มเติมว่าจะทำอย่างไรให้ลาวได้รับผลประโยชน์มากเท่าเทียมกัน ไม่ใช่แค่การเก็บค่าผ่านแดน แต่ต้องได้ประโยชน์ทั้งการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม รองรับจุดแวะพักรถ และสินค้าเกษตรด้วย
นายอาคม กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาเชียงรายรองรับการขนส่งในอนาคต ความก้าวหน้าล่าสุดทางด้าน อ.แม่สาย ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย และอีกจุดหนึ่งก็คือท่าเทียบเรือเชียงแสน ที่กระทรวงคมนาคมน่าจะมีความเห็นชอบให้ดำเนินการ และมีความจำเป็นต้องเปิดด่านพรมแดนแห่งที่ 2 ที่เชียงแสน จุดสุดท้ายคือสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในภูมิภาคนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบก่อสร้างคงต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นเป็นการเลือกจุดที่ทำการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554-2555
นอกจากนี้ ในอนาคต รัฐบาลไทยได้เสนอให้รัฐบาลจีน พิจารณาเพิ่มเส้นทางรถไฟเชื่อมไทย-ลาว-จีน (คู่เส้นทาง R3a) ด้านนี้แล้ว และได้แจ้งไปยังกรมทางหลวงให้วางแผนออกแบบการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงนั้น จะต้องเตรียมพื้นที่รองรับการเชื่อมโยงทางรถไฟด้วย รวมทั้งยังต้องปรับแบบเส้นทางรถไฟที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอไว้ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งผู้โดยสาร-การขนส่งสินค้าด้วย
"สภาพัฒน์จะช่วยประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การเชื่อมโยงระบบคมนาคมมีประสิทธิภาพสูงสุด"
รองเลขาฯ สศช.กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนทิศทางการค้าชายแดนเชียงราย เป็นที่ชัดเจนว่าชายแดนแม่สาย น่าจะมีมูลค่าการค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น ด้านการขนส่งสินค้าทางเรือก็มากเป็นปกติอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าท่าเรือเชียงแสน 1 ปริมาณเรือขนส่งสินค้าค่อนข้างหนาแน่น จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มท่าเรือแห่งที่ 2 ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างการขนส่งทางเรือ กับทางบก การขนส่งทางเรือจะมีต้นทุนต่ำกว่า แต่สินค้าบางประเภทก็จำเป็นต้องใช้ทางรถ เนื่องจากถึงผู้บริโภคโดยตรง