รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ออกอากาศทาง เอเอสทีวี คืนวันที่ 2 ต.ค. นายคำนูณ สิทธิสาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ และนางจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ ร่วมดำเนินรายการ โดยในช่วงแรก ได้สนทนาถึง ร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา ซึ่งมีกำหนดจะนำเข้าสู่ที่ประชุม สนช.ในวันที่ 3 ต.ค.นี้ว่า เป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ยังมีปัญหา โดยเฉพาะในประเด็นการให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เข้าไปบริหารจัดการทรัพย์สินในบัญชีทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษหรือเงินคลังหลวงได้ ซึ่งมีหลายฝ่ายโดยเฉพาะคณะศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ที่ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา
นายคำนูณ กล่าวว่า ตนมีข้อเสนอทางออกในเรื่องนี้ 3 ทาง คือ 1.ถอนร่างฯ ออกไปก่อน หรือทำการแก้ไข แล้วไปฟังความเห็นของท่านหลวงตามหาบัว โดยเฉพาะมาตราที่มีปัญหาคือ มาตรา 16 ที่ให้อำนาจ ธปท.เข้าไปบริหารจัดการทรัพย์สินในบัญชีเงินทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษได้
ทางเลือกที่ 2. คือ ถ้ารัฐบาลมั่นใจก็ไม่ต้องถอนร่างฯ แต่ปล่อยให้มีการพิจารณาตามวาระ แล้วรัฐบาลก็มาชี้แจงไปตามเหตุผล แล้วก็ให้ลงมติ ซึ่งก็เสี่ยงต่อการถูกคว่ำ และทางเลือกที่ 3. คือพบกันครึ่งทาง โดยให้รัฐบาล หรือรัฐมนตรีที่มาชี้แจงให้สัญญากลางสภาว่ายินดีที่จะแก้ไขมาตรา 16 ในชั้นกรรมาธิการ โดยรับฟังเหตุผลของหลวงตามหาบัวฯ และคนอื่นๆ ที่เห็นว่ามาตรานี้ยังมีปัญหา ซึ่งหลวงตามหาบัวฯ ก็ติดเพียงเท่านี้ ไม่ต้องการที่จะหักโค่นกับรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นถ้ารัฐบาลตัดได้ก็ควรจะตัด
อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า ร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราฉบับล่าสุดนี้ มีการแก้ไขบางส่วนให้ดีขึ้นกว่าฉบับก่อนที่รัฐบาลได้ถอนออกไป โดยก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2545 ธปท.ในยุคที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ว่าการ ได้ขอออก พ.ร.ก. 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเพื่อนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปล้างผลขาดทุนค่าเงินบาทตั้งแต่ปี 2540 และอีกฉบับเพื่อนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปเติมในบัญชีทุนสำรองเงินตราเพื่อพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม รวมเงินที่ถูกนำออกจากบัญชีสำรองพิเศษในครั้งนั้น 1.6 แสนล้านบาท และเปรียบเสมือนเป็นการเปิดคลังหลวงเอาไว้ให้มีการเอามาใช้ได้อีกในโอกาสข้างหน้า
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราร่างแรกไม่ได้แก้ไขตรงที่มีการเปิดประตูคลังหลวงเอาไว้ แม้ว่าจะมีการระบุว่าให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปใส่ในบัญชีทุนสำรองเงินตราได้เท่าที่จำเป็น แต่ยังคงเปิดช่องให้มีการนำเงินคลังหลวงมาใช้ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ฉบับแก้ไขล่าสุดจึงแก้ไขตรงจุดนี้ เพื่อปิดคลังหลวงที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2545 ถ้าจะพิมพ์ธนบัตรเงินเพิ่ม ต้องมาจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ที่มาจากผลประกอบการของธปท.ที่ได้กำไรเพิ่มขึ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าเป็นห่วงคือการเปิดให้ ธปท.เข้าบริหารจัดการทรัพย์สินในบัญชีทั้ง 3 บัญชีได้ ซึ่งทั้ง 3 บัญชีมีเงินรวมกัน 1.6 ล้านล้านบาท แต่อยู่ในรูปเงินดอลลาร์ ที่มูลค่าลดลงและไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ ธปท.จึงคิดจะนำไปลงทุนทั้ง 3 บัญชี ในรูปแบบนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น ซื้อขาย ให้กู้ยืม ขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้าน โดยเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหาบัวเห็นว่าหากจะเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ ควรจะลงทุนในรูปแบบที่เสี่ยงน้อยที่สุด เช่น ซื้อพันธมบัตรรัฐบาล ถ้าอยากจะนำไปลงทุนควรจะเอาไปเฉพาะบัญชีผลประโยชน์ประจำปีเท่านั้น ส่วนบัญชีทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษไม่ควรจะไปแตะต้อง ประเด็นนี้ สามารถแก้ไขในชั้นกรรมาธิการได้
ต่อมาผู้ดำเนินรายการ กล่าวถึง การลาออกจากตำแหน่งประธาน คมช.และมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่า กำลังทำให้เกิดความสับสนว่า คมช.มีความจำเป็นหรือไม่ เพราะขณะที่พล.อ.สนธิบอกว่า หมดความจำเป็นแล้วจึงลาออก แต่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช.กลับว่าบอกว่าภารกิจ ของ คมช.ยังไม่จบ เพราะต้องประคับประคองรัฐบาลไปก่อน
นอกจากนี้ ขณะที่ พ.อ.สรรเสริญ บอกว่า รักษาการประธาน คมช.คือ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก แต่คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส.ให้สัมภาษณ์ว่า ได้พบกับพล.อ.อ.ชลิตเมื่อวันก่อน และถามว่า ตามที่ คมช.ได้ขอผลงาน คตส.เพื่อไปแถลงในโอกาสครบ 1 ปี คมช.นั้น จะให้ส่งไปที่ใคร พล.อ.อ.ชลิตกลับบอกว่ายังไม่ได้เป็น จึงไม่รู้จะส่งมอบที่ใคร
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า ที่ พล.อ.สนธิอ้างว่าต้องไปเป็นรองนายกฯ เพราะมีความจำเป็นนั้น ก็มีคำถามว่าถ้าจำเป็นจริง พล.อ.สนธิต้องคิดได้ตั้งแต่แรก ไม่ปล่อยไว้เนิ่นนาน จนรัฐบาลจะหมดวาระ เพราะฉะนั้นที่พล.อ.สนธิมาเป็นรองนายกฯ เป็นแค่ต้องการให้เป็นเกียรติแก่ตัวเองหรือเปล่า เพราะมาตอนนี้ ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว
“ที่ผ่านมา ท่านผิดพลาด โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์หลังการยึดอำนาจวันที่ 19 กันยาฯ ท่านไม่ทำอะไรเลย เพราะอยากเป็นสุภาพบุรุษ อยากให้เป็นว่าเป็นประชาธิปไตย และรีบตั้งนายกฯ แต่ท่านเลือกคนผิด ที่แต่งตั้งนายเก่า ลูกพี่เก่ามาเป็นนายกฯ ซึ่งท่านก็เกรงใจ จะปลดก็ปลดไม่ได้ ทั้งที่ ประธาน คมช.มีอำนาจในการปลดนายกฯ”ผู้ดำเนินรายการกล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า การมาเป็นรองนายกฯ ของพล.อ.สนธิ ทำให้มีความชัดเจนขึ้นว่า พล.อ.สนธิจะไม่ลงเลือกตั้ง ส.ส.แน่นอนแล้ว และอาจจะรอให้มีรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง ถ้าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ก็อาจจะมาเชิญไปเป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง หรือรัฐมนตรีกลาโหม หรือดูแล กอ.รมน.ต่อ
“เรื่องนี้จะไปว่าท่านเต็มปากเต็มคำก็ไม่ได้ เพราะถ้าท่านทิ้งไปเฉยๆ ก็จะว่าท่านไม่ทำภารกิจของการปฏิวัติให้สำเร็จ แต่หลังจากท่านเข้าไปแล้ว ก็ต้องดูว่าท่านจะทำให้สำเร็จแค่ไหน หรือเป็นแค่นักการเมืองดาดๆ ขอแค่มีตำแหน่งนั่งไปวันๆ
“มันเป็นโอกาสของท่าน เมื่อมีคนว่าท่านก็อย่าโกรธ ลองทบทวนตัวเอง ว่าสิ่งที่จะทำต่อไป มีอะไรบ้าง ท่านก็ฝากถามผ่านมาว่ายามใหญ่ (นายสนธิ ลิ้มทองกุล) โกรธอะไร ทำไมวิพากษ์วิจารณ์ท่าน ก็ไม่มีใครโกรธท่านหรอก แต่ท่านทำภารกิจ 4 ข้อไม่สำเร็จ เราก็วิพากษ์วิจารณ์ไป
“วิกฤติของชาติมันเริ่มมาหลายปี เราคาดหวังมาก แต่เมื่อประธาน คมช.ที่รัฐประหารมา ทำการกิจบรรลุไม่ได้ ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ และมันน่าสงสัยที่ คมช.ท่านอื่นๆ ไม่มีใครพูดถึงการลงเล่นการเมืองเลย มีแต่พล.อ.สนธิพูดอยู่คนเดียว”ผู้ดำเนินรายการกล่าว
ผู้ดำเนินรายการยังกล่าวถึงปัญหาของรัฐมนตรีที่ถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ว่า คนที่มีปัญหาหนักที่สุดน่าจะเป็นนายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษา ที่เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม และนายกสภาวิทยาลัยศรีโสภณด้วย ทำให้เกิดข้อครหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะมหาวิทยาลัยเหล่านี้อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ที่สำคัญคือมีกรณี การไม่รับรองปริญญานักศึกษาวิชากาคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยศรีโสภณ 12 คน และ สกอ.ได้แก้ไขด้วยการให้อบรมใหม่แค่ 27 วัน
ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่าเรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาทางจริยธรรม และเกิดจากตัวรัฐมนตรีแต่ละคนเอง แต่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กลับมองเป็นเรื่องการเมือง จับแพะชนแกะ ประชดประชัน ฟาดงวงฟาดงาไปถึงคนที่ออกมาเรียกร้องจริยธรรม โดยเฉพาะฝ่ายอดีตพันธมิตรฯ และปัญหานี้ก็เกิดขึ้นเพราะต้นทุนของ พล.อ.สุรยุทธ์ลดลงจนไม่เหลือแล้วหลังจาก 1 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ปัญหาอย่างที่ดินเขายายเที่ยงจึงถูกนำมาเรียกร้องอีกครั้ง และการลาออกจากตำแหน่งของรัฐมนตรีแต่ละคนในรัฐบาลชุดเพื่อเป็นบรรทัดฐานเรื่องจริยธรรม เป็นผลงานอย่างเดียวที่ทำได้ขณะนี้
นายคำนูณ กล่าวว่า ตนมีข้อเสนอทางออกในเรื่องนี้ 3 ทาง คือ 1.ถอนร่างฯ ออกไปก่อน หรือทำการแก้ไข แล้วไปฟังความเห็นของท่านหลวงตามหาบัว โดยเฉพาะมาตราที่มีปัญหาคือ มาตรา 16 ที่ให้อำนาจ ธปท.เข้าไปบริหารจัดการทรัพย์สินในบัญชีเงินทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษได้
ทางเลือกที่ 2. คือ ถ้ารัฐบาลมั่นใจก็ไม่ต้องถอนร่างฯ แต่ปล่อยให้มีการพิจารณาตามวาระ แล้วรัฐบาลก็มาชี้แจงไปตามเหตุผล แล้วก็ให้ลงมติ ซึ่งก็เสี่ยงต่อการถูกคว่ำ และทางเลือกที่ 3. คือพบกันครึ่งทาง โดยให้รัฐบาล หรือรัฐมนตรีที่มาชี้แจงให้สัญญากลางสภาว่ายินดีที่จะแก้ไขมาตรา 16 ในชั้นกรรมาธิการ โดยรับฟังเหตุผลของหลวงตามหาบัวฯ และคนอื่นๆ ที่เห็นว่ามาตรานี้ยังมีปัญหา ซึ่งหลวงตามหาบัวฯ ก็ติดเพียงเท่านี้ ไม่ต้องการที่จะหักโค่นกับรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นถ้ารัฐบาลตัดได้ก็ควรจะตัด
อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า ร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราฉบับล่าสุดนี้ มีการแก้ไขบางส่วนให้ดีขึ้นกว่าฉบับก่อนที่รัฐบาลได้ถอนออกไป โดยก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2545 ธปท.ในยุคที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้ว่าการ ได้ขอออก พ.ร.ก. 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเพื่อนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปล้างผลขาดทุนค่าเงินบาทตั้งแต่ปี 2540 และอีกฉบับเพื่อนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปเติมในบัญชีทุนสำรองเงินตราเพื่อพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม รวมเงินที่ถูกนำออกจากบัญชีสำรองพิเศษในครั้งนั้น 1.6 แสนล้านบาท และเปรียบเสมือนเป็นการเปิดคลังหลวงเอาไว้ให้มีการเอามาใช้ได้อีกในโอกาสข้างหน้า
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราร่างแรกไม่ได้แก้ไขตรงที่มีการเปิดประตูคลังหลวงเอาไว้ แม้ว่าจะมีการระบุว่าให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปใส่ในบัญชีทุนสำรองเงินตราได้เท่าที่จำเป็น แต่ยังคงเปิดช่องให้มีการนำเงินคลังหลวงมาใช้ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ฉบับแก้ไขล่าสุดจึงแก้ไขตรงจุดนี้ เพื่อปิดคลังหลวงที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2545 ถ้าจะพิมพ์ธนบัตรเงินเพิ่ม ต้องมาจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ที่มาจากผลประกอบการของธปท.ที่ได้กำไรเพิ่มขึ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าเป็นห่วงคือการเปิดให้ ธปท.เข้าบริหารจัดการทรัพย์สินในบัญชีทั้ง 3 บัญชีได้ ซึ่งทั้ง 3 บัญชีมีเงินรวมกัน 1.6 ล้านล้านบาท แต่อยู่ในรูปเงินดอลลาร์ ที่มูลค่าลดลงและไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ ธปท.จึงคิดจะนำไปลงทุนทั้ง 3 บัญชี ในรูปแบบนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น ซื้อขาย ให้กู้ยืม ขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้าน โดยเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหาบัวเห็นว่าหากจะเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ ควรจะลงทุนในรูปแบบที่เสี่ยงน้อยที่สุด เช่น ซื้อพันธมบัตรรัฐบาล ถ้าอยากจะนำไปลงทุนควรจะเอาไปเฉพาะบัญชีผลประโยชน์ประจำปีเท่านั้น ส่วนบัญชีทุนสำรองเงินตราและบัญชีสำรองพิเศษไม่ควรจะไปแตะต้อง ประเด็นนี้ สามารถแก้ไขในชั้นกรรมาธิการได้
ต่อมาผู้ดำเนินรายการ กล่าวถึง การลาออกจากตำแหน่งประธาน คมช.และมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่า กำลังทำให้เกิดความสับสนว่า คมช.มีความจำเป็นหรือไม่ เพราะขณะที่พล.อ.สนธิบอกว่า หมดความจำเป็นแล้วจึงลาออก แต่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช.กลับว่าบอกว่าภารกิจ ของ คมช.ยังไม่จบ เพราะต้องประคับประคองรัฐบาลไปก่อน
นอกจากนี้ ขณะที่ พ.อ.สรรเสริญ บอกว่า รักษาการประธาน คมช.คือ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก แต่คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส.ให้สัมภาษณ์ว่า ได้พบกับพล.อ.อ.ชลิตเมื่อวันก่อน และถามว่า ตามที่ คมช.ได้ขอผลงาน คตส.เพื่อไปแถลงในโอกาสครบ 1 ปี คมช.นั้น จะให้ส่งไปที่ใคร พล.อ.อ.ชลิตกลับบอกว่ายังไม่ได้เป็น จึงไม่รู้จะส่งมอบที่ใคร
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า ที่ พล.อ.สนธิอ้างว่าต้องไปเป็นรองนายกฯ เพราะมีความจำเป็นนั้น ก็มีคำถามว่าถ้าจำเป็นจริง พล.อ.สนธิต้องคิดได้ตั้งแต่แรก ไม่ปล่อยไว้เนิ่นนาน จนรัฐบาลจะหมดวาระ เพราะฉะนั้นที่พล.อ.สนธิมาเป็นรองนายกฯ เป็นแค่ต้องการให้เป็นเกียรติแก่ตัวเองหรือเปล่า เพราะมาตอนนี้ ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว
“ที่ผ่านมา ท่านผิดพลาด โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์หลังการยึดอำนาจวันที่ 19 กันยาฯ ท่านไม่ทำอะไรเลย เพราะอยากเป็นสุภาพบุรุษ อยากให้เป็นว่าเป็นประชาธิปไตย และรีบตั้งนายกฯ แต่ท่านเลือกคนผิด ที่แต่งตั้งนายเก่า ลูกพี่เก่ามาเป็นนายกฯ ซึ่งท่านก็เกรงใจ จะปลดก็ปลดไม่ได้ ทั้งที่ ประธาน คมช.มีอำนาจในการปลดนายกฯ”ผู้ดำเนินรายการกล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า การมาเป็นรองนายกฯ ของพล.อ.สนธิ ทำให้มีความชัดเจนขึ้นว่า พล.อ.สนธิจะไม่ลงเลือกตั้ง ส.ส.แน่นอนแล้ว และอาจจะรอให้มีรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง ถ้าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ก็อาจจะมาเชิญไปเป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง หรือรัฐมนตรีกลาโหม หรือดูแล กอ.รมน.ต่อ
“เรื่องนี้จะไปว่าท่านเต็มปากเต็มคำก็ไม่ได้ เพราะถ้าท่านทิ้งไปเฉยๆ ก็จะว่าท่านไม่ทำภารกิจของการปฏิวัติให้สำเร็จ แต่หลังจากท่านเข้าไปแล้ว ก็ต้องดูว่าท่านจะทำให้สำเร็จแค่ไหน หรือเป็นแค่นักการเมืองดาดๆ ขอแค่มีตำแหน่งนั่งไปวันๆ
“มันเป็นโอกาสของท่าน เมื่อมีคนว่าท่านก็อย่าโกรธ ลองทบทวนตัวเอง ว่าสิ่งที่จะทำต่อไป มีอะไรบ้าง ท่านก็ฝากถามผ่านมาว่ายามใหญ่ (นายสนธิ ลิ้มทองกุล) โกรธอะไร ทำไมวิพากษ์วิจารณ์ท่าน ก็ไม่มีใครโกรธท่านหรอก แต่ท่านทำภารกิจ 4 ข้อไม่สำเร็จ เราก็วิพากษ์วิจารณ์ไป
“วิกฤติของชาติมันเริ่มมาหลายปี เราคาดหวังมาก แต่เมื่อประธาน คมช.ที่รัฐประหารมา ทำการกิจบรรลุไม่ได้ ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ และมันน่าสงสัยที่ คมช.ท่านอื่นๆ ไม่มีใครพูดถึงการลงเล่นการเมืองเลย มีแต่พล.อ.สนธิพูดอยู่คนเดียว”ผู้ดำเนินรายการกล่าว
ผู้ดำเนินรายการยังกล่าวถึงปัญหาของรัฐมนตรีที่ถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ว่า คนที่มีปัญหาหนักที่สุดน่าจะเป็นนายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษา ที่เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม และนายกสภาวิทยาลัยศรีโสภณด้วย ทำให้เกิดข้อครหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะมหาวิทยาลัยเหล่านี้อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ที่สำคัญคือมีกรณี การไม่รับรองปริญญานักศึกษาวิชากาคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยศรีโสภณ 12 คน และ สกอ.ได้แก้ไขด้วยการให้อบรมใหม่แค่ 27 วัน
ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่าเรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาทางจริยธรรม และเกิดจากตัวรัฐมนตรีแต่ละคนเอง แต่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กลับมองเป็นเรื่องการเมือง จับแพะชนแกะ ประชดประชัน ฟาดงวงฟาดงาไปถึงคนที่ออกมาเรียกร้องจริยธรรม โดยเฉพาะฝ่ายอดีตพันธมิตรฯ และปัญหานี้ก็เกิดขึ้นเพราะต้นทุนของ พล.อ.สุรยุทธ์ลดลงจนไม่เหลือแล้วหลังจาก 1 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ปัญหาอย่างที่ดินเขายายเที่ยงจึงถูกนำมาเรียกร้องอีกครั้ง และการลาออกจากตำแหน่งของรัฐมนตรีแต่ละคนในรัฐบาลชุดเพื่อเป็นบรรทัดฐานเรื่องจริยธรรม เป็นผลงานอย่างเดียวที่ทำได้ขณะนี้