รัฐมนตรีคลังยังไม่ถอนร่าง พ.ร.บ.เงินตราออกจากสภาฯ อ้างแค่วาระแรก ยันน้อมรับข้อเสนอลูกศิษย์หลวงตามหาบัว แต่จะไปทบทวน มาตรา 16 ในชั้นกรรมาธิการเพื่อให้ สนช.พิจารณาวาระที่ 2 ต่อไป "สนช.คำนูณ" เตือนรัฐบาลสุรยุทธ์จับตา พ.ร.บ.เงินตราเข้าสภาฯ วันนี้ เผย สนช.กลุ่มที่เห็นอันตรายของ พ.ร.บ.ฯ จะไม่ยอมให้ผ่านง่ายๆ
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยกรณีคณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยืนหนังสือให้ทบทวนร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินตรา ในมาตราที่ 16 ว่า ตนยินดีน้อมรับข้อเสนอของหลวงตามหาบัวและเห็นด้วยว่ามาตรา 16 ใน พ.ร.บ.เงินตรามีการขยายอำนาจการทำธุรกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีเหตุผลที่รับฟังได้และควรพิจารณาให้รอบคอบ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาแก้ไขในมาตรา 16 น่าจะทำได้ในขั้นตอนการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา รายมาตรา ก่อนนำเข้าที่ประชุม สนช. ในวาระที่ 2 ดังนั้นในวันนี้ จะนำร่างแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตราเข้าสู่ที่ประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นวาระแรก
สำหรับมาตรา 16 มีการเพิ่มข้อความในมาตรา 34 วรรค 3 และ 34 วรรค 4 ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ระจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นายคำนูณ สิทธิสมาน สนช.ที่คัดค้าน พ.ร.บ.เงินตราให้ความเห็นผ่านคอลัมน์หน้ากระดานเรียงห้าใน "ผู้จัดการรายวัน" ฉบับวันที่ 2 ต.ค.โดยสรุปว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่ามัวกังวลหรือวิตกจริตเรื่องการเมืองอย่างเดียว โดยเฉพาะการมองว่ากลุ่มของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ กับรายการยามเฝ้าแผ่นดิน ในเอเอสทีวี หรือสมัชชาประชาชนภาคอีสานภายใต้การนำของนายแพทย์ศุภผล เอี่ยมเมธาวี กับ สนช.อีกจำนวนหนึ่งคิดจะล้มรัฐบาลนั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในขณะนี้ก็คือการทำความเข้าใจและทบทวน พ.ร.บ.เงินตราที่จะเข้า สนช.วันนี้ (3 ต.ค.) เพราะหากผ่าน สนช.และมีผลบังคับใช้ ประเทศไทยอาจล่มจมซ้ำรอยวิกฤตค่าเงินบาทปี 2540 ก็เป็นได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ให้อำนาจ ธปท.ใช้เงินในบัญชีคลังหลวง
"รัฐบาลนำเรื่องนี้เข้ สนช.เข้ามาครั้งหนึ่งแล้ว อยู่ในระเบียบวาระตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2550 แต่ขอถอนเรื่องออกไปก่อน เพราะมีข่าวหนาหูว่าจะถูกคว่ำ ทีแรกบอกว่าจะขอนำกลับเข้ามาในวันที่ 12 กันยายน 2550 แต่พอถึงวันนั้น ก็เลื่อนออกไปอีก ระหว่างที่ถอนเรื่องออกไปก็มีการทำงานความคิดกับสมาชิก สนช.หลายกลุ่ม และมีการแก้ไขบางมาตรา ยังคงมีปัญหาอยู่ดี จึงอยากเตือนให้ระวัง สนช.ที่ทำการบ้านมาอภิปรายในวันนี้ (3 ต.ค.)" นายคำนูณกล่าว
ทั้งนี้ คณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัวให้เหตุผลในการค้ดค้านร่าง พ.ร.บ.เงินตราว่า "แม้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะมีการปรับแก้จากร่างเดิม แต่ก็ยังคงให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถนำทรัพย์สินจากบัญชีสำรองพิเศษ หรือบัญชีคลังหลวงไปใช้ได้ ซึ่งกลุ่มลูกศิษย์หลวงตาไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของระบบเงินตราของประเทศ หาก ธปท.ดำเนินการโดยไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหาร ธปท.เคยทำผิดพลาดมาแล้ว กรณีการต่อสู้ค่าเงินบาทจนทำให้ขาดทุนนับแสนล้าน ดังนั้น จึงขอให้รัฐบาลยับยั้งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว"
**คลังค้าน"สังศิต"มั่วนิ่ม พ.ร.บ.สลาก
นายฉลองภพยังเปิดเผยถึงกรณีที่นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตรียมเสนอแก้ไข พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 ให้ที่ประชุม สนช.พิจารณา ว่า การแก้ไขกฎหมายของสำนักงานสลากฯ โดย สนช.ถือว่าเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ห้าม สนช.เป็นผู้เสนอกฎหมายทางการเงิน แต่ต้องเสนอโดยรัฐบาลเท่านั้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็เห็นว่าการแก้ไขกฎหมายสำนักงานสลากฯ ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องของกฎหมายการเงิน
"เห็นว่าการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการด้านการเงินควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง เบื้องต้นจะแย้งไปก่อนว่าสิ่งที่ สนช.เสนอเป็นการแก้ไขการจัดสรรรายได้ของแผ่นดิน เพราะในหลักการ หากรัฐบาลไม่ทักท้วง อาจเป็นบรรทัดฐานในอนาคตต่อไปว่า สนช.หรือ ส.ส.ในอนาคตอาจเสนอกฎหมายการเงินเองได้ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการกิจการของ สนช. 2 ต.ค. ได้ชี้แจงให้ทราบแล้วว่า เรื่องนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายการเงินที่สมาชิก สนช.ไม่สามารถดำเนินการเองได้"
ร่างแก้ไขร่าง พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ ที่นายสังศิตกับคณะอีก 60 คนเสนอ มีสาระสำคัญ คือ เพิ่มเติมนิยามของคำว่า “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ให้มีความหมายรวมถึง “สลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้าย” หรือเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว เพื่อเป็นวิธีการหนึ่งในการลดปัญหาการเล่นพนันสลากกินรวบที่ผิดกฎหมาย โดยแก้ไขนิยามเป็น “สลากกินแบ่งรัฐบาล” หมายความว่า “สลากที่ออกโดยสำนักงานสลากฯ ตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ ให้มีความหมายรวมถึงสลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้าย ที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจัดให้มีขึ้นเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ถือ โดยผู้แทนจำหน่ายของสำนักงานสลากฯ เป็นผู้บันทึกเลขหมายที่ผู้ซื้อเลือกซื้อไว้บนสลาก
ขณะที่จำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อนั้นและจะจ่ายเงินรางวัลตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด” ยังเพิ่มความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ เกี่ยวกับการจัดสรรเงินที่สำนักงานสลากฯ ได้รับจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นวรรคสองและสามดังนี้ วรรคสอง คือ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการออกสลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้าย” และวรรคสาม คือ “เงินที่สำนักงานสลากฯได้รับจากการจำหน่ายสลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้ายให้จัดสรรตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้เงินส่วนที่เหลือจากการจ่ายเป็นรางวัลตกเป็นรายได้แผ่นดิน และเป็นเงินอุดหนุนการศึกษาตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด” โดยความในวรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ บัญญัติไว้ว่า “เงินที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้จัดสรรดังนี้ (1) ร้อยละ 60 เป็นเงินรางวัล (2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 28 เป็นรายได้แผ่นดิน (3) ไม่เกินกว่าร้อยละ 12 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย” .
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยกรณีคณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยืนหนังสือให้ทบทวนร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินตรา ในมาตราที่ 16 ว่า ตนยินดีน้อมรับข้อเสนอของหลวงตามหาบัวและเห็นด้วยว่ามาตรา 16 ใน พ.ร.บ.เงินตรามีการขยายอำนาจการทำธุรกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีเหตุผลที่รับฟังได้และควรพิจารณาให้รอบคอบ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาแก้ไขในมาตรา 16 น่าจะทำได้ในขั้นตอนการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา รายมาตรา ก่อนนำเข้าที่ประชุม สนช. ในวาระที่ 2 ดังนั้นในวันนี้ จะนำร่างแก้ไขพระราชบัญญัติเงินตราเข้าสู่ที่ประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นวาระแรก
สำหรับมาตรา 16 มีการเพิ่มข้อความในมาตรา 34 วรรค 3 และ 34 วรรค 4 ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ระจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นายคำนูณ สิทธิสมาน สนช.ที่คัดค้าน พ.ร.บ.เงินตราให้ความเห็นผ่านคอลัมน์หน้ากระดานเรียงห้าใน "ผู้จัดการรายวัน" ฉบับวันที่ 2 ต.ค.โดยสรุปว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่ามัวกังวลหรือวิตกจริตเรื่องการเมืองอย่างเดียว โดยเฉพาะการมองว่ากลุ่มของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ กับรายการยามเฝ้าแผ่นดิน ในเอเอสทีวี หรือสมัชชาประชาชนภาคอีสานภายใต้การนำของนายแพทย์ศุภผล เอี่ยมเมธาวี กับ สนช.อีกจำนวนหนึ่งคิดจะล้มรัฐบาลนั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในขณะนี้ก็คือการทำความเข้าใจและทบทวน พ.ร.บ.เงินตราที่จะเข้า สนช.วันนี้ (3 ต.ค.) เพราะหากผ่าน สนช.และมีผลบังคับใช้ ประเทศไทยอาจล่มจมซ้ำรอยวิกฤตค่าเงินบาทปี 2540 ก็เป็นได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ให้อำนาจ ธปท.ใช้เงินในบัญชีคลังหลวง
"รัฐบาลนำเรื่องนี้เข้ สนช.เข้ามาครั้งหนึ่งแล้ว อยู่ในระเบียบวาระตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2550 แต่ขอถอนเรื่องออกไปก่อน เพราะมีข่าวหนาหูว่าจะถูกคว่ำ ทีแรกบอกว่าจะขอนำกลับเข้ามาในวันที่ 12 กันยายน 2550 แต่พอถึงวันนั้น ก็เลื่อนออกไปอีก ระหว่างที่ถอนเรื่องออกไปก็มีการทำงานความคิดกับสมาชิก สนช.หลายกลุ่ม และมีการแก้ไขบางมาตรา ยังคงมีปัญหาอยู่ดี จึงอยากเตือนให้ระวัง สนช.ที่ทำการบ้านมาอภิปรายในวันนี้ (3 ต.ค.)" นายคำนูณกล่าว
ทั้งนี้ คณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัวให้เหตุผลในการค้ดค้านร่าง พ.ร.บ.เงินตราว่า "แม้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะมีการปรับแก้จากร่างเดิม แต่ก็ยังคงให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถนำทรัพย์สินจากบัญชีสำรองพิเศษ หรือบัญชีคลังหลวงไปใช้ได้ ซึ่งกลุ่มลูกศิษย์หลวงตาไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของระบบเงินตราของประเทศ หาก ธปท.ดำเนินการโดยไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหาร ธปท.เคยทำผิดพลาดมาแล้ว กรณีการต่อสู้ค่าเงินบาทจนทำให้ขาดทุนนับแสนล้าน ดังนั้น จึงขอให้รัฐบาลยับยั้งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว"
**คลังค้าน"สังศิต"มั่วนิ่ม พ.ร.บ.สลาก
นายฉลองภพยังเปิดเผยถึงกรณีที่นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตรียมเสนอแก้ไข พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 ให้ที่ประชุม สนช.พิจารณา ว่า การแก้ไขกฎหมายของสำนักงานสลากฯ โดย สนช.ถือว่าเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ห้าม สนช.เป็นผู้เสนอกฎหมายทางการเงิน แต่ต้องเสนอโดยรัฐบาลเท่านั้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็เห็นว่าการแก้ไขกฎหมายสำนักงานสลากฯ ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องของกฎหมายการเงิน
"เห็นว่าการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการด้านการเงินควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง เบื้องต้นจะแย้งไปก่อนว่าสิ่งที่ สนช.เสนอเป็นการแก้ไขการจัดสรรรายได้ของแผ่นดิน เพราะในหลักการ หากรัฐบาลไม่ทักท้วง อาจเป็นบรรทัดฐานในอนาคตต่อไปว่า สนช.หรือ ส.ส.ในอนาคตอาจเสนอกฎหมายการเงินเองได้ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการกิจการของ สนช. 2 ต.ค. ได้ชี้แจงให้ทราบแล้วว่า เรื่องนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายการเงินที่สมาชิก สนช.ไม่สามารถดำเนินการเองได้"
ร่างแก้ไขร่าง พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ ที่นายสังศิตกับคณะอีก 60 คนเสนอ มีสาระสำคัญ คือ เพิ่มเติมนิยามของคำว่า “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ให้มีความหมายรวมถึง “สลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้าย” หรือเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว เพื่อเป็นวิธีการหนึ่งในการลดปัญหาการเล่นพนันสลากกินรวบที่ผิดกฎหมาย โดยแก้ไขนิยามเป็น “สลากกินแบ่งรัฐบาล” หมายความว่า “สลากที่ออกโดยสำนักงานสลากฯ ตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ ให้มีความหมายรวมถึงสลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้าย ที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจัดให้มีขึ้นเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ถือ โดยผู้แทนจำหน่ายของสำนักงานสลากฯ เป็นผู้บันทึกเลขหมายที่ผู้ซื้อเลือกซื้อไว้บนสลาก
ขณะที่จำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อนั้นและจะจ่ายเงินรางวัลตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด” ยังเพิ่มความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ เกี่ยวกับการจัดสรรเงินที่สำนักงานสลากฯ ได้รับจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นวรรคสองและสามดังนี้ วรรคสอง คือ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการออกสลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้าย” และวรรคสาม คือ “เงินที่สำนักงานสลากฯได้รับจากการจำหน่ายสลากพิเศษแบบรางวัลเลขท้ายให้จัดสรรตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้เงินส่วนที่เหลือจากการจ่ายเป็นรางวัลตกเป็นรายได้แผ่นดิน และเป็นเงินอุดหนุนการศึกษาตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด” โดยความในวรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ บัญญัติไว้ว่า “เงินที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้จัดสรรดังนี้ (1) ร้อยละ 60 เป็นเงินรางวัล (2) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 28 เป็นรายได้แผ่นดิน (3) ไม่เกินกว่าร้อยละ 12 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย” .