.
ท่านผู้อ่านที่เคารพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) ผมต้องขออภัย ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ผมเลือกหัวข้อบทความว่า จปร. มิใช่โจรปล้นเรา แทนที่จะเป็นเรื่อง “พลโทฤกษ์ดีกับจปร.” ที่จั่วหัวไว้แต่แรก ทำให้ศิษย์เก่าหลายท่านที่มีความรักสถาบันเกิดความไม่สบายใจ สะเทือนใจ เสียความรู้สึก หรือโกรธผมจนกระทั่งจะทนไม่ได้ เพราะเชื่อว่าผมหลบหลู่สถาบันที่ท่านเคารพบูชา ผมขอกราบเรียนว่าผมไม่มีเจตนาเช่นนั้นเลย ไม่เคยแม้แต่จะคิดสักวินาทีเดียว
ยิ่งบางท่านเลยเถิดไปจนกระทั่งกล่าวว่าผมหมิ่นพระบรมราชานุภาพ ซึ่งไม่มีมูลความจริงเลย ในประเทศไทยนี้ไม่มีใครเขียนบทความถึงพระมหากษัตริย์มากกว่าผม และเขียนด้วยความเคารพบูชาและเชื่อมั่นว่าเป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง ซ้ำยังเป็นพลังด้านประชาธิปไตยของประเทศ
ผมเขียนบทความเรื่องการเมืองและประชาธิปไตยบ่อยเสียจนต้องถามตนเองว่า ทำไมจะต้องเป็นเรา ในการเขียนแต่ละบทจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหรืออย่างมากก็ไม่เกินชั่วโมงครึ่ง ส่วนมากก็เขียนหัวข้อก่อน แล้วก็นำความคิดและข้อมูลที่อุตส่าห์รวบรวมทำการบ้านไว้เหมือนนักเรียนเตรียมตัวสอบไล่นำมาเสนอด้วยความเคารพในวิจารณญาณของท่านผู้อ่านอย่างจริงใจ
ผมเป็นนักเรียนที่ไม่เคยยกตัวว่าเป็นนักปราชญ์ ผมจึงไม่อยากใช้สิทธิอ้างว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” แต่คราวนี้ที่ผมพลาดก็เพราะว่า กลอนพาไป เนื่องจากผมขึ้นต้นบทความด้วยกลอนที่ผมเขียนไว้หลายปีดีดักแล้ว กลอนนี้มีคนนำไปตีพิมพ์ซ้ำบ่อยๆ บอกผมบ้าง ไม่บอกผมบ้าง ตามธรรมเนียมไทย
กลอนนั้นขึ้นต้นว่า “ในอดีต อธิปไตย ไทยถูกปล้น แถมฉ้อฉล ปัจจุบัน กันไปหมด” ความเร่งรีบทำให้ผมพิมพ์ผิดใช้คำว่าประชาธิปไตยแทนคำว่าอธิปไตย เพื่อจะตอบคำถามว่า ใครเป็นคนปล้นอธิปไตยของเรา คำตอบก็คือโจร ผมจึงเขียนแบบกลอนพาไปว่า โจรปล้นเรานั้นไม่ใช่จปร.
คนไทยมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอน บางทีก็พูดหรือเขียนไปโดยไม่ทันได้คิด เพราะความพาซื่อ ผมขอยกตัวอย่างจดหมายไฟฟ้าหรืออีเมลฉบับหนึ่งจากอเมริกาที่ผมได้รับเมื่อ 2-3 วันนี้
“ผมได้รับโทรศัพท์จากพรรคพวกหลายคนวิจารณ์ท่านนายกฯ เรื่อง “โจรกลับใจ” ว่าเป็นการพูดที่ขาดความรับผิดชอบและรับไม่ได้ จากผู้นำประเทศ อาจารย์เห็นว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ส่วนตัวผมเห็นด้วยว่า น่าจะใช้ “ความผิดพลาดเป็นโอกาส” สร้างมาตรฐานทางการเมืองให้ชัดเจน เป็นผู้ “นำทาง” แทนการ “เดินตามทาง” คนอื่น(คือไม่อ้างถึงคนอื่นในการตัดสินใจ) ผมกำลังเขียนเสนอให้ประกาศลาออกเพื่อการรับผิดชอบในการพูดของผู้นำ แล้วให้ชะตากรรมของประเทศเป็นไปเองตามอัตโนมัติ (ธรรมชาติ) เพราะคนนี้คงไม่ใช่คนไทยคนสุดท้าย”
ผมไม่ทราบว่าพลเอกสุรยุทธ์พูดเล่นหรือพูดจริง แต่แน่ใจว่าท่านพูดด้วยความถ่อมตัว โดยไม่ได้คิดว่าท่านเป็นตัวแทนของโรงเรียน จปร.หรือหัวหน้ารัฐบาลไทย หากคนจะอาศัยคำพูดของท่านไปประณามว่ารัฐบาลไทยนำด้วยอดีตโจรก็คงจะพูดได้แต่จะมีใครเชื่อ ที่ผมพูดนี้มิได้แก้ตัวให้ตนเองหรือนายกรัฐมนตรี
บางทีเราจะไปเอานิยายอะไรกับคำพูดจนเกินไปก็มิได้ สมัยผมเรียนหนังสืออยู่จุฬาฯ ก็มีคำมาตรฐานที่นิสิตหนุ่มๆ ถามกันอยู่เป็นประจำว่า “จุฬาลงกลอน แล้วหรือยัง” อันหมายถึงระดับความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ก็ไม่เคยมีผู้ใดนึกเกินเลยไปถึงการหลบหลู่พระนามจุฬาลงกรณ์
หันกลับมาถึงเรื่องโจรปล้นเรา ผมเคยมีคำตอบว่าดังนี้ครับ
ผู้ปกครอง ของรัฐ ผลัดกันขึ้น ใครมีปืน มีรถถัง มีหวังใหญ่
ใครมีเงิน พวกมาก ลากกันไป ชนะไหน เข้าด้วย ต้องช่วยกัน
ที่ถือปืน อยู่ในมือ ก็ถือสิทธิ ชีพอุทิศ ให้ประเทศ ป้องเขตขัณฑ์
ความมั่นคง ส่งเสริม เป็นสำคัญ มีเงื่อนไข ขอให้ฉัน ได้ปกครอง
ผมมีหน้าที่จะต้องบอกสังคมว่า โจรปล้นเราคือเผด็จการทหาร ผมไม่เคยเอ่ยถึงโรงเรียนเก่าหรือสถาบัน ในขณะเดียวกันข้อเขียนของผมยืนยันเสมอว่า ทหารดีมีมากกว่าทหารเลว และทหารทั้งกองทัพแต่ละยุคมีทหารการเมืองอยู่ไม่กี่ร้อยคน เช่นเดียวกับนักการเมืองเลวที่มีอยู่ไม่กี่พัน แต่พวกนี้อาศัยนักวิชาการทาสเขียนกติกาให้ผูกขาดอำนาจอยู่เสมอมา ทหารอาชีพก็เหมือนประชาชนส่วนใหญ่หรือแม้แต่ประเทศจึงต้องตกอยู่ในฐานะลำบากตลอดมา
ผมขอย้ำนะครับว่า ผมขอโทษ แต่ผมไม่มีปัญญาจะไปเปลี่ยนหัวเรื่องได้ เพราะเขาพิมพ์ไปแล้ว ที่รับประกันได้ก็คือต่อไปผมจะระมัดระวังยิ่งกว่าเดิม และจะไม่ใช้หัวข้อเดิมในการพิมพ์ซ้ำตอนที่รวมเป็นเล่มอย่างแน่นอน
ถึงท่านที่เขียนว่า “ลูก จปร.ทุกท่าน มันเอาพระนามย่อ จปร. สถาบันของเรามาล้อว่า .......โจร ปล้นเรา พระนามอันสูงส่งนะครับ พี่สนธิ.......พี่บัง......โดยเฉพาะ พี่พรั่ง....ทนได้หรือครับ” ผมขอเรียนเป็นพิเศษว่า ผมได้ส่งข้อเขียนก่อนๆ ของผมไปให้ท่านเหล่านั้นอ่านอยู่แล้วครับ คราวนี้ ผมจะส่งไปให้อีกก็คงจะไม่ยากครับ ผมอยากทราบเหมือนกันว่าท่านจะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟหรือไม่
ไม่กี่วันมานี้ ผมมีโอกาสร่วมโต๊ะกินข้าวกับพลเอกเชษฐา พลเอกอนุพงษ์ พลเอกสพรั่ง ผมก็ยืนยันความคิดของผมไม่เปลี่ยนแปลงว่าผมไม่เห็นด้วยที่ทหารจะเล่นการเมือง เพราะทหารมีแต่จะถูกนักการเมืองหลอกใช้ และหลอกให้ขัดกันเอง ประเทศชาติก็จะวนเวียนอยู่กับ “กงจักรเก่าๆ น้ำเน่าเดิมๆ”
ถ้าทหารอยากเล่นการเมืองก็ควรถอดเครื่องแบบออกมาเล่นตั้งแต่เนิ่นๆ เหมือนพลตรีจำลอง หรือเหมือนหลานของผมที่เป็นนาวาเอกทั้งคู่ และลาออกมาสมัครทั้งคู่ทั้งๆ ที่อายุเพียง 40 ต้นๆ ปรากฏว่าทั้ง 2 อยู่คนละฝ่ายคนละขั้วกันอย่างสุดกู่เลยทีเดียว
ผมต้องบอกตรงๆ ว่า สมัยที่ทหารจะใช้อำนาจหรือกำลังครอบงำการเมืองกำลังจะหมดไปแล้ว แม้แต่พม่าเองก็เถอะ ผมไม่เชื่อประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของผู้นำทหารว่าจะแก้ปัญหาบ้านเมืองและสร้างประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสำเร็จ ผมจึงได้ตั้งคำถามครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยความเคารพและเป็นมิตรว่า คมช.จะไม่เอาราชประชาสมาสัยจริงๆ หรือ
ราชประชาสมาสัยเป็นคำพระราชทานจากในหลวง หมายความว่าในหลวงกับประชาชนพึ่งซึ่งกันและกัน เหมือนน้ำกับดอกบัว การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็คือราชประชาสมาสัย และจะเป็นสมจริงได้ก็ด้วยวิธีราชประชาสมาสัย กล่าวคือ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของปวงชนชาวไทย และผู้แทนถาวรของเขาคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทหารเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง เช่นเดียวกับปัจจัยอื่นๆ คือระบบราชการ นักวิชาการ และพรรคการเมือง ซึ่งแทนที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้วยวิธีราชประชาสมาสัยอย่างแท้จริง กลับมีส่วนเป็นผู้จำกัดและกีดกันราชประชาสมาสัยด้วยซ้ำ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความเคยตัวมักง่ายมักได้ในอำนาจ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือถูกหลอกลวงโดยนักการเมืองตะกละ หรือเนติบริกร และรัฐศาสตร์บริการที่รักชาติเพื่อตนเองและพรรคพวกเป็นสำคัญ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงต้องมีคำถามที่ตรงไปตรงมานับครั้งไม่ถ้วน และมีบทความร่วมร้อยฉบับ ถามว่าทหารอยากเป็นใหญ่หรืออยากเห็นประชาธิปไตยกันแน่ คมช.จะเอายังไง ทำไม คมช.จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อสังเกตเรื่อง “วิ่งเต้น เล่นพวก ทำอะไรลวกๆ เละอย่างเป็นระบบ จบแบบไทยๆ” ไม่ต่างกับซ้ำแย่กว่าการยึดอำนาจครั้งก่อนๆ เสียอีก
หรือว่า คมช.นั่นแหละจะเป็นผู้ทำลายราชประชาสมาสัยเสียเอง
คำถามเช่นนี้ตอบยาก แต่ผู้นำทหารจะต้องช่วยกันตอบคำถามว่า สภาวะภายในกองทัพและสถาบันทหารทุกวันนี้ดีแล้วหรือ ยุติธรรมแล้วหรือ เป็นกองทัพอาชีพที่ทันสมัย มีขีดความสามารถและกำลังพลที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และอาวุธหรือยัง
ถ้าตอบว่ายัง ก็ถึงเวลาแล้วที่ทหารจะกลับเข้ากรมกอง พัฒนาและปฏิรูปกองทัพเป็นการใหญ่ได้แล้ว และเลิกสงสัยว่าคนอย่างผมจะแอนตี้ทหาร ไม่มีหรอกครับ ผมยังรักและศรัทธาทหารอยู่ รวมทั้งโรงเรียนนายร้อย จปร.ด้วย ผมเคยกล่าวด้วยความชื่นชมอยู่เสมอว่า ในประเทศเรานี้ยังมีโรงเรียนที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยส่วนมาก แถมยังไม่มีปมด้อยปมเขื่องที่อยากจะยกฐานะและเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเลย นั่นก็คือโรงเรียนนายร้อย จปร.โรงเรียนที่ใช้พระนามาภิไธยที่ยิ่งใหญ่เป็นชื่อ
ถึงเวลาแล้วครับที่ศิษย์เก่าทั้งมวลของ จปร.จะร่วมกันสร้างสมาคมนักเรียนเก่า จปร.ให้แข็งแกร่ง เพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบในการสร้างราชประชาสมาสัยหรือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขร่วมกับปวงชนชาวไทย อย่าเผลอตกเป็นเหยื่อความคิดและพฤติกรรมแบบเผด็จการอีกเลย
ท่านผู้อ่านที่เคารพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) ผมต้องขออภัย ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ผมเลือกหัวข้อบทความว่า จปร. มิใช่โจรปล้นเรา แทนที่จะเป็นเรื่อง “พลโทฤกษ์ดีกับจปร.” ที่จั่วหัวไว้แต่แรก ทำให้ศิษย์เก่าหลายท่านที่มีความรักสถาบันเกิดความไม่สบายใจ สะเทือนใจ เสียความรู้สึก หรือโกรธผมจนกระทั่งจะทนไม่ได้ เพราะเชื่อว่าผมหลบหลู่สถาบันที่ท่านเคารพบูชา ผมขอกราบเรียนว่าผมไม่มีเจตนาเช่นนั้นเลย ไม่เคยแม้แต่จะคิดสักวินาทีเดียว
ยิ่งบางท่านเลยเถิดไปจนกระทั่งกล่าวว่าผมหมิ่นพระบรมราชานุภาพ ซึ่งไม่มีมูลความจริงเลย ในประเทศไทยนี้ไม่มีใครเขียนบทความถึงพระมหากษัตริย์มากกว่าผม และเขียนด้วยความเคารพบูชาและเชื่อมั่นว่าเป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง ซ้ำยังเป็นพลังด้านประชาธิปไตยของประเทศ
ผมเขียนบทความเรื่องการเมืองและประชาธิปไตยบ่อยเสียจนต้องถามตนเองว่า ทำไมจะต้องเป็นเรา ในการเขียนแต่ละบทจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหรืออย่างมากก็ไม่เกินชั่วโมงครึ่ง ส่วนมากก็เขียนหัวข้อก่อน แล้วก็นำความคิดและข้อมูลที่อุตส่าห์รวบรวมทำการบ้านไว้เหมือนนักเรียนเตรียมตัวสอบไล่นำมาเสนอด้วยความเคารพในวิจารณญาณของท่านผู้อ่านอย่างจริงใจ
ผมเป็นนักเรียนที่ไม่เคยยกตัวว่าเป็นนักปราชญ์ ผมจึงไม่อยากใช้สิทธิอ้างว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” แต่คราวนี้ที่ผมพลาดก็เพราะว่า กลอนพาไป เนื่องจากผมขึ้นต้นบทความด้วยกลอนที่ผมเขียนไว้หลายปีดีดักแล้ว กลอนนี้มีคนนำไปตีพิมพ์ซ้ำบ่อยๆ บอกผมบ้าง ไม่บอกผมบ้าง ตามธรรมเนียมไทย
กลอนนั้นขึ้นต้นว่า “ในอดีต อธิปไตย ไทยถูกปล้น แถมฉ้อฉล ปัจจุบัน กันไปหมด” ความเร่งรีบทำให้ผมพิมพ์ผิดใช้คำว่าประชาธิปไตยแทนคำว่าอธิปไตย เพื่อจะตอบคำถามว่า ใครเป็นคนปล้นอธิปไตยของเรา คำตอบก็คือโจร ผมจึงเขียนแบบกลอนพาไปว่า โจรปล้นเรานั้นไม่ใช่จปร.
คนไทยมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอน บางทีก็พูดหรือเขียนไปโดยไม่ทันได้คิด เพราะความพาซื่อ ผมขอยกตัวอย่างจดหมายไฟฟ้าหรืออีเมลฉบับหนึ่งจากอเมริกาที่ผมได้รับเมื่อ 2-3 วันนี้
“ผมได้รับโทรศัพท์จากพรรคพวกหลายคนวิจารณ์ท่านนายกฯ เรื่อง “โจรกลับใจ” ว่าเป็นการพูดที่ขาดความรับผิดชอบและรับไม่ได้ จากผู้นำประเทศ อาจารย์เห็นว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ส่วนตัวผมเห็นด้วยว่า น่าจะใช้ “ความผิดพลาดเป็นโอกาส” สร้างมาตรฐานทางการเมืองให้ชัดเจน เป็นผู้ “นำทาง” แทนการ “เดินตามทาง” คนอื่น(คือไม่อ้างถึงคนอื่นในการตัดสินใจ) ผมกำลังเขียนเสนอให้ประกาศลาออกเพื่อการรับผิดชอบในการพูดของผู้นำ แล้วให้ชะตากรรมของประเทศเป็นไปเองตามอัตโนมัติ (ธรรมชาติ) เพราะคนนี้คงไม่ใช่คนไทยคนสุดท้าย”
ผมไม่ทราบว่าพลเอกสุรยุทธ์พูดเล่นหรือพูดจริง แต่แน่ใจว่าท่านพูดด้วยความถ่อมตัว โดยไม่ได้คิดว่าท่านเป็นตัวแทนของโรงเรียน จปร.หรือหัวหน้ารัฐบาลไทย หากคนจะอาศัยคำพูดของท่านไปประณามว่ารัฐบาลไทยนำด้วยอดีตโจรก็คงจะพูดได้แต่จะมีใครเชื่อ ที่ผมพูดนี้มิได้แก้ตัวให้ตนเองหรือนายกรัฐมนตรี
บางทีเราจะไปเอานิยายอะไรกับคำพูดจนเกินไปก็มิได้ สมัยผมเรียนหนังสืออยู่จุฬาฯ ก็มีคำมาตรฐานที่นิสิตหนุ่มๆ ถามกันอยู่เป็นประจำว่า “จุฬาลงกลอน แล้วหรือยัง” อันหมายถึงระดับความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ก็ไม่เคยมีผู้ใดนึกเกินเลยไปถึงการหลบหลู่พระนามจุฬาลงกรณ์
หันกลับมาถึงเรื่องโจรปล้นเรา ผมเคยมีคำตอบว่าดังนี้ครับ
ผู้ปกครอง ของรัฐ ผลัดกันขึ้น ใครมีปืน มีรถถัง มีหวังใหญ่
ใครมีเงิน พวกมาก ลากกันไป ชนะไหน เข้าด้วย ต้องช่วยกัน
ที่ถือปืน อยู่ในมือ ก็ถือสิทธิ ชีพอุทิศ ให้ประเทศ ป้องเขตขัณฑ์
ความมั่นคง ส่งเสริม เป็นสำคัญ มีเงื่อนไข ขอให้ฉัน ได้ปกครอง
ผมมีหน้าที่จะต้องบอกสังคมว่า โจรปล้นเราคือเผด็จการทหาร ผมไม่เคยเอ่ยถึงโรงเรียนเก่าหรือสถาบัน ในขณะเดียวกันข้อเขียนของผมยืนยันเสมอว่า ทหารดีมีมากกว่าทหารเลว และทหารทั้งกองทัพแต่ละยุคมีทหารการเมืองอยู่ไม่กี่ร้อยคน เช่นเดียวกับนักการเมืองเลวที่มีอยู่ไม่กี่พัน แต่พวกนี้อาศัยนักวิชาการทาสเขียนกติกาให้ผูกขาดอำนาจอยู่เสมอมา ทหารอาชีพก็เหมือนประชาชนส่วนใหญ่หรือแม้แต่ประเทศจึงต้องตกอยู่ในฐานะลำบากตลอดมา
ผมขอย้ำนะครับว่า ผมขอโทษ แต่ผมไม่มีปัญญาจะไปเปลี่ยนหัวเรื่องได้ เพราะเขาพิมพ์ไปแล้ว ที่รับประกันได้ก็คือต่อไปผมจะระมัดระวังยิ่งกว่าเดิม และจะไม่ใช้หัวข้อเดิมในการพิมพ์ซ้ำตอนที่รวมเป็นเล่มอย่างแน่นอน
ถึงท่านที่เขียนว่า “ลูก จปร.ทุกท่าน มันเอาพระนามย่อ จปร. สถาบันของเรามาล้อว่า .......โจร ปล้นเรา พระนามอันสูงส่งนะครับ พี่สนธิ.......พี่บัง......โดยเฉพาะ พี่พรั่ง....ทนได้หรือครับ” ผมขอเรียนเป็นพิเศษว่า ผมได้ส่งข้อเขียนก่อนๆ ของผมไปให้ท่านเหล่านั้นอ่านอยู่แล้วครับ คราวนี้ ผมจะส่งไปให้อีกก็คงจะไม่ยากครับ ผมอยากทราบเหมือนกันว่าท่านจะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟหรือไม่
ไม่กี่วันมานี้ ผมมีโอกาสร่วมโต๊ะกินข้าวกับพลเอกเชษฐา พลเอกอนุพงษ์ พลเอกสพรั่ง ผมก็ยืนยันความคิดของผมไม่เปลี่ยนแปลงว่าผมไม่เห็นด้วยที่ทหารจะเล่นการเมือง เพราะทหารมีแต่จะถูกนักการเมืองหลอกใช้ และหลอกให้ขัดกันเอง ประเทศชาติก็จะวนเวียนอยู่กับ “กงจักรเก่าๆ น้ำเน่าเดิมๆ”
ถ้าทหารอยากเล่นการเมืองก็ควรถอดเครื่องแบบออกมาเล่นตั้งแต่เนิ่นๆ เหมือนพลตรีจำลอง หรือเหมือนหลานของผมที่เป็นนาวาเอกทั้งคู่ และลาออกมาสมัครทั้งคู่ทั้งๆ ที่อายุเพียง 40 ต้นๆ ปรากฏว่าทั้ง 2 อยู่คนละฝ่ายคนละขั้วกันอย่างสุดกู่เลยทีเดียว
ผมต้องบอกตรงๆ ว่า สมัยที่ทหารจะใช้อำนาจหรือกำลังครอบงำการเมืองกำลังจะหมดไปแล้ว แม้แต่พม่าเองก็เถอะ ผมไม่เชื่อประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของผู้นำทหารว่าจะแก้ปัญหาบ้านเมืองและสร้างประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสำเร็จ ผมจึงได้ตั้งคำถามครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยความเคารพและเป็นมิตรว่า คมช.จะไม่เอาราชประชาสมาสัยจริงๆ หรือ
ราชประชาสมาสัยเป็นคำพระราชทานจากในหลวง หมายความว่าในหลวงกับประชาชนพึ่งซึ่งกันและกัน เหมือนน้ำกับดอกบัว การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็คือราชประชาสมาสัย และจะเป็นสมจริงได้ก็ด้วยวิธีราชประชาสมาสัย กล่าวคือ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของปวงชนชาวไทย และผู้แทนถาวรของเขาคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทหารเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง เช่นเดียวกับปัจจัยอื่นๆ คือระบบราชการ นักวิชาการ และพรรคการเมือง ซึ่งแทนที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้วยวิธีราชประชาสมาสัยอย่างแท้จริง กลับมีส่วนเป็นผู้จำกัดและกีดกันราชประชาสมาสัยด้วยซ้ำ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความเคยตัวมักง่ายมักได้ในอำนาจ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือถูกหลอกลวงโดยนักการเมืองตะกละ หรือเนติบริกร และรัฐศาสตร์บริการที่รักชาติเพื่อตนเองและพรรคพวกเป็นสำคัญ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงต้องมีคำถามที่ตรงไปตรงมานับครั้งไม่ถ้วน และมีบทความร่วมร้อยฉบับ ถามว่าทหารอยากเป็นใหญ่หรืออยากเห็นประชาธิปไตยกันแน่ คมช.จะเอายังไง ทำไม คมช.จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อสังเกตเรื่อง “วิ่งเต้น เล่นพวก ทำอะไรลวกๆ เละอย่างเป็นระบบ จบแบบไทยๆ” ไม่ต่างกับซ้ำแย่กว่าการยึดอำนาจครั้งก่อนๆ เสียอีก
หรือว่า คมช.นั่นแหละจะเป็นผู้ทำลายราชประชาสมาสัยเสียเอง
คำถามเช่นนี้ตอบยาก แต่ผู้นำทหารจะต้องช่วยกันตอบคำถามว่า สภาวะภายในกองทัพและสถาบันทหารทุกวันนี้ดีแล้วหรือ ยุติธรรมแล้วหรือ เป็นกองทัพอาชีพที่ทันสมัย มีขีดความสามารถและกำลังพลที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และอาวุธหรือยัง
ถ้าตอบว่ายัง ก็ถึงเวลาแล้วที่ทหารจะกลับเข้ากรมกอง พัฒนาและปฏิรูปกองทัพเป็นการใหญ่ได้แล้ว และเลิกสงสัยว่าคนอย่างผมจะแอนตี้ทหาร ไม่มีหรอกครับ ผมยังรักและศรัทธาทหารอยู่ รวมทั้งโรงเรียนนายร้อย จปร.ด้วย ผมเคยกล่าวด้วยความชื่นชมอยู่เสมอว่า ในประเทศเรานี้ยังมีโรงเรียนที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยส่วนมาก แถมยังไม่มีปมด้อยปมเขื่องที่อยากจะยกฐานะและเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเลย นั่นก็คือโรงเรียนนายร้อย จปร.โรงเรียนที่ใช้พระนามาภิไธยที่ยิ่งใหญ่เป็นชื่อ
ถึงเวลาแล้วครับที่ศิษย์เก่าทั้งมวลของ จปร.จะร่วมกันสร้างสมาคมนักเรียนเก่า จปร.ให้แข็งแกร่ง เพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบในการสร้างราชประชาสมาสัยหรือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขร่วมกับปวงชนชาวไทย อย่าเผลอตกเป็นเหยื่อความคิดและพฤติกรรมแบบเผด็จการอีกเลย