.
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ใช้พลังงานจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้กำลังปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์จากอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์มีขนาดใหญ่มาก โดยทั่วโลกมีผลผลิตซีเมนต์ 1,600 ล้านตัน/ปี การผลิตปูนซีเมนต์แต่ละตันจะต้องใช้วัตถุดิบ 1.4 ตัน และใช้เชื้อเพลิงเพื่อให้พลังงาน 8.8 ล้านกิโลแคลอรี โดยต้นทุนด้านพลังงานคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงครึ่งหนึ่งของต้นทุนผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหมด ทำให้อุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ยิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ของโลกได้กระจุกตัวในประเทศจีนมากที่สุด คือ 500 ล้านตัน/ปี หรือประมาณ 30% ของผลผลิตทั่วโลก ซึ่งเป็นผลผลิตจากโรงงานสมัยใหม่เพียงแค่ 12% หรือประมาณ 60 ล้านตัน/ปี แต่ส่วนที่เหลืออีก 440 ล้านตัน/ปี ผลิตโดยโรงงานเก่า ซึ่งนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานต่ำแล้ว ยังก่อให้เกิดฝุ่นจำนวนมาก
ปัจจุบันผู้ผลิตปูนซีเมนต์ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนการผลิตและหารายได้เสริม ซึ่งนอกจากทำให้กำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยกลยุทธ์การดำเนินการสามารถจำแนกออกได้ ดังนี้
ประการแรก การใช้ของเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมอื่นมาใช้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ยังช่วยกำจัดขยะไปในตัว เป็นต้นว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของญี่ปุ่นได้นำ Slag ซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากเตาถลุงเหล็ก Blast Furnace มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์
สำหรับโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง จะมีกระบวนการกำจัดกำมะถันโดยใช้หินปูน ซึ่งเมื่อหินปูนทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกำมะถัน จะได้ของเหลือทิ้งเป็นยิปซัมจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตซีเมนต์เป็นอย่างดี สำหรับเถ้าลอยของโรงไฟฟ้านั้น ก็ได้นำไปเป็นวัตถุดิบในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันโรงงานปูนซีเมนต์ของไทยได้ใช้ของเหลือทิ้งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบอยู่แล้ว
ประการที่สอง การพยายามใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งอื่นๆ เป็นต้นว่า ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เศษวัสดุทางการเกษตร ฯลฯ โดยกรณีของออสเตรเลีย อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้ใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 6% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด
ส่วนกรณีของญี่ปุ่นการผลิตปูนซีเมนต์จะใช้พลังงานจากแหล่งอื่นๆ เป็นสัดส่วนสูงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการนำยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้วมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการใช้เป็นสัดส่วนสูงถึง 37% โดยจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาซีเมนต์ นับว่าช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก เพราะขยะที่เป็นยางรถยนต์นับว่าเป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ติดไฟง่ายและดับได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น การเผาไหม้ยางรถยนต์นอกเตาเผาจะก่อให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ปล่อยออกสู่อากาศ และก่อให้เกิดน้ำมันซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำอีกด้วย
สำหรับกรณีของประเทศไทย ปัจจุบันมีขยะประเภทยางรถยนต์เก่าจำนวนมาก แต่การนำมารีไซเคิลมีไม่มากนักเนื่องจากผลตอบแทนน้อยมากในเชิงพาณิชย์ โดยในระยะที่ผ่านมาดำเนินการรีไซเคิลอยู่บ้างเล็กๆ น้อยๆ ในรูปการผลิตเป็นรองเท้า ยางกันชนเรือ ถังขยะ ฯลฯ ปัจจุบันโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศไทยจะให้บริการกำจัดยางรถยนต์ให้ฟรี แต่ผู้ต้องการรีไซเคิลต้องส่งไปยังโรงงานเอง เนื่องจากค่าขนส่งสูง จึงไม่คุ้มที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมยางส่งไปยังโรงงาน โดยยางที่บริษัทได้รับนั้น เกือบทั้งหมดเป็นยางที่ผลิตขึ้นและไม่ได้คุณภาพจากบริษัทผลิตยางรถยนต์
กรรมวิธีดำเนินการ กรณีเป็นยางรถเก๋ง สามารถนำเข้าไปในเตาเผาได้เลย แต่กรณีเป็นยางรถบรรทุกขนาดใหญ่ จะต้องตัดเป็น 4 ท่อนก่อน จากนั้นเผายางในเตาเผาซีเมนต์ซึ่งมีระดับความร้อนสูงถึง 1,450 องศาเซลเซียส ซึ่งเนื้อยางและเหล็กจะแทรกตัวเข้าไปในเนื้อซีเมนต์ ไม่มีส่วนเหลือหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ประการที่สาม การนำพลังงานเหลือทิ้งจากโรงงานปูนซีเมนต์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า โดยความร้อนเหลือทิ้งจากการผลิตปูนซีเมนต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 30 - 39 หน่วย ต่อการผลิตปูนเม็ด 1 ตัน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากการผลิตปูนซีเมนต์ไม่ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเผาไหม้เพิ่มเติมแต่อย่างใด จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอีกด้วย
ปัจจุบันอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทยได้เริ่มนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์แล้ว โดยบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเมื่อกลางปี 2550 เพื่อลงทุน 1,700 ล้านบาท ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 32 เมกะวัตต์ ส่วนเครือซิเมนต์ไทยได้รับการส่งเสริมการลงทุนใน 3 โครงการ เมื่อกลางปี 2550 เช่นเดียวกัน โดยจะลงทุนรวมประมาณ 1,900 ล้านบาท ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตรวม 36 เมกะวัตต์
ประการที่สี่ การผลิตปูนซีเมนต์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยบริษัท Italcementi ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ได้เริ่มคิดค้นเทคโนโลยี TX Active เมื่อประมาณปี 2540 กล่าวคือ เป็นปูนซีเมนต์ผสมสาร Photocatalyst ซึ่งผลิตขึ้นจาก Titanium Dioxide โดยเมื่อถูกแสงสว่าง จะก่อให้เกิดกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Photocatalysis ขึ้น ส่งผลทำให้ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ เบนซิน ฯลฯ แตกตัวออกไป
ปัจจุบันบริษัท Italcementi ได้เริ่มมีการนำปูนซีเมนต์ดังกล่าวข้างต้นซึ่งจำหน่ายในชื่อทางการค้าว่า Millenium Cement โดยจำหน่ายในราคาสูงกว่าปูนซีเมนต์แบบพอร์ทแลนด์ที่เราใช้กันทั่วไป โดยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส เบลเยียม ฯลฯ เป็นต้นว่า นำไปปูพื้นถนนที่เมือง Segrate ใกล้กับนครมิลาน สามารถลดปริมาณก๊าซไนตริกออกไซด์ได้ประมาณ 60% นอกจากนี้ มีการทดลองปูพื้นถนน 8,000 ตร.ม.ที่ย่านอุตสาหกรรมใกล้กับเมือง Bergamo ปรากฏว่าสามารถลดปริมาณการอากาศเป็นพิษได้มากถึง 45%
ประการที่ห้า การหารายได้เสริมจากการกำจัดขยะและกากอุตสาหกรรม เนื่องจากการก่อสร้างเตาเผาขยะขนาดใหญ่เพื่อกำจัดกากอุตสาหกรรมนั้นจะมีต้นทุนสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเผาในอุณหภูมิสูงมากเพื่อกำจัดสารพิษ ทำให้สูญเสียเชื้อเพลิงจำนวนมาก
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีข้อได้เปรียบสำคัญ คือ มีเตาเผาอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนใหม่แต่อย่างใด และเผาซีเมนต์ในอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ได้หันมาหารายได้เสริมจากการรับจ้างกำจัดกากอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากได้รับเงินค่ากำจัดแล้ว กากอุตสาหกรรมบางส่วน เช่น น้ำมันเครื่องใช้แล้ว ฯลฯ ยังใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตปูนซีเมนต์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนรับกากอุตสาหกรรมมากำจัดนั้น จะต้องวิเคราะห์ส่วนผสมก่อนว่าจะสามารถกำจัดได้หรือไม่ จะกระทบต่อคุณภาพของปูนซีเมนต์หรือไม่ และกระทบต่อเครื่องจักรหรือไม่
สำหรับกรณีของญี่ปุ่น ปัจจุบันผลิตปูนซีเมนต์ปีละประมาณ 100 ล้านตัน ด้งนั้น เตาซีเมนต์จึงนับเป็นแหล่งกำจัดกากอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ โดปริมาณกำจัดกากอุตสาหกรรมในเตาเผาซีเมนต์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 8 ล้านตัน ในปี 2533 เป็น 30 ล้านตัน ในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วน 7% ของปริมาณกากอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศ
ตัวอย่างหนึ่ง คือ บริษัท Taiheiyo Cement ซึ่งรับกำจัดกากอุตสาหกรรมมากถึง 10 ล้านตัน/ปี โดยวัตถุดิบที่เป็นกากอุตสาหกรรมคิดเป็น 25% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อปลายปี 2544 บริษัทได้วางตลาดปูนซีเมนต์แบบใหม่ภายใต้ชื่อ Ecocement ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตครึ่งหนึ่งมาจากกากอุตสาหกรรม ล่าสุดบริษัทแห่งนี้ได้ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ว่าสามารถวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถผลิตปูนเม็ดโดยใช้ของเสียเป็นสัดส่วนมากขึ้น แต่ยังคงรักษาคุณภาพของซีเมนต์เอาไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นมีเตาเผาขยะชุมชนจำนวนมาก เนื่องจากประเทศมีพื้นที่จำกัด ทำให้การกำจัดขยะโดยการฝังกลบมีต้นทุนการดำเนินการสูงมาก จึงต้องกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะเป็นหลัก ปัญหาสำคัญ คือ เศษขยะเหล่านี้จะมีคลอรีนเป็นส่วนผสม โดยเฉพาะพลาสติกที่ทำจาก PVC ซึ่งการเผาไหม้เศษขยะเหล่านี้จะก่อให้เกิดขี้เถ้าซึ่งมีไดออกซินเป็นส่วนผสม โดยไดออกซินนับว่าเป็นสารอันตรายมากเนื่องจากก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แม้การเผาด้วยอุณหภูมิสูงจะทำให้โมเลกุลของไดออกซินแตกออกไป แต่เมื่อขี้เถ้าเย็นลงอย่างช้าๆ ไดออกซินก็สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้
โรงงานปูนซีเมนต์บางแห่งในประเทศญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้สามารถรับกำจัดขี้เถ้าจากเตาเผาขยะชุมชนซึ่งมีไดออกซินเป็นส่วนผสม โดยนำไปเผาในเตาซีเมนต์โดยใช้อุณหภูมิสูงถึง 1,450 องศาเซลเซียส เพื่อให้ไดออกซินแตกตัวออกไป จากนั้นใช้วิธีทำให้เตาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดไดออกซินขึ้นมาใหม่
องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (New Energy and Industrial Technology Development Organization - NEDO) ซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งราชการของญี่ปุ่น ได้พยายามวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ซึ่งช่วยแก้ไขขยะชุมชนไปในตัว แม้ว่าขยะนั้นจะมีคลอรีนเป็นส่วนประกอบก็ตาม โดยได้ก่อสร้างโรงงานผลิตซีเมนต์สาธิตขนาด 50 ตัน/วัน เพื่อใช้วิจัยและพัฒนาในด้านนี้
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ใช้พลังงานจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้กำลังปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์จากอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์มีขนาดใหญ่มาก โดยทั่วโลกมีผลผลิตซีเมนต์ 1,600 ล้านตัน/ปี การผลิตปูนซีเมนต์แต่ละตันจะต้องใช้วัตถุดิบ 1.4 ตัน และใช้เชื้อเพลิงเพื่อให้พลังงาน 8.8 ล้านกิโลแคลอรี โดยต้นทุนด้านพลังงานคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงครึ่งหนึ่งของต้นทุนผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหมด ทำให้อุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ยิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ของโลกได้กระจุกตัวในประเทศจีนมากที่สุด คือ 500 ล้านตัน/ปี หรือประมาณ 30% ของผลผลิตทั่วโลก ซึ่งเป็นผลผลิตจากโรงงานสมัยใหม่เพียงแค่ 12% หรือประมาณ 60 ล้านตัน/ปี แต่ส่วนที่เหลืออีก 440 ล้านตัน/ปี ผลิตโดยโรงงานเก่า ซึ่งนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานต่ำแล้ว ยังก่อให้เกิดฝุ่นจำนวนมาก
ปัจจุบันผู้ผลิตปูนซีเมนต์ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนการผลิตและหารายได้เสริม ซึ่งนอกจากทำให้กำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยกลยุทธ์การดำเนินการสามารถจำแนกออกได้ ดังนี้
ประการแรก การใช้ของเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมอื่นมาใช้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ยังช่วยกำจัดขยะไปในตัว เป็นต้นว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของญี่ปุ่นได้นำ Slag ซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากเตาถลุงเหล็ก Blast Furnace มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์
สำหรับโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง จะมีกระบวนการกำจัดกำมะถันโดยใช้หินปูน ซึ่งเมื่อหินปูนทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกำมะถัน จะได้ของเหลือทิ้งเป็นยิปซัมจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตซีเมนต์เป็นอย่างดี สำหรับเถ้าลอยของโรงไฟฟ้านั้น ก็ได้นำไปเป็นวัตถุดิบในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันโรงงานปูนซีเมนต์ของไทยได้ใช้ของเหลือทิ้งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบอยู่แล้ว
ประการที่สอง การพยายามใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งอื่นๆ เป็นต้นว่า ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เศษวัสดุทางการเกษตร ฯลฯ โดยกรณีของออสเตรเลีย อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้ใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 6% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด
ส่วนกรณีของญี่ปุ่นการผลิตปูนซีเมนต์จะใช้พลังงานจากแหล่งอื่นๆ เป็นสัดส่วนสูงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการนำยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้วมาเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการใช้เป็นสัดส่วนสูงถึง 37% โดยจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาซีเมนต์ นับว่าช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก เพราะขยะที่เป็นยางรถยนต์นับว่าเป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ติดไฟง่ายและดับได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้น การเผาไหม้ยางรถยนต์นอกเตาเผาจะก่อให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ปล่อยออกสู่อากาศ และก่อให้เกิดน้ำมันซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำอีกด้วย
สำหรับกรณีของประเทศไทย ปัจจุบันมีขยะประเภทยางรถยนต์เก่าจำนวนมาก แต่การนำมารีไซเคิลมีไม่มากนักเนื่องจากผลตอบแทนน้อยมากในเชิงพาณิชย์ โดยในระยะที่ผ่านมาดำเนินการรีไซเคิลอยู่บ้างเล็กๆ น้อยๆ ในรูปการผลิตเป็นรองเท้า ยางกันชนเรือ ถังขยะ ฯลฯ ปัจจุบันโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศไทยจะให้บริการกำจัดยางรถยนต์ให้ฟรี แต่ผู้ต้องการรีไซเคิลต้องส่งไปยังโรงงานเอง เนื่องจากค่าขนส่งสูง จึงไม่คุ้มที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมยางส่งไปยังโรงงาน โดยยางที่บริษัทได้รับนั้น เกือบทั้งหมดเป็นยางที่ผลิตขึ้นและไม่ได้คุณภาพจากบริษัทผลิตยางรถยนต์
กรรมวิธีดำเนินการ กรณีเป็นยางรถเก๋ง สามารถนำเข้าไปในเตาเผาได้เลย แต่กรณีเป็นยางรถบรรทุกขนาดใหญ่ จะต้องตัดเป็น 4 ท่อนก่อน จากนั้นเผายางในเตาเผาซีเมนต์ซึ่งมีระดับความร้อนสูงถึง 1,450 องศาเซลเซียส ซึ่งเนื้อยางและเหล็กจะแทรกตัวเข้าไปในเนื้อซีเมนต์ ไม่มีส่วนเหลือหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ประการที่สาม การนำพลังงานเหลือทิ้งจากโรงงานปูนซีเมนต์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า โดยความร้อนเหลือทิ้งจากการผลิตปูนซีเมนต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 30 - 39 หน่วย ต่อการผลิตปูนเม็ด 1 ตัน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากการผลิตปูนซีเมนต์ไม่ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเผาไหม้เพิ่มเติมแต่อย่างใด จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอีกด้วย
ปัจจุบันอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทยได้เริ่มนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์แล้ว โดยบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเมื่อกลางปี 2550 เพื่อลงทุน 1,700 ล้านบาท ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 32 เมกะวัตต์ ส่วนเครือซิเมนต์ไทยได้รับการส่งเสริมการลงทุนใน 3 โครงการ เมื่อกลางปี 2550 เช่นเดียวกัน โดยจะลงทุนรวมประมาณ 1,900 ล้านบาท ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตรวม 36 เมกะวัตต์
ประการที่สี่ การผลิตปูนซีเมนต์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม โดยบริษัท Italcementi ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ได้เริ่มคิดค้นเทคโนโลยี TX Active เมื่อประมาณปี 2540 กล่าวคือ เป็นปูนซีเมนต์ผสมสาร Photocatalyst ซึ่งผลิตขึ้นจาก Titanium Dioxide โดยเมื่อถูกแสงสว่าง จะก่อให้เกิดกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Photocatalysis ขึ้น ส่งผลทำให้ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ เบนซิน ฯลฯ แตกตัวออกไป
ปัจจุบันบริษัท Italcementi ได้เริ่มมีการนำปูนซีเมนต์ดังกล่าวข้างต้นซึ่งจำหน่ายในชื่อทางการค้าว่า Millenium Cement โดยจำหน่ายในราคาสูงกว่าปูนซีเมนต์แบบพอร์ทแลนด์ที่เราใช้กันทั่วไป โดยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส เบลเยียม ฯลฯ เป็นต้นว่า นำไปปูพื้นถนนที่เมือง Segrate ใกล้กับนครมิลาน สามารถลดปริมาณก๊าซไนตริกออกไซด์ได้ประมาณ 60% นอกจากนี้ มีการทดลองปูพื้นถนน 8,000 ตร.ม.ที่ย่านอุตสาหกรรมใกล้กับเมือง Bergamo ปรากฏว่าสามารถลดปริมาณการอากาศเป็นพิษได้มากถึง 45%
ประการที่ห้า การหารายได้เสริมจากการกำจัดขยะและกากอุตสาหกรรม เนื่องจากการก่อสร้างเตาเผาขยะขนาดใหญ่เพื่อกำจัดกากอุตสาหกรรมนั้นจะมีต้นทุนสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเผาในอุณหภูมิสูงมากเพื่อกำจัดสารพิษ ทำให้สูญเสียเชื้อเพลิงจำนวนมาก
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีข้อได้เปรียบสำคัญ คือ มีเตาเผาอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนใหม่แต่อย่างใด และเผาซีเมนต์ในอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ได้หันมาหารายได้เสริมจากการรับจ้างกำจัดกากอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากได้รับเงินค่ากำจัดแล้ว กากอุตสาหกรรมบางส่วน เช่น น้ำมันเครื่องใช้แล้ว ฯลฯ ยังใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตปูนซีเมนต์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนรับกากอุตสาหกรรมมากำจัดนั้น จะต้องวิเคราะห์ส่วนผสมก่อนว่าจะสามารถกำจัดได้หรือไม่ จะกระทบต่อคุณภาพของปูนซีเมนต์หรือไม่ และกระทบต่อเครื่องจักรหรือไม่
สำหรับกรณีของญี่ปุ่น ปัจจุบันผลิตปูนซีเมนต์ปีละประมาณ 100 ล้านตัน ด้งนั้น เตาซีเมนต์จึงนับเป็นแหล่งกำจัดกากอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ โดปริมาณกำจัดกากอุตสาหกรรมในเตาเผาซีเมนต์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 8 ล้านตัน ในปี 2533 เป็น 30 ล้านตัน ในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วน 7% ของปริมาณกากอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศ
ตัวอย่างหนึ่ง คือ บริษัท Taiheiyo Cement ซึ่งรับกำจัดกากอุตสาหกรรมมากถึง 10 ล้านตัน/ปี โดยวัตถุดิบที่เป็นกากอุตสาหกรรมคิดเป็น 25% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อปลายปี 2544 บริษัทได้วางตลาดปูนซีเมนต์แบบใหม่ภายใต้ชื่อ Ecocement ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตครึ่งหนึ่งมาจากกากอุตสาหกรรม ล่าสุดบริษัทแห่งนี้ได้ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ว่าสามารถวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถผลิตปูนเม็ดโดยใช้ของเสียเป็นสัดส่วนมากขึ้น แต่ยังคงรักษาคุณภาพของซีเมนต์เอาไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นมีเตาเผาขยะชุมชนจำนวนมาก เนื่องจากประเทศมีพื้นที่จำกัด ทำให้การกำจัดขยะโดยการฝังกลบมีต้นทุนการดำเนินการสูงมาก จึงต้องกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะเป็นหลัก ปัญหาสำคัญ คือ เศษขยะเหล่านี้จะมีคลอรีนเป็นส่วนผสม โดยเฉพาะพลาสติกที่ทำจาก PVC ซึ่งการเผาไหม้เศษขยะเหล่านี้จะก่อให้เกิดขี้เถ้าซึ่งมีไดออกซินเป็นส่วนผสม โดยไดออกซินนับว่าเป็นสารอันตรายมากเนื่องจากก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แม้การเผาด้วยอุณหภูมิสูงจะทำให้โมเลกุลของไดออกซินแตกออกไป แต่เมื่อขี้เถ้าเย็นลงอย่างช้าๆ ไดออกซินก็สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้
โรงงานปูนซีเมนต์บางแห่งในประเทศญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้สามารถรับกำจัดขี้เถ้าจากเตาเผาขยะชุมชนซึ่งมีไดออกซินเป็นส่วนผสม โดยนำไปเผาในเตาซีเมนต์โดยใช้อุณหภูมิสูงถึง 1,450 องศาเซลเซียส เพื่อให้ไดออกซินแตกตัวออกไป จากนั้นใช้วิธีทำให้เตาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดไดออกซินขึ้นมาใหม่
องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (New Energy and Industrial Technology Development Organization - NEDO) ซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งราชการของญี่ปุ่น ได้พยายามวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ซึ่งช่วยแก้ไขขยะชุมชนไปในตัว แม้ว่าขยะนั้นจะมีคลอรีนเป็นส่วนประกอบก็ตาม โดยได้ก่อสร้างโรงงานผลิตซีเมนต์สาธิตขนาด 50 ตัน/วัน เพื่อใช้วิจัยและพัฒนาในด้านนี้
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th