ละครคือการแสดงบนเวทีเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนดูได้รับความบันเทิง หรือได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างเป็นคติสอนใจ หรือมีจุดประสงค์เพื่อการปลุกความฮึกโหม ความรักชาติ มิฉะนั้นก็อาจจะเป็นละครที่อิงประวัติศาสตร์ หรือเยาะเย้ยถากถางสังคม แล้วแต่กรณี ผู้เขียนเรื่องที่จะนำไปแสดงเป็นบทละครโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทสนทนาและการแสดงนั้นมีทางเลือกได้สองอย่าง คือ การแสดงให้สมจริงเหมือนในชีวิตประจำวัน ซึ่งถ้าเป็นความจริงทั้งหมดโดยมีการดำเนินเรื่องอย่างพื้นๆ คนก็อาจจะไม่ชอบ หรือแสดงแบบผิดไปจากความจริง ละครส่วนใหญ่จึงต้องมีลักษณะการแสดงออกที่เกินเลย (dramatize) การแสดงสีหน้าที่โกรธและดุดัน การตะโกนด้วยเสียงอันดัง การตบตีกันด้วยความหึงหวงแย่งคู่รักกัน ซึ่งเป็นลักษณะของละครวิทยุโทรทัศน์ในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเรียกว่าละครน้ำเน่า ละครที่เป็นเรื่องชีวิตและสืบต่อมานานจนผู้ดูรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของละคร ฝรั่งเรียกว่า soap opera ในกรณีที่เป็นละครแบบวิลเลียม เช็คสเปียรส์ จะเน้นที่การใช้สำนวนภาษาและอารมณ์ในการแสดงออก ผู้แสดงส่วนใหญ่จะเรียนมาโดยตรง ตีบทแตกและดื่มด่ำในบทที่แสดง
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนสังเกตมา แต่ผู้เขียนวิชาการละครอาจจะสรุปได้ว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องหรือไม่รู้จริง แต่ก็ขอให้ถือว่านี่คือการสังเกตและความคิดเห็นของคนซึ่งไม่ใช่ผู้ศึกษามาโดยตรง แต่สะท้อนถึงความเห็นของคนหนึ่งที่เคยดูละครมาตั้งแต่เด็ก รวมตลอดทั้ง งิ้ว ลิเก และหนัง ที่ผู้เขียนชอบคือละครร้องโดยมีการร้องประสานเสียงจากหลังฉาก ที่ชอบที่สุดคือ “มาด้วยกัน เลือดสุพรรณ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของละครฝรั่งนั้นก็เคยดูละครสมัยใหม่รวมทั้งละครเช็คสเปียรส์ที่บรอดเวย์ และดูอุปรากรหรือโอเปร่าที่รัสเซีย รวมทั้งที่ประเทศไทยที่มาแสดงโดยประเทศต่างๆ
การแสดงละครคือการสมมติตัวเองให้เป็นคนคนหนึ่งโดยสวมบทบาทของคนคนนั้น ทั้งๆ ที่ตนไม่ใช่คนคนนั้นแต่ก็ทำได้เหมือน บางคนอาจจะแสดงละครเรื่องเดียวเป็นเวลาสิบๆ ปี เช่น ยูลบรินเนอร์ แสดงเรื่อง The King and I เป็นสิบๆ ปี เมื่อแสดงนานเช่นนั้นเผลอๆ ผู้แสดงอาจคิดว่าตัวเองคือกษัตริย์แห่งสยามจริงๆ เพราะรับบทเกือบทุกคืน
เมื่อมองในแง่การเมืองใครก็ตามที่อยู่ในตำแหน่งอำนาจนาน เช่น ซูฮาร์โตอยู่ในตำแหน่งมากว่า 30 ปี นานจนกระทั่งรู้สึกว่าตัวเองนั้นคือประธานาธิบดีถาวร และตนเองนั้นคือประเทศอินโดนีเซีย และนี่คืออันตรายของการสวมบทบาทที่ตีบทแตกจนลืมตัวเองได้ จึงมีคำเตือนจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนไทยว่า ตำแหน่งที่ตนถืออยู่นั้นก็เหมือนกับการเล่นโขน จริงๆ ก็คือหัวโขนนั่นเองที่เป็นตัวพระตัวนาง เมื่อถอดหัวโขนออกก็คือคนธรรมดาคนหนึ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งจึงต้องเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า ตำแหน่งอำนาจที่นั่งอยู่นั้นเสมือนหัวโขนที่เป็นพระราม พระลักษณ์ สีดา ทศกัณฐ์ หนุมาน เมื่อถอดหัวโขนออกก็คือนายคนหนึ่งที่ต้องกลับบ้านไปกินน้ำพริกปลาทู หรือระหว่างทางก็แวะกินก๋วยเตี๋ยว หรือมิฉะนั้นก็กินข้าวเหนียวส้มตำ บุคคลที่มีปัญญาจึงต้องแยกแยะได้ระหว่างสิ่งที่สมมติและสิ่งที่เป็นจริง เมื่อดำรงตำแหน่งก็เล่นบทไปตามนั้นเหมือนบทละคร เมื่อกลับไปถึงบ้านก็ต้องกลับไปเป็นคนเดิม แต่มีข้าราชการหลายคนรวมทั้งข้าราชการฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐมนตรี เอาอำนาจราชศักดิ์ ฐานะและตำแหน่ง เข้าไปในบ้านด้วย ภรรยาก็ต้องเรียกว่าท่านรัฐมนตรี เรียกว่าท่านอธิบดี แม้กระทั่งการจัดงานวันเกิดที่บ้านซึ่งประเพณีฝรั่งถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และเป็นเจ้าภาพ ต้องคอยดูแลแขกแม้จะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาชั้นผู้น้อยจะต้องคอยเสิร์ฟน้ำชากาแฟและจุดบุหรี่ให้ เพราะขณะนั้นตนคือเจ้าภาพ ผู้มาร่วมงานคือแขก
แต่ในกรณีของไทยนั้นไม่เคยถอดหัวโขน แม้งานวันเกิดที่บ้านก็ยังเอาลูกน้องมาช่วยงานแทนที่จะมาเป็นแขก การไม่แยกแยะระหว่างหน้าที่การงานและส่วนตัวทำให้เกิดความปั่นป่วนในพฤติกรรมความสัมพันธ์มนุษย์ รวมทั้งการตัดสินใจเอาญาติโกโหติกาเพื่อนฝูงมาดำรงตำแหน่งและฉกฉวยประโยชน์จากตำแหน่งของตน
อีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับละครก็คือลักษณะของประเภทที่เรียนแบบวัฒนธรรมของประเทศใหญ่ โดยพยายามทำให้ใกล้เคียงที่สุดเนื่องจากประเทศใหญ่นั้นมีอารยธรรมและความเจริญมากกว่า ตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นสร้างเมืองนาราและเกียวโตโดยลอกแบบนครเชียงอานหรือฉางอาน ปัจจุบันคือซีอานซึ่งผังเมืองเป็นตาหมากรุก รวมทั้งรับเอาระบบการแต่งตัวของจีนสมัยราชวงศ์ถัง การปกครอง 8 กระทรวง มีรัฐมนตรีฝ่ายขวา รัฐมนตรีฝ่ายซ้าย และอื่นๆ มาใช้ในสังคมญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นมีภาษาจีนไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัว ศัพท์แสงที่ใช้ระดับสูง ทางวรรณคดี การปกครองบริหาร เป็นศัพท์ภาษาจีน ทำนองเดียวกับที่ไทยใช้บาลีสันสกฤต ตะวันตกใช้ภาษากรีกและละติน
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นเห็นว่าจีนอ่อนแอลงและสู้วัฒนธรรมตะวันตกไม่ได้ ญี่ปุ่นก็หันไปเลียนแบบปรัสเซียทั้งรูปแบบการปกครอง ตำแหน่งขุนนาง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทางกฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวมรดก ญี่ปุ่นลอกมาจากกฎหมายเยอรมัน และประเทศไทยก็ลอกมาจากญี่ปุ่นอีกทีหนึ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 ว่าด้วยครอบครัวและมรดก
ญี่ปุ่นจึงถูกมองว่าเป็นรัฐละคร (Theatre State) กล่าวคือ แสดงบทเป็นจีนถึงแม้ไม่ทุกบท เช่น การสวมใส่กิโมโนซึ่งเป็นเสื้อผ้าสมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาก็แสดงบทเป็นเยอรมัน การแต่งตัวก็ใส่เสื้อนอก ใส่หมวกทรงสูงถือไม้เท้า จนเกิดคำถามว่ามีอะไรบ้างที่เป็นของญี่ปุ่นจริงๆ ซึ่งมีการพูดว่าที่เด่นๆ มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. ปลาดิบ 2. วิทยุซาวน์เบาท์ 3. คาราโอเกะ ซึ่งอันนี้ก็เป็นการพูดที่เกินเลย ญี่ปุ่นเองก็มีของดั้งเดิมหลายส่วนด้วยกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรื่องเด่นๆ ในแง่วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์นั้นมาจากจีนและตะวันตก แม้กระทั่งเกอิชาก็เป็นสิ่งที่เรียนแบบมาจากจีน น้ำชานั้นญี่ปุ่นนำมาดัดแปลงให้มีพิธีเพื่อการนั่งสมาธิโดยมีพื้นฐานศาสนาเซ็นเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วน้ำชาก็เป็นเครื่องดื่มที่เริ่มต้นมาจากจีน (อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้)
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนสังเกตมา แต่ผู้เขียนวิชาการละครอาจจะสรุปได้ว่าเป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องหรือไม่รู้จริง แต่ก็ขอให้ถือว่านี่คือการสังเกตและความคิดเห็นของคนซึ่งไม่ใช่ผู้ศึกษามาโดยตรง แต่สะท้อนถึงความเห็นของคนหนึ่งที่เคยดูละครมาตั้งแต่เด็ก รวมตลอดทั้ง งิ้ว ลิเก และหนัง ที่ผู้เขียนชอบคือละครร้องโดยมีการร้องประสานเสียงจากหลังฉาก ที่ชอบที่สุดคือ “มาด้วยกัน เลือดสุพรรณ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของละครฝรั่งนั้นก็เคยดูละครสมัยใหม่รวมทั้งละครเช็คสเปียรส์ที่บรอดเวย์ และดูอุปรากรหรือโอเปร่าที่รัสเซีย รวมทั้งที่ประเทศไทยที่มาแสดงโดยประเทศต่างๆ
การแสดงละครคือการสมมติตัวเองให้เป็นคนคนหนึ่งโดยสวมบทบาทของคนคนนั้น ทั้งๆ ที่ตนไม่ใช่คนคนนั้นแต่ก็ทำได้เหมือน บางคนอาจจะแสดงละครเรื่องเดียวเป็นเวลาสิบๆ ปี เช่น ยูลบรินเนอร์ แสดงเรื่อง The King and I เป็นสิบๆ ปี เมื่อแสดงนานเช่นนั้นเผลอๆ ผู้แสดงอาจคิดว่าตัวเองคือกษัตริย์แห่งสยามจริงๆ เพราะรับบทเกือบทุกคืน
เมื่อมองในแง่การเมืองใครก็ตามที่อยู่ในตำแหน่งอำนาจนาน เช่น ซูฮาร์โตอยู่ในตำแหน่งมากว่า 30 ปี นานจนกระทั่งรู้สึกว่าตัวเองนั้นคือประธานาธิบดีถาวร และตนเองนั้นคือประเทศอินโดนีเซีย และนี่คืออันตรายของการสวมบทบาทที่ตีบทแตกจนลืมตัวเองได้ จึงมีคำเตือนจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนไทยว่า ตำแหน่งที่ตนถืออยู่นั้นก็เหมือนกับการเล่นโขน จริงๆ ก็คือหัวโขนนั่นเองที่เป็นตัวพระตัวนาง เมื่อถอดหัวโขนออกก็คือคนธรรมดาคนหนึ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งจึงต้องเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า ตำแหน่งอำนาจที่นั่งอยู่นั้นเสมือนหัวโขนที่เป็นพระราม พระลักษณ์ สีดา ทศกัณฐ์ หนุมาน เมื่อถอดหัวโขนออกก็คือนายคนหนึ่งที่ต้องกลับบ้านไปกินน้ำพริกปลาทู หรือระหว่างทางก็แวะกินก๋วยเตี๋ยว หรือมิฉะนั้นก็กินข้าวเหนียวส้มตำ บุคคลที่มีปัญญาจึงต้องแยกแยะได้ระหว่างสิ่งที่สมมติและสิ่งที่เป็นจริง เมื่อดำรงตำแหน่งก็เล่นบทไปตามนั้นเหมือนบทละคร เมื่อกลับไปถึงบ้านก็ต้องกลับไปเป็นคนเดิม แต่มีข้าราชการหลายคนรวมทั้งข้าราชการฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐมนตรี เอาอำนาจราชศักดิ์ ฐานะและตำแหน่ง เข้าไปในบ้านด้วย ภรรยาก็ต้องเรียกว่าท่านรัฐมนตรี เรียกว่าท่านอธิบดี แม้กระทั่งการจัดงานวันเกิดที่บ้านซึ่งประเพณีฝรั่งถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และเป็นเจ้าภาพ ต้องคอยดูแลแขกแม้จะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาชั้นผู้น้อยจะต้องคอยเสิร์ฟน้ำชากาแฟและจุดบุหรี่ให้ เพราะขณะนั้นตนคือเจ้าภาพ ผู้มาร่วมงานคือแขก
แต่ในกรณีของไทยนั้นไม่เคยถอดหัวโขน แม้งานวันเกิดที่บ้านก็ยังเอาลูกน้องมาช่วยงานแทนที่จะมาเป็นแขก การไม่แยกแยะระหว่างหน้าที่การงานและส่วนตัวทำให้เกิดความปั่นป่วนในพฤติกรรมความสัมพันธ์มนุษย์ รวมทั้งการตัดสินใจเอาญาติโกโหติกาเพื่อนฝูงมาดำรงตำแหน่งและฉกฉวยประโยชน์จากตำแหน่งของตน
อีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับละครก็คือลักษณะของประเภทที่เรียนแบบวัฒนธรรมของประเทศใหญ่ โดยพยายามทำให้ใกล้เคียงที่สุดเนื่องจากประเทศใหญ่นั้นมีอารยธรรมและความเจริญมากกว่า ตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นสร้างเมืองนาราและเกียวโตโดยลอกแบบนครเชียงอานหรือฉางอาน ปัจจุบันคือซีอานซึ่งผังเมืองเป็นตาหมากรุก รวมทั้งรับเอาระบบการแต่งตัวของจีนสมัยราชวงศ์ถัง การปกครอง 8 กระทรวง มีรัฐมนตรีฝ่ายขวา รัฐมนตรีฝ่ายซ้าย และอื่นๆ มาใช้ในสังคมญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นมีภาษาจีนไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัว ศัพท์แสงที่ใช้ระดับสูง ทางวรรณคดี การปกครองบริหาร เป็นศัพท์ภาษาจีน ทำนองเดียวกับที่ไทยใช้บาลีสันสกฤต ตะวันตกใช้ภาษากรีกและละติน
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นเห็นว่าจีนอ่อนแอลงและสู้วัฒนธรรมตะวันตกไม่ได้ ญี่ปุ่นก็หันไปเลียนแบบปรัสเซียทั้งรูปแบบการปกครอง ตำแหน่งขุนนาง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทางกฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวมรดก ญี่ปุ่นลอกมาจากกฎหมายเยอรมัน และประเทศไทยก็ลอกมาจากญี่ปุ่นอีกทีหนึ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 ว่าด้วยครอบครัวและมรดก
ญี่ปุ่นจึงถูกมองว่าเป็นรัฐละคร (Theatre State) กล่าวคือ แสดงบทเป็นจีนถึงแม้ไม่ทุกบท เช่น การสวมใส่กิโมโนซึ่งเป็นเสื้อผ้าสมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาก็แสดงบทเป็นเยอรมัน การแต่งตัวก็ใส่เสื้อนอก ใส่หมวกทรงสูงถือไม้เท้า จนเกิดคำถามว่ามีอะไรบ้างที่เป็นของญี่ปุ่นจริงๆ ซึ่งมีการพูดว่าที่เด่นๆ มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. ปลาดิบ 2. วิทยุซาวน์เบาท์ 3. คาราโอเกะ ซึ่งอันนี้ก็เป็นการพูดที่เกินเลย ญี่ปุ่นเองก็มีของดั้งเดิมหลายส่วนด้วยกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรื่องเด่นๆ ในแง่วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์นั้นมาจากจีนและตะวันตก แม้กระทั่งเกอิชาก็เป็นสิ่งที่เรียนแบบมาจากจีน น้ำชานั้นญี่ปุ่นนำมาดัดแปลงให้มีพิธีเพื่อการนั่งสมาธิโดยมีพื้นฐานศาสนาเซ็นเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วน้ำชาก็เป็นเครื่องดื่มที่เริ่มต้นมาจากจีน (อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้)