"อารีย์" ดิ้นสุดตัวดึงมวลชน 5 จังหวัดนั่งรถบัสติดแอร์อย่างดีกว่า 500 คน ให้กำลังใจ เพื่อค้ำเก้าอี้ มท.1 เจ้าตัวสะกดคำว่าจริยธรรมไม่เป็น ย้ำไม่ลาออก ขณะที่ ป.ป.ช.ประชุมหาช่องเล่นงาน"อารีย์"วันนี้ เพราะถือหุ้นตั้งแต่สมัยเป็นรมช.ศึกษา "ไพบูลย์"ระบุการดื้อแพ่งของ"อารีย์" เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องรอนายกฯหารือ รมต.ที่เกี่ยวข้องหลังกลับจากต่างประเทศ พร้อมขานรับข้อเสนอ "สิทธิชัย" ให้ "ทิพาวดี" นั่งรักษาการ รมว.ไอซีที "หมอประเวศ" ประสานเสียง กกต. จี้ต่อมจริยธรรม ด้าน"บุญรอด" เผย "สนธิ" ยอมรับเก้าอี้รองนายกฯแล้วหลังหารือร่วมกัน รอนายกฯกลับมาดำเนินการ อ้างถ้าเปลี่ยนนายกฯ ตอนนี้ กระทบการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ยอมรับ
จากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาเปิดเผยว่า นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย และนางอรนุช โอสถานนนท์ รมช.พาณิชย์ ถือหุ้นเกิน 5 % ซึ่งแม้ตามกฎหมายจะไม่ผิด แต่ก็ไม่เหมาะสม จนนำไปสู่การประกาศลาออกจากตำแหน่งของนายสิทธิชัย และนางอรนุช มีเพียง นายอารีย์ ที่ยังคงเกาะเก้าอี้แน่น ยืนยันจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง รมว.มหาดไทย แน่นอน
ล่าสุด เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (24 ก.ย.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ระดมมวลชนจากจังหวัดต่างๆ ใกล้กรุงเทพฯ 5 จังหวัดประกอบด้วย จ.นครปฐม สมุทรสงคราม .สมุทรปราการ เพชรบุรี และ นครสวรรค์ โดยรถบัสปรับอากาศอย่างดี 9 คัน และรถตู้อีก 5 คน รวมประมาณ 500 คน ร่วมด้วยคณะที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย และข้าราชการกระทรวงมหาดไทย มาให้กำลังใจ นายอารีย์ ถึงกระทรวงมหาดไทย พร้อมส่งเสียงตระโกนตลอดเวลาว่า "ขอให้กำลังใจให้อยู่ต่อ"
จากนั้นทั้งหมดได้มอบดอกไม้ให้นายอารีย์ ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ โดยมี นายไพศาล ปราการรัตน์ รักษาการนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนในการกล่าวให้กำลังใจ ว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้ถูกขู่บังคับหรือ จัดตั้ง ซึ่งนายอารีย์ ไม่รู้เห็น และเกี่ยวข้อง ที่สำคัญไม่ต้องการให้นายอารีย์ ลาออก เพราะข้อบังคับกฎหมายในเรื่องการถือหุ้น เนื่องจากเป็นรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่การเลือกตั้ง
ด้าน นายอารีย์ ได้กล่าวยืนยันว่า จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด จะไม่ลงมาเล่นกับการเมือง จะทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบและเจตนารมณ์ของตัวเองต่อไป "ผมมั่นใจว่า ผมไม่ผิด และไม่บกพร่อง ฉะนั้น ด้วยเหตุผลต่าง ๆ จะกดดันให้ลาออก ไม่มีทาง" นายอารีย์ กล่าว และว่า รับราชการในกระทรวงมหาดไทย จนเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย จึงรู้ดีว่าใครต้องการอะไร จะไม่หลงทางในกับดักที่วางไว้ และขอบอกว่า ไม่ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ แต่ยึดติดกับภารกิจที่ต้องทำ จะออกเมื่อไรก็ได้ ไม่ใช่ปัญหา และขอย้ำว่าการมาเป็นรัฐมนตรี เพราะได้รับคำเชิญจาก นายกรัฐมนตรี ดังนั้น บุคคลที่จะให้ออกจากตำแหน่งก็คือนายกรัฐมนตรีคนเดียว
"รังสิมา"แฉมีการระดมคนมาอุ้ม มท.1
ด้าน น.ส.รังสิมา รอดรัศมี กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม ทราบว่าประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ระดมประชาชนในพื้นที่ประมาณ 3 คันรถ เข้ามาให้กำลังใจนายอารีย์ ตนคิดว่าถ้านายอารีย์ เป็นคนดีจริง ก็จะมีประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเดินทางมาให้กำลังใจเอง ไม่ใช่ไประดมกันมาแบบนี้
"ดิฉันอยากฝากไปยัง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่า การถือหุ้นในบริษัทเกิน 5 % ของรัฐมนตรีที่ผิดกฎหมายแต่ไม่สามารถเอาผิดกับรัฐมนตรีชุดนี้ได้เพราะมีบทเฉพาะกาล ยกเว้นไว้ เป็นเรื่องที่ถูกต้องก็ควรมาให้กำลังใจ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นการทำไม่ถูกต้อง ก็ไม่ควรไปให้กำลังใจ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเครื่องมือ หรือเป็นขี้ข้ารับใช้นักการเมือง ทั้งที่ต้องทำงานรับใช้ประชาชน"
น.ส.รังสิมา กล่าวว่า นายอารีย์ ควรเอาเยี่ยงผู้หญิงอย่าง นางอรนุช โอสถานนนท์ รมช.พาณิชย์ ที่ลาออก แต่นายอารีย์ เป็นผู้ชายแต่ไม่ลาออก ทำไมหน้าหนากว่านางอรนุช ถ้ารัฐมนตรีทำอะไรที่ไม่เหมาะสม แล้วไม่ลาออก จะมีกฎระเบียบไว้ทำไม
ป.ป.ช.หาช่องเล่นงาน"อารีย์"
นายภักดี โพธิศิริ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า วันนี้ (25 ก.ย.) ที่ประชุม ป.ป.ช. จะมีการหารือกรณีที่ นายอารีย์ วงศ์อารยะ ถือครองหุ้นในบริษัท ตรังชัวร์ จำกัด จำนวน 2 ล้านหุ้น มูลค่า 20 ล้านบาท ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ ยุค รัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 47 ซึ่งเป็นการถือครองหุ้น เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ได้มีการโอนให้นิติบุคคลดำเนินการแทน "ที่ประชุม ป.ป.ช. จะพิจารณาว่า จะสามารถเอาผิดกับนายอารีย์ ในกรณีนี้ ได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ ป.ป.ช.จะต้องรีบพิจารณา"
ด้าน น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช. คงต้องหารือกันก่อนว่า จะสามารถเอาผิดนายอารีย์ได้หรือไม่ เพราะเบื้องต้นตาม มาตรา 5 ของ พ.ร.บ. การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ระบุว่า หากรัฐมนตรีถือหุ้นเกิน 5% โดยไม่โอนไปให้นิติบุคคลดำเนินการแทน จะมีผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที แต่ปัจจุบันนายอารีย์ ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการไปแล้ว จึงไม่มีผลต่อตำแหน่งในขณะนี้ ขณะที่ มาตรา 11 ของ พ.ร.บ.เดียวกัน ระบุว่า หากมีการโอนหุ้นให้นิติบุคคลแล้ว รัฐมนตรีคนดังกล่าว เข้าไปใช้อำนาจ ครอบงำ แทรกแซงกิจการนั้น ก็จะมีความผิด แต่กรณีของนายอารีย์ ยังไม่มีการโอนหุ้นให้นิติบุคคลดำเนินการแทน จึงไม่เข้าข่ายว่ามีการใช้อำนาจ เข้าไปครอบงำ แทรกแซง ในกิจการของหุ้นนั้น ๆ
"ไพบูลย์"หนุน"ทิพาวดี"ควบไอซีที
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงการลาออกจากตำแหน่งของนายสิทธิชัย และนางอรนุช ว่า เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีแต่ละท่านจะพิจารณาและตัดสินใจ
"ผมได้ติดต่อผ่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว ทราบว่าเมื่อนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากภารกิจในต่างประเทศ คงจะได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากรัฐมนตรีทั้ง 2 คนยังยืนยันที่จะลาออกจากตำแหน่ง คงต้องมีการปรับ ครม.เพราะจะปล่อยให้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่างไม่ได้ โดยเฉพาะ รมว.ไอซีที คงต้องมีบุคคลหนึ่งไปทำหน้าที่แทน ส่วนตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ หากจะไม่ตั้งใครก็คงได้ เพราะมีรัฐมนตรีว่าการอยู่แล้ว ส่วนแนวโน้มจะเป็นการเปลี่ยนงานกันภายใน หรือปรับให้คนนอกเข้ามา ทำหน้าที่แทน นายไพบูลย์ กล่าวว่า คนนอกคงจะเข้ามายากในช่วงนี้ เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น หากปรับงานกันภายในได้คงจะสะดวกกว่า เช่น ข้อเสนอของนายสิทธิชัย ที่ให้คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดูแลแทน ก็ถือว่าเหมาะสม
รอนายกรัฐมนตรีชี้ชะตา"อารีย์"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้สังคมเริ่มตั้งคำถามเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของรัฐบาล มากขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ นายอารีย์ ที่ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และซับซ้อน ซึ่งต้องรอให้นายกรัฐมนตรีกลับมาพิจารณาร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัฐบาล มีอะไรที่จะแนะนำนายอารีย์ หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐมนตรีแต่ละคนมีข้อพิจารณาและวินิจฉัยเฉพาะตัว ดังนั้น คงต้องให้อิสระแต่ละคน อีกทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกติกา ซึ่งเข้าใจว่ารัฐมนตรีทั้ง 3 คนไม่ทราบจริง ๆ ว่ามีข้อบัญญัติไว้เกี่ยวกับการถือหุ้นเกิน 5% เพราะในแบบฟอร์มที่ให้กรอกแจ้งทรัพย์สินไม่มีข้อความระบุว่าถ้าถือหุ้นเกิน 5% ต้องทำอย่างไร ซึ่งความจริงก็ทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามถือหุ้นเกิน 5% เพียงแต่บอกว่า ถ้าถือเกิน 5% ให้โอนให้กองทุนดูแล หรือปรับลดหุ้นลงไม่ให้เกิน 5%
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการเสนอให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มาเป็น รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ว่า จุดนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีที่จะพิจารณา และนายกรัฐมนตรีได้พูดแล้วว่า หลังจากที่ พล.อ.สนธิ เกษียณอายุราชการแล้ว ค่อยมาว่ากันอีกที
อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วการมีรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะโดยโครงสร้างการมีรองนายกรัฐมนตรีในด้านต่างๆ ที่สำคัญน่าจะเป็นสิ่งที่ดี ส่วนข้อวิจารณ์เรื่องการสืบทอดอำนาจ คงต้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา
"บุญรอด"ยัน"สนธิ"รองนายกฯ แน่
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม กล่าวถึงการหารือกับ พล.อ.สนธิ ที่จะเข้ารับตำแหน้ง รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงว่า เรื่องนี้ได้คุยกันแล้ว ท่านนายกรัฐมนตรีเองก็ไม่มีปัญหา ถ้าหาก พล.อ.สนธิ จะมาเป็น รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง แต่ขณะนี้จะต้องรอ 2 อย่างว่า นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจอย่างไร เมื่อตัดสินใจ แล้วก็จะต้องทำเรื่องกราบบังคมทูลฯ และรอโปรดเกล้าฯ ลงมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ไม่ซ้ำซ้อนกับตำแหน่งประธาน คมช.ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่ซับซ้อนเพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ไม่มีปัญหา ส่วนถ้าพล.อ.สนธิ เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบ รมว.กลาโหมด้วย ท่านจะเปิดทางให้ หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ถ้าหาก พล.อ.สนธิ จะควบ รมว.กลาโหม ก็ยินดีเปิดทางให้ แต่เท่าที่พูดคุยกัน พล.อ.สนธิ จะขอดูแลแค่รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เพราะมีงานอื่นที่มากกว่ากระทรวงกลาโหม คือพูดง่าย ๆ กระทรวงกลาโหมเรียบร้อยอยู่แล้ว
ส่วนโอกาสที่ พล.อ.สนธิ จะควบตำแหน่ง รมว.มหาดไทย หากนายอารีย์ ต้องลาออกนั้น พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า หากนายอารีย์ ลาออก ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีจะปรับ ครม.หรือไม่ และจะปรับอย่างไรต้องถามท่านเมื่อเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และจะมีการลาออกจริงตามที่เป็นข่าวหรือไม่ แต่ขณะนี้ยังเป็นแค่ข่าว จึงยังไม่ได้พูดคุยกัน
พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า การเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สนธิ ไม่จำเป็นต้องปรับใครออก เพราะขณะนี้รัฐมนตรีมีอยู่ 35 คน ขาดอยู่อีก 1 ตำแหน่ง ฉะนั้นสามารถแต่งตั้งได้เลย โดยไม่ต้องรอปรับ ครม. และตนก็เห็นว่า พล.อ.สนธิ มีคุณสมบัติเหมาะสม เพราะประธาน คมช.ก็ดูแลด้านความมั่นคงอยู่แล้วใน 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเปรียบเสมือนรองนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก พล.อ.สนธิ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลกระทรวงกลาโหม จะไม่ทำให้เกิดปัญหาอิหลักอิเหลื่อ ที่รุ่นน้อง มาควบคุมรุ่นพี่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า คงไม่อิหลัก อิเหลื่อ เพราะประธาน คมช.แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ที่เป็นรุ่นพี่อยู่แล้ว เมื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีมาก็สามารถปลดได้ ฉะนั้นเป็นการสวมหมวกหลายใบ เมื่อมาอยู่ตรงนี้ก็ไม่มีปัญหา
ต่อข้อถามว่า จะเป็นการลักลั่นหรือไม่ เพราะ พล.อ.สนธิ มีอำนาจในการปลดนายกรัฐมนตรี แต่กลับมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า เป็นการสวมหมวกกันคนละใบ ในฐานะประธาน คมช. ก็ดูแลงานของ คมช.ที่เหลืออยู่ ถ้ามานั่งรองนายกรัฐมนตรี ก็สามารถดูแลกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงได้ ผู้สื่อข่าวซักว่า การสวมหมวกหลายใบจะต้องวางบทบาทของตัวเองให้ถูกต้องใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า จะต้องให้ถูกต้อง
อ้างเปลี่ยนายกฯ กระทบเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรเมื่อมีการเคลื่อนไหวจะปลดนายกรัฐมนตรี แล้วดัน พล.อ.สนธิ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี แทนเพื่อจะได้กำจัดระบอบทักษิณให้สิ้นซาก พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่รู้ คิดว่าคงไม่มี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่ปกติที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบแล้วก็ประกาศออกมา คนที่เกี่ยวข้องจะตกลงใจอย่างไร ก็เป็นธรรมดา ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีอยู่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาทุกอย่างจะชัดเจนขึ้น
เมื่อถามว่า แสดงว่านายกรัฐมนตรีจะอยู่จนครบจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรีประกาศแล้วว่า ถ้าสมมติว่ามีอะไรที่นายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องท่านก็จะรับผิดชอบด้วยการลาออก ซึ่งท่านได้บอกไว้ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้มีข้อมูลว่าจะมีกลุ่มเคลื่อนไหวที่จ้องล้มนายกรัฐมนตรีหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่ใช่ข้อมูลใหม่ เป็นข้อมูลเก่า ที่ผ่านมา ก็มีความไม่พอใจต่าง ๆ ก็ปรากฏเป็นข่าวมาโดยตลอด แต่คิดว่าเหลือเวลาอีก ไม่กี่เดือน ทุกคนก็รู้ว่ารัฐบาลชุดนี้ตั้งธงไว้แล้วว่าจะให้มีการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นประชาชนจะไม่ยอมรับ ถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้น เพราะจะทำให้การเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไป
เมื่อถามว่า ทุกวันนี้ พล.อ.สนธิ ยังคุยกับ พล.อ.สุรยุทธ์ รู้เรื่องอยู่ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ยังคุยกันรู้เรื่อง และยังมีความสัมพันธ์ที่ดี ไม่มีปัญหา**"ประเวศ-สุเมธ" จี้ต่อมสำนึก"อารีย์"
นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส กล่าวถึงกรณีที่นายอารีย์ ยืนยันไม่ยอมลาออก จากตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคน แม้ว่ากฎหมาย จะเขียนบทเฉพาะกาลไว้ทำให้ไม่สามารถเอาผิดได้ แต่เรื่องของจริยธรรม จิตสำนึก เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเกินกว่าขอบเขตของกฎหมาย โดยเฉพาะจริยธรรมทางการเมือง เป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกันระหว่างจริยธรรมทางการเมืองของไทยกับในต่างประเทศ ถือว่าแตกต่างกันมาก เพราะในต่างประเทศแม้แต่เพียงแค่จ้างคนใช้ ที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายก็ถึงขั้นต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี หรือเพียงแต่ มีรูปนั่งตักผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาก็ไม่ได้ เพราะนักการเมืองเขามีจริยธรรม ทางการเมืองสูงมากๆ ซึ่งหากเราเอาจริยธรรมแบบนี้มาจับกับนักการเมืองไทย ก็จะเหลือนักการเมืองอยู่น้อยมาก
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.กล่าวถึงกรณีที่ นายอารีย์ ปฏิเสธการ ลาออก จากตำแหน่ง รมว.มหาดไทย เพื่อต้องการอยู่จัดการเลือกตั้งว่าทุกคนรู้สำนึกชั่วดีว่าอะไรควรทำหรือไม่ กฎหมายไม่สำคัญมันอยู่ที่สำนึกของคนมากกว่า นายอารีย์ รู้ตัวดีว่า ต้องทำอย่างไร พร้อมยืนยันหากมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี จะไม่ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหา เมืองไทยไม่เคยมีปัญหาอยู่แล้ว ปัญหาทุกอย่างแก้ได้หมด
ชี้"อารีย์"ใช้ข้ออ้างไม่ต่าง"ทักษิณ"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าตนอยากให้ นายอารีย์ เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องข้อกล่าวหา เรื่องการทุจริต แต่เราต้องการที่จะยกมาตรฐานทางการเมือง และรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่เน้นย้ำเรื่องมาตรฐานคุณธรรม และจริยธรรม หากไม่ทำเป็นตัวอย่าง แล้วจะไปตอบใครได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายอารีย์ ควรตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งยังไม่ถือว่า สายเกินไป เชื่อว่าประเทศไทยไม่ขาดคนทำงาน และไม่ควรเข้าใจผิดว่า ตัวเองเป็นบุคคลสำคัญ จนงานบ้านเมืองเดินไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะตัดสินใจผิดพลาดตลอด
"ผมอยากให้นึกย้อนกลับไปว่า เป็นข้ออ้างอย่างเดียวกับรัฐบาลที่ถูกปฏิวัติอ้างหรือเปล่า และปฏิวัติเขามาแล้วมานั่งแทนเขา แล้วมาตรฐานไม่ต่างจากเขาแล้ว จะตอบสังคมได้อย่างไร ดังนั้น นายอารีย์ น่าจะพิจารณาได้ เพราะมีแบบอย่างก็มีตั้ง 2 ท่านแล้วในคณะรัฐมนตรี ที่ตัดสินใจอย่างนี้ และเป็นการตัดสินใจที่ผมคิดว่า ประชาชนก็ตอบรับ ชื่นชม ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่เสียหาย และผมก็มั่นใจว่างานต่าง ๆ ก็เดินต่อไปได้"
มท.1จะเป็นตัวภาระให้นายกฯ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่นายอารีย์ ยังอยู่ในตำแหน่ง จะเป็นภาระกับนายกรัฐมนตรี นายอารีย์ ควรจะคิดถึงนายกรัฐมนตรีด้วย ในเมื่อบอกว่านายกรัฐมนตรี เป็นคนเชิญเข้ามาร่วมรัฐบาล ก็ควรจะเกรงใจ และไม่ควรเป็นภาระให้กับนายกรัฐมนตรี และว่าเวลานี้ไม่ได้ห่วงนายอารีย์ แต่ห่วงภาพลักษณ์ของรัฐบาล และเกรงว่าจะเป็นเชื้อที่ทำให้ปัญหาการเมืองแหลมคมมากขึ้น เพราะการปฏิวัติรัฐประหาร ถูกมองในทางไม่ดีเป็นพื้นฐานจากหลายฝ่ายอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีการมาปรับปรุงมาตรฐานอะไรเลย ก็จะยิ่งเสียหายไปใหญ่
สำหรับกรณีที่ นายอารีย์ ยังถูกจับตามอง เรื่องที่ลูกชาย จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในขณะที่ตัวเองยังเป็นรมว.มหาดไทย ด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องที่ลูกชาย ของนายอารีย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล หากนายอารีย์ใช้ตำแหน่ง หน้าที่ไปสนับสนุน ประชาชนคงยอมรับไม่ได้ แต่วันนี้ ประเด็นหลักอยู่ที่ว่ารัฐบาลพูดถึงมาตรฐานทางการเมือง และรัฐมนตรีคนหนึ่งที่ลาออกไปก็พูดชัดว่า ที่ลาออกไปเพราะต้องการรักษามาตรฐานที่ถูกต้องทางการเมือง แต่หากยังมีรัฐมนตรี ที่มีปัญหาเดียวกัน แต่ไม่ลาออก ก็เชื่อว่าจะมีปัญหากับรัฐบาลแน่นอน
"เติ้ง"ห่วงเลือกตั้งมากกว่าจริยธรรม
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าไม่มีความเห็นเรื่องที่รัฐมนตรีทยอยลาออกเพราะถือหุ้นเกิน 5 % เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามแต่ตนเห็นว่าเรื่องรัฐมนตรีถือหุ้นเกิน 5 % ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย และหากจะให้แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่เข้ามาทำงาน ก็ต้องเรียนรู้งานอีกไม่ต่ำกว่า 2 เดือน แล้วก็เหลือเวลาอีก 2 เดือนจะมีการเลือกตั้ง จึงไม่เห็นด้วยที่จะลาออก ส่วนรัฐมนตรีที่ลาออกแล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีจะพิจารณา
"กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงด้านความมั่นคง และเป็นกระทรวงใหญ่ หากนายอารีย์ ลาออก ก็จะยุ่งยาก เพราะกว่าจะปรับ ครม.และโปรดเกล้าฯ ลงมาก็เข้าไปกลางเดือนตุลาคม ใกล้วันประกาศกฤษฎีกาเลือกตั้ง ผมก็สงสารรัฐบาลเหมือนกันที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ก็ต้องประเมินดูว่าอันไหนมีผลดีผลเสียกว่ากัน สำหรับผมคงไม่เสนอแนะรัฐบาล แต่ผมจะยึดข้อกฎหมายเป็นสำคัญ"
ส่วนกรณีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จะนั่งตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงนั้น นายบรรหาร กล่าวว่า เหมาะสม คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา หากควบสองตำแหน่ง เพราะประธาน คมช.หมดวาระไปพร้อมกับนายกฯ
จากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาเปิดเผยว่า นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย และนางอรนุช โอสถานนนท์ รมช.พาณิชย์ ถือหุ้นเกิน 5 % ซึ่งแม้ตามกฎหมายจะไม่ผิด แต่ก็ไม่เหมาะสม จนนำไปสู่การประกาศลาออกจากตำแหน่งของนายสิทธิชัย และนางอรนุช มีเพียง นายอารีย์ ที่ยังคงเกาะเก้าอี้แน่น ยืนยันจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง รมว.มหาดไทย แน่นอน
ล่าสุด เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (24 ก.ย.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ระดมมวลชนจากจังหวัดต่างๆ ใกล้กรุงเทพฯ 5 จังหวัดประกอบด้วย จ.นครปฐม สมุทรสงคราม .สมุทรปราการ เพชรบุรี และ นครสวรรค์ โดยรถบัสปรับอากาศอย่างดี 9 คัน และรถตู้อีก 5 คน รวมประมาณ 500 คน ร่วมด้วยคณะที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย และข้าราชการกระทรวงมหาดไทย มาให้กำลังใจ นายอารีย์ ถึงกระทรวงมหาดไทย พร้อมส่งเสียงตระโกนตลอดเวลาว่า "ขอให้กำลังใจให้อยู่ต่อ"
จากนั้นทั้งหมดได้มอบดอกไม้ให้นายอารีย์ ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ โดยมี นายไพศาล ปราการรัตน์ รักษาการนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนในการกล่าวให้กำลังใจ ว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้ถูกขู่บังคับหรือ จัดตั้ง ซึ่งนายอารีย์ ไม่รู้เห็น และเกี่ยวข้อง ที่สำคัญไม่ต้องการให้นายอารีย์ ลาออก เพราะข้อบังคับกฎหมายในเรื่องการถือหุ้น เนื่องจากเป็นรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่การเลือกตั้ง
ด้าน นายอารีย์ ได้กล่าวยืนยันว่า จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด จะไม่ลงมาเล่นกับการเมือง จะทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบและเจตนารมณ์ของตัวเองต่อไป "ผมมั่นใจว่า ผมไม่ผิด และไม่บกพร่อง ฉะนั้น ด้วยเหตุผลต่าง ๆ จะกดดันให้ลาออก ไม่มีทาง" นายอารีย์ กล่าว และว่า รับราชการในกระทรวงมหาดไทย จนเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย จึงรู้ดีว่าใครต้องการอะไร จะไม่หลงทางในกับดักที่วางไว้ และขอบอกว่า ไม่ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ แต่ยึดติดกับภารกิจที่ต้องทำ จะออกเมื่อไรก็ได้ ไม่ใช่ปัญหา และขอย้ำว่าการมาเป็นรัฐมนตรี เพราะได้รับคำเชิญจาก นายกรัฐมนตรี ดังนั้น บุคคลที่จะให้ออกจากตำแหน่งก็คือนายกรัฐมนตรีคนเดียว
"รังสิมา"แฉมีการระดมคนมาอุ้ม มท.1
ด้าน น.ส.รังสิมา รอดรัศมี กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม ทราบว่าประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ระดมประชาชนในพื้นที่ประมาณ 3 คันรถ เข้ามาให้กำลังใจนายอารีย์ ตนคิดว่าถ้านายอารีย์ เป็นคนดีจริง ก็จะมีประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเดินทางมาให้กำลังใจเอง ไม่ใช่ไประดมกันมาแบบนี้
"ดิฉันอยากฝากไปยัง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่า การถือหุ้นในบริษัทเกิน 5 % ของรัฐมนตรีที่ผิดกฎหมายแต่ไม่สามารถเอาผิดกับรัฐมนตรีชุดนี้ได้เพราะมีบทเฉพาะกาล ยกเว้นไว้ เป็นเรื่องที่ถูกต้องก็ควรมาให้กำลังใจ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นการทำไม่ถูกต้อง ก็ไม่ควรไปให้กำลังใจ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเครื่องมือ หรือเป็นขี้ข้ารับใช้นักการเมือง ทั้งที่ต้องทำงานรับใช้ประชาชน"
น.ส.รังสิมา กล่าวว่า นายอารีย์ ควรเอาเยี่ยงผู้หญิงอย่าง นางอรนุช โอสถานนนท์ รมช.พาณิชย์ ที่ลาออก แต่นายอารีย์ เป็นผู้ชายแต่ไม่ลาออก ทำไมหน้าหนากว่านางอรนุช ถ้ารัฐมนตรีทำอะไรที่ไม่เหมาะสม แล้วไม่ลาออก จะมีกฎระเบียบไว้ทำไม
ป.ป.ช.หาช่องเล่นงาน"อารีย์"
นายภักดี โพธิศิริ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า วันนี้ (25 ก.ย.) ที่ประชุม ป.ป.ช. จะมีการหารือกรณีที่ นายอารีย์ วงศ์อารยะ ถือครองหุ้นในบริษัท ตรังชัวร์ จำกัด จำนวน 2 ล้านหุ้น มูลค่า 20 ล้านบาท ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ ยุค รัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 47 ซึ่งเป็นการถือครองหุ้น เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ได้มีการโอนให้นิติบุคคลดำเนินการแทน "ที่ประชุม ป.ป.ช. จะพิจารณาว่า จะสามารถเอาผิดกับนายอารีย์ ในกรณีนี้ ได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ ป.ป.ช.จะต้องรีบพิจารณา"
ด้าน น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช. คงต้องหารือกันก่อนว่า จะสามารถเอาผิดนายอารีย์ได้หรือไม่ เพราะเบื้องต้นตาม มาตรา 5 ของ พ.ร.บ. การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ระบุว่า หากรัฐมนตรีถือหุ้นเกิน 5% โดยไม่โอนไปให้นิติบุคคลดำเนินการแทน จะมีผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที แต่ปัจจุบันนายอารีย์ ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการไปแล้ว จึงไม่มีผลต่อตำแหน่งในขณะนี้ ขณะที่ มาตรา 11 ของ พ.ร.บ.เดียวกัน ระบุว่า หากมีการโอนหุ้นให้นิติบุคคลแล้ว รัฐมนตรีคนดังกล่าว เข้าไปใช้อำนาจ ครอบงำ แทรกแซงกิจการนั้น ก็จะมีความผิด แต่กรณีของนายอารีย์ ยังไม่มีการโอนหุ้นให้นิติบุคคลดำเนินการแทน จึงไม่เข้าข่ายว่ามีการใช้อำนาจ เข้าไปครอบงำ แทรกแซง ในกิจการของหุ้นนั้น ๆ
"ไพบูลย์"หนุน"ทิพาวดี"ควบไอซีที
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงการลาออกจากตำแหน่งของนายสิทธิชัย และนางอรนุช ว่า เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีแต่ละท่านจะพิจารณาและตัดสินใจ
"ผมได้ติดต่อผ่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว ทราบว่าเมื่อนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากภารกิจในต่างประเทศ คงจะได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หากรัฐมนตรีทั้ง 2 คนยังยืนยันที่จะลาออกจากตำแหน่ง คงต้องมีการปรับ ครม.เพราะจะปล่อยให้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่างไม่ได้ โดยเฉพาะ รมว.ไอซีที คงต้องมีบุคคลหนึ่งไปทำหน้าที่แทน ส่วนตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ หากจะไม่ตั้งใครก็คงได้ เพราะมีรัฐมนตรีว่าการอยู่แล้ว ส่วนแนวโน้มจะเป็นการเปลี่ยนงานกันภายใน หรือปรับให้คนนอกเข้ามา ทำหน้าที่แทน นายไพบูลย์ กล่าวว่า คนนอกคงจะเข้ามายากในช่วงนี้ เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น หากปรับงานกันภายในได้คงจะสะดวกกว่า เช่น ข้อเสนอของนายสิทธิชัย ที่ให้คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดูแลแทน ก็ถือว่าเหมาะสม
รอนายกรัฐมนตรีชี้ชะตา"อารีย์"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้สังคมเริ่มตั้งคำถามเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของรัฐบาล มากขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ นายอารีย์ ที่ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และซับซ้อน ซึ่งต้องรอให้นายกรัฐมนตรีกลับมาพิจารณาร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัฐบาล มีอะไรที่จะแนะนำนายอารีย์ หรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐมนตรีแต่ละคนมีข้อพิจารณาและวินิจฉัยเฉพาะตัว ดังนั้น คงต้องให้อิสระแต่ละคน อีกทั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกติกา ซึ่งเข้าใจว่ารัฐมนตรีทั้ง 3 คนไม่ทราบจริง ๆ ว่ามีข้อบัญญัติไว้เกี่ยวกับการถือหุ้นเกิน 5% เพราะในแบบฟอร์มที่ให้กรอกแจ้งทรัพย์สินไม่มีข้อความระบุว่าถ้าถือหุ้นเกิน 5% ต้องทำอย่างไร ซึ่งความจริงก็ทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามถือหุ้นเกิน 5% เพียงแต่บอกว่า ถ้าถือเกิน 5% ให้โอนให้กองทุนดูแล หรือปรับลดหุ้นลงไม่ให้เกิน 5%
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการเสนอให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มาเป็น รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ว่า จุดนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีที่จะพิจารณา และนายกรัฐมนตรีได้พูดแล้วว่า หลังจากที่ พล.อ.สนธิ เกษียณอายุราชการแล้ว ค่อยมาว่ากันอีกที
อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วการมีรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะโดยโครงสร้างการมีรองนายกรัฐมนตรีในด้านต่างๆ ที่สำคัญน่าจะเป็นสิ่งที่ดี ส่วนข้อวิจารณ์เรื่องการสืบทอดอำนาจ คงต้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา
"บุญรอด"ยัน"สนธิ"รองนายกฯ แน่
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม กล่าวถึงการหารือกับ พล.อ.สนธิ ที่จะเข้ารับตำแหน้ง รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงว่า เรื่องนี้ได้คุยกันแล้ว ท่านนายกรัฐมนตรีเองก็ไม่มีปัญหา ถ้าหาก พล.อ.สนธิ จะมาเป็น รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง แต่ขณะนี้จะต้องรอ 2 อย่างว่า นายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจอย่างไร เมื่อตัดสินใจ แล้วก็จะต้องทำเรื่องกราบบังคมทูลฯ และรอโปรดเกล้าฯ ลงมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ไม่ซ้ำซ้อนกับตำแหน่งประธาน คมช.ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่ซับซ้อนเพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ไม่มีปัญหา ส่วนถ้าพล.อ.สนธิ เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบ รมว.กลาโหมด้วย ท่านจะเปิดทางให้ หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ถ้าหาก พล.อ.สนธิ จะควบ รมว.กลาโหม ก็ยินดีเปิดทางให้ แต่เท่าที่พูดคุยกัน พล.อ.สนธิ จะขอดูแลแค่รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เพราะมีงานอื่นที่มากกว่ากระทรวงกลาโหม คือพูดง่าย ๆ กระทรวงกลาโหมเรียบร้อยอยู่แล้ว
ส่วนโอกาสที่ พล.อ.สนธิ จะควบตำแหน่ง รมว.มหาดไทย หากนายอารีย์ ต้องลาออกนั้น พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า หากนายอารีย์ ลาออก ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีจะปรับ ครม.หรือไม่ และจะปรับอย่างไรต้องถามท่านเมื่อเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และจะมีการลาออกจริงตามที่เป็นข่าวหรือไม่ แต่ขณะนี้ยังเป็นแค่ข่าว จึงยังไม่ได้พูดคุยกัน
พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า การเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สนธิ ไม่จำเป็นต้องปรับใครออก เพราะขณะนี้รัฐมนตรีมีอยู่ 35 คน ขาดอยู่อีก 1 ตำแหน่ง ฉะนั้นสามารถแต่งตั้งได้เลย โดยไม่ต้องรอปรับ ครม. และตนก็เห็นว่า พล.อ.สนธิ มีคุณสมบัติเหมาะสม เพราะประธาน คมช.ก็ดูแลด้านความมั่นคงอยู่แล้วใน 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเปรียบเสมือนรองนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก พล.อ.สนธิ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลกระทรวงกลาโหม จะไม่ทำให้เกิดปัญหาอิหลักอิเหลื่อ ที่รุ่นน้อง มาควบคุมรุ่นพี่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า คงไม่อิหลัก อิเหลื่อ เพราะประธาน คมช.แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ที่เป็นรุ่นพี่อยู่แล้ว เมื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีมาก็สามารถปลดได้ ฉะนั้นเป็นการสวมหมวกหลายใบ เมื่อมาอยู่ตรงนี้ก็ไม่มีปัญหา
ต่อข้อถามว่า จะเป็นการลักลั่นหรือไม่ เพราะ พล.อ.สนธิ มีอำนาจในการปลดนายกรัฐมนตรี แต่กลับมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า เป็นการสวมหมวกกันคนละใบ ในฐานะประธาน คมช. ก็ดูแลงานของ คมช.ที่เหลืออยู่ ถ้ามานั่งรองนายกรัฐมนตรี ก็สามารถดูแลกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงได้ ผู้สื่อข่าวซักว่า การสวมหมวกหลายใบจะต้องวางบทบาทของตัวเองให้ถูกต้องใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า จะต้องให้ถูกต้อง
อ้างเปลี่ยนายกฯ กระทบเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรเมื่อมีการเคลื่อนไหวจะปลดนายกรัฐมนตรี แล้วดัน พล.อ.สนธิ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี แทนเพื่อจะได้กำจัดระบอบทักษิณให้สิ้นซาก พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่รู้ คิดว่าคงไม่มี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่ปกติที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบแล้วก็ประกาศออกมา คนที่เกี่ยวข้องจะตกลงใจอย่างไร ก็เป็นธรรมดา ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีอยู่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาทุกอย่างจะชัดเจนขึ้น
เมื่อถามว่า แสดงว่านายกรัฐมนตรีจะอยู่จนครบจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรีประกาศแล้วว่า ถ้าสมมติว่ามีอะไรที่นายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องท่านก็จะรับผิดชอบด้วยการลาออก ซึ่งท่านได้บอกไว้ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้มีข้อมูลว่าจะมีกลุ่มเคลื่อนไหวที่จ้องล้มนายกรัฐมนตรีหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่ใช่ข้อมูลใหม่ เป็นข้อมูลเก่า ที่ผ่านมา ก็มีความไม่พอใจต่าง ๆ ก็ปรากฏเป็นข่าวมาโดยตลอด แต่คิดว่าเหลือเวลาอีก ไม่กี่เดือน ทุกคนก็รู้ว่ารัฐบาลชุดนี้ตั้งธงไว้แล้วว่าจะให้มีการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นประชาชนจะไม่ยอมรับ ถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้น เพราะจะทำให้การเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไป
เมื่อถามว่า ทุกวันนี้ พล.อ.สนธิ ยังคุยกับ พล.อ.สุรยุทธ์ รู้เรื่องอยู่ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ยังคุยกันรู้เรื่อง และยังมีความสัมพันธ์ที่ดี ไม่มีปัญหา**"ประเวศ-สุเมธ" จี้ต่อมสำนึก"อารีย์"
นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส กล่าวถึงกรณีที่นายอารีย์ ยืนยันไม่ยอมลาออก จากตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคน แม้ว่ากฎหมาย จะเขียนบทเฉพาะกาลไว้ทำให้ไม่สามารถเอาผิดได้ แต่เรื่องของจริยธรรม จิตสำนึก เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเกินกว่าขอบเขตของกฎหมาย โดยเฉพาะจริยธรรมทางการเมือง เป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกันระหว่างจริยธรรมทางการเมืองของไทยกับในต่างประเทศ ถือว่าแตกต่างกันมาก เพราะในต่างประเทศแม้แต่เพียงแค่จ้างคนใช้ ที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายก็ถึงขั้นต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี หรือเพียงแต่ มีรูปนั่งตักผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาก็ไม่ได้ เพราะนักการเมืองเขามีจริยธรรม ทางการเมืองสูงมากๆ ซึ่งหากเราเอาจริยธรรมแบบนี้มาจับกับนักการเมืองไทย ก็จะเหลือนักการเมืองอยู่น้อยมาก
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.กล่าวถึงกรณีที่ นายอารีย์ ปฏิเสธการ ลาออก จากตำแหน่ง รมว.มหาดไทย เพื่อต้องการอยู่จัดการเลือกตั้งว่าทุกคนรู้สำนึกชั่วดีว่าอะไรควรทำหรือไม่ กฎหมายไม่สำคัญมันอยู่ที่สำนึกของคนมากกว่า นายอารีย์ รู้ตัวดีว่า ต้องทำอย่างไร พร้อมยืนยันหากมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี จะไม่ทำให้การเลือกตั้งมีปัญหา เมืองไทยไม่เคยมีปัญหาอยู่แล้ว ปัญหาทุกอย่างแก้ได้หมด
ชี้"อารีย์"ใช้ข้ออ้างไม่ต่าง"ทักษิณ"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าตนอยากให้ นายอารีย์ เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องข้อกล่าวหา เรื่องการทุจริต แต่เราต้องการที่จะยกมาตรฐานทางการเมือง และรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่เน้นย้ำเรื่องมาตรฐานคุณธรรม และจริยธรรม หากไม่ทำเป็นตัวอย่าง แล้วจะไปตอบใครได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายอารีย์ ควรตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งยังไม่ถือว่า สายเกินไป เชื่อว่าประเทศไทยไม่ขาดคนทำงาน และไม่ควรเข้าใจผิดว่า ตัวเองเป็นบุคคลสำคัญ จนงานบ้านเมืองเดินไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะตัดสินใจผิดพลาดตลอด
"ผมอยากให้นึกย้อนกลับไปว่า เป็นข้ออ้างอย่างเดียวกับรัฐบาลที่ถูกปฏิวัติอ้างหรือเปล่า และปฏิวัติเขามาแล้วมานั่งแทนเขา แล้วมาตรฐานไม่ต่างจากเขาแล้ว จะตอบสังคมได้อย่างไร ดังนั้น นายอารีย์ น่าจะพิจารณาได้ เพราะมีแบบอย่างก็มีตั้ง 2 ท่านแล้วในคณะรัฐมนตรี ที่ตัดสินใจอย่างนี้ และเป็นการตัดสินใจที่ผมคิดว่า ประชาชนก็ตอบรับ ชื่นชม ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่เสียหาย และผมก็มั่นใจว่างานต่าง ๆ ก็เดินต่อไปได้"
มท.1จะเป็นตัวภาระให้นายกฯ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่นายอารีย์ ยังอยู่ในตำแหน่ง จะเป็นภาระกับนายกรัฐมนตรี นายอารีย์ ควรจะคิดถึงนายกรัฐมนตรีด้วย ในเมื่อบอกว่านายกรัฐมนตรี เป็นคนเชิญเข้ามาร่วมรัฐบาล ก็ควรจะเกรงใจ และไม่ควรเป็นภาระให้กับนายกรัฐมนตรี และว่าเวลานี้ไม่ได้ห่วงนายอารีย์ แต่ห่วงภาพลักษณ์ของรัฐบาล และเกรงว่าจะเป็นเชื้อที่ทำให้ปัญหาการเมืองแหลมคมมากขึ้น เพราะการปฏิวัติรัฐประหาร ถูกมองในทางไม่ดีเป็นพื้นฐานจากหลายฝ่ายอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีการมาปรับปรุงมาตรฐานอะไรเลย ก็จะยิ่งเสียหายไปใหญ่
สำหรับกรณีที่ นายอารีย์ ยังถูกจับตามอง เรื่องที่ลูกชาย จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในขณะที่ตัวเองยังเป็นรมว.มหาดไทย ด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องที่ลูกชาย ของนายอารีย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล หากนายอารีย์ใช้ตำแหน่ง หน้าที่ไปสนับสนุน ประชาชนคงยอมรับไม่ได้ แต่วันนี้ ประเด็นหลักอยู่ที่ว่ารัฐบาลพูดถึงมาตรฐานทางการเมือง และรัฐมนตรีคนหนึ่งที่ลาออกไปก็พูดชัดว่า ที่ลาออกไปเพราะต้องการรักษามาตรฐานที่ถูกต้องทางการเมือง แต่หากยังมีรัฐมนตรี ที่มีปัญหาเดียวกัน แต่ไม่ลาออก ก็เชื่อว่าจะมีปัญหากับรัฐบาลแน่นอน
"เติ้ง"ห่วงเลือกตั้งมากกว่าจริยธรรม
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าไม่มีความเห็นเรื่องที่รัฐมนตรีทยอยลาออกเพราะถือหุ้นเกิน 5 % เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามแต่ตนเห็นว่าเรื่องรัฐมนตรีถือหุ้นเกิน 5 % ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย และหากจะให้แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่เข้ามาทำงาน ก็ต้องเรียนรู้งานอีกไม่ต่ำกว่า 2 เดือน แล้วก็เหลือเวลาอีก 2 เดือนจะมีการเลือกตั้ง จึงไม่เห็นด้วยที่จะลาออก ส่วนรัฐมนตรีที่ลาออกแล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีจะพิจารณา
"กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงด้านความมั่นคง และเป็นกระทรวงใหญ่ หากนายอารีย์ ลาออก ก็จะยุ่งยาก เพราะกว่าจะปรับ ครม.และโปรดเกล้าฯ ลงมาก็เข้าไปกลางเดือนตุลาคม ใกล้วันประกาศกฤษฎีกาเลือกตั้ง ผมก็สงสารรัฐบาลเหมือนกันที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ก็ต้องประเมินดูว่าอันไหนมีผลดีผลเสียกว่ากัน สำหรับผมคงไม่เสนอแนะรัฐบาล แต่ผมจะยึดข้อกฎหมายเป็นสำคัญ"
ส่วนกรณีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จะนั่งตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงนั้น นายบรรหาร กล่าวว่า เหมาะสม คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา หากควบสองตำแหน่ง เพราะประธาน คมช.หมดวาระไปพร้อมกับนายกฯ