สนช.ล่าชื่อสมาชิก เดินหน้าดันกฎหมายหวยบนดิน แก้มาตรา 3 เพิ่มนิยามหวยบนดินลงในกฎหมาย และมาตรา 22 ตั้งเกณฑ์จัดสรรรายได้ให้ถูกกฎหมาย เปิดกรอบกว้างให้สามารถจ่ายรางวัลได้ 65% ของยอดขาย หวังให้หวยใต้ดินสูญพันธุ์ ระบุไม่ใช่กฎหมายการเงิน สนช.สามารถเสนอเข้าสภาเองได้ หวังบังคับใช้ทันรัฐบาลชุดนี้ หวั่นเงินหวยใต้ดิน 1.5 แสนล้านเข้ากระเป๋านักการเมืองซื้อเสียงครั้งต่อไป ขณะที่นักวิชาการร่วมหนุน
วานนี้ (21 ก.ย.) คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้จัดสัมมนาเรื่อง “ทิศทางหวย 3 ตัว 2 ตัว ถูกกฎหมาย...ทำอย่างไร?” โดยนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลังฯ สนช. กล่าวว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลได้ยกเลิกการจำหน่ายสลากเลขท้ายแบบ 3 ตัว 2 ตัว หรือ หวยบนดิน คณะกรรมาธิการการคลังฯ ได้ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแก่กระทรวงการคลัง เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาโดยตลอด
โดยประเด็นสำคัญที่คณะกรรมาธิการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้หวยบนดินถูกกฎหมาย คือ การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 3 ให้นิยามคำว่า “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ให้ครอบคลุมทั้งสลากกินแบ่งที่ขายอยู่ในปัจจุบัน และสลากเลขท้ายแบบ 3 ตัว 2 ตัว ที่ผู้ซื้อสามารถกำหนดหมายเลขที่ต้องการซื้อได้เอง โดยให้มีรูปแบบเป็นสลากแบบเขียนเหมือนที่ดำเนินการในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งหากใช้เป็นสลากแบบพิมพ์จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหวยใต้ดินได้
นอกจากนี้ ได้เสนอให้มีการแก้ไข มาตราที่ 22 การจัดสรรรายได้จากการจำหน่ายหวยบนดินโดยจะวางกรอบการจัดสรรรายได้เช่นเดียวกับการขายหวยบนดินในลักษณะเดียวกันกับการจัดสรรรายได้ของการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ เงินจากการจำหน่าย 60% ให้จัดสรรเป็นเงินรางวัล เงินไม่น้อยกว่า 28% ให้เป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน และเงินไม่เกินกว่า 12% ให้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายหวยบนดินด้วย
“การแก้ไข มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.สำนักงานสลากจะช่วยลดปัญหาการแก้ไขปัญหาหวยใต้ดินที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนถึงงวดละกว่า 3 หมื่นล้านบาทได้ โดยการออกสลากจะเป็นการออกโดยใช้รูปแบบเดิมของรัฐบาลชุดที่แล้วทำ คือการเขียนตัวเลขลงในสลาก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้ เพราะหากพิมพ์ตัวเลขลงในใบหวยตามที่มีผู้เคยเสนอมาก็ไม่ต่างจากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล และไม่สามารถแก้ไขปัญหาหวยบนดินได้” นายสังศิตกล่าว
เพิ่มรางวัลฆ่าตัดตอนหวยใต้ดิน
สำหรับประเด็นการจัดสรรเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลนั้นได้ให้อำนาจของคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเพิ่มสัดส่วนการจ่ายรางวัลจาก 60% เป็น 65% ได้ เพื่อเป็นการสกัดการซื้อหวยใต้ดินให้ลดน้อยลง โดยจากการศึกษาข้อมูลจะพบว่า หากจัดสรรรางวัล 60% ของยอดขายจะทำให้การซื้อขายหวยใต้ดินยังมีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ แต่ไม่ส่งผลโดยมีนัยสำคัญ แต่หากเพิ่มการจ่ายรางวัลเป็น 65% ของยอดจำหน่ายจะทำให้หวยใต้ดินอยู่ไม่ได้จนสูญพันธุ์ไปในที่สุด
ซึ่งเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการธิการการคลังฯ สนช. ได้รวบรวมรายชื่อ สนช. 61 คน เสนอให้แก่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เพื่อเข้าสู่คณะกรรมาธิการกิจการสนช. เตรียมเสนอกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสนช.เนื่องจากคณะกรรมาธิการการเงินฯ เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมายการเงิน เพราะไม่เป็นการเพิ่มภาระด้านการคลังแก่รัฐบาล แต่เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล ซึ่งหากสามารถรวบรวมรายชื่อของสนช.ได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสนช.ทั้งหมด ก็สามารถพิจารณากฎหมายฉบับนี้ได้
“หากรัฐบาลไม่ถ่วงกฎหมายฉบับนี้โดยการขอไปศึกษาก่อน กฎหมายน่าจะเข้าสู่การพิจารณาได้ภายในกลางเดือนตุลาคม และประกาศใช้ได้ทันรัฐบาลชุดนี้ แต่หากรัฐบาลต้องการถ่วงเวลาโดยขอศึกษากฎหมายฉบับนี้อีก 1 เดือน ก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ได้ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เพราะหากเลยช่วงนี้ไปรัฐบาลก็ไม่สามารถถ่วงเวลาได้แล้ว การแก้ไขก็มีเพียง 2 มาตรา คงไม่ต้องใช้เวลาในการพิจารณามากนัก เพราะหากปล่อยให้เลยรัฐบาลและสนช.ชุดนี้ไปแล้ว เชื่อว่านักการเมืองคงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้อย่างแน่นอน”นายสังศิต กล่าว
กันนักการเมืองใช้เป็นทุนซื้อเสียง
นายสังศิต กล่าวอีกว่า การยกเลิกการขายหวยบนดินในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้เงินจากหวยบนดินหายไปจากระบบลงสู่ใต้ดินเป็นจำนวนสูงถึง 150,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล เป็นการปล่อยให้เงินใต้ดินเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่เป็นเครือข่ายของนักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติโดยบางรายเคยเป็นถึงระดับรัฐมนตรีเพราะได้เงินจากการขายหวยบนดินมาซื้อเสียง
“เงินที่หายไปกว่า 1.5 แสนล้าน เข้าไปอยู่ในกระเป๋าของนักการเมืองเพื่อเตรียมใช้เป็นเงินทุนในการซื้อเสียงการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง ดังนั้นกรรมาธิการการคลังฯจึงต้องเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้ออกใช้ เพราะหากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าไม่มีทางที่จะผ่านกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง เนื่องจากธุรกิจนี้บรรดาหัวคะแนนของนักการเมืองต่างเป็นเจ้ามือหวยใต้ดินกันทั้งนั้น”นายสังศิต กล่าว
อัดคลังไม่เสนอกฎหมายกลัวเปลืองตัว
สำหรับร่างกฎหมายที่กระทรวงการคลังเสนอเข้าไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกานั้น นายศังสิต กล่าวว่า คงเป็นการเสนอเข้าไปเพื่อไปเก็บไว้แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการใดๆ กับกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากกฎหมายที่กระทรวงการคลังต้องเสนอเข้าสู่สนช.ทั้งหมดภายในวันที่ 30 กันยายนไม่มีการเสนอกฎหมายฉบับนี้เข้ามายังสนช.แต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องคงไม่มีใครอยากยุ่งกับเรื่องนี้เพราะไม่อยากเปลืองตัว
“ที่ รมว.คลังไม่เสนอกฎหมายฉบับนี้คงไม่อยากเปลืองตัว ไม่อยากให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในภายหลังหากเกิดข้อผิดพลาดจึงไม่อยากจะตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่ที่ผมทำไม่ได้ต้องการเป็นฮีโร่ไม่อยากวางบทบาทให้คนมากราบไหว้ แม้ว่าการตัดสินใจผลักดันกฎหมายฉบับนี้จะเปื้อนฝุ่นก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดแล้วระยะเวลาจะตัดสินตัวผมเอง ซึ่งลึกๆ แล้วผมเชื่อว่าข้าราชการกระทรวงการคลังเองอยากได้กฎหมายนี้มาใช้แต่ไม่มีใครทำ”นายสังศิต กล่าว
นักวิชาการร่วมหนุน
นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นด้วยที่จะมีการแก้ไข พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 เพื่อทำให้หวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปี 2544 ระบุว่า เงินหมุนเวียนจากหวยใต้ดินมีมูลค่าสูงถึงห้าแสนล้านบาท ขณะที่ผลการวิจัยปี 2549 ภายหลังมีหวยบนดิน พบว่า เงินหมุนเวียนจากหวยบนดิน มีจำนวนสี่หมื่นล้านบาท สามารถทดแทนมูลค่าหวยใต้ดินได้ในระดับหนึ่ง หากแต่เมื่อมีการยกเลิกหวยบนดินชั่วคราว กลับทำให้เงินหมุนเวียนหวยใต้ดินกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
"เชื่อว่าหวยบนดินสามารถทดแทนหวยใต้ดิน และสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบตามที่กำหนดได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีผู้ได้รับผบกระทบจากการยกเลิกหวยบนดินไปแล้ว กว่าห้าล้านหกแสนคน และ 60% ต้องการให้หวยบนดินกลับมา"
วานนี้ (21 ก.ย.) คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้จัดสัมมนาเรื่อง “ทิศทางหวย 3 ตัว 2 ตัว ถูกกฎหมาย...ทำอย่างไร?” โดยนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลังฯ สนช. กล่าวว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาหลังจากรัฐบาลได้ยกเลิกการจำหน่ายสลากเลขท้ายแบบ 3 ตัว 2 ตัว หรือ หวยบนดิน คณะกรรมาธิการการคลังฯ ได้ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแก่กระทรวงการคลัง เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาโดยตลอด
โดยประเด็นสำคัญที่คณะกรรมาธิการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้หวยบนดินถูกกฎหมาย คือ การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 3 ให้นิยามคำว่า “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ให้ครอบคลุมทั้งสลากกินแบ่งที่ขายอยู่ในปัจจุบัน และสลากเลขท้ายแบบ 3 ตัว 2 ตัว ที่ผู้ซื้อสามารถกำหนดหมายเลขที่ต้องการซื้อได้เอง โดยให้มีรูปแบบเป็นสลากแบบเขียนเหมือนที่ดำเนินการในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งหากใช้เป็นสลากแบบพิมพ์จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหวยใต้ดินได้
นอกจากนี้ ได้เสนอให้มีการแก้ไข มาตราที่ 22 การจัดสรรรายได้จากการจำหน่ายหวยบนดินโดยจะวางกรอบการจัดสรรรายได้เช่นเดียวกับการขายหวยบนดินในลักษณะเดียวกันกับการจัดสรรรายได้ของการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ เงินจากการจำหน่าย 60% ให้จัดสรรเป็นเงินรางวัล เงินไม่น้อยกว่า 28% ให้เป็นเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน และเงินไม่เกินกว่า 12% ให้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายหวยบนดินด้วย
“การแก้ไข มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.สำนักงานสลากจะช่วยลดปัญหาการแก้ไขปัญหาหวยใต้ดินที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนถึงงวดละกว่า 3 หมื่นล้านบาทได้ โดยการออกสลากจะเป็นการออกโดยใช้รูปแบบเดิมของรัฐบาลชุดที่แล้วทำ คือการเขียนตัวเลขลงในสลาก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้ เพราะหากพิมพ์ตัวเลขลงในใบหวยตามที่มีผู้เคยเสนอมาก็ไม่ต่างจากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล และไม่สามารถแก้ไขปัญหาหวยบนดินได้” นายสังศิตกล่าว
เพิ่มรางวัลฆ่าตัดตอนหวยใต้ดิน
สำหรับประเด็นการจัดสรรเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลนั้นได้ให้อำนาจของคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเพิ่มสัดส่วนการจ่ายรางวัลจาก 60% เป็น 65% ได้ เพื่อเป็นการสกัดการซื้อหวยใต้ดินให้ลดน้อยลง โดยจากการศึกษาข้อมูลจะพบว่า หากจัดสรรรางวัล 60% ของยอดขายจะทำให้การซื้อขายหวยใต้ดินยังมีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ แต่ไม่ส่งผลโดยมีนัยสำคัญ แต่หากเพิ่มการจ่ายรางวัลเป็น 65% ของยอดจำหน่ายจะทำให้หวยใต้ดินอยู่ไม่ได้จนสูญพันธุ์ไปในที่สุด
ซึ่งเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการธิการการคลังฯ สนช. ได้รวบรวมรายชื่อ สนช. 61 คน เสนอให้แก่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เพื่อเข้าสู่คณะกรรมาธิการกิจการสนช. เตรียมเสนอกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสนช.เนื่องจากคณะกรรมาธิการการเงินฯ เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมายการเงิน เพราะไม่เป็นการเพิ่มภาระด้านการคลังแก่รัฐบาล แต่เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล ซึ่งหากสามารถรวบรวมรายชื่อของสนช.ได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสนช.ทั้งหมด ก็สามารถพิจารณากฎหมายฉบับนี้ได้
“หากรัฐบาลไม่ถ่วงกฎหมายฉบับนี้โดยการขอไปศึกษาก่อน กฎหมายน่าจะเข้าสู่การพิจารณาได้ภายในกลางเดือนตุลาคม และประกาศใช้ได้ทันรัฐบาลชุดนี้ แต่หากรัฐบาลต้องการถ่วงเวลาโดยขอศึกษากฎหมายฉบับนี้อีก 1 เดือน ก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ได้ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เพราะหากเลยช่วงนี้ไปรัฐบาลก็ไม่สามารถถ่วงเวลาได้แล้ว การแก้ไขก็มีเพียง 2 มาตรา คงไม่ต้องใช้เวลาในการพิจารณามากนัก เพราะหากปล่อยให้เลยรัฐบาลและสนช.ชุดนี้ไปแล้ว เชื่อว่านักการเมืองคงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้อย่างแน่นอน”นายสังศิต กล่าว
กันนักการเมืองใช้เป็นทุนซื้อเสียง
นายสังศิต กล่าวอีกว่า การยกเลิกการขายหวยบนดินในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้เงินจากหวยบนดินหายไปจากระบบลงสู่ใต้ดินเป็นจำนวนสูงถึง 150,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาล เป็นการปล่อยให้เงินใต้ดินเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่เป็นเครือข่ายของนักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติโดยบางรายเคยเป็นถึงระดับรัฐมนตรีเพราะได้เงินจากการขายหวยบนดินมาซื้อเสียง
“เงินที่หายไปกว่า 1.5 แสนล้าน เข้าไปอยู่ในกระเป๋าของนักการเมืองเพื่อเตรียมใช้เป็นเงินทุนในการซื้อเสียงการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง ดังนั้นกรรมาธิการการคลังฯจึงต้องเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้ออกใช้ เพราะหากเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าไม่มีทางที่จะผ่านกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง เนื่องจากธุรกิจนี้บรรดาหัวคะแนนของนักการเมืองต่างเป็นเจ้ามือหวยใต้ดินกันทั้งนั้น”นายสังศิต กล่าว
อัดคลังไม่เสนอกฎหมายกลัวเปลืองตัว
สำหรับร่างกฎหมายที่กระทรวงการคลังเสนอเข้าไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกานั้น นายศังสิต กล่าวว่า คงเป็นการเสนอเข้าไปเพื่อไปเก็บไว้แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการใดๆ กับกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากกฎหมายที่กระทรวงการคลังต้องเสนอเข้าสู่สนช.ทั้งหมดภายในวันที่ 30 กันยายนไม่มีการเสนอกฎหมายฉบับนี้เข้ามายังสนช.แต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องคงไม่มีใครอยากยุ่งกับเรื่องนี้เพราะไม่อยากเปลืองตัว
“ที่ รมว.คลังไม่เสนอกฎหมายฉบับนี้คงไม่อยากเปลืองตัว ไม่อยากให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในภายหลังหากเกิดข้อผิดพลาดจึงไม่อยากจะตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่ที่ผมทำไม่ได้ต้องการเป็นฮีโร่ไม่อยากวางบทบาทให้คนมากราบไหว้ แม้ว่าการตัดสินใจผลักดันกฎหมายฉบับนี้จะเปื้อนฝุ่นก็ตาม แต่ในท้ายที่สุดแล้วระยะเวลาจะตัดสินตัวผมเอง ซึ่งลึกๆ แล้วผมเชื่อว่าข้าราชการกระทรวงการคลังเองอยากได้กฎหมายนี้มาใช้แต่ไม่มีใครทำ”นายสังศิต กล่าว
นักวิชาการร่วมหนุน
นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นด้วยที่จะมีการแก้ไข พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 เพื่อทำให้หวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปี 2544 ระบุว่า เงินหมุนเวียนจากหวยใต้ดินมีมูลค่าสูงถึงห้าแสนล้านบาท ขณะที่ผลการวิจัยปี 2549 ภายหลังมีหวยบนดิน พบว่า เงินหมุนเวียนจากหวยบนดิน มีจำนวนสี่หมื่นล้านบาท สามารถทดแทนมูลค่าหวยใต้ดินได้ในระดับหนึ่ง หากแต่เมื่อมีการยกเลิกหวยบนดินชั่วคราว กลับทำให้เงินหมุนเวียนหวยใต้ดินกลับมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
"เชื่อว่าหวยบนดินสามารถทดแทนหวยใต้ดิน และสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบตามที่กำหนดได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีผู้ได้รับผบกระทบจากการยกเลิกหวยบนดินไปแล้ว กว่าห้าล้านหกแสนคน และ 60% ต้องการให้หวยบนดินกลับมา"