กมธ.พิจารณากม.ลูก ลดค่าสมัครส.ว.เหลือ 5 พันบาท พร้อมกำหนดขนาด-จำนวนป้ายหาเสียงตามที่ กกต.กำหนด สรุปองค์กรนิติบุคคล มีสิทธิ์เสนอรายชื่อเพื่อแต่งตั้ง ส.ว.แห่ง ละ 1 คน พร้อมล้างโทษ ผู้เสียสิทธิจากการไม่ไปเลือกตั้ง
เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ (17 ก.ย.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ โดยมี น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. โดยพิจารณาในหมวดที่ 2 เรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.และการสรรหา ส.ว. มีประเด็นสำคัญ ในมาตรา 119 เรื่องการสมัครเลือกตั้ง ส.ว.ที่ประชุมได้มีมติปรับลดอัตราค่าสมัครจาก 1 หมื่นบาท เหลือ 5 พันบาท เหมือนการสมัครส.ส. รวมถึง ส.ว.สรรหาด้วย
ส่วนมาตรา มาตรา 122/1 เรื่องการจัดสถานที่ และปิดป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่ง กมธ.หลายคนเสนอให้ปรับเป็นมาตรฐานเดียวกับข้อกำหนดของการเลือกตั้ง ส.ส.ในมาตรา 60 และ 61 รวมถึงการกำหนดขนาด และจำนวนป้ายซึ่ง กมธ.แขวนประเด็นดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้นางจุรี วิจิตรวาทการ กมธ. เสนอว่า ควรจำกัดป้ายหาเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้สมัครที่ร่ำรวยกว่าได้เปรียบ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ปรับ มาตรา 61 และ มาตรา 122/1 ให้เป็นไปในหลักการเดียวกันว่า ให้กกต. กำหนดสถานที่ปิดป้ายหาเสียงหรือการโฆษณาด้วยวิธีอื่นใด ในบริเวณสาธารณสถานซึ่งเป็นของรัฐให้พอเพียงและเท่าเทียม ส่วนสถานที่อื่นหรือที่ของเอกชน ให้มีขนาด และจำนวนเป็นไปตามที่ กกต.กำหนด
สำหรับการสรรหา ส.ว. มีประเด็นสำคัญคือ มาตรา 124 เรื่ององค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคลเข้ารับการสรรหา ส.ว.มี 5 ภาค ได้แก่ ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่น โดยต้องเป็นองค์กรนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือนิติบุคล ที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้นในราชอาณาจักรมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งมีการแขวนไว้ก่อนหน้านี้ โดยที่ประชุมยังยืนยันว่าให้เป็นไปตามร่างดังกล่าว และตัดนิยามคำว่า องค์กร 5 ภาคทิ้ง และตัดเรื่องการวินิจฉัยให้เป็นอำนาจของ กกต.ทิ้ง
ด้าน พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ยังยืนยันขอให้คงคำจัดความขององค์กร 5 ภาค เพื่อให้องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อรู้ขอบเขตว่า อยู่ภาคใด ทำให้นายยุวรัตน์ กมลเวชช รองประธาน กมธ.คนที่ 3 และประธานอนุฯร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ชี้แจงว่า การตัดเรื่องดังกล่าวทิ้งเพื่อให้การวินิจฉัยไปอยู่ช่วงหลังการประกาศรับรองผล เพราะขั้นตอนการสรรหามีเพียง 60 วันซึ่งสั้นมาก และการกำหนดแบบนี้จะป้องกันการขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนนายอัชพร จารุจินดา กมธ. ชี้แจงว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้กรรมการสรรหาพิจารณาคนที่องค์กรต่างๆเสนอมาทุกรายชื่อ การคงนิยามดังกล่าวจึงไม่จำเป็น และกรรมการสรรหาจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง สุดท้าย น.ต. ประสงค์ จึงสรุปว่า ให้เป็นไปตามร่าง และให้ พล.ร.อ.ประเสริฐ สงวนความเห็นไปเสนอในที่ประชุม สนช.
ส่วนมาตรา 128 เรื่อง องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหา ส.ว. สามารถเสนอชื่อได้องค์กรละ 1 คน ซึ่งที่ประชุมแขวนไว้ก่อนหน้านี้เนื่องจากมีข้อเสนอเพิ่มเติมรวม 4 แบบ คือ 1.องค์กรละ 1 คน 2. องค์กรละ 1 คน แต่ให้เพิ่มได้อีก 1 คน ของทุก 10,000 คน ของสมาชิกองค์กรที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่เกิน 5 คน ที่ พล.ร.อ. ประเสริฐ บุญทรง เสนอ 3. เสนอได้องค์กรละไม่เกิน 5 คน และ 4. เสนอได้ไม่จำกัดจำนวน โดยพล.ร.อ.ประเสริฐ ยังยืนยันกับที่ประชุมถึงข้อเสนอดังกล่าวเพื่อความเป็นธรรมกับองค์กรที่มีสมาชิกมากเช่น กองทัพ อย่างไรก็ดี นาย อัชพร ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้สรรหา ส.ว.กระจายไปทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้เจาะจงว่า ให้มีตัวแทนกลุ่มใดมากกว่ากลุ่มอื่น ร่างจึงกำหนดให้นิติบุคลเลือกสรรคนที่ดีที่สุดขององค์กรเข้ารับการสรรหา
ส่วนข้อเสนอของ พล.ร.อ.ประเสริฐ ต้องใช้เวลาตรวจสอบจำนวนสมาชิกขององค์นั้นๆ มาก และยิ่งภาคเอกชน และภาคอื่น จำนวนสมาชิกนั้นขึ้นกับข้อบังคับขององค์นั้นๆ จึงยากที่จะไปตรวจสอบว่า มีสมาชิกถึงตามเกณฑ์ที่จะสามารถเสนอชื่อได้เพิ่มอีกหรือไม่ และต้องใช้เวลานาน สุดท้าย น.ต. ประสงค์ จึงสรุปว่า ให้เป็นไปตาม ร่าง และให้พล.ร.อ.ประเสริฐ สงวนความเห็นไว้เสนอในที่ประชุม สนช. ทั้งนี้ อาจจะอภิปรายด้วยเพราะเห็นใจเรื่องความไม่เป็นธรรม แต่ไม่ใช่ว่าตนจะเข้าข้างทหาร เพราะตอนนี้ทหารถูกต่อว่าเยอะแล้ว
จากนั้นเป็นการพิจารณาหมวด 3 เรื่องบทกำหนดโทษ ส่วนใหญ่ที่ประชุม มีมติยืนยันตามร่าง มีประเด็นสำคัญ อาทิ มาตรา 144 /1 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 55 เรื่องการเรียกรับทรัพย์สินเพื่อลงหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ส่วนถ้าพรรคมีการกระทำฝ่ายฝืนมาตราดังกล่าว หัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคต้องระวางโทษดังกล่าวด้วย และให้ถือเป็นเหตุยุบพรรคตาม พ.ร.บ.ประกอบฯพรรคการเมือง
ส่วนมาตรา 152 กรณีผู้ขายเสียงแจ้งต่อ กกต.ก่อนวันเลือกตั้ง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษและไม่ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง นายประพันธ์ นัยโกวิท เสนอว่า ข้อเท็จจริงมักมีการซื้อขายเสียงในคืนหมาหอน หรือในวันเลือกตั้ง การกำหนดเวลาดังกล่าวผู้รับอาจแจ้งไม่ทัน จึงควรกำหนดให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วย ส่วนมาตรา 156 กรณีทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจนทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในการจัดเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย ซึ่งนายประพันธ์ เสนอว่า กรณีนี้หมายถึงต้องฟ้องอาญาก่อน ขณะที่กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นให้กกต.ยื่นฟ้องทางแพ่งได้เลย จึงน่าไปเพิ่มมาตรา 111/1 ในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยตามข้อเสนอของนายประพันธ์
สำหรับบทเฉพาะกาล ที่ประชุมมีมติยืนยันตามร่าง มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ มาตรา 159 / 1ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลัง พ.ร.บ.นี่บังคับใช้ ให้การใช้จ่ายการเลือกตั้ง วิธีการหาเสียงเลือกตั้งตาม มาตรา 49 และ 120 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่มีพ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว.แล้วแต่กรณีจนถึงวันเลือกตั้ง
ส่วนมาตรา 160 บุคคลใดถูกเพิกถอนสิทธิตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง 2541 หรือพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 หรือประกาศ คปค. ฉบับ 27 ให้ยังถือว่าถูกเพิกถอนสิทธิตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ นอกจากนี้นาย ประพันธ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ควรยกเลิกผู้เสียสิทธิจากการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนหน้านี้ด้วยหรือไม่ และต้องบัญญัติให้ชัดหรือไม่ในบทเฉพาะกาล ซึ่งมีกมธ.ทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน ทำให้น.ต. ประสงค์ สรุปว่า น่าจะให้โอกาสผู้เสียสิทธิจากการไม่ไปใช้สิทธิ และให้ฝ่ายเลขาไปเขียนเพิ่มเติมในบทเฉพาะกาลให้ชัดว่า ให้ยกเลิกการเสียสิทธิอันเกิดจาการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง 2541
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า น.ต.ประสงค์ กล่าวสรุปผลการพิจารณาของ กมธ.ว่า พ.ร.บ.ประกอบฯทั้ง 3 ฉบับ มีคนมองว่าโทษแรง ตนคิดว่า คนที่มองอย่านั้น เป็นผู้ไม่เคยมีผลกระทบจากนักการเมืองที่ประพฤติในทางก่อความเสียหายกับส่วนรวม ทั้งนี้ ที่กมธ.ต้องเข้มงวด เพราะมีความผิดพลาดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมากมาย จึงต้องอุดช่องโหว่ต่างๆ ด้วยการมีบทควบคุมความประพฤติของคนที่จะก่อความเสียหาย โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่จะถึง
"เงินจะเป็นปัจจัยสำคัญมาก ซึ่งมีการใช้เงินซื้อตั้งแต่ ตัว ส.ส. หัวคะแนน หน่วยงานของรัฐบางหน่วยในพื้นที่ ประชาชน หรือ กกต.ประจำหน่วย ซึ่งคนพวกนี้เก่ง มีเงินมากก็ทำได้ทุกอย่าง กมธ.ก็พยายามเต็มที่ในการมีมาตรการไม่ให้เงินซื้อได้ ดังนั้นถ้าไม่กำหนดกฎใหม่ให้รัดกุม เข้มข้น จะทำให้บ้านเมืองเสียหาย เพราะคนพวกนี้คงจะคิดไปถึงการใช้เงินซื้อนิพพานแล้ว" น.ต.ประสงค์ กล่าว
เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ (17 ก.ย.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ โดยมี น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ.เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. โดยพิจารณาในหมวดที่ 2 เรื่องการเลือกตั้ง ส.ว.และการสรรหา ส.ว. มีประเด็นสำคัญ ในมาตรา 119 เรื่องการสมัครเลือกตั้ง ส.ว.ที่ประชุมได้มีมติปรับลดอัตราค่าสมัครจาก 1 หมื่นบาท เหลือ 5 พันบาท เหมือนการสมัครส.ส. รวมถึง ส.ว.สรรหาด้วย
ส่วนมาตรา มาตรา 122/1 เรื่องการจัดสถานที่ และปิดป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่ง กมธ.หลายคนเสนอให้ปรับเป็นมาตรฐานเดียวกับข้อกำหนดของการเลือกตั้ง ส.ส.ในมาตรา 60 และ 61 รวมถึงการกำหนดขนาด และจำนวนป้ายซึ่ง กมธ.แขวนประเด็นดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้นางจุรี วิจิตรวาทการ กมธ. เสนอว่า ควรจำกัดป้ายหาเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้สมัครที่ร่ำรวยกว่าได้เปรียบ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ปรับ มาตรา 61 และ มาตรา 122/1 ให้เป็นไปในหลักการเดียวกันว่า ให้กกต. กำหนดสถานที่ปิดป้ายหาเสียงหรือการโฆษณาด้วยวิธีอื่นใด ในบริเวณสาธารณสถานซึ่งเป็นของรัฐให้พอเพียงและเท่าเทียม ส่วนสถานที่อื่นหรือที่ของเอกชน ให้มีขนาด และจำนวนเป็นไปตามที่ กกต.กำหนด
สำหรับการสรรหา ส.ว. มีประเด็นสำคัญคือ มาตรา 124 เรื่ององค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคลเข้ารับการสรรหา ส.ว.มี 5 ภาค ได้แก่ ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่น โดยต้องเป็นองค์กรนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือนิติบุคล ที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้นในราชอาณาจักรมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งมีการแขวนไว้ก่อนหน้านี้ โดยที่ประชุมยังยืนยันว่าให้เป็นไปตามร่างดังกล่าว และตัดนิยามคำว่า องค์กร 5 ภาคทิ้ง และตัดเรื่องการวินิจฉัยให้เป็นอำนาจของ กกต.ทิ้ง
ด้าน พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ยังยืนยันขอให้คงคำจัดความขององค์กร 5 ภาค เพื่อให้องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อรู้ขอบเขตว่า อยู่ภาคใด ทำให้นายยุวรัตน์ กมลเวชช รองประธาน กมธ.คนที่ 3 และประธานอนุฯร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ชี้แจงว่า การตัดเรื่องดังกล่าวทิ้งเพื่อให้การวินิจฉัยไปอยู่ช่วงหลังการประกาศรับรองผล เพราะขั้นตอนการสรรหามีเพียง 60 วันซึ่งสั้นมาก และการกำหนดแบบนี้จะป้องกันการขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนนายอัชพร จารุจินดา กมธ. ชี้แจงว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้กรรมการสรรหาพิจารณาคนที่องค์กรต่างๆเสนอมาทุกรายชื่อ การคงนิยามดังกล่าวจึงไม่จำเป็น และกรรมการสรรหาจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง สุดท้าย น.ต. ประสงค์ จึงสรุปว่า ให้เป็นไปตามร่าง และให้ พล.ร.อ.ประเสริฐ สงวนความเห็นไปเสนอในที่ประชุม สนช.
ส่วนมาตรา 128 เรื่อง องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหา ส.ว. สามารถเสนอชื่อได้องค์กรละ 1 คน ซึ่งที่ประชุมแขวนไว้ก่อนหน้านี้เนื่องจากมีข้อเสนอเพิ่มเติมรวม 4 แบบ คือ 1.องค์กรละ 1 คน 2. องค์กรละ 1 คน แต่ให้เพิ่มได้อีก 1 คน ของทุก 10,000 คน ของสมาชิกองค์กรที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่เกิน 5 คน ที่ พล.ร.อ. ประเสริฐ บุญทรง เสนอ 3. เสนอได้องค์กรละไม่เกิน 5 คน และ 4. เสนอได้ไม่จำกัดจำนวน โดยพล.ร.อ.ประเสริฐ ยังยืนยันกับที่ประชุมถึงข้อเสนอดังกล่าวเพื่อความเป็นธรรมกับองค์กรที่มีสมาชิกมากเช่น กองทัพ อย่างไรก็ดี นาย อัชพร ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้สรรหา ส.ว.กระจายไปทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้เจาะจงว่า ให้มีตัวแทนกลุ่มใดมากกว่ากลุ่มอื่น ร่างจึงกำหนดให้นิติบุคลเลือกสรรคนที่ดีที่สุดขององค์กรเข้ารับการสรรหา
ส่วนข้อเสนอของ พล.ร.อ.ประเสริฐ ต้องใช้เวลาตรวจสอบจำนวนสมาชิกขององค์นั้นๆ มาก และยิ่งภาคเอกชน และภาคอื่น จำนวนสมาชิกนั้นขึ้นกับข้อบังคับขององค์นั้นๆ จึงยากที่จะไปตรวจสอบว่า มีสมาชิกถึงตามเกณฑ์ที่จะสามารถเสนอชื่อได้เพิ่มอีกหรือไม่ และต้องใช้เวลานาน สุดท้าย น.ต. ประสงค์ จึงสรุปว่า ให้เป็นไปตาม ร่าง และให้พล.ร.อ.ประเสริฐ สงวนความเห็นไว้เสนอในที่ประชุม สนช. ทั้งนี้ อาจจะอภิปรายด้วยเพราะเห็นใจเรื่องความไม่เป็นธรรม แต่ไม่ใช่ว่าตนจะเข้าข้างทหาร เพราะตอนนี้ทหารถูกต่อว่าเยอะแล้ว
จากนั้นเป็นการพิจารณาหมวด 3 เรื่องบทกำหนดโทษ ส่วนใหญ่ที่ประชุม มีมติยืนยันตามร่าง มีประเด็นสำคัญ อาทิ มาตรา 144 /1 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 55 เรื่องการเรียกรับทรัพย์สินเพื่อลงหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ส่วนถ้าพรรคมีการกระทำฝ่ายฝืนมาตราดังกล่าว หัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคต้องระวางโทษดังกล่าวด้วย และให้ถือเป็นเหตุยุบพรรคตาม พ.ร.บ.ประกอบฯพรรคการเมือง
ส่วนมาตรา 152 กรณีผู้ขายเสียงแจ้งต่อ กกต.ก่อนวันเลือกตั้ง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษและไม่ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง นายประพันธ์ นัยโกวิท เสนอว่า ข้อเท็จจริงมักมีการซื้อขายเสียงในคืนหมาหอน หรือในวันเลือกตั้ง การกำหนดเวลาดังกล่าวผู้รับอาจแจ้งไม่ทัน จึงควรกำหนดให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วย ส่วนมาตรา 156 กรณีทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจนทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในการจัดเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย ซึ่งนายประพันธ์ เสนอว่า กรณีนี้หมายถึงต้องฟ้องอาญาก่อน ขณะที่กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นให้กกต.ยื่นฟ้องทางแพ่งได้เลย จึงน่าไปเพิ่มมาตรา 111/1 ในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยตามข้อเสนอของนายประพันธ์
สำหรับบทเฉพาะกาล ที่ประชุมมีมติยืนยันตามร่าง มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ มาตรา 159 / 1ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลัง พ.ร.บ.นี่บังคับใช้ ให้การใช้จ่ายการเลือกตั้ง วิธีการหาเสียงเลือกตั้งตาม มาตรา 49 และ 120 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่มีพ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว.แล้วแต่กรณีจนถึงวันเลือกตั้ง
ส่วนมาตรา 160 บุคคลใดถูกเพิกถอนสิทธิตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง 2541 หรือพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 หรือประกาศ คปค. ฉบับ 27 ให้ยังถือว่าถูกเพิกถอนสิทธิตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ นอกจากนี้นาย ประพันธ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ควรยกเลิกผู้เสียสิทธิจากการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนหน้านี้ด้วยหรือไม่ และต้องบัญญัติให้ชัดหรือไม่ในบทเฉพาะกาล ซึ่งมีกมธ.ทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน ทำให้น.ต. ประสงค์ สรุปว่า น่าจะให้โอกาสผู้เสียสิทธิจากการไม่ไปใช้สิทธิ และให้ฝ่ายเลขาไปเขียนเพิ่มเติมในบทเฉพาะกาลให้ชัดว่า ให้ยกเลิกการเสียสิทธิอันเกิดจาการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง 2541
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า น.ต.ประสงค์ กล่าวสรุปผลการพิจารณาของ กมธ.ว่า พ.ร.บ.ประกอบฯทั้ง 3 ฉบับ มีคนมองว่าโทษแรง ตนคิดว่า คนที่มองอย่านั้น เป็นผู้ไม่เคยมีผลกระทบจากนักการเมืองที่ประพฤติในทางก่อความเสียหายกับส่วนรวม ทั้งนี้ ที่กมธ.ต้องเข้มงวด เพราะมีความผิดพลาดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมากมาย จึงต้องอุดช่องโหว่ต่างๆ ด้วยการมีบทควบคุมความประพฤติของคนที่จะก่อความเสียหาย โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่จะถึง
"เงินจะเป็นปัจจัยสำคัญมาก ซึ่งมีการใช้เงินซื้อตั้งแต่ ตัว ส.ส. หัวคะแนน หน่วยงานของรัฐบางหน่วยในพื้นที่ ประชาชน หรือ กกต.ประจำหน่วย ซึ่งคนพวกนี้เก่ง มีเงินมากก็ทำได้ทุกอย่าง กมธ.ก็พยายามเต็มที่ในการมีมาตรการไม่ให้เงินซื้อได้ ดังนั้นถ้าไม่กำหนดกฎใหม่ให้รัดกุม เข้มข้น จะทำให้บ้านเมืองเสียหาย เพราะคนพวกนี้คงจะคิดไปถึงการใช้เงินซื้อนิพพานแล้ว" น.ต.ประสงค์ กล่าว