การปฏิวัติรัฐประหารของ คมช.เกิดขึ้นจากวิกฤตของแผ่นดิน 4 ข้อ ที่ได้ประกาศหลังยึดอำนาจการปกครองจากระบอบทักษิณ แต่หลังผ่านไป 1 ปี หลายคนบอกว่า วิกฤตดังกล่าวหาได้คลี่คลายลงไปแต่อย่างใด
จนสงสัยกันว่า พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นหัวหน้าคณะจะไม่รู้เลยหรือว่า ในสถานการณ์เช่นนี้บ้านเมืองควรเดินไปแนวทางเช่นใด และหนทางใดที่จะดับวิกฤตให้กับแผ่นดิน
เพราะเสียงที่สะท้อนมา ฟังแล้วชวนให้หดหู่ก็คือ ท่านพยายามเลือก ผบ.ทบ. โดยตั้งหลักว่า ท่านจะปลอดภัยหลังจากพ้นจากตำแหน่ง และเป็นกองหนุนในการเข้าสู่การเมือง
ผมย้อนกลับไปอ่านประวัติศาสตร์เพราะบางครั้งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ นอกจากจะทำให้เราเรียนรู้อดีตแล้ว ยังจะทำให้เราสามารถอธิบายปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคตได้ด้วย
พล.อ.สนธิเป็นบุตรของ พันเอกสนั่น และนางมณี เติบโตในครอบครัวมุสลิม ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ สืบต้นตระกูลเฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อะหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์
ส่วนนามสกุลบุญยรัตกลิน เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่ปู่เป็นทหารเรือ สังกัดพรรคกลิน
ดังนั้นว่าไปแล้ว พล.อ.สนธิ จึงถือเป็นบุนนาคคนหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับราชสำนักมาเป็นเวลายาวนาน เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
หม่อมบุนนาคหรือนายบุนนาค ผู้สืบวงศ์เฉกอะหมัดลำดับชั้นที่ 6 เข้ารับราชการและเป็นขุนนางที่ได้รับใช้ใกล้ชิดด้วยความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้สมรสกับเจ้าคุณนวล พระกนิษฐภคินี ของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองกับพระองค์ท่าน หม่อมบุนนาครับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมากมาย ทรงโปรด เกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งและตั้งให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม แล้วเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ท่านผู้นี้เป็นต้นสกุล “บุนนาค” นับเป็นชั้นที่ 1
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เสนาบดีในตระกูลบุนนาคคือ เจ้าพระบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีความสำคัญรองลงมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว
ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 5 ตระกูลบุนนาค มีอำนาจและอิทธิพลสูง โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเวลาต่อมา บุตรชายของเขาทั้งสอง เจ้าพระยาสุริยวงศ์ไวยวัฒน์ (วอน บุนนาค) เป็นสมุหกลาโหม เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลัง
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์มิทรงได้แต่งตั้งรัชทายาทไว้ โดยมีพระราชประสงค์ให้บรรดาขุนนางเป็นผู้เลือกผู้รัชทายาทกันเอง เพราะพระองค์เกรงว่า หากวางตัวรัชทายาทไว้ แต่ไม่เป็นที่ยินยอมพร้อมใจของขุนนางในขณะนั้นราชบังลังก์จะไม่ปลอดภัย แต่ทรงแสดงให้เห็นโดยทางอ้อมไว้แล้วว่า พระองค์มีพระราชประสงค์ให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ โดยทรงให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดในการออกว่าราชการแผ่นดิน
และสุดท้ายบรรดาขุนนางก็พร้อมใจกันเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป แต่เนื่องจากพระองค์ ยังทรงพระเยาว์มาก(15 ชันษา) ที่ประชุมจึงเลือก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน การบริหารราชการแผ่นดินในขณะนั้นจึงตกอยู่ในมือของขุนนางโดยเฉพาะตระกูลบุนนาค
ทำให้หวั่นเกรงกันว่า ขุนนางเหล่านั้นจะคิดคบกันโค่นราชบังลังก์ขึ้น
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งถึงสถานะของพระราชบิดาในขณะนั้นว่า “เปรียบเหมือนคนที่ศีรษะขาดแล้ว จับแต่ร่างกายขึ้นตั้งไว้ในที่สมมติกษัตริย์ เหลือที่จะพรรณนาถึงความทุกข์อันต้องกำพร้าในอายุเพียงเท่านั้น และความหนักของมงกุฎอันเหลือที่คอจะทนทานไว้ได้ ทั้งที่ศัตรูซึ่งมุ่งหมายอยู่โดยเปิดเผยทั้งภายในและภายนอก หมายเอาทั้งในกรุงเองและต่างประเทศ”
นอกจากนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังแต่งตั้งวังหน้าขึ้น ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ควรจะเป็นผู้แต่งตั้งหรือไม่ เพราะตำแหน่งนี้ควรเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ต้องแต่งตั้งเอง เพราะถือเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช ทำให้มีการตีความกันไปต่างๆ นานาว่า สมเด็จพระมหาสุริยวงศ์ต้องการริดรอนอำนาจของกษัตริย์ แต่อีกแง่หนึ่งมองว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ทำให้คนเข้าใจเจตนาว่า มิได้ต้องการตั้งตนเป็นกษัตริย์เสียเอง ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่สามารถทำหน้าที่กษัตริย์ได้ เพราะขณะนั้นพระองค์ทรงพระประชวร กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้าก็จะได้ขึ้นครองราชย์แทน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ่งที่กังวลในขณะนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ก็ย่อมพิสูจน์ให้เห็นถึงความจงรักภักดีของตระกูลบุนนาคต่อราชวงศ์ โดยคนในตระกูลบุนนาคนอกจากที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเข้ารับตำแหน่งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5
อาทิเช่น พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม, เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ, พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ แล้วย้ายมาอยู่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตร และยังเคยรักษาการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ, พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นต้น
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ตระกูลบุนนาค นอกจากจะจงรักภักดีต่อราชบังลังก์แล้ว ยังทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างมาก
ล่วงมาสู่ พ.ศ.2550 ทายาทของเฉก อะหมัด ได้กลับขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญของแผ่นดินอีกครั้ง
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช.ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาดเหนือนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้ หลังการล้มระบอบทักษิณ หลายคนมีความเห็นทรงกันว่า การแต่งตั้งตำแหน่ง ผบ.ทบ.ปีนี้น่าจะเป็นการแต่งตั้งที่ง่ายที่สุด เพราะปลอดจากการเมือง ในสถานการณ์ที่กำลังตระหนักกันถึงความมั่นคงของประเทศชาติและราชบัลลังก์และความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ผู้มีอาวุโส อันดับ 2 มองเห็นถึงความเหมาะสมว่า ใครควรขึ้นเป็นตำแหน่ง ผบ.ทบ.คนต่อไป เขาพูดย้ำเสมอว่า “ให้พี่พรั่งเป็นก่อน” ในการให้สัมภาษณ์หลายต่อหลายครั้ง นั่นเป็นการมองเห็นถึงอุปสรรคขวากหนามและศัตรูที่ตระหง่านอยู่เบื้องหน้าที่จะต้องช่วยกันฟันฝ่า
แต่พล.อ.สนธิ กลับทำให้เรื่องง่ายที่สุด กลายเป็นเรื่องยาก เหมือนกับไม่ตระหนักเลยว่า ภัยภยันตรายที่ประเทศชาติและสถาบันหลักของชาติกำลังเผชิญและบรรพบุรุษของท่านเคยร่วมกันพิทักษ์รักษาไว้คืออะไร
จนสงสัยกันว่า พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นหัวหน้าคณะจะไม่รู้เลยหรือว่า ในสถานการณ์เช่นนี้บ้านเมืองควรเดินไปแนวทางเช่นใด และหนทางใดที่จะดับวิกฤตให้กับแผ่นดิน
เพราะเสียงที่สะท้อนมา ฟังแล้วชวนให้หดหู่ก็คือ ท่านพยายามเลือก ผบ.ทบ. โดยตั้งหลักว่า ท่านจะปลอดภัยหลังจากพ้นจากตำแหน่ง และเป็นกองหนุนในการเข้าสู่การเมือง
ผมย้อนกลับไปอ่านประวัติศาสตร์เพราะบางครั้งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ นอกจากจะทำให้เราเรียนรู้อดีตแล้ว ยังจะทำให้เราสามารถอธิบายปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคตได้ด้วย
พล.อ.สนธิเป็นบุตรของ พันเอกสนั่น และนางมณี เติบโตในครอบครัวมุสลิม ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ สืบต้นตระกูลเฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อะหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์
ส่วนนามสกุลบุญยรัตกลิน เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่ปู่เป็นทหารเรือ สังกัดพรรคกลิน
ดังนั้นว่าไปแล้ว พล.อ.สนธิ จึงถือเป็นบุนนาคคนหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับราชสำนักมาเป็นเวลายาวนาน เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
หม่อมบุนนาคหรือนายบุนนาค ผู้สืบวงศ์เฉกอะหมัดลำดับชั้นที่ 6 เข้ารับราชการและเป็นขุนนางที่ได้รับใช้ใกล้ชิดด้วยความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้สมรสกับเจ้าคุณนวล พระกนิษฐภคินี ของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองกับพระองค์ท่าน หม่อมบุนนาครับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมากมาย ทรงโปรด เกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งและตั้งให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม แล้วเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ท่านผู้นี้เป็นต้นสกุล “บุนนาค” นับเป็นชั้นที่ 1
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เสนาบดีในตระกูลบุนนาคคือ เจ้าพระบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีความสำคัญรองลงมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว
ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 5 ตระกูลบุนนาค มีอำนาจและอิทธิพลสูง โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเวลาต่อมา บุตรชายของเขาทั้งสอง เจ้าพระยาสุริยวงศ์ไวยวัฒน์ (วอน บุนนาค) เป็นสมุหกลาโหม เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลัง
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์มิทรงได้แต่งตั้งรัชทายาทไว้ โดยมีพระราชประสงค์ให้บรรดาขุนนางเป็นผู้เลือกผู้รัชทายาทกันเอง เพราะพระองค์เกรงว่า หากวางตัวรัชทายาทไว้ แต่ไม่เป็นที่ยินยอมพร้อมใจของขุนนางในขณะนั้นราชบังลังก์จะไม่ปลอดภัย แต่ทรงแสดงให้เห็นโดยทางอ้อมไว้แล้วว่า พระองค์มีพระราชประสงค์ให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ โดยทรงให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดในการออกว่าราชการแผ่นดิน
และสุดท้ายบรรดาขุนนางก็พร้อมใจกันเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป แต่เนื่องจากพระองค์ ยังทรงพระเยาว์มาก(15 ชันษา) ที่ประชุมจึงเลือก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน การบริหารราชการแผ่นดินในขณะนั้นจึงตกอยู่ในมือของขุนนางโดยเฉพาะตระกูลบุนนาค
ทำให้หวั่นเกรงกันว่า ขุนนางเหล่านั้นจะคิดคบกันโค่นราชบังลังก์ขึ้น
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งถึงสถานะของพระราชบิดาในขณะนั้นว่า “เปรียบเหมือนคนที่ศีรษะขาดแล้ว จับแต่ร่างกายขึ้นตั้งไว้ในที่สมมติกษัตริย์ เหลือที่จะพรรณนาถึงความทุกข์อันต้องกำพร้าในอายุเพียงเท่านั้น และความหนักของมงกุฎอันเหลือที่คอจะทนทานไว้ได้ ทั้งที่ศัตรูซึ่งมุ่งหมายอยู่โดยเปิดเผยทั้งภายในและภายนอก หมายเอาทั้งในกรุงเองและต่างประเทศ”
นอกจากนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังแต่งตั้งวังหน้าขึ้น ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ควรจะเป็นผู้แต่งตั้งหรือไม่ เพราะตำแหน่งนี้ควรเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ต้องแต่งตั้งเอง เพราะถือเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช ทำให้มีการตีความกันไปต่างๆ นานาว่า สมเด็จพระมหาสุริยวงศ์ต้องการริดรอนอำนาจของกษัตริย์ แต่อีกแง่หนึ่งมองว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ทำให้คนเข้าใจเจตนาว่า มิได้ต้องการตั้งตนเป็นกษัตริย์เสียเอง ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่สามารถทำหน้าที่กษัตริย์ได้ เพราะขณะนั้นพระองค์ทรงพระประชวร กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้าก็จะได้ขึ้นครองราชย์แทน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ่งที่กังวลในขณะนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ก็ย่อมพิสูจน์ให้เห็นถึงความจงรักภักดีของตระกูลบุนนาคต่อราชวงศ์ โดยคนในตระกูลบุนนาคนอกจากที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเข้ารับตำแหน่งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5
อาทิเช่น พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม, เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ, พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ แล้วย้ายมาอยู่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตร และยังเคยรักษาการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ, พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นต้น
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ตระกูลบุนนาค นอกจากจะจงรักภักดีต่อราชบังลังก์แล้ว ยังทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างมาก
ล่วงมาสู่ พ.ศ.2550 ทายาทของเฉก อะหมัด ได้กลับขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญของแผ่นดินอีกครั้ง
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช.ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาดเหนือนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้านี้ หลังการล้มระบอบทักษิณ หลายคนมีความเห็นทรงกันว่า การแต่งตั้งตำแหน่ง ผบ.ทบ.ปีนี้น่าจะเป็นการแต่งตั้งที่ง่ายที่สุด เพราะปลอดจากการเมือง ในสถานการณ์ที่กำลังตระหนักกันถึงความมั่นคงของประเทศชาติและราชบัลลังก์และความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ผู้มีอาวุโส อันดับ 2 มองเห็นถึงความเหมาะสมว่า ใครควรขึ้นเป็นตำแหน่ง ผบ.ทบ.คนต่อไป เขาพูดย้ำเสมอว่า “ให้พี่พรั่งเป็นก่อน” ในการให้สัมภาษณ์หลายต่อหลายครั้ง นั่นเป็นการมองเห็นถึงอุปสรรคขวากหนามและศัตรูที่ตระหง่านอยู่เบื้องหน้าที่จะต้องช่วยกันฟันฝ่า
แต่พล.อ.สนธิ กลับทำให้เรื่องง่ายที่สุด กลายเป็นเรื่องยาก เหมือนกับไม่ตระหนักเลยว่า ภัยภยันตรายที่ประเทศชาติและสถาบันหลักของชาติกำลังเผชิญและบรรพบุรุษของท่านเคยร่วมกันพิทักษ์รักษาไว้คืออะไร