พันเอกนที ศุกลรัตน์ คณะกรรมการ บริษัท ทีโอที เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ ทีโอที ดำเนินการจัดซื้อวิธีพิเศษ โครงการขยายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) 167,500 พอร์ต มูลค่า 975 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาการขยายติดตั้ง 10 เดือน ซึ่งบอร์ดมีมติเลือกบริษัท แซดทีอี เป็นผู้รับจ้างดำเนินการ หลังจากที่คณะกรรมการจัดซื้อได้พิจารณาความเหมาะสมแล้ว ซึ่งเหตุผลที่ต้องเลือกใช้วิธีการจัดซื้อพิเศษเนื่องจาก โครงการดังกล่าวได้จัดทำไว้ตั้งแต่ปี 2548 และบริการบรอดแบนด์ ไม่มีเพียงพอต่อการรองรับบริการแก่ประชาชน อีกทั้งโครงการนี้บอร์ด ทีโอที ได้มีมติอนุมัติหลักการลงทุนไว้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
“หากเปิดให้มีการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-อ๊อคชั่น อาจจะทำให้โครงการนี้ล่าช้าออกไปอีก 3-4 เดือน อาจทำให้ทีโอที เสียโอกาสให้บริการได้”
ส่วนสาเหตุที่เลือกแซดทีอีนั้น บอร์ดได้พิจารณาจากข้อมูลที่ฝ่ายบริหารและคณะทำงานได้ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบเป็นอย่างดีแล้ว โดยฝ่ายปฏิบัติการ ทีโอที ได้เปรียบเทียบข้อมูลจากจำนวนการติดตั้งอุปกรณ์บรอดแบนด์ 500 ล้านบาท ระบบไอพี 150 ล้านบาท ระยะข่ายสาย 2,000 กิโลเมตร อีกประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปคณะทำงานจะไปเจรจาต่อรองมูลค่าการจ้างให้มีตัวเลขอยู่ในระดับที่เหมาะสมและนำเสนอต่อบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง
นายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกบอร์ด กล่าวเสริมว่า บอร์ดให้มติรับรองกับคณะกรรมการที่รับผิดชอบไปต่อรองราคาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากราคาไม่เหมาะสมบอร์ดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้อีก และการเลือกแซดทีอีนั้น ได้ดูจากทุกมิติ รวมถึงรายละเอียด เมื่อเทียบจากผู้ผลิตรายอื่นแล้ว
“ไม่ได้ตั้งธง เพื่อใคร แต่ดูเงื่อนไข ความสามารถทางเทคนิค ที่เราได้ดูเทียบจากหลายๆรายแล้ว”
นอกจากนี้ที่ปรชุมยังได้มีมติอนุมัติหลักการจัดหาโดยวิธีพิเศษ งานซื้ออุปกรณ์ ATM ยี่ห้อ ALCATEL จำนวน 35 รายการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ งานซื้ออุปกรณ์ DDN UMUX ยี่ห้อ KEYMILE จำนวน 8 รายการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ งานซื้ออุปกรณ์ ATM ยี่ห้อ ALCATEL จำนวน 35 รายการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ ขออนุมัติยกเลิกและยุติการจัดหางานเช่าวงจร IPLC และอุปกรณ์สำหรับจัดตั้งPOP ของ ทีโอที เส้นทางประเทศไทย- สิงคโปร์ การขออนุมัติเช่าวงจรอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศระดับความเร็ว 620Mbps จำนวน 2 วงจร เส้นทางประเทศไทย –สหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น และ เช่าวงจรระดับความเร็ว 155Mbps จำนวน 1 วงจร เส้นทางประเทศไทย-ทวีปยุโรป
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห้นด้วยกับการจัดซื้อวิธีพิเศษและได้เคยให้นโยบายแก่ทีโอทีแล้ว หากจะใช้ต้องมีความจำเป็นและต้องมีมุลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือ ซื้อเพื่อซ่อมแซมงานแก้ไขอุปกรณ์อย่างเร่งด่วน
นายชิต กล่าววอีกว่า ในวันนี้(8กันยายน) ตนจะขอชี้แจงในรายละเอียดการจ้างแบบวิธีพิเศษต่อ รมว.ไอซีที อีกครั้ง
“หากเปิดให้มีการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-อ๊อคชั่น อาจจะทำให้โครงการนี้ล่าช้าออกไปอีก 3-4 เดือน อาจทำให้ทีโอที เสียโอกาสให้บริการได้”
ส่วนสาเหตุที่เลือกแซดทีอีนั้น บอร์ดได้พิจารณาจากข้อมูลที่ฝ่ายบริหารและคณะทำงานได้ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบเป็นอย่างดีแล้ว โดยฝ่ายปฏิบัติการ ทีโอที ได้เปรียบเทียบข้อมูลจากจำนวนการติดตั้งอุปกรณ์บรอดแบนด์ 500 ล้านบาท ระบบไอพี 150 ล้านบาท ระยะข่ายสาย 2,000 กิโลเมตร อีกประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปคณะทำงานจะไปเจรจาต่อรองมูลค่าการจ้างให้มีตัวเลขอยู่ในระดับที่เหมาะสมและนำเสนอต่อบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง
นายชิต เหล่าวัฒนา โฆษกบอร์ด กล่าวเสริมว่า บอร์ดให้มติรับรองกับคณะกรรมการที่รับผิดชอบไปต่อรองราคาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากราคาไม่เหมาะสมบอร์ดอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้อีก และการเลือกแซดทีอีนั้น ได้ดูจากทุกมิติ รวมถึงรายละเอียด เมื่อเทียบจากผู้ผลิตรายอื่นแล้ว
“ไม่ได้ตั้งธง เพื่อใคร แต่ดูเงื่อนไข ความสามารถทางเทคนิค ที่เราได้ดูเทียบจากหลายๆรายแล้ว”
นอกจากนี้ที่ปรชุมยังได้มีมติอนุมัติหลักการจัดหาโดยวิธีพิเศษ งานซื้ออุปกรณ์ ATM ยี่ห้อ ALCATEL จำนวน 35 รายการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ งานซื้ออุปกรณ์ DDN UMUX ยี่ห้อ KEYMILE จำนวน 8 รายการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ งานซื้ออุปกรณ์ ATM ยี่ห้อ ALCATEL จำนวน 35 รายการ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ ขออนุมัติยกเลิกและยุติการจัดหางานเช่าวงจร IPLC และอุปกรณ์สำหรับจัดตั้งPOP ของ ทีโอที เส้นทางประเทศไทย- สิงคโปร์ การขออนุมัติเช่าวงจรอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศระดับความเร็ว 620Mbps จำนวน 2 วงจร เส้นทางประเทศไทย –สหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น และ เช่าวงจรระดับความเร็ว 155Mbps จำนวน 1 วงจร เส้นทางประเทศไทย-ทวีปยุโรป
นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห้นด้วยกับการจัดซื้อวิธีพิเศษและได้เคยให้นโยบายแก่ทีโอทีแล้ว หากจะใช้ต้องมีความจำเป็นและต้องมีมุลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือ ซื้อเพื่อซ่อมแซมงานแก้ไขอุปกรณ์อย่างเร่งด่วน
นายชิต กล่าววอีกว่า ในวันนี้(8กันยายน) ตนจะขอชี้แจงในรายละเอียดการจ้างแบบวิธีพิเศษต่อ รมว.ไอซีที อีกครั้ง