“อียู” ยันสังเกตการณ์เลือกตั้งไทยต้องทำ MOU แต่พลิ้วเงื่อนไขปรับเปลี่ยนได้ อ้างเป็นโครงการสังเกตการณ์แบบเต็มรูปแบบที่ใช้กับทุกประเทศ แต่ถ้าถูกปฏิเสธก็จะไม่กระทบความสัมพันธ์ บอกเหตุที่สนใจเลือกตั้งไทยเพราะกำลังจะกลับสู่ ปชต. ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง ขณะที่ ประธาน กกต.ย้ำไทยไม่เคยทำ MOU กับใคร ขณะที่ เลขาฯ กกต. ระบุปรับเปลี่ยน MOU อย่างไรก็ยากจะพ้นกรอบเดิม พร้อมตั้งประเด็นพิจารณาจำเป็นต้องเซ็น MOU ผูกตัวเองหรือไม่ มากกว่าจะพิจารณาว่าให้อียูเข้าสังเกตการณ์ เตรียมชงเรื่องเข้าที่ประชุม 11 ก.ย.นี้ ด้าน “สมัคร” โผล่ค้านอียูจุ้นไทย ตอก กกต.ไปคุยกับเขาทำไม
วานนี้ ( 6 ก.ย.) คณะผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งสหภาพยุโรปนำโดย นายฟรีดดริก ฮัมบวร์กเกอร์ (Mr.Friedrich Hamburger) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป หรืออียู ประจำประเทศไทย นายอันโตนีโอ เดอ ฟาเรีย อี มายา ( Mr.Antonio de Faria e Maya) เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ประจำประเทศไทย พร้อมคณะร่วม 6 คน เข้าเยี่ยมคารวะนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และร่วมหารือกับนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. เกี่ยวกับการกรณีจะขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทย
หลังการหารือนานกว่า 2 ชั่วโมง นายอันโตนีโอ เดอ ฟาเรีย อี มายา กล่าวว่า เป็นการเจรจาหารือกันอย่างเปิดอก และได้ชี้แจงถึงข้อกังขา รวมทั้งประเด็นที่มีการเข้าใจผิดกัน ยังไม่ใช่การเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ซึ่งตนเสียใจที่ก่อนหน้านี้ มีข้อมูลที่ผิดพลาดถูกนำเสนอออกไปทางสื่อมวลชน อย่างไรก็ตามการจะให้ อียูมาสังเกตการณ์เลือกตั้งของไทยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของประเทศไทยที่จะตัดสินใจ เราพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอของไทยที่ระบุว่าต้องดูในข้อกฎหมาย รัฐธรรมนูญว่า หากมีการเจรจาและเซ็น MOU จะขัดกับกฎหมายของไทยหรือไม่
“อียูเช้าใจดีที่ กกต.ต้องหารือกับหน่วยงานอื่นก่อน เราจึงต้อรอ แต่การส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสังเกตการณ์เป็นไปตามกฎระเบียบมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ ทั้งยูเอ็น ยูเอสซีอี ที่ต้องทำตามระเบียบให้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาสังเกตการณ์จะมีสิทธิ อำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง ตามกรอบที่วางไว้เบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย โดยการให้คำตอบควรประมาณ 2 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ส่วนผู้เข้าสังเกตการณ์ที่เคยทำมากว่า 60 ประเทศประมาณ 100-150 คน”
ด้าน นายฟรีดดริก ฮัมบวร์กเกอร์ ยืนยันว่า การเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งไทยนั้นไมได้รับอิทธิพลจากใคร แต่อยู่บนเหตุผลและการตัดสินใจของอียูเอง เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยและจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งบันทึกข้อตกลงหรือ MOU ที่เสนอมาเป็นเพียงร่างเบื้องต้น หากรัฐบาลไทยยินดีให้ อียู เข้ามาสังเกตการณ์ ก็ต้องมีการเจรจาตกลงกันและปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับกับกฎหมายไทย แต่หากไม่ให้เข้ามาสังเกตการณ์ก็ยืนยันไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป
“ที่ต้องเซ็น MOU เป็นกฎระเบียบระหว่างประเทศของอียู หากไม่เซ็นก็ไม่สามารถทำงานได้”
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่า ในการเข้าเยี่ยมคารวะประธาน กกต. ทางประธาน กกต.ได้ยืนยันกับอียูว่า ไทยไม่เคยลงนาม MOU ในการตรวจสอบ การเลือกตั้งกับประเทศใดมาก่อน ส่วนในขั้นตอนของการเจรจา ตนก็ได้สอบถามว่าทำไมต้องทำ MOU จำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามา ข้อดีข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในการเข้ามาสังเกตการณ์ รวมถึงแจ้งให้ทราบถึงปัญหาข้อกฎหมายว่า การลงนาม MOU อาจเข้าข่ายเป็นการทำสนธิสัญญาตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 190 ที่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
“การเจรจาในวันนี้ถือว่า วินๆ ได้กันทั้งสองฝ่าย เพราะเขาก็ตั้งใจมาแสดง ให้เห็นว่าไมได้ตั้งใจก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยของไทยและไม่ได้มาโดยได้รับอิทธิพลจากขั้วอำนาจเก่า รวมทั้งถ้าไทยไม่ลงนาม MOU ก็จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป”
นายสุทธิพล กล่าวว่า การเข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งของ อียู ครั้งนี้ อียู ระบุว่าจะเป็นลักษณะที่เรียกว่า Election observation missin หรือ EOM คือโครงการเข้าสังเกตการณ์เลือกตั้งแบบเต็มรูปแบบ ทำแบบครบวงจร ที่จำเป็นต้องมีการลงนาม MOU ซึ่งหลักการนี้จะใช้กับทุกประเทศ โดยการเข้าสังเกตการณ์เต็มรูปแบบนั้นจะคัดเลือกผู้เชียวชาญในประเทศกลุ่มสมาชิก ไปเป็นเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์ประมาณ 100-150 คน ระยะเวลาตรวจสอบตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังเลือกตั้ง ทีมแรกจะเข้ามาเก็บข้อมูลก่อนการเลือกตั้งประมาณ 4-6 สัปดาห์ ก่อนเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ก็จะเข้ามาอีก 1 ชุด โดยลงไปในพื้นที่ต่างๆ แล้วแต่จะสุ่มเลือก ไม่เจาะจงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
“ทางอียูยืนยันว่าหากเป็นโครงการฯสังเกตการณ์เลือกตั้งแบบเต็มรูปแบบ ก็ต้องเซ็น MOU เท่านั้น แต่ถ้าไม่ต้องการทำ MOU จะเชิญในรูปแบบอื่น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไทยต้องเสนอไป อียูบอกว่าให้ไทยตัดสินใจก่อนว่าจะเข้า EOM หรือไม่ ถ้าตัดสินใจเข้า MOU ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะจะมีคณะเจรจามาหารือเพื่อปรับร่าง MOU อีกครั้ง โดยขออย่าให้ไทยตัดสินใจนานมากในการให้คำตอบ”
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ชี้แจงหรือไม่ว่าเหตุใดจึงจัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศล้มเหลว นายสุทธิพลกล่าวว่า อียูได้ชี้แจงว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติกับประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แต่ทางไทยก็ต้องไปตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางอียูได้ระบุถึงข้อดีหากไทยเข้าโครงการ EOM ว่าประเทศไทยจะได้รับการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะถือว่าเป็นประโยชน์กับไทยเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่รายงานจะเป็นข้อเท็จจริง โดยเขายืนยันว่า ผลที่จะรายงานจะไม่เปลี่ยนการเลือกตั้งหรือไม่รับรองการเลือกตั้งของไทย
“ทางอียูบอกว่าที่ต้องการเข้ามา เพราะไทยกำลังปรับเปลี่ยนจากรัฐประหารเป็นประชาธิปไตย สถานการณ์จึงน่าสนใจมากในสายตาของต่างประเทศ อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ แต่เขาก็ยืนยันว่าไม่ได้มาเพราะได้รับการล็อบบี้จากใคร โดยทูตอียูยืนยันว่าเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งเราก็แจ้งให้ทราบว่าทาง กกต. ก็มีโครงการให้ต่างประเทศเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในครั้งนี้ และได้กำหนดจำนวนผู้เข้ามาสังเกตการณ์จากทุกองค์กรว่าไม่น่าจะเกิน 50 คน เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อการทำงาน”
ทั้งนี้เลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่า ทางทีมงานจะสรุปผลการเจรจา ข้อเสนอ และความเห็นขอสำนักงานฯเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กกต. ที่คาดว่าจะเป็นวันอังคารที่ 11 ก.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เราจะคิดคือเราควรลงเอ็มโอยูหรือไม่ เพราะปรับอย่างไรก็ไม่มีวันที่จะพ้นกรอบนี้ จริงอยู่ที่การเลือกตั้งเราต้องการให้มีผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาสังเกตการณ์หรือไม่เพราะข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ต้องคิดคือ เราจำเป็นต้องผูกมัดตัวเองด้วยการลงนามในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำหรือเปล่า แต่หากเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่ต้องไปผูกมัดตัวเองขนาดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องว่าจะให้เขาเข้ามาสังเกตการณ์หรือไม่
นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป(อียู) เข้าหารือกับ กกต.เพื่อขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ว่า ความจริงเรื่องนี้ต้องจบไปได้แล้ว ในเมื่อทุกคนเห็นตรงกันว่าไม่สมควรให้อียูเข้ามา และแม้แต่คนไม่มีความคิดก็ยังเห็นว่าไม่ควรไปลง MOU แล้ววันนี้จะไปประชุมกันอีกทำไม แต่ก็ยังพูดกันอยู่ได้ พูดไปพูดมาอยู่ๆ ก็ไปหาเหตุซัดคนอื่นทั้งๆที่ตัวแทนของอียูเขาก็บอกแล้วว่าไม่เกี่ยวข้อง หากจะให้เข้ามาก็ได้แต่ต้องไม่ลง MOU
ส่วนที่มีกระแสวิจารณ์ว่าเหมือนฝ่ายคุมเลือกตั้งกลัวการตรวจสอบนั้น นายสมัคร กล่าวว่า ถ้าทำหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมาจะไปกลัวทำไม
วานนี้ ( 6 ก.ย.) คณะผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งสหภาพยุโรปนำโดย นายฟรีดดริก ฮัมบวร์กเกอร์ (Mr.Friedrich Hamburger) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป หรืออียู ประจำประเทศไทย นายอันโตนีโอ เดอ ฟาเรีย อี มายา ( Mr.Antonio de Faria e Maya) เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ประจำประเทศไทย พร้อมคณะร่วม 6 คน เข้าเยี่ยมคารวะนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และร่วมหารือกับนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. เกี่ยวกับการกรณีจะขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทย
หลังการหารือนานกว่า 2 ชั่วโมง นายอันโตนีโอ เดอ ฟาเรีย อี มายา กล่าวว่า เป็นการเจรจาหารือกันอย่างเปิดอก และได้ชี้แจงถึงข้อกังขา รวมทั้งประเด็นที่มีการเข้าใจผิดกัน ยังไม่ใช่การเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ซึ่งตนเสียใจที่ก่อนหน้านี้ มีข้อมูลที่ผิดพลาดถูกนำเสนอออกไปทางสื่อมวลชน อย่างไรก็ตามการจะให้ อียูมาสังเกตการณ์เลือกตั้งของไทยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของประเทศไทยที่จะตัดสินใจ เราพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอของไทยที่ระบุว่าต้องดูในข้อกฎหมาย รัฐธรรมนูญว่า หากมีการเจรจาและเซ็น MOU จะขัดกับกฎหมายของไทยหรือไม่
“อียูเช้าใจดีที่ กกต.ต้องหารือกับหน่วยงานอื่นก่อน เราจึงต้อรอ แต่การส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสังเกตการณ์เป็นไปตามกฎระเบียบมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ ทั้งยูเอ็น ยูเอสซีอี ที่ต้องทำตามระเบียบให้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาสังเกตการณ์จะมีสิทธิ อำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง ตามกรอบที่วางไว้เบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย โดยการให้คำตอบควรประมาณ 2 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ส่วนผู้เข้าสังเกตการณ์ที่เคยทำมากว่า 60 ประเทศประมาณ 100-150 คน”
ด้าน นายฟรีดดริก ฮัมบวร์กเกอร์ ยืนยันว่า การเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งไทยนั้นไมได้รับอิทธิพลจากใคร แต่อยู่บนเหตุผลและการตัดสินใจของอียูเอง เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยและจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งบันทึกข้อตกลงหรือ MOU ที่เสนอมาเป็นเพียงร่างเบื้องต้น หากรัฐบาลไทยยินดีให้ อียู เข้ามาสังเกตการณ์ ก็ต้องมีการเจรจาตกลงกันและปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับกับกฎหมายไทย แต่หากไม่ให้เข้ามาสังเกตการณ์ก็ยืนยันไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป
“ที่ต้องเซ็น MOU เป็นกฎระเบียบระหว่างประเทศของอียู หากไม่เซ็นก็ไม่สามารถทำงานได้”
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่า ในการเข้าเยี่ยมคารวะประธาน กกต. ทางประธาน กกต.ได้ยืนยันกับอียูว่า ไทยไม่เคยลงนาม MOU ในการตรวจสอบ การเลือกตั้งกับประเทศใดมาก่อน ส่วนในขั้นตอนของการเจรจา ตนก็ได้สอบถามว่าทำไมต้องทำ MOU จำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามา ข้อดีข้อเสีย ค่าใช้จ่ายในการเข้ามาสังเกตการณ์ รวมถึงแจ้งให้ทราบถึงปัญหาข้อกฎหมายว่า การลงนาม MOU อาจเข้าข่ายเป็นการทำสนธิสัญญาตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 190 ที่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
“การเจรจาในวันนี้ถือว่า วินๆ ได้กันทั้งสองฝ่าย เพราะเขาก็ตั้งใจมาแสดง ให้เห็นว่าไมได้ตั้งใจก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยของไทยและไม่ได้มาโดยได้รับอิทธิพลจากขั้วอำนาจเก่า รวมทั้งถ้าไทยไม่ลงนาม MOU ก็จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป”
นายสุทธิพล กล่าวว่า การเข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งของ อียู ครั้งนี้ อียู ระบุว่าจะเป็นลักษณะที่เรียกว่า Election observation missin หรือ EOM คือโครงการเข้าสังเกตการณ์เลือกตั้งแบบเต็มรูปแบบ ทำแบบครบวงจร ที่จำเป็นต้องมีการลงนาม MOU ซึ่งหลักการนี้จะใช้กับทุกประเทศ โดยการเข้าสังเกตการณ์เต็มรูปแบบนั้นจะคัดเลือกผู้เชียวชาญในประเทศกลุ่มสมาชิก ไปเป็นเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์ประมาณ 100-150 คน ระยะเวลาตรวจสอบตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังเลือกตั้ง ทีมแรกจะเข้ามาเก็บข้อมูลก่อนการเลือกตั้งประมาณ 4-6 สัปดาห์ ก่อนเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ก็จะเข้ามาอีก 1 ชุด โดยลงไปในพื้นที่ต่างๆ แล้วแต่จะสุ่มเลือก ไม่เจาะจงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
“ทางอียูยืนยันว่าหากเป็นโครงการฯสังเกตการณ์เลือกตั้งแบบเต็มรูปแบบ ก็ต้องเซ็น MOU เท่านั้น แต่ถ้าไม่ต้องการทำ MOU จะเชิญในรูปแบบอื่น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไทยต้องเสนอไป อียูบอกว่าให้ไทยตัดสินใจก่อนว่าจะเข้า EOM หรือไม่ ถ้าตัดสินใจเข้า MOU ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะจะมีคณะเจรจามาหารือเพื่อปรับร่าง MOU อีกครั้ง โดยขออย่าให้ไทยตัดสินใจนานมากในการให้คำตอบ”
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ชี้แจงหรือไม่ว่าเหตุใดจึงจัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศล้มเหลว นายสุทธิพลกล่าวว่า อียูได้ชี้แจงว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติกับประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แต่ทางไทยก็ต้องไปตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางอียูได้ระบุถึงข้อดีหากไทยเข้าโครงการ EOM ว่าประเทศไทยจะได้รับการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะถือว่าเป็นประโยชน์กับไทยเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่รายงานจะเป็นข้อเท็จจริง โดยเขายืนยันว่า ผลที่จะรายงานจะไม่เปลี่ยนการเลือกตั้งหรือไม่รับรองการเลือกตั้งของไทย
“ทางอียูบอกว่าที่ต้องการเข้ามา เพราะไทยกำลังปรับเปลี่ยนจากรัฐประหารเป็นประชาธิปไตย สถานการณ์จึงน่าสนใจมากในสายตาของต่างประเทศ อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ แต่เขาก็ยืนยันว่าไม่ได้มาเพราะได้รับการล็อบบี้จากใคร โดยทูตอียูยืนยันว่าเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งเราก็แจ้งให้ทราบว่าทาง กกต. ก็มีโครงการให้ต่างประเทศเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในครั้งนี้ และได้กำหนดจำนวนผู้เข้ามาสังเกตการณ์จากทุกองค์กรว่าไม่น่าจะเกิน 50 คน เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อการทำงาน”
ทั้งนี้เลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่า ทางทีมงานจะสรุปผลการเจรจา ข้อเสนอ และความเห็นขอสำนักงานฯเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กกต. ที่คาดว่าจะเป็นวันอังคารที่ 11 ก.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เราจะคิดคือเราควรลงเอ็มโอยูหรือไม่ เพราะปรับอย่างไรก็ไม่มีวันที่จะพ้นกรอบนี้ จริงอยู่ที่การเลือกตั้งเราต้องการให้มีผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาสังเกตการณ์หรือไม่เพราะข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ต้องคิดคือ เราจำเป็นต้องผูกมัดตัวเองด้วยการลงนามในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำหรือเปล่า แต่หากเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่ต้องไปผูกมัดตัวเองขนาดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องว่าจะให้เขาเข้ามาสังเกตการณ์หรือไม่
นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป(อียู) เข้าหารือกับ กกต.เพื่อขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ว่า ความจริงเรื่องนี้ต้องจบไปได้แล้ว ในเมื่อทุกคนเห็นตรงกันว่าไม่สมควรให้อียูเข้ามา และแม้แต่คนไม่มีความคิดก็ยังเห็นว่าไม่ควรไปลง MOU แล้ววันนี้จะไปประชุมกันอีกทำไม แต่ก็ยังพูดกันอยู่ได้ พูดไปพูดมาอยู่ๆ ก็ไปหาเหตุซัดคนอื่นทั้งๆที่ตัวแทนของอียูเขาก็บอกแล้วว่าไม่เกี่ยวข้อง หากจะให้เข้ามาก็ได้แต่ต้องไม่ลง MOU
ส่วนที่มีกระแสวิจารณ์ว่าเหมือนฝ่ายคุมเลือกตั้งกลัวการตรวจสอบนั้น นายสมัคร กล่าวว่า ถ้าทำหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมาจะไปกลัวทำไม