นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าขณะนี้การจับกลุ่มการเมืองเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะความชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างไร ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี จะได้ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน จะทำให้ทั้งต่างชาติรวมทั้งคนไทยมั่นใจว่าจะมีความมั่นคงมากขึ้น และวันที่ 23 ธ.ค. ก็ถือว่าเหมาะสมสำหรับการเลือกตั้ง เพราะมีเวลาอีกประมาณ 4 เดือน
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงข้อสังเกตของนายยุวรัตน์ กมลเวชช ประธานอนุกรรมาธิการพิจารณา พ.ร.บ.เลือกตั้ง ที่ว่าการที่กกต.ประกาศรับสมัครส.ส.ในวันที่ 11 ก.ย. อาจจะขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มีบทเฉพาะกาลให้ผู้สมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคไม่ต่ำกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ว่า คงเป็นเรื่องที่ต้องหาทางออกตามกฎหมายลูก ซึ่ง กกต.คงมีแนวทางชัดเจน อย่างไรก็ตามเห็นว่าหากปล่อยให้มีการย้ายพรรคหลังรับสมัคร ก็อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายได้ อย่างไรก็ตามในวันที่ 10-11 ก.ย. ที่กกต.จะเชิญพรรคการเมืองไปหารือ คงได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องของการซื้อส.ส .ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ตอนนี้
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณี พรรคสันติภาพไทย เข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน ว่า ไม่แปลกใจอะไร เพราะนายพิเชษฐ สถิรชวาล เองก็ไม่เคยแยกจากกลุ่มไทยรักไทย อยู่แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยืนยันแนวทางการทำงานอย่างชัดเจนไว้แล้วว่า จะยึดตามนโยบาย และดูจากกลุ่มคนที่เคยร่วมงานกันก่อนหน้านี้ ซึ่งในส่วนของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน ก็จะมีการหารือกันเรื่อยๆโดยคาดว่า พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน จะเป็นคนติดต่อมา
ส่วนปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าทั้งหมดมีความเข้าใจตรงกันแล้ว และแต่ละคนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง คงไม่เอาเรื่องเล็กๆน้อยๆนี้มาเป็นปัญหา
**ดึง"ไกรศักดิ์"หัวหอกบุกอีสาน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทาบทามนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว.นครราชสีมา ให้เข้ามาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ว่า ได้มีการเชิญกลุ่มการเมืองของนายไกรศักดิ์ มาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์จริง เพราะเห็นว่ามีแนวทางการเมืองที่ตรงกัน นายไกรศักดิ์ และสมาชิกจะเข้ามาเป็นสมาชิก และนักการเมืองของพรรค โดยเบื้องต้นนายไกรศักดิ์ จะเป็นแกนกลางในการสร้างผู้นำทางการเมืองรุ่นใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้กับพรรค ตามแนวทางของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ที่ต้องการให้การเมืองภาคอีสาน ดำเนินการโดยคนอีสาน และมุ่งประโยชน์ต่อคนอีสานโดยตรง
ทั้งนี้ การมาร่วมงานของนายไกรศักดิ์ และกลุ่มฯ จะทำให้การเมืองภาคอีสานมีสีสันมากขึ้น เพราะสมาชิกกลุ่มของนายไกรศักดิ์ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด และนอกจากกลุ่มของนายไกรศักด์แล้ว ยังมีนักการเมืองอีกหลายคน ที่ไม่อยู่ในกลุ่มของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาร่วมงานกับพรรค
สำหรับนักการเมืองในกลุ่มของนายไกรศักดิ์ อาทิ นายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีต ส.ว. นครราชสีมา นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีต ส.ว.อุบลราชธานี พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ อดีต ส.ว.นครวรรค์ นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีต ส.ว. สกลนคร เป็นต้น
ส่วนกรณีความเหมาะสมที่ นายไกรศักดิ์ ทำหน้าที่กรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินประชาชน (คตน.) นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า คนที่มีส่วนในการติดตามการดำเนินนโยบายของอดีตรัฐบาล ควรมีส่วนเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งการไต่สวนของ คตน.ไม่ใช่การทำสำนวนแบบตำรวจ หรืออัยการ แต่เป็นการประมวลข้อเท็จจริง เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความเสียหายเกิดขึ้นจากอะไร ดังนั้น การที่นายไกรศักดิ์ จะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง จึงไม่ทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหายไป
ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะที่มีการดำเนินนโยบายเอาชนะยาเสพติดจนเกิดกรณีฆ่าตัดตอน นายไกรศักด์ เป็นคนหนึ่งในไม่กี่คนที่กล้าออกมาพูดในเรื่องนี้ ดังนั้น นายไกรศักดิ์ คงมีข้อมูลที่เป็ประโยชน์
**จี้สนช.เขียนกม.ลูกให้ชัดเจน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ทางสภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาอยู่นั้น เท่าที่พรรคได้ติดตามพบว่า ยังมีหลายประเด็นที่ยังเป็นนามธรรม ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ โดยเฉพาะพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ส.ส. -ส.ว. และพรรคการเมือง
"ผมขอเรียกร้องให้ สนช.ที่มีหน้าที่พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว บัญญัติข้อกฎหมายโดยไม่ต้องให้มีการตีความกันอีกและต้องกำหนดข้อกฎหมายให้ปฎิบัติได้ และเป็นรูปธรรมชัดเจน ในส่วนของพรรคได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาเป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งถ้าหากมีประเด็นใดที่เห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขก็จะมีข้อเสนอไปยังสนช. เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป" นายองอาจกล่าว
**พปช.แตกเป็น3 ก๊ก
รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชน แจ้งว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชนมีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มอดีตส.ส.ภาคอีสานที่ไม่พอใจการเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนของ นายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากทำให้กลุ่มอีสาน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพรรคน้อยมาก 2. กลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งสนับสนุนนายสมัคร และคอยล็อบบี้การทำงานต่างๆ ของพรรค เช่น การเลือกกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ผ่านมา และ 3. กลุ่มของนายสมัครเอง ที่ทำหน้าที่ในการประสาน ดึงกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้ามาร่วมงาน เช่น กลุ่มของนายพิเชษฐ สถิรชวาล ที่ปรึกษาพรรคสันติภาพไทย ทั้งนี้ มีการวางแผนให้นายสมัคร อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพียงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6 เดือน โดยให้ผ่านการเลือกตั้งไปก่อน แล้วจึงมีการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งนายสมัครเองก็รู้ตัว เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้พรรคต้องการคนที่สามารถเดินหน้าชนกับฝ่ายยึดอำนาจได้
สำหรับในส่วนของนายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ที่ออกไปตั้งกลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน มีการวิเคราะห์ว่า เป็นกลุ่มที่มี คมช. อยู่เบื้องหลัง ซึ่งได้สั่งการให้ นายวิรรธนไชย ดึงตัวอดีต ส.ส.อีสานของพรรคพลังประชาชนเข้าไปร่วมงาน โดยเสนอเงินให้อดีต ส.ส.อีสาน ที่เข้าร่วมงานกับกลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสานถึงคนละ 30 ล้านบาท โดยจะจ่ายให้ก่อนในงวดแรก 6 แสนบาท เพื่อตัดคะแนน อดีต ส.ส.อีสานของพรรคพลังประชาชน
**ยื่นตั้งพรรคชาติพัฒนาอีกรอบวันนี้
นายประทีป กรีฑาเวช สมาชิกกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ทางการเมือง เปิดเผยว่า เช้าวันนี้ (3 ก.ย. ) ตนพร้อมด้วยคณะทำงานจะไปยื่นขอจดตั้งพรรคชาติพัฒนา ต่อ กกต. ส่วนก่อนหน้านี้ที่นายปิยะวัช ลิมปะพันธ์ บุตรชาย ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธ์ อดีตรมว.ต่างประเทศ และแกนนำกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ฯ ได้ไปยื่นขอถอนการจดตั้งพรรคชาติพัฒนานั้น ไม่น่ามีปัญหาทางกฎหมาย เนื่องจากหลักฐานไม่ครบถ้วน ส่วนการไปยื่นขอจดตั้งพรรคครั้งนี้ ตนจะทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคชั่วคราวเพราะมีอาวุโสสูงสุด โดยมี นายปิยะวัช เป็นรองหัวหน้าพรรค จากนั้นคงจะมีการประชุมใหญ่คณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การยื่นจดตั้งพรรคครั้งนี้ไม่ได้ปรึกษากับ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ฯก่อน แต่เมื่อจดตั้งพรรคเสร็จแล้วจะแจ้งให้นายสุวัจน์ทราบ ซึ่งนายสุวัจน์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องครั้งนี้ เพราะถูกเพิกถอนสิทธิ์การเมือง 5 ปี
นายประทีป กล่าวว่า นโยบายของพรรคชาติพัฒนา หากนโยบายใดดีก็ควรจะนำมาใช้และจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอีก เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน หากหมู่บ้านใดรักษาเงินที่นำไปใช้จ่ายได้ดี ปีหน้าอาจเพิ่มให้อีก นอกจากนี้ ยังจะดูแลเรื่องระบบชลประทานให้ครบถ้วนทุกหมู่บ้าน
ส่วนความเคลื่อนไหวในการรวมกับกลุ่มการเมืองอื่นนั้น นายประทีป กล่าวว่า กลุ่มของเราคงยังจะไม่สมานฉันท์กับใคร ส่วนการหารือกับกลุ่มการเมืองอื่น คาดว่าผู้ใหญ่ในกลุ่มคงจะไปหารือกับกลุ่มการเมืองอื่นไว้บ้างแล้ว เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่ไปหารือกัน ตนเป็นผู้น้อยคอยอยู่ข้างหลัง ไม่ว่าความเห็นออกมาอย่างไร เราก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม แต่โดยความเห็นส่วนตัวมองว่า เราจะตั้งเป็นพรรคการเมืองวันข้างหน้าก็ไม่ควรที่จะยกไปรวมกับกลุ่มอื่น แต่ควรให้กลุ่มอื่นเข้ามาร่วมมากกว่า นอกจากนี้อีก 2-3วันข้างหน้า นายสุวัจน์ ได้นัดประชุมสมาชิกกลุ่ม เพื่อหารือถึงอนาคตทางการเมืองด้วย
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงข้อสังเกตของนายยุวรัตน์ กมลเวชช ประธานอนุกรรมาธิการพิจารณา พ.ร.บ.เลือกตั้ง ที่ว่าการที่กกต.ประกาศรับสมัครส.ส.ในวันที่ 11 ก.ย. อาจจะขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มีบทเฉพาะกาลให้ผู้สมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคไม่ต่ำกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ว่า คงเป็นเรื่องที่ต้องหาทางออกตามกฎหมายลูก ซึ่ง กกต.คงมีแนวทางชัดเจน อย่างไรก็ตามเห็นว่าหากปล่อยให้มีการย้ายพรรคหลังรับสมัคร ก็อาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายได้ อย่างไรก็ตามในวันที่ 10-11 ก.ย. ที่กกต.จะเชิญพรรคการเมืองไปหารือ คงได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องของการซื้อส.ส .ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ตอนนี้
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณี พรรคสันติภาพไทย เข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน ว่า ไม่แปลกใจอะไร เพราะนายพิเชษฐ สถิรชวาล เองก็ไม่เคยแยกจากกลุ่มไทยรักไทย อยู่แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยืนยันแนวทางการทำงานอย่างชัดเจนไว้แล้วว่า จะยึดตามนโยบาย และดูจากกลุ่มคนที่เคยร่วมงานกันก่อนหน้านี้ ซึ่งในส่วนของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน ก็จะมีการหารือกันเรื่อยๆโดยคาดว่า พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ หัวหน้าพรรคมหาชน จะเป็นคนติดต่อมา
ส่วนปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าทั้งหมดมีความเข้าใจตรงกันแล้ว และแต่ละคนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง คงไม่เอาเรื่องเล็กๆน้อยๆนี้มาเป็นปัญหา
**ดึง"ไกรศักดิ์"หัวหอกบุกอีสาน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทาบทามนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว.นครราชสีมา ให้เข้ามาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ว่า ได้มีการเชิญกลุ่มการเมืองของนายไกรศักดิ์ มาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์จริง เพราะเห็นว่ามีแนวทางการเมืองที่ตรงกัน นายไกรศักดิ์ และสมาชิกจะเข้ามาเป็นสมาชิก และนักการเมืองของพรรค โดยเบื้องต้นนายไกรศักดิ์ จะเป็นแกนกลางในการสร้างผู้นำทางการเมืองรุ่นใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้กับพรรค ตามแนวทางของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ที่ต้องการให้การเมืองภาคอีสาน ดำเนินการโดยคนอีสาน และมุ่งประโยชน์ต่อคนอีสานโดยตรง
ทั้งนี้ การมาร่วมงานของนายไกรศักดิ์ และกลุ่มฯ จะทำให้การเมืองภาคอีสานมีสีสันมากขึ้น เพราะสมาชิกกลุ่มของนายไกรศักดิ์ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด และนอกจากกลุ่มของนายไกรศักด์แล้ว ยังมีนักการเมืองอีกหลายคน ที่ไม่อยู่ในกลุ่มของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาร่วมงานกับพรรค
สำหรับนักการเมืองในกลุ่มของนายไกรศักดิ์ อาทิ นายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีต ส.ว. นครราชสีมา นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีต ส.ว.อุบลราชธานี พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ อดีต ส.ว.นครวรรค์ นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีต ส.ว. สกลนคร เป็นต้น
ส่วนกรณีความเหมาะสมที่ นายไกรศักดิ์ ทำหน้าที่กรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินประชาชน (คตน.) นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า คนที่มีส่วนในการติดตามการดำเนินนโยบายของอดีตรัฐบาล ควรมีส่วนเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งการไต่สวนของ คตน.ไม่ใช่การทำสำนวนแบบตำรวจ หรืออัยการ แต่เป็นการประมวลข้อเท็จจริง เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความเสียหายเกิดขึ้นจากอะไร ดังนั้น การที่นายไกรศักดิ์ จะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง จึงไม่ทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหายไป
ด้านนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะที่มีการดำเนินนโยบายเอาชนะยาเสพติดจนเกิดกรณีฆ่าตัดตอน นายไกรศักด์ เป็นคนหนึ่งในไม่กี่คนที่กล้าออกมาพูดในเรื่องนี้ ดังนั้น นายไกรศักดิ์ คงมีข้อมูลที่เป็ประโยชน์
**จี้สนช.เขียนกม.ลูกให้ชัดเจน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ทางสภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาอยู่นั้น เท่าที่พรรคได้ติดตามพบว่า ยังมีหลายประเด็นที่ยังเป็นนามธรรม ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ โดยเฉพาะพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ส.ส. -ส.ว. และพรรคการเมือง
"ผมขอเรียกร้องให้ สนช.ที่มีหน้าที่พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว บัญญัติข้อกฎหมายโดยไม่ต้องให้มีการตีความกันอีกและต้องกำหนดข้อกฎหมายให้ปฎิบัติได้ และเป็นรูปธรรมชัดเจน ในส่วนของพรรคได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาเป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งถ้าหากมีประเด็นใดที่เห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขก็จะมีข้อเสนอไปยังสนช. เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป" นายองอาจกล่าว
**พปช.แตกเป็น3 ก๊ก
รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชน แจ้งว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชนมีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มอดีตส.ส.ภาคอีสานที่ไม่พอใจการเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนของ นายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากทำให้กลุ่มอีสาน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพรรคน้อยมาก 2. กลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งสนับสนุนนายสมัคร และคอยล็อบบี้การทำงานต่างๆ ของพรรค เช่น การเลือกกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ผ่านมา และ 3. กลุ่มของนายสมัครเอง ที่ทำหน้าที่ในการประสาน ดึงกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้ามาร่วมงาน เช่น กลุ่มของนายพิเชษฐ สถิรชวาล ที่ปรึกษาพรรคสันติภาพไทย ทั้งนี้ มีการวางแผนให้นายสมัคร อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพียงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6 เดือน โดยให้ผ่านการเลือกตั้งไปก่อน แล้วจึงมีการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งนายสมัครเองก็รู้ตัว เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้พรรคต้องการคนที่สามารถเดินหน้าชนกับฝ่ายยึดอำนาจได้
สำหรับในส่วนของนายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ที่ออกไปตั้งกลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน มีการวิเคราะห์ว่า เป็นกลุ่มที่มี คมช. อยู่เบื้องหลัง ซึ่งได้สั่งการให้ นายวิรรธนไชย ดึงตัวอดีต ส.ส.อีสานของพรรคพลังประชาชนเข้าไปร่วมงาน โดยเสนอเงินให้อดีต ส.ส.อีสาน ที่เข้าร่วมงานกับกลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสานถึงคนละ 30 ล้านบาท โดยจะจ่ายให้ก่อนในงวดแรก 6 แสนบาท เพื่อตัดคะแนน อดีต ส.ส.อีสานของพรรคพลังประชาชน
**ยื่นตั้งพรรคชาติพัฒนาอีกรอบวันนี้
นายประทีป กรีฑาเวช สมาชิกกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ทางการเมือง เปิดเผยว่า เช้าวันนี้ (3 ก.ย. ) ตนพร้อมด้วยคณะทำงานจะไปยื่นขอจดตั้งพรรคชาติพัฒนา ต่อ กกต. ส่วนก่อนหน้านี้ที่นายปิยะวัช ลิมปะพันธ์ บุตรชาย ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธ์ อดีตรมว.ต่างประเทศ และแกนนำกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ฯ ได้ไปยื่นขอถอนการจดตั้งพรรคชาติพัฒนานั้น ไม่น่ามีปัญหาทางกฎหมาย เนื่องจากหลักฐานไม่ครบถ้วน ส่วนการไปยื่นขอจดตั้งพรรคครั้งนี้ ตนจะทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคชั่วคราวเพราะมีอาวุโสสูงสุด โดยมี นายปิยะวัช เป็นรองหัวหน้าพรรค จากนั้นคงจะมีการประชุมใหญ่คณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การยื่นจดตั้งพรรคครั้งนี้ไม่ได้ปรึกษากับ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำกลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ฯก่อน แต่เมื่อจดตั้งพรรคเสร็จแล้วจะแจ้งให้นายสุวัจน์ทราบ ซึ่งนายสุวัจน์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องครั้งนี้ เพราะถูกเพิกถอนสิทธิ์การเมือง 5 ปี
นายประทีป กล่าวว่า นโยบายของพรรคชาติพัฒนา หากนโยบายใดดีก็ควรจะนำมาใช้และจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอีก เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน หากหมู่บ้านใดรักษาเงินที่นำไปใช้จ่ายได้ดี ปีหน้าอาจเพิ่มให้อีก นอกจากนี้ ยังจะดูแลเรื่องระบบชลประทานให้ครบถ้วนทุกหมู่บ้าน
ส่วนความเคลื่อนไหวในการรวมกับกลุ่มการเมืองอื่นนั้น นายประทีป กล่าวว่า กลุ่มของเราคงยังจะไม่สมานฉันท์กับใคร ส่วนการหารือกับกลุ่มการเมืองอื่น คาดว่าผู้ใหญ่ในกลุ่มคงจะไปหารือกับกลุ่มการเมืองอื่นไว้บ้างแล้ว เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่ไปหารือกัน ตนเป็นผู้น้อยคอยอยู่ข้างหลัง ไม่ว่าความเห็นออกมาอย่างไร เราก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม แต่โดยความเห็นส่วนตัวมองว่า เราจะตั้งเป็นพรรคการเมืองวันข้างหน้าก็ไม่ควรที่จะยกไปรวมกับกลุ่มอื่น แต่ควรให้กลุ่มอื่นเข้ามาร่วมมากกว่า นอกจากนี้อีก 2-3วันข้างหน้า นายสุวัจน์ ได้นัดประชุมสมาชิกกลุ่ม เพื่อหารือถึงอนาคตทางการเมืองด้วย