กกต.ยันให้องค์กรต่างชาติเข้ามาแค่สังเกตการณ์ กรณีอียู รอผลหารือกับประธาน กกต. 6 ก.ย.นี้ ขณะที่ประธานอียู อ้างเป็นความเข้าใจผิด แค่ขอสังเกตการณ์แต่ที่ต้องทำ MOU เพื่อเป็นเงื่อนไขพื้นฐานในการปฏิบัติงาน ด้านขุนทหาร ทั้ง“ชลิต-สถิรพันธ์-อนุพงษ์” ค้านเซ็น MOU ู ซัดไม่ให้เกียรติจ้องจับผิดไทย ลั่นเป็นเรื่องในประเทศใครแทรกแซงไม่ได้ ส่วน “สมุนแม้ว” ปัดพัลวันไม่เกี่ยวลูกพี่ ด้านอนุ กมธ.ร่างกม.พรรคการเมือง เข้มเพิ่มบทลงโทษยุบพรรค เพิกถอนสิทธิ กก.บริหารพรรคที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตาม รธน. พร้อมห้ามพรรคการเมืองซื้อตัว ส.ส. และไม่ให้ ส.ส.เรียกรับผลประโยชน์จากพรรค
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วานนี้ (30 ส.ค.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ได้ประชุมร่วมกับ นางแคทเธอรีน บารนส์ เจ้าหน้าที่จาก สมาคมระหว่างประเทศเพื่อระบบการเลือกตั้ง (International Foundation for Election Systems)หรือ IFES โดย IFES ให้ความสนใจถามถึงความคืบหน้า ในการพิจารณากฎหมายลูกรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ และวงเงินในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งเสนอให้ กกต.เชิญทุกพรรคการเมืองมาลงนามในประมวลจริยธรรมว่าจะไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
นายสุทธิพลได้ให้สัมภาษณ์ถึงการลงนามร่วมกันกับพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้มีการทุจริตเลือกตั้งว่า ลักษณะดังกล่าวเป็น ประมวลความประพฤติ เป็นเหมือนสัญญาสุภาพบุรุษที่พรรคการเมืองมาร่วมร่าง มี กกต. เป็นคนกลาง ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ซึ่งในหลายประเทศก็ทำแต่ไม่สามารถพูดได้ว่า วิธีนี้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องถามพรรคการเมืองว่าหากจะทำเห็นว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ หากเขาไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ทำไม่ได้ แต่การซื้อเสียง แก้ด้วยกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องแก้ระยะยาวต้องให้ประชาชนละอายที่จะรับเงิน
นายสุทธิพล ยังกล่าวถึงการสังเกตการณ์ของ IFES ว่าต่างจากของสหภาพยุโรป หรืออียู เพราะเขามาในลักษณะขอข้อมูลไม่ได้มาตั้งป้อม ซึ่งเราก็คงไม่เอาลักษณะการเข้ามาของ IFES ไปเสนอให้กับ อียูเพื่อเปลี่ยนหลักการ เพราะโดยหลักการ กกต. พร้อมที่จะเปิดให้ทุกประเทศเข้ามาสงเกตุการณ์การเลือกตั้งเนื่องจากเห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งในการทำงานและภาพลักษณ์ แต่หากจะเข้ามาแล้วทำเงื่อนไขผูกมัดเหมือนที่ อียู ขอเข้ามา มันก็เกินหลักกติกาสากล ตอนนี้ อียูประสานมาทางกระทรวงต่างประเทศ กับ กกต. ซึ่งคิดว่าจากความสนใจของสื่อจะทำให้ อียูระมัดระวัง และการเข้ามาก็ต้องให้เกียรติกัน
“ขณะนี้ยังไม่มีฟีดแบ็กกลับมาจากฝ่ายอียู และคาดว่าคงมีการคุยกันในวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งน่าจะชัดเจน อย่างไรก็ตามที่เราไม่เซ็น MOU เราก็คำนึงถึงหลายๆ เรื่อง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเราก็คำนึงเช่นกัน เราไม่ได้ปิดกั้นแต่กังวลว่า การเซ็นจะเป็นการไปผูกมัด”
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้งอาจจะเป็นช่องว่างให้ นักการเมืองกระทำผิดกฎหมายได้หรือไม่ นายสุทธิพลกล่าวว่า ขณะนี้ กฎหมาย กกต. และพรรคการเมืองเดิม ยังใช้อยู่และความชัดจนเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งก็ยังไม่มี คิดว่าพรรคการเมืองก็คงหาเสียงได้ระดับหนึ่งการจะไปแจกเงินแจกทองล่วงหน้า ก็ต้องคำนึงว่า เมื่อใกล้วันจะต้องไปแจกเพิ่ม เพื่อให้ประชาชนจำได้หรือไม่ เรื่องนี้ทางนักการเมืองคงคำนึงเช่นกัน ซึ่งตนไม่ห่วงช่วงนี้แต่จะไปห่วงช่วงใกล้ๆ เลือกตั้งมากกว่า
“อียู”อ้างไม่ได้คิดแทรกแซงไทย
นายอันตอนิอู ดือ ฟาเรีย อี มายญา (HE.MR.ANTO’NIO DE FARIA E MAYA) เอกอัคราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย แถลงถึงกรณีที่มีข่าว สหภาพยุโรป (อียู) จะส่งคณะผู้สังเกตการณ์เข้ามาดูการเลือกตั้งในไทยปลายปีนี้ว่า ในฐานะที่โปรตุเกสเป็นประธานอียูขอชี้แจงว่า เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารเรื่องดังกล่าวหลายประการ เพราะการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งดังกล่าว ถือเป็นส่วนสำคัญของนโยบายอียูด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะประเทศที่กำลังจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นเรื่องปกติที่อียูจะเสนอตัวเข้ามาสังเกตการณ์ในไทย โดยที่จะไม่ทำการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ในกระบวนการเลือกตั้งหรืออำนาจอธิปไตย อีกทั้งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือแก้ไขสถานการณ์
“คณะผู้สังเกตการณ์จะมีหน้าที่เพียงเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ผล ซึ่งการกระทำดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้คำเชิญ หรือความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศนั้น ๆ และหากมีการตกลงก็มีความจำเป็นต้องลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU (Memorandum of Understanding) เพื่อกำหนดเงื่อนไขพื้นฐานในการปฏิบัติงาน ซึ่ง MOU ดังกล่าวเป็นคนละประเภทที่ลงนามกับกัมพูชา อย่างไรก็ตาม อียูจะเคารพการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ โดยไม่บีบบังคับหากไทยไม่ต้องการ ลงนาม ทั้งนี้ ยืนยันว่าการตัดสินใจของไทยจะไม่กระทบกับความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างอียูและไทย”
เอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย กล่าวด้วยว่า อียูยังไม่ได้รับการตอบรับเรื่องการลงนาม MOU อย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทย ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาได้ เพราะอยู่ในขั้นการเจรจา ส่วนข่าวการลงนามที่รั่วออกมานั้น ไม่ขอโทษว่าเป็นความผิดของใคร แต่เห็นว่าเป็นความเข้าใจผิดในการสื่อสาร
ปชป.ดึงอียูเป็นกระบอกเสียงในเวทีโลก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่อียู ขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งโดยจะให้ทำ MOU ว่า เ ในการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และดูเนื้อหาของMOUว่า การเข้ามาดูการเลือกตั้งของเราอยู่ภายใต้กฎหมายของ 2 ประเทศหรือไม่ และต้องทำความเข้าใจ เรื่องการลงนามใน MOU เพราะหากอยู่ภายใต้ กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศ คงไม่เหมาะสม เพราะเราก็มีเอกราช มีประชาธิปไตย และมีกฎหมายของเราเองในเรื่องการกำกับดูแลการเลือกตั้ง อย่างน้อยก็มีกฎหมายลูก ที่กำลังพิจารณาอยู่
“หากจะเข้ามาสังเกตการณ์เฉยๆ เราไม่จำเป็นต้องปฏิเสธ หากอียูพบอะไรที่ไม่ถูกต้องก็สามารถรายงานให้ กกต.เข้าไปดำเนินการตามกฎหมายได้ การเข้ามาสังเกตการณ์ก็เป็นประโยชน์กับเรา หากเราเลือกตั้งอย่างสุจริต เที่ยงธรรม อียูก็จะเป็นกระบอกเสียงให้เราในเวทีโลก ทำให้ต่างชาติไม่เคลือบแคลงสงสัย”
ส่วนการขอเข้าสังเกตการณ์เพราะมองว่าไทยจัดการเลือกตั้งอย่างไม่สุจริตหรือไม่ นายจรินทร์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลอะไร เป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องไปประสานงาน และค้นหาที่มาที่ไปว่า เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ส่วนจะมีเบื้องหน้า เบื้องหลังเกี่ยวกับกลุ่มอำนาจเก่า หรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ แต่เราต้องรู้ว่าควรมีปฏิกิริยาไปในทิศทางใดถึง ะเกิดความเหมาะสม
ขุนทหารเรียงหน้าค้านทำ MOU กับ“อียู”
พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. และ สมาชิก คมช. กล่าวว่าประเทศเราเป็นประเทศเอกราชมาโดยตลอด เราสามารถดำเนินการบริหารประเทศ หรือทำงานด้านการเมือง ด้วยตัวเราเองตลอด ตรงจุดนี้ตนคิดว่าถ้าแต่ละประเทศให้เกียรติซึ่งกันและกันก็ควรจะเคารพในสิทธิและหน้าที่ของแต่ละประเทศ ประเทศเราในขณะนี้ สถานการณ์ก็เป็นปกติ ไม่มีอะไร ตนคิดว่าประเทศต่างๆ ก็ไม่น่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะเป็นเรื่องภายในของเรา การเลือกตั้งถือเป็นเรื่องปกติ ทุกประเทศจะมีการเลือกตั้งต่างคนต่างเลือกกันไป โดยแต่ละประเทศก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งกันและกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า อียูกลัวเรื่องการทุจริตในการเลือกตั้งจึงขอเข้ามาสังเกตการณ์ และควบคุมการเลือกตั้งของไทย ผบ.ทร. กล่าวว่า “ผมถามว่า ถ้าเผื่อประเทศอื่น มีการเลือกตั้งแล้ว เราคิดว่าจะมีการทุจริต แล้วเราจะขอเข้าไปดูได้ เปล่าครับผมคิดว่าเราต้องคิดถึงคำว่าให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ คมช.รับผิดชอบด้านความมั่นคง ตนยืนยันอีกครั้งว่า อะไรที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง คมช.ดูแลหมด”
สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ ในขณะนั้นนั้น พล.ร.อ.สถิรพันธ์ กล่าวว่า แต่ละกลุ่มแต่ละฝ่าย และแต่ละพรรค ต่างคนต่างสงวนท่าที และต่างคนก็ต่างมองว่าใครจะเดินก่อนหรือเดินหลัง จะเห็นชัดก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนพรรคเรียบร้อยแล้วและมีการรับสมัครเลือกตั้งจึงจะเห็นชัดเจน
ส่วนเสียงวิจารณ์ทางการเมืองก็จะมีขั้วที่สามเกิดขึ้นจะทำให้มีปัญหาภายในรัฐบาลต่อไปหรือไม่นั้น ผบ.ทร.กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ขั้วที่สามคืออะไร
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและ กกต.ที่จะเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ ส่วนในความเห็นของ คมช. คิดว่าเป็นเรื่องภายในประเทศที่จะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า อียูเคยมีการเสนอเข้าดูแลการเลือกตั้ง ในลักษณะนี้หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบ ถ้าเป็นการควบคุมเลย ในประเทศอื่นๆ ก็เคยมีประวัติ แต่ภาพที่ออกมาจะไม่ค่อยดีนัก ทั้งนี้ ตนยังเชื่อมั่นว่าทางรัฐบาล และ กกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมได้ ส่วนการกระทำของอียู ถือเป็นการแทรกแซงหรือไม่นั้น แล้วแต่จะมอง ตนไม่อยากวิจารณ์ในส่วนนั้น
“ในเจตนาของเขาอาจจะไม่ต้องการที่จะเข้าควบคุมขนาดนั้น แต่คงอยากมาสังเกตการณ์ โดยความเห็นของ คมช. น่าจะเป็นเรื่องภายในประเทศมากกว่า อย่างไรก็ตาม คมช.ไม่ได้วิเคราะห์ว่าเหตุใดอียูจึงขอเข้ามาดูแลการเลือกตั้งของไทย เพียงแต่พูดคุยกันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของเรา”
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มอำนาจเก่าต้องการยืมมืออียูให้เข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ เป็นเรื่องของ กกต.และรัฐบาลที่จะเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อถามว่า ทางอียูกำลังจะขอเซ็น MOU เพื่อทำข้อตกลงเพื่อเข้ามาสังเกตการณ์ การเลือกตั้ง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า MOU จะมาดู หรือจะมาขอจัดการเลือกตั้ง มันแตกต่างกันตั้งเยอะ
ส่วน คมช.จะรณรงค์อย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า คมช.คงดำเนินการตามที่ถูกร้องขอ เราจะให้ความสนับสนุนเท่าที่เราสามารถทำได้ หน้าที่ในการดำเนินการเลือกตั้งเป็นของ กกต. ส่วน คมช. มีหน้าที่รณรงค์ให้กำลังพลและครอบครัวไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ส่วนในพื้นที่ กลุ่มอำนาจเก่านั้น คงไม่มีการดำเนินการอะไรเป็นพิเศษ ปล่อยให้เป็นหน้าที่และวิจารณญาณของประชาชนที่จะใช้สิทธิ์ของตนเอง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทบ. และรองประธาน คมช.กล่าวว่า เราเป็นประเทศประชาธิปไตย เพียงแต่ช่วงนี้เรายังไม่ได้มีการเลือกตั้ง และเราก็เป็นเอกราช ตนว่ามีคนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้เยอะแล้ว พวกเราทุกคนคงคิดตรงๆ กันใกล้ๆ กัน
ส่วนที่ต่างชาติห่วงเรื่องการทุจริตเลือกตั้งนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า บางครั้งเขาก็ได้ข้อมูลที่ผิด แต่ประเทศในยุโรป ที่มีเอกราช ที่มีการเลือกตั้ง ตนก็ไม่เห็นมีประเทศอื่นเข้าไปขอชม
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลที่อียูได้เกี่ยวข้องกับอดีตนายกฯ หรือบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่ให้ข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่ทราบ ซึ่งต้องช่วยกันหาข้อมูล อย่างไรก็ตาม คมช.ยังไม่ได้คุยเรื่องนี้ คงเป็นภาระของผู้บริหารประเทศ คือรัฐบาล เพราะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่ ส่วน กกต.เป็นผู้ที่จะบริหารการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
“ทนายแม้ว”รีบปัดไม่เกี่ยวลูกพี่
ด้าน นายนพดล ปัทมะ ทนายความครอบครัวชินวัตร และรองเลขาธิการพรรค พลังประชาชน แถลงกรณีที่ อียู ต้องการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทยว่า ไม่ได้เป็นผลงานของบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จ้าง เพราะเลิกจ้างไปแล้ว ทั้งบริษัทประชาสัมพันธ์ บริษัทเบเกอร์บอต และบริษัทอีเดอร์แมน และเป็นไปไม่ได้ที่ล็อบบี้ยิสต์จะมีอิทธิพลเหนืออียู
พลังประชาชนหนุนอียูสังเกตเลือกตั้ง
ด้าน นายสุทิน คลังแสง กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า อยากให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายไหนก็ตามควรที่จะเปิดใจกว้างพิจารณาด้วยความ รอบคอบ และขอเตือนผู้นำว่าขณะนี้ในสายตาต่างประเทศที่มีการเรียกร้องเช่นนี้เพราะไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องถึงขั้นการลงนาม MOU แต่อยากให้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเขามาพิจารณา เพราะขณะนี้ความน่าเชื่อถือของไทยลดลงไปอย่างน่าใจหาย
“มัชฌิมา”จี้ กกต.คลอดแบ่งเขตเลือกตั้ง
นายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะทำงานการเมือง กลุ่มมัชฌิมา กล่าวถึง กรณีที่ กกต.ได้ข้อสรุปการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขตแล้วว่า ตนเป็นห่วงที่มีการ กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.แต่การแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดกลับยังไม่มีความชัดเจนว่าอำเภอใดอยู่ในเขตเลือกตั้งใดบ้าง ทำให้เกิดความสับสน ในการลงพื้นที่ ซึ่งระยะเวลาหาเสียงก็เหลือน้อยแต่พื้นที่และเขตเลือกตั้งใหญ่กว่าเดิม ดังนั้น อยากเรียกร้องให้ กกต.เร่งแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่หาเสียง โดยขอเสนอว่า หากมีการแบ่งเขตเลือกตั้งของอำเภอ ก็ควรให้ยกทั้งอำเภอ ไม่ควรตัดแบ่งพื้นที่อำเภอครึ่งหนึ่งออกไปบวกกับอีกอำเภอหนึ่ง เพราะจะส่งผลเสียกับประชาชนในพื้นที่ ทำให้สับสน เกิดปัญหาการประสานงาน ดูแลและแก้ไขปัญหา รวมทั้งยังส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณด้วย
พรรคใดไม่ทำตาม รธน.ถูกยุบ
ที่รัฐสภา วานนี้ (30 ส.ค.) มีการประชุม คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานอนุฯเป็นประธานการประชุม พิจารณาหมวด 2 ว่าด้วยเรื่องการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง โดยนายบวรศักดิ์ เสนอว่า มาตรา 25 เรื่องการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเป็นหัวใจสำคัญของหมวดนี้ โดยเสนอเพิ่มข้อความ วรรคสามให้มีบทลงโทษกรรมการบริหารพรรคที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริตโดยให้มีการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี และต้องระบุในกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อให้พิสูจน์ได้ว่า กรรมการบริหารพรรคมีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี กรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับผิดหากสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในกรกระทำความผิดนั้นหรือได้ทำการคัดค้านในที่ประชุมโดยต้องปรากฏไว้ในรายงานการประชุม หรือได้ทำหนังสือยื่นต่อประธานในที่ประชุมนั้นภายใน 3 วัน ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ ในคดียุบพรรคที่ผ่านมา ทั้งนี้ที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณากรณีการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของ บุคคลเกินกว่า 1 พรรค โดยที่บุคคลนั้นไม่สมัครใจ สามารถแจ้งต่อนายทะเบียน หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและลบชื่อออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ และให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นสมาชิก ของพรรคการเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น
ซึ่งนายบวรศักดิ์ เสนอให้ กกต.จัดเก็บข้อมูลจากทุกพรรคการเมืองไว้เป็น ข้อมูลกลางในระบบอิเลคทรอนิคส์และให้ถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลอ้างอิงทาง ราชการได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้พิจารณามาตรา 29 เรื่องการห้ามมิให้ พรรคการเมืองซื้อตัวสมาชิก และห้ามมิให้บุคลเรียกรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อเข้าเป็นสมาชิกพรรคใด
ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ เสนอแก้ไขถ้อยคำให้ชัดเจนโดยใช้ว่า “เรียกรับประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้” เพื่อป้องกันการตีความในทางกว้างเพราะในการเสนอประโยชน์อาจเสนอเป็นประโยชน์ทางการเมืองหรือเก้าอี้รัฐมนตรี ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วย สำหรับหมวด 3 จะพิจารณาต่อในวันนี้ 31 ส.ค.
กกต.ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
วันเดียวกัน คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) โดยมีนายสุจิต บุญบงการ ประธานอนุกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม ซึ่งวาระการประชุมในครั้งนี้ คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในรายมาตรา
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้เพิ่มเติมในมาตรา 5/1 เรื่องการเสอนขอแก้ไข กฎหมายว่า ในกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากประธานกกต. เป็นผู้ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ จะต้องมีความเห็นของประธานกกต.ประกอบการแก้ไข เพิ่มเติมด้วย ซึ่งข้อกำหนดในมาตรานี้จะนำไปใช้เชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญมาตรา 142
ต่อมา ที่ประชุมเริ่มหารือในหมวด1 ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยในมาตรา6 ได้แก้ไขใหม่ว่า กกต. ต้องมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ที่มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้ถกเถียงถึงคำนิยามของคำว่า “ที่มา” ว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนเป็นสรรหาได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องมาจากการสรรหา
นายสุจิต ให้เหตุผลว่าเหตุที่ต้องระบุคำว่า “ที่มา” ในมาตรานี้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กว้าง หากเราแก้จากที่มา เป็นสรรหา จะมีปัญหาเมื่อรัฐธรรมนูญปรับเปลี่ยนการได้มาของ กกต. ถ้าระบุว่า ที่มาความหมายครอบคลุมกับทุกวิธี จึงควรกำหนดเหมือนที่อนุกรรมาธิการฯร่างขึ้น โดยที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ส่วนการหารือในมาตรา 7 ที่ระบุว่า กกต.มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์ และหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ไว้บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ป.ป.ช. ซึ่งในประเด็นนี้ที่ประชุมถกเถียงกันว่า กกต.เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะหาก กกต. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มีกำหนดไว้ใน กฎหมาย ป.ป.ช.ที่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ซ้ำซ้อน
นายสุจิต กล่าวว่า ตามกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับเดิม กกต.ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ที่ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน แต่ในกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ ในมาตรา 39 ระบุให้ กกต.เป็นเจ้าที่ของรัฐ ที่ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย
ดังนั้น บทบัญญัติต้องการที่จะให้ กกต.และคู่สมรส และบุตร ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. จึงสมควรที่จะระบุไว้ให้ชัดเจน เพราะเดี๋ยวนี้มีศรีธนญชัย แปลงกฎหมายเป็นจำนวนมาก เพราะแค่ไม่ระบุก็ยังมีการตีความกันมากมาย ดังนั้น การระบุจะเป็นแนวทางที่ชัดเจนกว่า ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้พิจารณาไปจนถึงมาตรา 10 แต่ได้แขวนบางส่วนไว้พิจารณาในวันจันทร์ที่ 3 ก.ย. เวลา 13.30 น.ต่อไป
ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วานนี้ (30 ส.ค.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. ได้ประชุมร่วมกับ นางแคทเธอรีน บารนส์ เจ้าหน้าที่จาก สมาคมระหว่างประเทศเพื่อระบบการเลือกตั้ง (International Foundation for Election Systems)หรือ IFES โดย IFES ให้ความสนใจถามถึงความคืบหน้า ในการพิจารณากฎหมายลูกรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ และวงเงินในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งเสนอให้ กกต.เชิญทุกพรรคการเมืองมาลงนามในประมวลจริยธรรมว่าจะไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
นายสุทธิพลได้ให้สัมภาษณ์ถึงการลงนามร่วมกันกับพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้มีการทุจริตเลือกตั้งว่า ลักษณะดังกล่าวเป็น ประมวลความประพฤติ เป็นเหมือนสัญญาสุภาพบุรุษที่พรรคการเมืองมาร่วมร่าง มี กกต. เป็นคนกลาง ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ซึ่งในหลายประเทศก็ทำแต่ไม่สามารถพูดได้ว่า วิธีนี้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องถามพรรคการเมืองว่าหากจะทำเห็นว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ หากเขาไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ทำไม่ได้ แต่การซื้อเสียง แก้ด้วยกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องแก้ระยะยาวต้องให้ประชาชนละอายที่จะรับเงิน
นายสุทธิพล ยังกล่าวถึงการสังเกตการณ์ของ IFES ว่าต่างจากของสหภาพยุโรป หรืออียู เพราะเขามาในลักษณะขอข้อมูลไม่ได้มาตั้งป้อม ซึ่งเราก็คงไม่เอาลักษณะการเข้ามาของ IFES ไปเสนอให้กับ อียูเพื่อเปลี่ยนหลักการ เพราะโดยหลักการ กกต. พร้อมที่จะเปิดให้ทุกประเทศเข้ามาสงเกตุการณ์การเลือกตั้งเนื่องจากเห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งในการทำงานและภาพลักษณ์ แต่หากจะเข้ามาแล้วทำเงื่อนไขผูกมัดเหมือนที่ อียู ขอเข้ามา มันก็เกินหลักกติกาสากล ตอนนี้ อียูประสานมาทางกระทรวงต่างประเทศ กับ กกต. ซึ่งคิดว่าจากความสนใจของสื่อจะทำให้ อียูระมัดระวัง และการเข้ามาก็ต้องให้เกียรติกัน
“ขณะนี้ยังไม่มีฟีดแบ็กกลับมาจากฝ่ายอียู และคาดว่าคงมีการคุยกันในวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งน่าจะชัดเจน อย่างไรก็ตามที่เราไม่เซ็น MOU เราก็คำนึงถึงหลายๆ เรื่อง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเราก็คำนึงเช่นกัน เราไม่ได้ปิดกั้นแต่กังวลว่า การเซ็นจะเป็นการไปผูกมัด”
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้งอาจจะเป็นช่องว่างให้ นักการเมืองกระทำผิดกฎหมายได้หรือไม่ นายสุทธิพลกล่าวว่า ขณะนี้ กฎหมาย กกต. และพรรคการเมืองเดิม ยังใช้อยู่และความชัดจนเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งก็ยังไม่มี คิดว่าพรรคการเมืองก็คงหาเสียงได้ระดับหนึ่งการจะไปแจกเงินแจกทองล่วงหน้า ก็ต้องคำนึงว่า เมื่อใกล้วันจะต้องไปแจกเพิ่ม เพื่อให้ประชาชนจำได้หรือไม่ เรื่องนี้ทางนักการเมืองคงคำนึงเช่นกัน ซึ่งตนไม่ห่วงช่วงนี้แต่จะไปห่วงช่วงใกล้ๆ เลือกตั้งมากกว่า
“อียู”อ้างไม่ได้คิดแทรกแซงไทย
นายอันตอนิอู ดือ ฟาเรีย อี มายญา (HE.MR.ANTO’NIO DE FARIA E MAYA) เอกอัคราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย แถลงถึงกรณีที่มีข่าว สหภาพยุโรป (อียู) จะส่งคณะผู้สังเกตการณ์เข้ามาดูการเลือกตั้งในไทยปลายปีนี้ว่า ในฐานะที่โปรตุเกสเป็นประธานอียูขอชี้แจงว่า เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารเรื่องดังกล่าวหลายประการ เพราะการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งดังกล่าว ถือเป็นส่วนสำคัญของนโยบายอียูด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะประเทศที่กำลังจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นเรื่องปกติที่อียูจะเสนอตัวเข้ามาสังเกตการณ์ในไทย โดยที่จะไม่ทำการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ ในกระบวนการเลือกตั้งหรืออำนาจอธิปไตย อีกทั้งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือแก้ไขสถานการณ์
“คณะผู้สังเกตการณ์จะมีหน้าที่เพียงเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ผล ซึ่งการกระทำดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้คำเชิญ หรือความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศนั้น ๆ และหากมีการตกลงก็มีความจำเป็นต้องลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU (Memorandum of Understanding) เพื่อกำหนดเงื่อนไขพื้นฐานในการปฏิบัติงาน ซึ่ง MOU ดังกล่าวเป็นคนละประเภทที่ลงนามกับกัมพูชา อย่างไรก็ตาม อียูจะเคารพการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ โดยไม่บีบบังคับหากไทยไม่ต้องการ ลงนาม ทั้งนี้ ยืนยันว่าการตัดสินใจของไทยจะไม่กระทบกับความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างอียูและไทย”
เอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย กล่าวด้วยว่า อียูยังไม่ได้รับการตอบรับเรื่องการลงนาม MOU อย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทย ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาได้ เพราะอยู่ในขั้นการเจรจา ส่วนข่าวการลงนามที่รั่วออกมานั้น ไม่ขอโทษว่าเป็นความผิดของใคร แต่เห็นว่าเป็นความเข้าใจผิดในการสื่อสาร
ปชป.ดึงอียูเป็นกระบอกเสียงในเวทีโลก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่อียู ขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งโดยจะให้ทำ MOU ว่า เ ในการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และดูเนื้อหาของMOUว่า การเข้ามาดูการเลือกตั้งของเราอยู่ภายใต้กฎหมายของ 2 ประเทศหรือไม่ และต้องทำความเข้าใจ เรื่องการลงนามใน MOU เพราะหากอยู่ภายใต้ กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศ คงไม่เหมาะสม เพราะเราก็มีเอกราช มีประชาธิปไตย และมีกฎหมายของเราเองในเรื่องการกำกับดูแลการเลือกตั้ง อย่างน้อยก็มีกฎหมายลูก ที่กำลังพิจารณาอยู่
“หากจะเข้ามาสังเกตการณ์เฉยๆ เราไม่จำเป็นต้องปฏิเสธ หากอียูพบอะไรที่ไม่ถูกต้องก็สามารถรายงานให้ กกต.เข้าไปดำเนินการตามกฎหมายได้ การเข้ามาสังเกตการณ์ก็เป็นประโยชน์กับเรา หากเราเลือกตั้งอย่างสุจริต เที่ยงธรรม อียูก็จะเป็นกระบอกเสียงให้เราในเวทีโลก ทำให้ต่างชาติไม่เคลือบแคลงสงสัย”
ส่วนการขอเข้าสังเกตการณ์เพราะมองว่าไทยจัดการเลือกตั้งอย่างไม่สุจริตหรือไม่ นายจรินทร์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลอะไร เป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศต้องไปประสานงาน และค้นหาที่มาที่ไปว่า เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ส่วนจะมีเบื้องหน้า เบื้องหลังเกี่ยวกับกลุ่มอำนาจเก่า หรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ แต่เราต้องรู้ว่าควรมีปฏิกิริยาไปในทิศทางใดถึง ะเกิดความเหมาะสม
ขุนทหารเรียงหน้าค้านทำ MOU กับ“อียู”
พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. และ สมาชิก คมช. กล่าวว่าประเทศเราเป็นประเทศเอกราชมาโดยตลอด เราสามารถดำเนินการบริหารประเทศ หรือทำงานด้านการเมือง ด้วยตัวเราเองตลอด ตรงจุดนี้ตนคิดว่าถ้าแต่ละประเทศให้เกียรติซึ่งกันและกันก็ควรจะเคารพในสิทธิและหน้าที่ของแต่ละประเทศ ประเทศเราในขณะนี้ สถานการณ์ก็เป็นปกติ ไม่มีอะไร ตนคิดว่าประเทศต่างๆ ก็ไม่น่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะเป็นเรื่องภายในของเรา การเลือกตั้งถือเป็นเรื่องปกติ ทุกประเทศจะมีการเลือกตั้งต่างคนต่างเลือกกันไป โดยแต่ละประเทศก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งกันและกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า อียูกลัวเรื่องการทุจริตในการเลือกตั้งจึงขอเข้ามาสังเกตการณ์ และควบคุมการเลือกตั้งของไทย ผบ.ทร. กล่าวว่า “ผมถามว่า ถ้าเผื่อประเทศอื่น มีการเลือกตั้งแล้ว เราคิดว่าจะมีการทุจริต แล้วเราจะขอเข้าไปดูได้ เปล่าครับผมคิดว่าเราต้องคิดถึงคำว่าให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ คมช.รับผิดชอบด้านความมั่นคง ตนยืนยันอีกครั้งว่า อะไรที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง คมช.ดูแลหมด”
สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ ในขณะนั้นนั้น พล.ร.อ.สถิรพันธ์ กล่าวว่า แต่ละกลุ่มแต่ละฝ่าย และแต่ละพรรค ต่างคนต่างสงวนท่าที และต่างคนก็ต่างมองว่าใครจะเดินก่อนหรือเดินหลัง จะเห็นชัดก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนพรรคเรียบร้อยแล้วและมีการรับสมัครเลือกตั้งจึงจะเห็นชัดเจน
ส่วนเสียงวิจารณ์ทางการเมืองก็จะมีขั้วที่สามเกิดขึ้นจะทำให้มีปัญหาภายในรัฐบาลต่อไปหรือไม่นั้น ผบ.ทร.กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ขั้วที่สามคืออะไร
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและ กกต.ที่จะเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ ส่วนในความเห็นของ คมช. คิดว่าเป็นเรื่องภายในประเทศที่จะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า อียูเคยมีการเสนอเข้าดูแลการเลือกตั้ง ในลักษณะนี้หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบ ถ้าเป็นการควบคุมเลย ในประเทศอื่นๆ ก็เคยมีประวัติ แต่ภาพที่ออกมาจะไม่ค่อยดีนัก ทั้งนี้ ตนยังเชื่อมั่นว่าทางรัฐบาล และ กกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมได้ ส่วนการกระทำของอียู ถือเป็นการแทรกแซงหรือไม่นั้น แล้วแต่จะมอง ตนไม่อยากวิจารณ์ในส่วนนั้น
“ในเจตนาของเขาอาจจะไม่ต้องการที่จะเข้าควบคุมขนาดนั้น แต่คงอยากมาสังเกตการณ์ โดยความเห็นของ คมช. น่าจะเป็นเรื่องภายในประเทศมากกว่า อย่างไรก็ตาม คมช.ไม่ได้วิเคราะห์ว่าเหตุใดอียูจึงขอเข้ามาดูแลการเลือกตั้งของไทย เพียงแต่พูดคุยกันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของเรา”
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มอำนาจเก่าต้องการยืมมืออียูให้เข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งใช่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ เป็นเรื่องของ กกต.และรัฐบาลที่จะเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อถามว่า ทางอียูกำลังจะขอเซ็น MOU เพื่อทำข้อตกลงเพื่อเข้ามาสังเกตการณ์ การเลือกตั้ง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า MOU จะมาดู หรือจะมาขอจัดการเลือกตั้ง มันแตกต่างกันตั้งเยอะ
ส่วน คมช.จะรณรงค์อย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า คมช.คงดำเนินการตามที่ถูกร้องขอ เราจะให้ความสนับสนุนเท่าที่เราสามารถทำได้ หน้าที่ในการดำเนินการเลือกตั้งเป็นของ กกต. ส่วน คมช. มีหน้าที่รณรงค์ให้กำลังพลและครอบครัวไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ส่วนในพื้นที่ กลุ่มอำนาจเก่านั้น คงไม่มีการดำเนินการอะไรเป็นพิเศษ ปล่อยให้เป็นหน้าที่และวิจารณญาณของประชาชนที่จะใช้สิทธิ์ของตนเอง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทบ. และรองประธาน คมช.กล่าวว่า เราเป็นประเทศประชาธิปไตย เพียงแต่ช่วงนี้เรายังไม่ได้มีการเลือกตั้ง และเราก็เป็นเอกราช ตนว่ามีคนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้เยอะแล้ว พวกเราทุกคนคงคิดตรงๆ กันใกล้ๆ กัน
ส่วนที่ต่างชาติห่วงเรื่องการทุจริตเลือกตั้งนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า บางครั้งเขาก็ได้ข้อมูลที่ผิด แต่ประเทศในยุโรป ที่มีเอกราช ที่มีการเลือกตั้ง ตนก็ไม่เห็นมีประเทศอื่นเข้าไปขอชม
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลที่อียูได้เกี่ยวข้องกับอดีตนายกฯ หรือบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่ให้ข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่ทราบ ซึ่งต้องช่วยกันหาข้อมูล อย่างไรก็ตาม คมช.ยังไม่ได้คุยเรื่องนี้ คงเป็นภาระของผู้บริหารประเทศ คือรัฐบาล เพราะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่ ส่วน กกต.เป็นผู้ที่จะบริหารการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
“ทนายแม้ว”รีบปัดไม่เกี่ยวลูกพี่
ด้าน นายนพดล ปัทมะ ทนายความครอบครัวชินวัตร และรองเลขาธิการพรรค พลังประชาชน แถลงกรณีที่ อียู ต้องการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทยว่า ไม่ได้เป็นผลงานของบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จ้าง เพราะเลิกจ้างไปแล้ว ทั้งบริษัทประชาสัมพันธ์ บริษัทเบเกอร์บอต และบริษัทอีเดอร์แมน และเป็นไปไม่ได้ที่ล็อบบี้ยิสต์จะมีอิทธิพลเหนืออียู
พลังประชาชนหนุนอียูสังเกตเลือกตั้ง
ด้าน นายสุทิน คลังแสง กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า อยากให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายไหนก็ตามควรที่จะเปิดใจกว้างพิจารณาด้วยความ รอบคอบ และขอเตือนผู้นำว่าขณะนี้ในสายตาต่างประเทศที่มีการเรียกร้องเช่นนี้เพราะไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องถึงขั้นการลงนาม MOU แต่อยากให้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเขามาพิจารณา เพราะขณะนี้ความน่าเชื่อถือของไทยลดลงไปอย่างน่าใจหาย
“มัชฌิมา”จี้ กกต.คลอดแบ่งเขตเลือกตั้ง
นายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะทำงานการเมือง กลุ่มมัชฌิมา กล่าวถึง กรณีที่ กกต.ได้ข้อสรุปการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขตแล้วว่า ตนเป็นห่วงที่มีการ กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.แต่การแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดกลับยังไม่มีความชัดเจนว่าอำเภอใดอยู่ในเขตเลือกตั้งใดบ้าง ทำให้เกิดความสับสน ในการลงพื้นที่ ซึ่งระยะเวลาหาเสียงก็เหลือน้อยแต่พื้นที่และเขตเลือกตั้งใหญ่กว่าเดิม ดังนั้น อยากเรียกร้องให้ กกต.เร่งแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่หาเสียง โดยขอเสนอว่า หากมีการแบ่งเขตเลือกตั้งของอำเภอ ก็ควรให้ยกทั้งอำเภอ ไม่ควรตัดแบ่งพื้นที่อำเภอครึ่งหนึ่งออกไปบวกกับอีกอำเภอหนึ่ง เพราะจะส่งผลเสียกับประชาชนในพื้นที่ ทำให้สับสน เกิดปัญหาการประสานงาน ดูแลและแก้ไขปัญหา รวมทั้งยังส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณด้วย
พรรคใดไม่ทำตาม รธน.ถูกยุบ
ที่รัฐสภา วานนี้ (30 ส.ค.) มีการประชุม คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานอนุฯเป็นประธานการประชุม พิจารณาหมวด 2 ว่าด้วยเรื่องการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง โดยนายบวรศักดิ์ เสนอว่า มาตรา 25 เรื่องการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเป็นหัวใจสำคัญของหมวดนี้ โดยเสนอเพิ่มข้อความ วรรคสามให้มีบทลงโทษกรรมการบริหารพรรคที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริตโดยให้มีการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี และต้องระบุในกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อให้พิสูจน์ได้ว่า กรรมการบริหารพรรคมีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี กรรมการบริหารพรรคไม่ต้องรับผิดหากสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในกรกระทำความผิดนั้นหรือได้ทำการคัดค้านในที่ประชุมโดยต้องปรากฏไว้ในรายงานการประชุม หรือได้ทำหนังสือยื่นต่อประธานในที่ประชุมนั้นภายใน 3 วัน ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ ในคดียุบพรรคที่ผ่านมา ทั้งนี้ที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณากรณีการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของ บุคคลเกินกว่า 1 พรรค โดยที่บุคคลนั้นไม่สมัครใจ สามารถแจ้งต่อนายทะเบียน หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและลบชื่อออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ และให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นสมาชิก ของพรรคการเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น
ซึ่งนายบวรศักดิ์ เสนอให้ กกต.จัดเก็บข้อมูลจากทุกพรรคการเมืองไว้เป็น ข้อมูลกลางในระบบอิเลคทรอนิคส์และให้ถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลอ้างอิงทาง ราชการได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้พิจารณามาตรา 29 เรื่องการห้ามมิให้ พรรคการเมืองซื้อตัวสมาชิก และห้ามมิให้บุคลเรียกรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อเข้าเป็นสมาชิกพรรคใด
ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ เสนอแก้ไขถ้อยคำให้ชัดเจนโดยใช้ว่า “เรียกรับประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้” เพื่อป้องกันการตีความในทางกว้างเพราะในการเสนอประโยชน์อาจเสนอเป็นประโยชน์ทางการเมืองหรือเก้าอี้รัฐมนตรี ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วย สำหรับหมวด 3 จะพิจารณาต่อในวันนี้ 31 ส.ค.
กกต.ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
วันเดียวกัน คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) โดยมีนายสุจิต บุญบงการ ประธานอนุกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม ซึ่งวาระการประชุมในครั้งนี้ คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในรายมาตรา
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้เพิ่มเติมในมาตรา 5/1 เรื่องการเสอนขอแก้ไข กฎหมายว่า ในกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากประธานกกต. เป็นผู้ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ จะต้องมีความเห็นของประธานกกต.ประกอบการแก้ไข เพิ่มเติมด้วย ซึ่งข้อกำหนดในมาตรานี้จะนำไปใช้เชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญมาตรา 142
ต่อมา ที่ประชุมเริ่มหารือในหมวด1 ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยในมาตรา6 ได้แก้ไขใหม่ว่า กกต. ต้องมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม ที่มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้ถกเถียงถึงคำนิยามของคำว่า “ที่มา” ว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนเป็นสรรหาได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องมาจากการสรรหา
นายสุจิต ให้เหตุผลว่าเหตุที่ต้องระบุคำว่า “ที่มา” ในมาตรานี้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กว้าง หากเราแก้จากที่มา เป็นสรรหา จะมีปัญหาเมื่อรัฐธรรมนูญปรับเปลี่ยนการได้มาของ กกต. ถ้าระบุว่า ที่มาความหมายครอบคลุมกับทุกวิธี จึงควรกำหนดเหมือนที่อนุกรรมาธิการฯร่างขึ้น โดยที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ส่วนการหารือในมาตรา 7 ที่ระบุว่า กกต.มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์ และหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ไว้บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ป.ป.ช. ซึ่งในประเด็นนี้ที่ประชุมถกเถียงกันว่า กกต.เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะหาก กกต. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มีกำหนดไว้ใน กฎหมาย ป.ป.ช.ที่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องกำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ซ้ำซ้อน
นายสุจิต กล่าวว่า ตามกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับเดิม กกต.ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ที่ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน แต่ในกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ ในมาตรา 39 ระบุให้ กกต.เป็นเจ้าที่ของรัฐ ที่ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย
ดังนั้น บทบัญญัติต้องการที่จะให้ กกต.และคู่สมรส และบุตร ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. จึงสมควรที่จะระบุไว้ให้ชัดเจน เพราะเดี๋ยวนี้มีศรีธนญชัย แปลงกฎหมายเป็นจำนวนมาก เพราะแค่ไม่ระบุก็ยังมีการตีความกันมากมาย ดังนั้น การระบุจะเป็นแนวทางที่ชัดเจนกว่า ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้พิจารณาไปจนถึงมาตรา 10 แต่ได้แขวนบางส่วนไว้พิจารณาในวันจันทร์ที่ 3 ก.ย. เวลา 13.30 น.ต่อไป