ศูนย์ข่าวภูเก็ต- จังหวัดภูเก็ตจัดทำโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่ง กำหนดจุดที่เหมาะสมและเลี้ยงแล้ว 16 จุด ตั้งแต่หัวเกาะบ้านท่าฉัตรไชยถึงอ่าวฉลอง หวังใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมและยั่งยืนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต
วานนี้ (27 ส.ค.) สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัด เรื่อง "การบูรณาการการจัดทำโซนนิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต" ซึ่งมีผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งในภูเก็ต หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน ชาวประมง กลุ่มชาวประมง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 100 คน โดยมีนายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต
ทั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในการปรับปรุง เพิ่มเติมการจัดโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำครั้งสุดท้าย ภายหลังที่ทางสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ตได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดเมื่อวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2550 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10-21 สิงหาคม 2550 ณ ชุมชนประมงอำเภอเมืองและอำเภอถลาง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชุมชนต่างๆ ก่อนที่จะกำหนดจุดเพาะเลี้ยงที่เหมาะสม และประกาศเป็นพื้นที่สำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมในพื้นที่ภูเก็ต
นายไพเราะ ศุทธากรณ์ ประมงจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการจัดทำโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่ภูเก็ตได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (Charm) เพื่อจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตหรือโซนนิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต และสามารถนำแผนที่การจัดโซนนิ่งที่กำหนดมาใช้เป็นฐานข้อมูล ในการจัดระเบียบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป
แผนที่โซนนิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งภูเก็ตนั้น แบ่งเป็น แผนที่จังหวัดภูเก็ต แผ่นที่แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การเลี้ยงกุ้งทะเล แผนที่สิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ที่แสดงถึงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล แผนที่ท่าเทียบเรือ และแผนที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นแผนที่แนวปะการังและหญ้าทะเล
สำหรับแผนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล กำหนดตามจุดที่ชาวประมงได้เลือกพื้นที่ เพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งได้สำเร็จและได้ผลผลิตที่พึงพอใจ
ในการรับฟังความคิดเห็นชาวประมงยังยืนยันที่จะเพาะเลี้ยงในจุดเดิมที่เคยเพาะเลี้ยงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมีทั้งหมด 16 จุด อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ตั้งแต่บ้านท่าฉัตรไชยมาจนถึงบริเวณอ่าวฉลอง ประกอบด้วย บ้านท่าฉัตรไชย (ฝั่งตะวันออกของสะพานสารสิน) คอเอน อ่าวโต๊ะขุน เกาะนก เกาะกะลา คลองหมากปรก เขาสามแหลม อ่าวปอ คลองบางโรง คลองบางลา เกาะมะพร้าว ขุมเหมืองบ้านกู้กู คลองเกาะผี คลองกุย คลองมุดง บ้านป่าหล่าย อ่าวฉลอง และเกาะโหลน
นายไพเราะ กล่าวอีกว่า ภายหลังจากที่รับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายแล้ว สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต จะประกาศทั้ง 16 จุดเป็นจุดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของภูเก็ต เพื่อให้ชาวประมงได้ยึดเป็นแนวทางในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากเป็นจุดที่เหมาะสมและเป็นจุดที่สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน เพราะการกำหนดจุดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะพิจารณาจากความลึกของน้ำ ที่เมื่อน้ำลงต่ำสุดไม่น้อยกว่า 3 เมตร การไหลเวียนของน้ำและการถ่ายเทน้ำดี ไม่มีกระแสน้ำแรงเพราะจะทำให้กระชังเสียหาย ความขุ่นใสของน้ำที่มีตะกอนในน้ำน้อย แสงแดดส่องได้ลึก เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เป็นต้น
วานนี้ (27 ส.ค.) สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัด เรื่อง "การบูรณาการการจัดทำโซนนิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต" ซึ่งมีผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งในภูเก็ต หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน ชาวประมง กลุ่มชาวประมง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 100 คน โดยมีนายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต
ทั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในการปรับปรุง เพิ่มเติมการจัดโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำครั้งสุดท้าย ภายหลังที่ทางสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ตได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดเมื่อวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2550 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10-21 สิงหาคม 2550 ณ ชุมชนประมงอำเภอเมืองและอำเภอถลาง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชุมชนต่างๆ ก่อนที่จะกำหนดจุดเพาะเลี้ยงที่เหมาะสม และประกาศเป็นพื้นที่สำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมในพื้นที่ภูเก็ต
นายไพเราะ ศุทธากรณ์ ประมงจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โครงการจัดทำโซนนิ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่ภูเก็ตได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (Charm) เพื่อจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตหรือโซนนิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต และสามารถนำแผนที่การจัดโซนนิ่งที่กำหนดมาใช้เป็นฐานข้อมูล ในการจัดระเบียบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป
แผนที่โซนนิ่งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งภูเก็ตนั้น แบ่งเป็น แผนที่จังหวัดภูเก็ต แผ่นที่แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การเลี้ยงกุ้งทะเล แผนที่สิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ที่แสดงถึงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล แผนที่ท่าเทียบเรือ และแผนที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นแผนที่แนวปะการังและหญ้าทะเล
สำหรับแผนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล กำหนดตามจุดที่ชาวประมงได้เลือกพื้นที่ เพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งได้สำเร็จและได้ผลผลิตที่พึงพอใจ
ในการรับฟังความคิดเห็นชาวประมงยังยืนยันที่จะเพาะเลี้ยงในจุดเดิมที่เคยเพาะเลี้ยงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมีทั้งหมด 16 จุด อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ตั้งแต่บ้านท่าฉัตรไชยมาจนถึงบริเวณอ่าวฉลอง ประกอบด้วย บ้านท่าฉัตรไชย (ฝั่งตะวันออกของสะพานสารสิน) คอเอน อ่าวโต๊ะขุน เกาะนก เกาะกะลา คลองหมากปรก เขาสามแหลม อ่าวปอ คลองบางโรง คลองบางลา เกาะมะพร้าว ขุมเหมืองบ้านกู้กู คลองเกาะผี คลองกุย คลองมุดง บ้านป่าหล่าย อ่าวฉลอง และเกาะโหลน
นายไพเราะ กล่าวอีกว่า ภายหลังจากที่รับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายแล้ว สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต จะประกาศทั้ง 16 จุดเป็นจุดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของภูเก็ต เพื่อให้ชาวประมงได้ยึดเป็นแนวทางในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากเป็นจุดที่เหมาะสมและเป็นจุดที่สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน เพราะการกำหนดจุดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะพิจารณาจากความลึกของน้ำ ที่เมื่อน้ำลงต่ำสุดไม่น้อยกว่า 3 เมตร การไหลเวียนของน้ำและการถ่ายเทน้ำดี ไม่มีกระแสน้ำแรงเพราะจะทำให้กระชังเสียหาย ความขุ่นใสของน้ำที่มีตะกอนในน้ำน้อย แสงแดดส่องได้ลึก เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เป็นต้น