จบไปแล้วนะครับเรื่อง “พรรคยามเฝ้าแผ่นดิน” เพราะคุณสนธิ ลิ้มทองกุลพูดที่สหรัฐอเมริกาแล้วว่าเป็นความเข้าใจผิด ที่พูดจาปราศรัยที่ปราณบุรีเป็นไปเพื่อยกตัวอย่าง และที่ผมเขียนไปที่นี่เมื่อสัปดาห์ก่อนก็เป็นไปเพราะรู้สึกเบื่อหน่ายในวงจรอุบาทว์การเมืองไทยที่เราแม้รู้กำลังเดินหน้าลงเหวก็ต้องเดินต่อไปเพราะผู้มีอำนาจไร้สติปัญญา ขณะที่ประชาชนตกอยู่ภายใต้มายาภาพของระบอบประชาธิปไตยจอมปลอม
ที่สำคัญที่สุดคือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลให้คำมั่นสัญญาไปแล้วว่าไม่มุ่งหวังลาภยศวาสนาและตำแหน่งการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น
แม้จะยังไม่มี “พรรคยามเฝ้าดิน” แน่ แต่ถ้าผมจะเขียนถึง “พรรคเทียนแห่งธรรม” คงไม่ว่ากัน
ก็อย่างที่เล่าแหละครับว่า ก่อนจะตัดสินใจนัดชุมนุมประชาชนขั้นเด็ดขาดที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันที่ 20 กันยายน 2549 นั้น ก่อนหน้าสักเดือนเศษ ๆ เราคิดเพียงจะจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ภาคพิเศษเนื่องในวาระครบ 1 ปีในช่วงใกล้ ๆ วันที่ 26 กันยายน 2549 และผมมีความคิดแผลง ๆ ที่จะทำเป็นงานล้อการเมืองที่ขณะนั้นใกล้เลือกตั้ง โดยจะแกล้งทำเป็นว่าพวกเราจะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่ง มีการประกาศนโยบายที่เป็นรูปธรรม เปิดตัวผู้นำพรรค และ ฯลฯ ให้เหมือนจริง ก่อนจะประกาศว่าไม่ใช่เรื่องจริงในตอนท้ายด้วยเหตุผลว่าระบอบการเมืองปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้เกิดพรรคมวลชนทำนองนี้
เรามาลงตัวเรื่องชื่อพรรคกันที่ชื่ออันถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไปแล้ว
“พรรคเทียนแห่งธรรม”
พรรคการเมืองย่อมมีคำขวัญกำกับ ผมไม่ลังเลใจเลยที่จะเลือกคำที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลอีกเช่นกัน “ธรรมนำหน้า” โดยเลือกใช้จากภาษิตสันสกฤต
“ยโต ธรฺมสุตโต ชยะ”
หรือแปลเป็นไทยว่า...
“ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย”
เป็นภาษิตสันสกฤตที่คัดมาจากตอนต้นของ “มหากาพย์มหาภารตะ” ฉบับแปลและเรียบเรียงโดยท่านอาจารย์กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย คุณสนธิ ลิ้มทองกุลเคยนำไปประกาศในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 1 - 2 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในเมื่อจะเป็นเรื่องเล่น ๆ เราจึงคำนึงกันถึงรูปแบบมากเป็นพิเศษ ชื่อพรรค คำขวัญประจำพรรค และที่ขาดไม่ได้ก็คือสัญลักษณ์หรือตราของพรรค เพื่อนำมาใช้จัดงาน
แต่นี่เป็นเรื่องเล่น ๆ ที่สะท้อนออกมาจากความจริง เราจึงต้องมองภาพรวมของพรรคให้ออกว่าจะเป็นขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่อยู่ภายใต้การนำของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทั้งชื่อ ทั้งคำขวัญ และทั้งตรา จึงต้องสะท้อนตัวตนของคน ๆ นี้ให้มากที่สุด ตัวตนในยามต่อสู้อย่างมีพลัง
เป็นเรื่องเล่น ๆ ที่เราจัดประชุมผู้ชำนาญการอย่างเป็นเรื่องเป็นราวหลายกลุ่ม กลุ่มแรกผมได้เล่าไปแล้วว่าเป็นฝ่ายจัดทำนโยนบาย เราขอแรงท่านอาจารย์คมสัน โพธิ์คง ท่านอาจารย์ศาสตรา โตอ่อน และคณะ มาร่วมร่างเค้าโครงยุทธศาสตร์และนโยบายจากคำอรรถาธิบายภาพรวมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กลุ่มต่อมาเราเชิญคุณชูเกียรติ เจริญสุข หัวเรือใหญ่ของการ์ตูนนิสต์ “บัญชา – คามิน” ผู้มีงานประจำเป็นครีเอทีฟโฆษณาระดับต้น ๆ ของเมืองไทย พาทีมงานที่เคยร่วมกันทำแคมเปญจน์ให้พรรคการเมืองมาแล้วหลายพรรค มาร่วมรับฟังเบื้องต้นเพื่อกลับไปคิดรูปแบบการโฆษณาและกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ให้เป็นระบบ
ไม่ว่า “เทียน” หรือ “ธรรม” ล้วนเป็นคำประกาศของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลทั้งสิ้น โดย “เธียรี่ ลาสเวกัส” นำมาร้อยเรียงเป็นบทเพลงอย่างงดงาม
ในฐานะที่เห็น “ความเป็นสนธิ ลิ้มทองกุลในฐานะผู้นำมวลชน” มาตลอดตั้งแต่กันยายน 2548 มาจนถึงวันนั้น – กรกฎาคม 2549 ผมไม่ลังเลเลยที่จะนึกถึง...
“อรชุน”
สัญลักษณ์หรือตราประจำพรรคเทียนแห่งธรรมจึงจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก...
ภาพลายเส้น “อรชุน” น้าวศร “คาณฑีพ” !
อันเป็นตอนหลังจากที่สดับอนุสาสน์ “ภควัทคีตา” จากพระกฤษณะ สารถีประจำพระองค์ !!
คงทราบกันดีแล้วว่า "ภควัทคีตา" ที่แปลว่าบทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้ เป็นชื่อคัมภีร์สำคัญหนึ่งของศาสนาฮินดูนิกายไวษณพที่ยกย่องพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ เป็นพระเจ้าสูงสุด เชื่อกันว่าผู้รจนาคัมภีร์นี้คือ "ฤาษีเวทวยาส" หรือเรียกอีกชื่อว่า "กฤษณะ ไทวปายนวยาส" ผู้รจนามหากาพย์มหาภารตะ โดยคัมภีร์นี้ก็เป็นบรรพหนึ่งของมหากาพย์ใน "ภีษมพรรพ"
ได้แก่บรรพที่พระกฤษณะ นารายณ์อวตารปางกฤษณาวตาร ผู้เป็นทั้งพระสหายและสารถีรถศึกของอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์
โดยเป็นการตอบปัญหาและอธิบายความถวายอรชุน ขณะทรงหดหู่และท้อถอย ที่ต้องนำทัพออกทำสงครามชิงเมืองกับฝ่ายเการพ แห่งจันทรวงศ์เช่นกัน เพราะทรงเห็นว่าล้วนเป็นพระญาติกันทั้งสิ้น ขณะประจัน หน้ากันกลางสมรภูมิ อรชุนในฐานะผู้นำทัพและขวัญกำลังใจของฝ่ายปาณฑพกลับวางศรคาณฑีพลงข้างกาย ไม่ให้สัญญาณนำทัพเข้าโรมรัน
ภควัทคีตา มี 18 อัธยายะ หรือบท – ขอไม่สาธยายละเอียดนะครับ
เอาเป็นว่าภควัทคีตาโดยองค์รวมประกอบด้วยหลักธรรมหัวข้อใหญ่ 2 ประการ
หนึ่งคือ หลักอภิปรัชญาว่าด้วยเรื่องอาตมัน
อีกหนึ่งคือ หลักจริยศาสตร์ว่าด้วยหน้าที่ของกษัตริย์ คือรบเพื่อทำลายล้างอธรรม และผดุงศีลธรรมโดยไม่หวังผลตอบแทน
หลักธรรมของกษัตริย์ หลักธรรมของนักรบ และหลักธรรมของนักปกครอง ตามคติของฮินดู ย่อมไม่เหมือนกับหลักธรรมของพุทธศาสนาฝ่ายหินยานที่มุ่งความหลุดพ้นจากทุกข์เฉพาะตัวเป็นสำคัญนะครับ
ตามเรื่องนั้น เมื่ออรชุนสดับภควัทคีตาเสร็จสรรพ ก็หมดสิ้นความสงสัย หมดสิ้นความท้อถอย ไม่มีความหดหู่หลงเหลืออยู่
ความตอนท้าย ๆ ของภควัทคีตา หรือนัยหนึ่งอนุศาสน์ของพระกฤษณะ ที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุด สรุปย่อลงได้ดังความที่ผมนำมาเป็นหัวเรื่องในวันนี้...
“รบเถิด..อรชุน”
หรือยาวออกไปหน่อย ก็คือประโยคต่อไปนี้...
“รบเถิด...อรชุน...
“รบเถิด...อรชุน... หากท่านตายในสนามรบ สวรรค์ยังเปิดรอท่านอยู่ แม้นหากว่าท่านมีชัย ความเป็นใหญ่ในแผ่นดินกำลังรอให้ท่านครอบครอง”
ที่สำคัญที่สุดคือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลให้คำมั่นสัญญาไปแล้วว่าไม่มุ่งหวังลาภยศวาสนาและตำแหน่งการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น
แม้จะยังไม่มี “พรรคยามเฝ้าดิน” แน่ แต่ถ้าผมจะเขียนถึง “พรรคเทียนแห่งธรรม” คงไม่ว่ากัน
ก็อย่างที่เล่าแหละครับว่า ก่อนจะตัดสินใจนัดชุมนุมประชาชนขั้นเด็ดขาดที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันที่ 20 กันยายน 2549 นั้น ก่อนหน้าสักเดือนเศษ ๆ เราคิดเพียงจะจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ภาคพิเศษเนื่องในวาระครบ 1 ปีในช่วงใกล้ ๆ วันที่ 26 กันยายน 2549 และผมมีความคิดแผลง ๆ ที่จะทำเป็นงานล้อการเมืองที่ขณะนั้นใกล้เลือกตั้ง โดยจะแกล้งทำเป็นว่าพวกเราจะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่ง มีการประกาศนโยบายที่เป็นรูปธรรม เปิดตัวผู้นำพรรค และ ฯลฯ ให้เหมือนจริง ก่อนจะประกาศว่าไม่ใช่เรื่องจริงในตอนท้ายด้วยเหตุผลว่าระบอบการเมืองปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้เกิดพรรคมวลชนทำนองนี้
เรามาลงตัวเรื่องชื่อพรรคกันที่ชื่ออันถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไปแล้ว
“พรรคเทียนแห่งธรรม”
พรรคการเมืองย่อมมีคำขวัญกำกับ ผมไม่ลังเลใจเลยที่จะเลือกคำที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลอีกเช่นกัน “ธรรมนำหน้า” โดยเลือกใช้จากภาษิตสันสกฤต
“ยโต ธรฺมสุตโต ชยะ”
หรือแปลเป็นไทยว่า...
“ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย”
เป็นภาษิตสันสกฤตที่คัดมาจากตอนต้นของ “มหากาพย์มหาภารตะ” ฉบับแปลและเรียบเรียงโดยท่านอาจารย์กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย คุณสนธิ ลิ้มทองกุลเคยนำไปประกาศในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 1 - 2 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในเมื่อจะเป็นเรื่องเล่น ๆ เราจึงคำนึงกันถึงรูปแบบมากเป็นพิเศษ ชื่อพรรค คำขวัญประจำพรรค และที่ขาดไม่ได้ก็คือสัญลักษณ์หรือตราของพรรค เพื่อนำมาใช้จัดงาน
แต่นี่เป็นเรื่องเล่น ๆ ที่สะท้อนออกมาจากความจริง เราจึงต้องมองภาพรวมของพรรคให้ออกว่าจะเป็นขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่อยู่ภายใต้การนำของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทั้งชื่อ ทั้งคำขวัญ และทั้งตรา จึงต้องสะท้อนตัวตนของคน ๆ นี้ให้มากที่สุด ตัวตนในยามต่อสู้อย่างมีพลัง
เป็นเรื่องเล่น ๆ ที่เราจัดประชุมผู้ชำนาญการอย่างเป็นเรื่องเป็นราวหลายกลุ่ม กลุ่มแรกผมได้เล่าไปแล้วว่าเป็นฝ่ายจัดทำนโยนบาย เราขอแรงท่านอาจารย์คมสัน โพธิ์คง ท่านอาจารย์ศาสตรา โตอ่อน และคณะ มาร่วมร่างเค้าโครงยุทธศาสตร์และนโยบายจากคำอรรถาธิบายภาพรวมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กลุ่มต่อมาเราเชิญคุณชูเกียรติ เจริญสุข หัวเรือใหญ่ของการ์ตูนนิสต์ “บัญชา – คามิน” ผู้มีงานประจำเป็นครีเอทีฟโฆษณาระดับต้น ๆ ของเมืองไทย พาทีมงานที่เคยร่วมกันทำแคมเปญจน์ให้พรรคการเมืองมาแล้วหลายพรรค มาร่วมรับฟังเบื้องต้นเพื่อกลับไปคิดรูปแบบการโฆษณาและกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ให้เป็นระบบ
ไม่ว่า “เทียน” หรือ “ธรรม” ล้วนเป็นคำประกาศของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลทั้งสิ้น โดย “เธียรี่ ลาสเวกัส” นำมาร้อยเรียงเป็นบทเพลงอย่างงดงาม
ในฐานะที่เห็น “ความเป็นสนธิ ลิ้มทองกุลในฐานะผู้นำมวลชน” มาตลอดตั้งแต่กันยายน 2548 มาจนถึงวันนั้น – กรกฎาคม 2549 ผมไม่ลังเลเลยที่จะนึกถึง...
“อรชุน”
สัญลักษณ์หรือตราประจำพรรคเทียนแห่งธรรมจึงจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก...
ภาพลายเส้น “อรชุน” น้าวศร “คาณฑีพ” !
อันเป็นตอนหลังจากที่สดับอนุสาสน์ “ภควัทคีตา” จากพระกฤษณะ สารถีประจำพระองค์ !!
คงทราบกันดีแล้วว่า "ภควัทคีตา" ที่แปลว่าบทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้ เป็นชื่อคัมภีร์สำคัญหนึ่งของศาสนาฮินดูนิกายไวษณพที่ยกย่องพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ เป็นพระเจ้าสูงสุด เชื่อกันว่าผู้รจนาคัมภีร์นี้คือ "ฤาษีเวทวยาส" หรือเรียกอีกชื่อว่า "กฤษณะ ไทวปายนวยาส" ผู้รจนามหากาพย์มหาภารตะ โดยคัมภีร์นี้ก็เป็นบรรพหนึ่งของมหากาพย์ใน "ภีษมพรรพ"
ได้แก่บรรพที่พระกฤษณะ นารายณ์อวตารปางกฤษณาวตาร ผู้เป็นทั้งพระสหายและสารถีรถศึกของอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์
โดยเป็นการตอบปัญหาและอธิบายความถวายอรชุน ขณะทรงหดหู่และท้อถอย ที่ต้องนำทัพออกทำสงครามชิงเมืองกับฝ่ายเการพ แห่งจันทรวงศ์เช่นกัน เพราะทรงเห็นว่าล้วนเป็นพระญาติกันทั้งสิ้น ขณะประจัน หน้ากันกลางสมรภูมิ อรชุนในฐานะผู้นำทัพและขวัญกำลังใจของฝ่ายปาณฑพกลับวางศรคาณฑีพลงข้างกาย ไม่ให้สัญญาณนำทัพเข้าโรมรัน
ภควัทคีตา มี 18 อัธยายะ หรือบท – ขอไม่สาธยายละเอียดนะครับ
เอาเป็นว่าภควัทคีตาโดยองค์รวมประกอบด้วยหลักธรรมหัวข้อใหญ่ 2 ประการ
หนึ่งคือ หลักอภิปรัชญาว่าด้วยเรื่องอาตมัน
อีกหนึ่งคือ หลักจริยศาสตร์ว่าด้วยหน้าที่ของกษัตริย์ คือรบเพื่อทำลายล้างอธรรม และผดุงศีลธรรมโดยไม่หวังผลตอบแทน
หลักธรรมของกษัตริย์ หลักธรรมของนักรบ และหลักธรรมของนักปกครอง ตามคติของฮินดู ย่อมไม่เหมือนกับหลักธรรมของพุทธศาสนาฝ่ายหินยานที่มุ่งความหลุดพ้นจากทุกข์เฉพาะตัวเป็นสำคัญนะครับ
ตามเรื่องนั้น เมื่ออรชุนสดับภควัทคีตาเสร็จสรรพ ก็หมดสิ้นความสงสัย หมดสิ้นความท้อถอย ไม่มีความหดหู่หลงเหลืออยู่
ความตอนท้าย ๆ ของภควัทคีตา หรือนัยหนึ่งอนุศาสน์ของพระกฤษณะ ที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุด สรุปย่อลงได้ดังความที่ผมนำมาเป็นหัวเรื่องในวันนี้...
“รบเถิด..อรชุน”
หรือยาวออกไปหน่อย ก็คือประโยคต่อไปนี้...
“รบเถิด...อรชุน...
“รบเถิด...อรชุน... หากท่านตายในสนามรบ สวรรค์ยังเปิดรอท่านอยู่ แม้นหากว่าท่านมีชัย ความเป็นใหญ่ในแผ่นดินกำลังรอให้ท่านครอบครอง”