“สุรยุทธ์” นัด กกต.และผู้เกี่ยวข้องหารือกำหนดวันเลือกตั้งจันทร์นี้ ด้าน กกต.เตรียมเสนอระหว่างวันที่ 16 หรือ 23 ธ.ค. ขณะที่วอร์รูมรัฐบาล เตรียมจัดแคมเปญต้านโกงเลือกตั้ง ป้องกันวงจรอุบาทว์ การคอร์รัปชั่นคืนชีพ ด้าน กมธ.ส่งเสริมคุณธรรม สนช.ติงรัฐบาลไม่สนใจรณรงค์เลือกตั้งโปร่งใส แฉสื่อรัฐไม่มีเวลาให้ “ครูหยุย” เผย “สุจิต-วิษณุ-ประสงค์” ตัวเต็ง ปธ.กมธ.พิจารณา กม.เลือกตั้ง เล็งตั้งอนุ กมธ. 3 ชุดพิจารณาแต่ละฉบับ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าววานนี้ (23 ส.ค.)ว่า ในวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคมนี้จะมีความชัดเจนถึงวันเลือกตั้ง
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ได้รับการประสานทางโทรศัพท์จากนายกรัฐมนตรีมายัง กกต. เพื่อขอหารือเรื่อง การกำหนดวันเลือกตั้งในต้นสัปดาห์หน้า โดย กกต. จะเตรียมข้อมูลและรายละเอียดในการกำหนดวันเลือกตั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกบในการตัดสินใจว่าจะให้มีการเลือกตั้งในวันใด โดยเบื้องต้นจะเสนอในกรอบเดิมคือจัดระหว่างวันที่ 16 หรือ 23 ธ.ค.
นายสุทธิพล กล่าวว่า หลังจากนี้จะมีการเตรียมแผนการจัดการเลือกตั้ง ทั้งการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เขต และแบบสัดส่วน ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ นอกจากนี้จะมีการปรับปรุงการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งในต่างประเทศ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้นับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ดังนั้นเราอาจจะจัดให้มีการนับคะแนนในต่างประเทศเลย เพราะเรากำหนดให้สถานทูตแต่ละประเทศเป็นหน่วยเลือกตั้งอยู่แล้ว
ด้าน นายอรัญ วงศ์อนันต์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ แถลงว่า ผลการลงประชามติในภาคอีสานและภาคเหนือบางส่วนที่มีเสียงไม่เห็นชอบ สูงกว่าเห็นชอบนั้น คงไม่ใช้ตัวชี้วัดกระแสความนิยมของพรรคการเมืองบางพรรคดั่งที่มีความพยายามกล่าวอ้างกัน เพราะในการรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญนั้นรัฐบาลได้พยายามให้ข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนออกมาใช้เสียงลงประชามติ โดยไม่มีการชี้นำว่าให้รับหรือไม่รับ และเมื่อผลออกมาดังนี้คงไม่ใช่เรื่องพิสูจน์กระแสความนิยมของพรรคการเมืองบางพรรคดังที่มีการกล่าวอ้างกัน
“ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้าการลงประชามติ ฝ่ายที่ต่อต้านได้สร้างกระแสไม่รับอย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างกระแสที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับข่าวเรื่องการใช้เงิน ซื้อเสียงในหลายพื้นที่ รวมทั้งเรื่องการใช้วิชามารเขียนจดหมายและปล่อยข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริงร่างรัฐธรรมนูญในหลายมาตรา ประกอบกับในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือหลายจังหวัด เครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่าได้รับท่อน้ำเลี้ยงเพื่อการล้มประชามติอย่างเป็นระบบ โดยไม่มีพรรคการเมืองอื่นร่วมต่อสู้ ดังนั้นคะแนนเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในพื้นที่ดังกล่าวจึงสูง แต่ในการเลือกตั้ง ส.ส.นั้นจะมีตัวแทนจากพรรคๆ ต่างเข้าร่วมแข่งขันหลายพรรค ดังนั้นผลจากการเลือกตั้ง ส.ส. จะเป็นตัวชี้วัดความนิยมที่ชัดเจนกว่าเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ”
สำหรับแนวทางการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งโดยเฉพาะพื้นที่ใน ภาคอีสานและภาคเหนือบางส่วนที่เป็นพื้นที่อิทธิพลของอำนาจเก่านั้น นายอรัญ กล่าวว่า ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ ได้ประชุมกำหนดมาตรการเพื่อรณรงค์ ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการทุจริตการเลือกตั้ง ที่สุดท้ายก็จะนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นวงจรอุบาทว์เดิมๆ ที่เกิดขึ้นและมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
นายอรัญ กล่าวว่า จากผลประชามติโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ ประกอบกับกระแสข่าวเรื่องการใช้เงินซื้อเสียง คณะกรรมการฯ จึงได้กำหนดแนวทาง การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้ประชาชนรับทราบถึงพิษภัยและผลเสียหายจากการทุจริต การเลือกตั้ง ที่จะนำไปสู่การคอรัปชั่นที่สร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำแผนการออกพบปะประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ รวมทั้งจัดทำซีดี รวบรวมเรื่องการคอรัปชั่นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนใช้เป็นแนวทางในการเลือก ส.ส. ในอนาคต ต่อไป
วันเดียวกัน มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้างคุณธรรม และจริยธรรมแก่นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา รองประธาน กมธ. เป็นประธานฯ ได้พิจารณาแนวทางการรณรงค์การเลือกตั้ง เพื่อประยุกต์ใช้ในกิจกรรม “รณรงค์การเลือกตั้งไทยใสสะอาด” โดยมีตัวแทนจากหน่วยงาน ต่างๆ อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี ,กกต. กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานเอกชน เข้าร่วม
ท่านผู้หญิงปรียา แสดงความห่วงว่า ขณะนี้เหลือเวลาแค่ 3 เดือนก็จะมีการเลือกตั้งแล้ว ถือเป็นระยะเวลากระชั้นชิด แต่การรณรงค์การเลือกตั้งให้เกิดความโปร่งใสยังไม่ไปถึงไหน แม้ สนช. และบริษัทเอกชนจะผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ก็ไม่ช่องทางนำเสนอ สื่อของรัฐโดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ก็ไม่มีเวลาให้ ขอร้องไปยังรัฐบาลหลายครั้งก็ได้รับคำตอบว่าเวลาเต็มหมด ไม่สามารถบังคับได้ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณตรงนี้ให้ภาคประชาชนได้ตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ใสสะอาด ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้ใหญ่ ส่วนนักการเมืองเป็นหน้าที่ของ กกต.
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สมาชิก สนช.) ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรก เข้าใจว่าจะมีการคุยกันถึงการทำงาน 2 ประเด็น คือ 1.ตำแหน่งต่างๆ ใน คณะกรรมาธิการเช่น ประธาน ซึ่งจะดูที่อาวุโส มีตัวเก็ง 3 คนคือ นายสุจิต บุญบงการ นายวิษณุ เครืองาม และ น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ
2.วิธีการทำงาน เพราะเวลากระชัดชิด ซึ่งคงมีการตั้งอนุกรรมาธิการฯจำนวน 3 ชุด เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายในแต่ละฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. แต่จะได้เพียงชุดละ 10 คน เพราะไม่ได้ขอยกเว้นข้อบังคับ
นายวัลลภ กล่าวว่า การทำงานของอนุกรรมาธิการและ กรรมาธิการวิสามัญ จะเชื่อมกันตลอด อาจต้องประชุมร่วมกันทุก 3 วัน เพราะเวลามีน้อยและเนื้อหาของทั้ง 3 ฉบับต้องเชื่อมกัน และช่วงท้ายๆ อาจต้องไปประชุมที่ต่างจังหวัด ทั้งนี้ การพิจารณาของ กรรมาธิการฯ เนื่องจากเคยมีกฎหมายนี้มาแล้ว กรรมาธิการฯ อาจจะแตะแค่ ประเด็นสำคัญ เช่น ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วย กกต.จะล้อมคอกเรื่องการซื้อเสียงได้อย่างไร หรือเรื่องการกระจายอำนาจของ กกต. ร่างพ.ร.บ. พรรคการเมือง อาจจะดูเรื่องการรับเงินบริจาคและเรื่องสมาชิก ส่วนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. อาจจะต้องดูเรื่องที่มา เรื่องกลุ่มอาชีพที่จะเป็นที่มาให้สรรหา ส.ว.ซึ่งจะเสียเวลาเรื่องนี้มาก อาจจะต้องดูว่าเราไว้ใจ กกต.หรือไม่ หากไม่ไว้ใจก็ต้องลงในรายละเอียดมากกว่าเดิม
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าววานนี้ (23 ส.ค.)ว่า ในวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคมนี้จะมีความชัดเจนถึงวันเลือกตั้ง
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ได้รับการประสานทางโทรศัพท์จากนายกรัฐมนตรีมายัง กกต. เพื่อขอหารือเรื่อง การกำหนดวันเลือกตั้งในต้นสัปดาห์หน้า โดย กกต. จะเตรียมข้อมูลและรายละเอียดในการกำหนดวันเลือกตั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกบในการตัดสินใจว่าจะให้มีการเลือกตั้งในวันใด โดยเบื้องต้นจะเสนอในกรอบเดิมคือจัดระหว่างวันที่ 16 หรือ 23 ธ.ค.
นายสุทธิพล กล่าวว่า หลังจากนี้จะมีการเตรียมแผนการจัดการเลือกตั้ง ทั้งการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เขต และแบบสัดส่วน ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ นอกจากนี้จะมีการปรับปรุงการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งในต่างประเทศ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้นับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ดังนั้นเราอาจจะจัดให้มีการนับคะแนนในต่างประเทศเลย เพราะเรากำหนดให้สถานทูตแต่ละประเทศเป็นหน่วยเลือกตั้งอยู่แล้ว
ด้าน นายอรัญ วงศ์อนันต์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ แถลงว่า ผลการลงประชามติในภาคอีสานและภาคเหนือบางส่วนที่มีเสียงไม่เห็นชอบ สูงกว่าเห็นชอบนั้น คงไม่ใช้ตัวชี้วัดกระแสความนิยมของพรรคการเมืองบางพรรคดั่งที่มีความพยายามกล่าวอ้างกัน เพราะในการรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญนั้นรัฐบาลได้พยายามให้ข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนออกมาใช้เสียงลงประชามติ โดยไม่มีการชี้นำว่าให้รับหรือไม่รับ และเมื่อผลออกมาดังนี้คงไม่ใช่เรื่องพิสูจน์กระแสความนิยมของพรรคการเมืองบางพรรคดังที่มีการกล่าวอ้างกัน
“ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้าการลงประชามติ ฝ่ายที่ต่อต้านได้สร้างกระแสไม่รับอย่างต่อเนื่อง และเป็นการสร้างกระแสที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับข่าวเรื่องการใช้เงิน ซื้อเสียงในหลายพื้นที่ รวมทั้งเรื่องการใช้วิชามารเขียนจดหมายและปล่อยข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริงร่างรัฐธรรมนูญในหลายมาตรา ประกอบกับในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือหลายจังหวัด เครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่าได้รับท่อน้ำเลี้ยงเพื่อการล้มประชามติอย่างเป็นระบบ โดยไม่มีพรรคการเมืองอื่นร่วมต่อสู้ ดังนั้นคะแนนเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในพื้นที่ดังกล่าวจึงสูง แต่ในการเลือกตั้ง ส.ส.นั้นจะมีตัวแทนจากพรรคๆ ต่างเข้าร่วมแข่งขันหลายพรรค ดังนั้นผลจากการเลือกตั้ง ส.ส. จะเป็นตัวชี้วัดความนิยมที่ชัดเจนกว่าเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ”
สำหรับแนวทางการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งโดยเฉพาะพื้นที่ใน ภาคอีสานและภาคเหนือบางส่วนที่เป็นพื้นที่อิทธิพลของอำนาจเก่านั้น นายอรัญ กล่าวว่า ศูนย์ประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ ได้ประชุมกำหนดมาตรการเพื่อรณรงค์ ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการทุจริตการเลือกตั้ง ที่สุดท้ายก็จะนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นวงจรอุบาทว์เดิมๆ ที่เกิดขึ้นและมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
นายอรัญ กล่าวว่า จากผลประชามติโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ ประกอบกับกระแสข่าวเรื่องการใช้เงินซื้อเสียง คณะกรรมการฯ จึงได้กำหนดแนวทาง การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้ประชาชนรับทราบถึงพิษภัยและผลเสียหายจากการทุจริต การเลือกตั้ง ที่จะนำไปสู่การคอรัปชั่นที่สร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำแผนการออกพบปะประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ รวมทั้งจัดทำซีดี รวบรวมเรื่องการคอรัปชั่นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนใช้เป็นแนวทางในการเลือก ส.ส. ในอนาคต ต่อไป
วันเดียวกัน มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้างคุณธรรม และจริยธรรมแก่นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา รองประธาน กมธ. เป็นประธานฯ ได้พิจารณาแนวทางการรณรงค์การเลือกตั้ง เพื่อประยุกต์ใช้ในกิจกรรม “รณรงค์การเลือกตั้งไทยใสสะอาด” โดยมีตัวแทนจากหน่วยงาน ต่างๆ อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี ,กกต. กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานเอกชน เข้าร่วม
ท่านผู้หญิงปรียา แสดงความห่วงว่า ขณะนี้เหลือเวลาแค่ 3 เดือนก็จะมีการเลือกตั้งแล้ว ถือเป็นระยะเวลากระชั้นชิด แต่การรณรงค์การเลือกตั้งให้เกิดความโปร่งใสยังไม่ไปถึงไหน แม้ สนช. และบริษัทเอกชนจะผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ก็ไม่ช่องทางนำเสนอ สื่อของรัฐโดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ก็ไม่มีเวลาให้ ขอร้องไปยังรัฐบาลหลายครั้งก็ได้รับคำตอบว่าเวลาเต็มหมด ไม่สามารถบังคับได้ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณตรงนี้ให้ภาคประชาชนได้ตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ใสสะอาด ตั้งแต่เด็ก ไปจนถึงผู้ใหญ่ ส่วนนักการเมืองเป็นหน้าที่ของ กกต.
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สมาชิก สนช.) ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรก เข้าใจว่าจะมีการคุยกันถึงการทำงาน 2 ประเด็น คือ 1.ตำแหน่งต่างๆ ใน คณะกรรมาธิการเช่น ประธาน ซึ่งจะดูที่อาวุโส มีตัวเก็ง 3 คนคือ นายสุจิต บุญบงการ นายวิษณุ เครืองาม และ น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ
2.วิธีการทำงาน เพราะเวลากระชัดชิด ซึ่งคงมีการตั้งอนุกรรมาธิการฯจำนวน 3 ชุด เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายในแต่ละฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. แต่จะได้เพียงชุดละ 10 คน เพราะไม่ได้ขอยกเว้นข้อบังคับ
นายวัลลภ กล่าวว่า การทำงานของอนุกรรมาธิการและ กรรมาธิการวิสามัญ จะเชื่อมกันตลอด อาจต้องประชุมร่วมกันทุก 3 วัน เพราะเวลามีน้อยและเนื้อหาของทั้ง 3 ฉบับต้องเชื่อมกัน และช่วงท้ายๆ อาจต้องไปประชุมที่ต่างจังหวัด ทั้งนี้ การพิจารณาของ กรรมาธิการฯ เนื่องจากเคยมีกฎหมายนี้มาแล้ว กรรมาธิการฯ อาจจะแตะแค่ ประเด็นสำคัญ เช่น ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วย กกต.จะล้อมคอกเรื่องการซื้อเสียงได้อย่างไร หรือเรื่องการกระจายอำนาจของ กกต. ร่างพ.ร.บ. พรรคการเมือง อาจจะดูเรื่องการรับเงินบริจาคและเรื่องสมาชิก ส่วนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. อาจจะต้องดูเรื่องที่มา เรื่องกลุ่มอาชีพที่จะเป็นที่มาให้สรรหา ส.ว.ซึ่งจะเสียเวลาเรื่องนี้มาก อาจจะต้องดูว่าเราไว้ใจ กกต.หรือไม่ หากไม่ไว้ใจก็ต้องลงในรายละเอียดมากกว่าเดิม