เชียงราย - เตรียมเปิดเวทีถก "Logistic 4 ชาติลุ่มน้ำโขง"ปลายปีนี้ ระดมผู้ประกอบการขนส่งไทย พม่า ลาว จีน วางกรอบการขนส่งคน-สินค้าระหว่างประเทศร่วมกัน ก่อนนำเสนอรัฐบาลแต่ละประเทศบรรจุเป็นข้อตกลง
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 กันยายน หอฯจะจัดประชุมผู้ประกอบการขนส่งในพื้นที่เชียงราย ที่สนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกรรมการขนส่งในกรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย พม่า ลาว จีน ตามโครงการ In-house Logistics Training
ส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่น ขึ้นมารองรับการขนส่งในลุ่มน้ำโขงผ่านเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางไทย-พม่า-จีน , ไทย-ลาว-จีน และการขนส่งผ่านแม่น้ำโขง ที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดูได้จากมูลค่าการค้าที่เกิดขึ้นจากปี 2535 ยุคเริ่มต้นของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ที่มีเพียงการค้าชายแดนระหว่างไทย- พม่า / ไทย-ลาว แต่ไทย-จีนมีมูลค่าเท่ากับศูนย์ แต่ในปี 2549 มูลค่าการค้าชายแดน/การค้าผ่านแดน ในพื้นที่นี้มีเพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ยังเป็นเวทีหารือกัน เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนารองรับกิจการขนส่งสินค้า-ขนส่งคนที่เหมาะสมในอนาคต ที่รัฐจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ก่อนที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อม อ.เชียงของ จ.เชียงราย - เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว รองรับถนนไทย-ลาว-จีน หรือ R3a จะเสร็จสิ้นใน 3 ปีข้างหน้า ว่าจะต้องจัดเตรียมสาธารณูปโภครองรับตรงจุดไหน อย่างไร , จุดพักรถควรอยู่ตรงไหน , นิคมอุตสาหกรรมรองรับการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน ควรจะเป็นรูปแบบใด ใช้พื้นที่ไหนจึงจะเหมาะสม และหลังสะพานฯเปิดใช้แล้ว จะต้องเตรียมการในเรื่องข้อตกลงการขนส่งอย่างไร
นายพัฒนา กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันก็จะหารือกันเกี่ยวกับการจัดเวทีประชุมผู้ประกอบการขนส่งสี่ชาติ ไทย - พม่า - ลาว - จีน ในเดือนพฤศจิกายน 50 ที่จะถึงนี้ที่เชียงรายด้วย ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะเป็นการหารือกันเกี่ยวกับแนวทางการขนส่งที่เหมาะสมระหว่างกัน แต่ละประเทศมีข้อเสนออย่างไร เพื่อจัดทำเป็นชุดข้อเสนอจากภาคเอกชน 4 ชาติ ส่งให้แก่รัฐบาลแต่ละประเทศ นำไปพิจารณาประกอบในข้อตกลงการขนส่งระหว่างประเทศต่อไปด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดระยะที่ผ่านมาแม้ว่าในกรอบหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ GMS จะมีข้อตกลงเรื่องการขนส่งกันอยู่ แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่บรรลุข้อตกลงในหลายประเด็น โดยเฉพาะในระดับทวิภาคี ที่จะต้องมีการลงนามร่วมกันก่อน ซึ่งขณะนี้ไทย-ลาว ได้บรรลุข้อตกลงขนส่งระหว่างกันแล้ว แต่ไทย-พม่า ยังไม่มี หรือไทย-จีน จะทำอย่างไร เป็นต้น รวมไปถึงประเด็นเรื่องกฎระเบียบภาษีต่าง ๆ ก็ต้องมีการพูดคุยกันในรายละเอียดต่อไปด้วย
กล่าวคือ ตอนนี้สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเป็นรูปเป็นร่างเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน แต่กฎระเบียบต่าง ๆ ยังไม่มีรายละเอียด ที่เห็นชัด ๆ แค่สะพานฯมุกดาหาร ก็ยังติดระเบียบหลายเรื่องที่ไม่เอื้อต่อการขนสินค้า หรือแม้แต่ถนน R3a ที่จะเสร็จปีนี้ ก็ยังไม่มีการพูดถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบ เช่น สินค้าผ่านแดนจากไทยผ่านลาวเข้าจีน ปัจจุบันต้องเสียค่าผ่านแดนถึง 2% ทั้งที่ตามหลักการไม่น่าจะสูงขนาดนี้ เป็นต้น
ประธานหอการค้าฯเชียงราย คนปัจจุบัน เชื่อว่า หากทุ่มพัฒนาเรื่อง Logistic Cluster Supply Shane ขึ้นมาจริง ๆ รวมผู้ประกอบการขนส่งในพื้นที่ ในภาคเหนือ หรือทั่วประเทศ เข้ามาด้วยกัน ก็จะทำให้ Logistic ไทยมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น เมื่อ Logistic เดินได้ การขนถ่ายสินค้าจากไทย เข้าสู่ตลาดสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจีนตอนใต้ ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม รวมไปถึงการท่องเที่ยว ก็จะตามมา โดยมีเชียงรายเป็น Hub อำนวยความสะดวกให้
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 กันยายน หอฯจะจัดประชุมผู้ประกอบการขนส่งในพื้นที่เชียงราย ที่สนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกรรมการขนส่งในกรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย พม่า ลาว จีน ตามโครงการ In-house Logistics Training
ส่วนหนึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่น ขึ้นมารองรับการขนส่งในลุ่มน้ำโขงผ่านเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางไทย-พม่า-จีน , ไทย-ลาว-จีน และการขนส่งผ่านแม่น้ำโขง ที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดูได้จากมูลค่าการค้าที่เกิดขึ้นจากปี 2535 ยุคเริ่มต้นของสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ที่มีเพียงการค้าชายแดนระหว่างไทย- พม่า / ไทย-ลาว แต่ไทย-จีนมีมูลค่าเท่ากับศูนย์ แต่ในปี 2549 มูลค่าการค้าชายแดน/การค้าผ่านแดน ในพื้นที่นี้มีเพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ยังเป็นเวทีหารือกัน เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนารองรับกิจการขนส่งสินค้า-ขนส่งคนที่เหมาะสมในอนาคต ที่รัฐจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ก่อนที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อม อ.เชียงของ จ.เชียงราย - เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว รองรับถนนไทย-ลาว-จีน หรือ R3a จะเสร็จสิ้นใน 3 ปีข้างหน้า ว่าจะต้องจัดเตรียมสาธารณูปโภครองรับตรงจุดไหน อย่างไร , จุดพักรถควรอยู่ตรงไหน , นิคมอุตสาหกรรมรองรับการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน ควรจะเป็นรูปแบบใด ใช้พื้นที่ไหนจึงจะเหมาะสม และหลังสะพานฯเปิดใช้แล้ว จะต้องเตรียมการในเรื่องข้อตกลงการขนส่งอย่างไร
นายพัฒนา กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันก็จะหารือกันเกี่ยวกับการจัดเวทีประชุมผู้ประกอบการขนส่งสี่ชาติ ไทย - พม่า - ลาว - จีน ในเดือนพฤศจิกายน 50 ที่จะถึงนี้ที่เชียงรายด้วย ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะเป็นการหารือกันเกี่ยวกับแนวทางการขนส่งที่เหมาะสมระหว่างกัน แต่ละประเทศมีข้อเสนออย่างไร เพื่อจัดทำเป็นชุดข้อเสนอจากภาคเอกชน 4 ชาติ ส่งให้แก่รัฐบาลแต่ละประเทศ นำไปพิจารณาประกอบในข้อตกลงการขนส่งระหว่างประเทศต่อไปด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดระยะที่ผ่านมาแม้ว่าในกรอบหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือ GMS จะมีข้อตกลงเรื่องการขนส่งกันอยู่ แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่บรรลุข้อตกลงในหลายประเด็น โดยเฉพาะในระดับทวิภาคี ที่จะต้องมีการลงนามร่วมกันก่อน ซึ่งขณะนี้ไทย-ลาว ได้บรรลุข้อตกลงขนส่งระหว่างกันแล้ว แต่ไทย-พม่า ยังไม่มี หรือไทย-จีน จะทำอย่างไร เป็นต้น รวมไปถึงประเด็นเรื่องกฎระเบียบภาษีต่าง ๆ ก็ต้องมีการพูดคุยกันในรายละเอียดต่อไปด้วย
กล่าวคือ ตอนนี้สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเป็นรูปเป็นร่างเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน แต่กฎระเบียบต่าง ๆ ยังไม่มีรายละเอียด ที่เห็นชัด ๆ แค่สะพานฯมุกดาหาร ก็ยังติดระเบียบหลายเรื่องที่ไม่เอื้อต่อการขนสินค้า หรือแม้แต่ถนน R3a ที่จะเสร็จปีนี้ ก็ยังไม่มีการพูดถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบ เช่น สินค้าผ่านแดนจากไทยผ่านลาวเข้าจีน ปัจจุบันต้องเสียค่าผ่านแดนถึง 2% ทั้งที่ตามหลักการไม่น่าจะสูงขนาดนี้ เป็นต้น
ประธานหอการค้าฯเชียงราย คนปัจจุบัน เชื่อว่า หากทุ่มพัฒนาเรื่อง Logistic Cluster Supply Shane ขึ้นมาจริง ๆ รวมผู้ประกอบการขนส่งในพื้นที่ ในภาคเหนือ หรือทั่วประเทศ เข้ามาด้วยกัน ก็จะทำให้ Logistic ไทยมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น เมื่อ Logistic เดินได้ การขนถ่ายสินค้าจากไทย เข้าสู่ตลาดสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจีนตอนใต้ ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม รวมไปถึงการท่องเที่ยว ก็จะตามมา โดยมีเชียงรายเป็น Hub อำนวยความสะดวกให้