ทอท.สรุปสาเหตุรันเวย์-แท็กซี่เวย์สุวรรณภูมิชำรุดสิ้น ส.ค.นี้ เพื่อยื่นอนุญาโตตุลาการต้น ก.ย.หรือก่อน 10 ต.ค.ซึ่งจะหมดอายุความ ด้าน “ต่อตระกูล” เผยที่ปรึกษาพบหลายสาเหตุ ทั้งน้ำ-วัสดุก่อสร้าง-การคุมงาน พัวพันทั้งผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้คุมงาน ที่ปรึกษาผลเบื้องต้นนำไปใช้เป็นข้อมูลด้านคดีได้แล้ว
นายต่อตระกูล ยมนาค กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการกรณีการชำรุดบริเวณทางขับ (Taxiway) และทางวิ่ง (Runway) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium วานนี้ (21 ส.ค.) ว่า ภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้ ที่ปรึกษาจะสรุปผลการตรวจสอบหาสาเหตุของความชำรุดเสียหาย รันเวย์ แท็กซี่เวย์ในเบื้องต้นให้ ทอท. เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งก่อนหน้านี้บอร์ด ทอท.ได้มีมติให้ทอท.ดำเนินการแล้ว ซึ่งเบื้องต้นพบมีหลายสาเหตุที่ทำให้รันเวย์ และแท็กซี่เวย์เกิดความเสียหาย ทั้งสาเหตุจากน้ำ วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้าง การควบคุมงาน ซึ่งข้อมูลที่พบ ทำให้มั่นใจว่าสามารถนำไปสู่การดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้
“ทั้งนี้ตามแผนงานที่ปรึกษาจะเจาะสำรวจ รวม 1,320 จุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่กลุ่มที่ปรึกษาเข้ามาสำรวจในเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่าจะทำให้ชี้ผู้รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง”นายต่อตระกูล กล่าว
นายสุรจิต สุรพลชัย ผู้เชี่ยวชาญ 11 ทอท. กล่าวว่า ภายในต้นเดือนก.ย.นี้ ทอท. จะสรุปผลเบื้องต้นสาเหตุรันเวย์แท็กซี่เวย์ชำรุด ซึ่งที่ปรึกษาจะทำรายงานเบื้องต้น (Inception Report) ให้ ทอท.แล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารที่จำเป็น เช่น เอกสารด้านการออกแบบ การควบคุมงาน และการก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งเอกสารบางฉบับเป็นเอกสารย้อนหลังไปถึงช่วงเริ่มต้นออกแบบเมื่อ 14 ปีก่อน เพื่อส่งให้ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งจะช่วยในด้านคดีกับ ทอท. ซึ่งอัยการจะใช้เวลาประมวลเรื่องทั้ง หมดประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะยื่นต่ออนุญาโตตุลาการ ก่อนวันที่ 10 ต.ค. 50 ตามขั้นตอน หลังจากนั้น จะยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองควบ คู่กันไปด้วย เนื่องจากทุกสัญญาก่อสร้าง ของสนามบินสุวรรณภูมิ หากมีข้อพิพาทต้องยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการ ซึ่งเรื่องรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ชำรุด จะต้องยื่นอนุญาโตตุลาการ ภายในเวลา 1 ปี นับจากวันที่พบความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่ง ทอท.จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อป้องกันไว้
นายสุรจิต กล่าวอีกว่า มีการสำรวจพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการตรวจสอบหาสาเหตุ ได้เข้าไปขุดเจาะในพื้นที่บริเวณทางขับ และทางวิ่ง รวม 60 จุด และขุดเจาะพื้นผิวเพิ่มเติมอีก 40 จุด โดยสาเหตุของรันเวย์แท็กซี่เวย์ชำรุดมีหลายประเด็น ซึ่งหาสาเหตุระบุว่า อย่างไรก็จะรู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดชอบซึ่งมี 4 ฝ่ายประกอบด้วยผู้ออกแบบ บริษัท ADC Group ผู้ก่อสร้าง คือ กลุ่ม IOT จอยเวนเจอร์ ผู้ควบคุมงาน บริษัท APC รวมถึง ทอท.ด้วย โดยหลังจากยื่นอนุญาโตฯไปแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมจะเป็นข้อมูลที่จะยืนยันในการฟ้องร้องเพิ่มเติมได้ภายหลัง
ด้าน นายศุภสิทธิ์ ศิริศักดิ์ ประธานกรรมการ กลุ่ม IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium กล่าวว่า ภายในเดือน ส.ค.นี้ จะสรุปสาเหตุเบื้องต้นให้ ทอท.ได้ โดยรายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการจะมีการเจาะสำรวจประมาณ 3 เดือน เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด จากนั้นจะประมวลผลประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ จะมีการตั้งสมมุติฐานของสาเหตุในกรณีต่างๆ เพื่อมาออกแบบวิธีพิสูจน์ โดยสาเหตุเบื้องต้นพบว่า มาจาก 3 ส่วน คือ พื้นผิว น้ำ และดิน เช่น ระดับในสนามบินแต่ละจุดมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีผลกระทบอย่างไร เช่น การไหลของน้ำมีผลกับดินอย่างไร ซึ่งจะโมเดลในการดำเนินการ จากนั้นมีใส่ข้อมูลประมวลผลในคอมพิวเตอร์ และเข้าทดลองในแล็ป เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลสาเหตุของการเสียหายว่าเกิดจากจุดใด
สำหรับการเก็บข้อมูลและตรวจสอบสาเหตุทอท.สามารถนำไปใช้ในการดำเนินคดีได้ แต่ยังไม่สามารถระบุว่าใครเป็นผู้ทำผิดหรือต้องรับผิดชอบได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยยังมีเวลาในการเก็บข้อมูลประมวลผล และวิเคราะห์ตามสัญญา
นายธีระพจน์ วราชิต ผู้จัดการโครงการ ร่วมฝ่ายไทย กลุ่ม IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium กล่าวว่า สาเหตุเบื้องต้นที่ตรวจพบมาจากปัญหาน้ำ ปัญหาของวัสดุก่อสร้าง กระบวนการขั้นตอนในการทำงาน และมาตรฐานการควบคุมงาน ซึ่งต้องนำมาประกอบการตัดสินทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ยังยังชี้ชัดไม่ได้ โดยยืนยันว่า จากการขุดเจาะเบื้องต้นในบริเวณรันเวย์ ว่า สภาพการใช้งานยังมีความแข็งแรง ส่วนแท็กซี่เวย์ และแท็กซี่เลน พบความเสียหายมากกว่า ซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร จากการสุ่มเจาะสำรวจในเบื้องต้นบริเวณทางวิ่งทางขับ 1,320 จุด พบว่ามีตัวอย่างของพื้นผิวแอสฟัสต์ ที่ขุดขึ้นมา มีความหนา 33 เซนติเมตร พบว่ามีดินปะปนอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่า มีปัญหาเรื่องการยึดเกาะตัวกันชั้นพื้นผิวของทางวิ่งทางขับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุความรับเร่งในการก่อสร้างสนามบินและการเลือกใช้วัสดุด้วยจะต้อง ตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
สำหรับการทำงานอาจมีปัญหาบ้างในการเข้าพื้นที่ เพราะมีการเปิดให้เที่ยวบินขึ้นลง ส่วนทีมสำรวจได้ทำการขุดเจาะตัวอย่างของพื้นผิวในแต่ละชั้นเพื่อนำไปทดสอบในห้องทดลอง รวม 1,320 จุด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ ขณะนี้ได้ดำเนินการเจาะไปแล้ว 104 จุด บริเวณแท็กซี่เวย์ บี 1 44 จุด บี 2 39 จุด และพี 4 21 จุด
ขณะที่ นายสืบศักดิ์ พรหมบุญ หนึ่งในคณะที่ปรึกษา กล่าวว่า ได้ให้ข้อสังเกตต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นของปัญหาดังกล่าว เนื่องจากเรื่องนี้จะมีผลต่อคดีการฟ้องร้อง เพราะจะต้องมีการหาผู้กระทำผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งหลายประเด็นที่คณะกรรมการตรวจสอบเบื้องต้นได้เข้าไปสำรวจแล้ว เพื่อให้ผลที่ออกมามีคงวามชัดเจน และละเอียดยิ่งขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วย
โดย ทอท.ได้ว่าจ้าง กลุ่ม IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium วงเงิน 61.407 ล้านบาท ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์และ ตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงของการชำรุดบริเวณรันเวย์ แท็กซี่เวย์สนามบินสุวรรณภูมิพร้อมเสนอมาตรการแก้ไข ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.50-16 ม.ค.51
นายต่อตระกูล ยมนาค กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการกรณีการชำรุดบริเวณทางขับ (Taxiway) และทางวิ่ง (Runway) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium วานนี้ (21 ส.ค.) ว่า ภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้ ที่ปรึกษาจะสรุปผลการตรวจสอบหาสาเหตุของความชำรุดเสียหาย รันเวย์ แท็กซี่เวย์ในเบื้องต้นให้ ทอท. เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งก่อนหน้านี้บอร์ด ทอท.ได้มีมติให้ทอท.ดำเนินการแล้ว ซึ่งเบื้องต้นพบมีหลายสาเหตุที่ทำให้รันเวย์ และแท็กซี่เวย์เกิดความเสียหาย ทั้งสาเหตุจากน้ำ วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้าง การควบคุมงาน ซึ่งข้อมูลที่พบ ทำให้มั่นใจว่าสามารถนำไปสู่การดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้
“ทั้งนี้ตามแผนงานที่ปรึกษาจะเจาะสำรวจ รวม 1,320 จุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่กลุ่มที่ปรึกษาเข้ามาสำรวจในเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่าจะทำให้ชี้ผู้รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง”นายต่อตระกูล กล่าว
นายสุรจิต สุรพลชัย ผู้เชี่ยวชาญ 11 ทอท. กล่าวว่า ภายในต้นเดือนก.ย.นี้ ทอท. จะสรุปผลเบื้องต้นสาเหตุรันเวย์แท็กซี่เวย์ชำรุด ซึ่งที่ปรึกษาจะทำรายงานเบื้องต้น (Inception Report) ให้ ทอท.แล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารที่จำเป็น เช่น เอกสารด้านการออกแบบ การควบคุมงาน และการก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งเอกสารบางฉบับเป็นเอกสารย้อนหลังไปถึงช่วงเริ่มต้นออกแบบเมื่อ 14 ปีก่อน เพื่อส่งให้ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งจะช่วยในด้านคดีกับ ทอท. ซึ่งอัยการจะใช้เวลาประมวลเรื่องทั้ง หมดประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะยื่นต่ออนุญาโตตุลาการ ก่อนวันที่ 10 ต.ค. 50 ตามขั้นตอน หลังจากนั้น จะยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองควบ คู่กันไปด้วย เนื่องจากทุกสัญญาก่อสร้าง ของสนามบินสุวรรณภูมิ หากมีข้อพิพาทต้องยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการ ซึ่งเรื่องรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ชำรุด จะต้องยื่นอนุญาโตตุลาการ ภายในเวลา 1 ปี นับจากวันที่พบความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่ง ทอท.จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อป้องกันไว้
นายสุรจิต กล่าวอีกว่า มีการสำรวจพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการตรวจสอบหาสาเหตุ ได้เข้าไปขุดเจาะในพื้นที่บริเวณทางขับ และทางวิ่ง รวม 60 จุด และขุดเจาะพื้นผิวเพิ่มเติมอีก 40 จุด โดยสาเหตุของรันเวย์แท็กซี่เวย์ชำรุดมีหลายประเด็น ซึ่งหาสาเหตุระบุว่า อย่างไรก็จะรู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดชอบซึ่งมี 4 ฝ่ายประกอบด้วยผู้ออกแบบ บริษัท ADC Group ผู้ก่อสร้าง คือ กลุ่ม IOT จอยเวนเจอร์ ผู้ควบคุมงาน บริษัท APC รวมถึง ทอท.ด้วย โดยหลังจากยื่นอนุญาโตฯไปแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมจะเป็นข้อมูลที่จะยืนยันในการฟ้องร้องเพิ่มเติมได้ภายหลัง
ด้าน นายศุภสิทธิ์ ศิริศักดิ์ ประธานกรรมการ กลุ่ม IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium กล่าวว่า ภายในเดือน ส.ค.นี้ จะสรุปสาเหตุเบื้องต้นให้ ทอท.ได้ โดยรายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการจะมีการเจาะสำรวจประมาณ 3 เดือน เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด จากนั้นจะประมวลผลประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ จะมีการตั้งสมมุติฐานของสาเหตุในกรณีต่างๆ เพื่อมาออกแบบวิธีพิสูจน์ โดยสาเหตุเบื้องต้นพบว่า มาจาก 3 ส่วน คือ พื้นผิว น้ำ และดิน เช่น ระดับในสนามบินแต่ละจุดมีความแตกต่างกันอย่างไร และมีผลกระทบอย่างไร เช่น การไหลของน้ำมีผลกับดินอย่างไร ซึ่งจะโมเดลในการดำเนินการ จากนั้นมีใส่ข้อมูลประมวลผลในคอมพิวเตอร์ และเข้าทดลองในแล็ป เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลสาเหตุของการเสียหายว่าเกิดจากจุดใด
สำหรับการเก็บข้อมูลและตรวจสอบสาเหตุทอท.สามารถนำไปใช้ในการดำเนินคดีได้ แต่ยังไม่สามารถระบุว่าใครเป็นผู้ทำผิดหรือต้องรับผิดชอบได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยยังมีเวลาในการเก็บข้อมูลประมวลผล และวิเคราะห์ตามสัญญา
นายธีระพจน์ วราชิต ผู้จัดการโครงการ ร่วมฝ่ายไทย กลุ่ม IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium กล่าวว่า สาเหตุเบื้องต้นที่ตรวจพบมาจากปัญหาน้ำ ปัญหาของวัสดุก่อสร้าง กระบวนการขั้นตอนในการทำงาน และมาตรฐานการควบคุมงาน ซึ่งต้องนำมาประกอบการตัดสินทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ยังยังชี้ชัดไม่ได้ โดยยืนยันว่า จากการขุดเจาะเบื้องต้นในบริเวณรันเวย์ ว่า สภาพการใช้งานยังมีความแข็งแรง ส่วนแท็กซี่เวย์ และแท็กซี่เลน พบความเสียหายมากกว่า ซึ่งจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร จากการสุ่มเจาะสำรวจในเบื้องต้นบริเวณทางวิ่งทางขับ 1,320 จุด พบว่ามีตัวอย่างของพื้นผิวแอสฟัสต์ ที่ขุดขึ้นมา มีความหนา 33 เซนติเมตร พบว่ามีดินปะปนอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่า มีปัญหาเรื่องการยึดเกาะตัวกันชั้นพื้นผิวของทางวิ่งทางขับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุความรับเร่งในการก่อสร้างสนามบินและการเลือกใช้วัสดุด้วยจะต้อง ตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
สำหรับการทำงานอาจมีปัญหาบ้างในการเข้าพื้นที่ เพราะมีการเปิดให้เที่ยวบินขึ้นลง ส่วนทีมสำรวจได้ทำการขุดเจาะตัวอย่างของพื้นผิวในแต่ละชั้นเพื่อนำไปทดสอบในห้องทดลอง รวม 1,320 จุด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ ขณะนี้ได้ดำเนินการเจาะไปแล้ว 104 จุด บริเวณแท็กซี่เวย์ บี 1 44 จุด บี 2 39 จุด และพี 4 21 จุด
ขณะที่ นายสืบศักดิ์ พรหมบุญ หนึ่งในคณะที่ปรึกษา กล่าวว่า ได้ให้ข้อสังเกตต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นของปัญหาดังกล่าว เนื่องจากเรื่องนี้จะมีผลต่อคดีการฟ้องร้อง เพราะจะต้องมีการหาผู้กระทำผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งหลายประเด็นที่คณะกรรมการตรวจสอบเบื้องต้นได้เข้าไปสำรวจแล้ว เพื่อให้ผลที่ออกมามีคงวามชัดเจน และละเอียดยิ่งขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วย
โดย ทอท.ได้ว่าจ้าง กลุ่ม IMMS/JAC/KJSO-JIBAN Consortium วงเงิน 61.407 ล้านบาท ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์และ ตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงของการชำรุดบริเวณรันเวย์ แท็กซี่เวย์สนามบินสุวรรณภูมิพร้อมเสนอมาตรการแก้ไข ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.50-16 ม.ค.51