karoonsen@hotmail.com
จากผลคะแนนการลงประชามติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2550 มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงทั้งหมด 45,092,955 คน ผู้ที่มาใช้สิทธิออกเสียงมีจำนวน 25,978,954 คน มีคะแนนที่เห็นชอบ 14 ล้านกว่าเสียง ไม่เห็นชอบ 10 ล้านกว่าเสียง มีผู้ที่เห็นชอบ 57.81% ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งและมีผู้ที่ไม่เห็นชอบ 42.19% ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
หลังจากที่หลายฝ่ายลุ้นกันใจหายใจคว่ำว่าการลงประชามติครั้งนี้ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
ผมมองว่าการลงประชามติครั้งนี้เปรียบเหมือนกับการซ้อมใหญ่หรือเป็นการประลองกำลัง เตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้
มีหลายคนมองตัวเลขเห็นชอบ 14 ล้านเสียง กับไม่เห็นชอบ 10 ล้านเสียง ความแตกต่างของคะแนน 4 ล้านเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ถ้าคิดเพียงชั้นเดียวจะเห็นว่าฝ่ายที่เห็นชอบชนะ แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะมีตัวเลขหรือสิ่งที่แฝงอยู่ เพราะการไปลงประชามติครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิเพียง 57.61% และสัดส่วนผู้ที่เห็นชอบกับไม่เห็นชอบมีความแตกต่างกันประมาณ 15% เท่านั้น
ปกติเวลาที่มีการเลือกตั้งส่วนใหญ่จะมีผู้มาใช้สิทธิประมาณ 70% การลงประชามติครั้งนี้มีช่องว่างอยู่ประมาณ 15% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เดินทางไปลงประชามติ หรือเพราะว่ามีเหตุจูงใจน้อย ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไป
เหตุจูงใจที่ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่ไปลงคะแนนก็คือ ไม่มีตัวผู้สมัครเหมือนกับการเลือกตั้ง และไม่มีบทบัญญัติการเสียสิทธิและสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างคือ เงินไม่มา กาไม่เป็น ประกอบกับมีการล็อกชาวบ้านในพื้นที่ไม่ให้ไปออกเสียงประชามติ
ดังนั้น ตัวเลขที่แท้จริงเราต้องดูตัวเลขของประชาชนที่ไม่รับบวกกับประชาชนที่ไม่มา และที่สำคัญคะแนนที่ไม่รับโดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นคะแนนที่มีการจัดการและอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่มีการจัดการทั้งสิ้น
จุดผกผันที่สำคัญครั้งนี้ อยู่ที่คะแนนเสียงของภาคใต้ ส่วนใหญ่ประชาชนจะมีการรับร่างฯ สูงถึงเกือบ 90% มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เห็นชอบ คะแนนของภาคใต้จึงเป็นคะแนนที่เข้าไปช่วยถ่วงดุลภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานที่กลายเป็นพื้นที่สีแดง
ถ้าเรากางแผนที่รายจังหวัดและนำผลคะแนนการลงประชามติคราวนี้มาปักหมุดจะสามารถพยากรณ์ถึงจำนวน ส.ส.ของพรรคใดพรรคหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ทันที
การลงประชามติคราวนี้ผลออกมาคือชนะกันด้วยคะแนนเสียงต่างกัน 4 ล้าน แต่ถ้าเป็นเรื่องอนาคตการเมืองหรือการวิเคราะห์การเมือง คราวนี้รัฐบาล และ คมช.พ่ายแพ้แบบย่อยยับ
กลุ่มพื้นที่ที่ชนะ เช่น ภาคใต้และภาคกลางก็ไม่ได้เป็นผลงานหรือฝีมือของรัฐบาลและ คมช.
กลุ่มพื้นที่ที่แพ้ปรากฏชัดเจนว่าเป็นกลุ่มพื้นที่อิทธิพลของนักการเมืองกลุ่มอำนาจเก่า
จำนวน ส.ส.จะมีความสัมพันธ์หรือแปรผันตามขนาดของพื้นที่ อย่างกรณีนี้ ภาคใต้ถึงแม้ว่าทั้งภาคจะเห็นชอบแตกต่างจากภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน แต่เมื่อเทียบพื้นที่ภาคใต้มีขนาดพื้นที่ที่เล็กกว่ามาก ผิดกับภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้นสัดส่วน ส.ส.ของภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานย่อมมากกว่าภาคใต้ อาจเป็นตัวเลขประมาณ 150 คนต่อ 50 คน และส่วนใหญ่พื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานก็ยังคงเป็นพื้นที่ของกลุ่มอำนาจเก่าอยู่ทั้งหมด
กลุ่มพื้นที่สีแดงเป็นกลุ่มจังหวัดที่ใช้เป็นบัญชีรายชื่อของพรรคฯ ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ประมาณ 4 กลุ่มจังหวัดเกี่ยวเนื่องกันตามรัฐธรรมนูญ
โอกาสกลุ่มอำนาจเก่าจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเฉพาะในกลุ่มจังหวัดพื้นที่สีแดงอีกประมาณ 30 คน
นี่ยังไม่นับรวมพื้นที่สีเขียวที่กลุ่มอำนาจเก่าจะสามารถช่วงชิง ส.ส.ได้อีกหลายสิบคน เมื่อรวมแล้วน่าตกใจและใจหายใจคว่ำ กลุ่มอำนาจเก่าจะได้ ส.ส.ไปแล้วเกินครึ่งของสภา
จุดที่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกคือคะแนนเสียงของ กทม. ครั้งนี้ก็ไม่ใช่ตัวที่สามารถชี้ขาดได้ เพราะ ชาว กทม.เองก็ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะมอบความไว้วางใจให้กับพรรคใดพรรคหนึ่ง และจะกลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เพราะการเลือก ส.ส. ของชาว กทม. มักจะเป็นไปตามกระแส คาดเดาได้ยาก
การลงประชามติครั้งนี้ ยังเป็นการบ้านหรือแบบฝึกหัดชั้นดีสำหรับหัวคะแนนที่จะเตรียมงานใหญ่ และถ้าผลงานจริงออกมาได้มากกว่านี้รับรองต้องมีการอัพค่าตัวเพิ่มขึ้นอีก
ผมเคยบอกตั้งแต่ตอนที่ผมเข้ามาเป็น ส.ส.ร.ใหม่ๆ ว่า การลงประชามติที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประชาชนจะรับร่างหรือเห็นชอบด้วยทั้งหมด และสิ่งสำคัญคือฝ่ายที่ไม่ต้องการให้รับร่างเป็นฝ่ายที่มีทุน มีการจัดตั้งและมีทรัพยากรมหาศาล แต่ฝ่ายที่ต้องการให้ผ่านมีเพียงแค่เครื่องมือภาครัฐ ซึ่งในความเป็นจริงมีก็เหมือนไม่มี
ไหนๆ ก็ไหนๆ ผลก็ออกมาแล้ว อาจจะมีข้อดีของการลงประชามติอยู่หลายข้อ ดังนี้
ประการที่ 1 บรรยากาศทางการเมืองจะได้เลิกอึมครึมจากภาวะความไม่แน่นอนเสียที
ประการที่ 2 นักการเมืองหน้าเก่าหน้าใหม่จะได้ตัดสินใจง่ายขึ้นว่าจะเข้าไปสังกัดพรรคไหน หลังจากที่มะงุมมะงาหรามาพักหนึ่ง
ประการที่ 3 เป็นการบอกรัฐบาลและ คมช. ให้ตื่นจากความฝันได้แล้ว ให้เข้าใจว่าความสมานฉันท์ที่ท่องกันหลังอาหาร 3 เวลา เช้าเย็นเป็นไปไม่ได้กับทักษิณ ชินวัตร
ประการที่ 4 เป็นการโยนหินถามทางของคนในเครื่องแบบที่ต้องการจะออกไปเล่นการเมือง หลังจากที่ประกาศยุทธศาสตร์บันได 4 ขั้น คราวนี้คงต้องระวังว่าบันไดขั้นที่ 5 จะขึ้นหรือจะลงดี
ประการที่ 5 เป็นการประกาศสงครามอย่างชัดเจนจากฝ่ายกลุ่มอำนาจเก่าว่า ตอนนี้เขาพร้อมที่จะสู้ทุกรูปแบบ
ประการที่ 6 เป็นการซ้อมใหญ่ของพวกหัวคะแนนว่าจะเลือกอยู่กับใคร และจะทำงานให้กับใครต่อไป
ประการที่ 7 ข้าราชการจะได้ทำงานแบบโนเกียร์ต่อไป เพราะเขากลับมาแน่
ประการที่ 8 เป็นการบอกให้พี่น้องพันธมิตรเตรียมทางหนีทีไล่ให้ดี
ประการที่ 9 เป็นการตรวจสอบการคานกำลังกันของกลุ่มต่างๆ
มีหลายท่านถามผม เมื่อเห็นคะแนนอย่างนี้ว่าเราควรทำอย่างไร ผมบอกได้คำเดียวครับว่าตอนนี้ต้องทำใจ ในเมื่อเราอยู่ในประเทศนี้มีรัฐบาลที่แอ๊บแบ๊ว และมี คมช.ที่หน่อมแน้ม
นี่แค่ลองทำเล่นๆ เท่านั้นเองครับ คอยดูตอนเอาจริงเอาจังในสมรภูมิรบแย่งชิงอำนาจจากการเลือกตั้งทั่วไปก็แล้วกันรับรองได้ว่าครั้งนี้จะดุเดือดเลือดพล่าน เปรี้ยวหวานมันเค็ม ถึงอกถึงใจพระเดชพระคุณท่านอย่างแน่นอน
สุดท้าย ผมจะบอกให้ว่าวันที่ 19 สิงหา ที่ผ่านมา ผลของตัวเลขเหมือนว่า คมช.จะชนะฝ่ายกลุ่มอำนาจเก่า แต่จริงๆ แล้วชัยชนะเป็นของทักษิณไงครับ ชนะที 2 ประเทศเลย ทั้งฟุตบอลทั้งการเช็กแถวตรวจกำลังคน
จากผลคะแนนการลงประชามติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2550 มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงทั้งหมด 45,092,955 คน ผู้ที่มาใช้สิทธิออกเสียงมีจำนวน 25,978,954 คน มีคะแนนที่เห็นชอบ 14 ล้านกว่าเสียง ไม่เห็นชอบ 10 ล้านกว่าเสียง มีผู้ที่เห็นชอบ 57.81% ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งและมีผู้ที่ไม่เห็นชอบ 42.19% ของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
หลังจากที่หลายฝ่ายลุ้นกันใจหายใจคว่ำว่าการลงประชามติครั้งนี้ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
ผมมองว่าการลงประชามติครั้งนี้เปรียบเหมือนกับการซ้อมใหญ่หรือเป็นการประลองกำลัง เตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้
มีหลายคนมองตัวเลขเห็นชอบ 14 ล้านเสียง กับไม่เห็นชอบ 10 ล้านเสียง ความแตกต่างของคะแนน 4 ล้านเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ถ้าคิดเพียงชั้นเดียวจะเห็นว่าฝ่ายที่เห็นชอบชนะ แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะมีตัวเลขหรือสิ่งที่แฝงอยู่ เพราะการไปลงประชามติครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิเพียง 57.61% และสัดส่วนผู้ที่เห็นชอบกับไม่เห็นชอบมีความแตกต่างกันประมาณ 15% เท่านั้น
ปกติเวลาที่มีการเลือกตั้งส่วนใหญ่จะมีผู้มาใช้สิทธิประมาณ 70% การลงประชามติครั้งนี้มีช่องว่างอยู่ประมาณ 15% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เดินทางไปลงประชามติ หรือเพราะว่ามีเหตุจูงใจน้อย ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไป
เหตุจูงใจที่ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่ไปลงคะแนนก็คือ ไม่มีตัวผู้สมัครเหมือนกับการเลือกตั้ง และไม่มีบทบัญญัติการเสียสิทธิและสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างคือ เงินไม่มา กาไม่เป็น ประกอบกับมีการล็อกชาวบ้านในพื้นที่ไม่ให้ไปออกเสียงประชามติ
ดังนั้น ตัวเลขที่แท้จริงเราต้องดูตัวเลขของประชาชนที่ไม่รับบวกกับประชาชนที่ไม่มา และที่สำคัญคะแนนที่ไม่รับโดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นคะแนนที่มีการจัดการและอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่มีการจัดการทั้งสิ้น
จุดผกผันที่สำคัญครั้งนี้ อยู่ที่คะแนนเสียงของภาคใต้ ส่วนใหญ่ประชาชนจะมีการรับร่างฯ สูงถึงเกือบ 90% มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เห็นชอบ คะแนนของภาคใต้จึงเป็นคะแนนที่เข้าไปช่วยถ่วงดุลภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานที่กลายเป็นพื้นที่สีแดง
ถ้าเรากางแผนที่รายจังหวัดและนำผลคะแนนการลงประชามติคราวนี้มาปักหมุดจะสามารถพยากรณ์ถึงจำนวน ส.ส.ของพรรคใดพรรคหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ทันที
การลงประชามติคราวนี้ผลออกมาคือชนะกันด้วยคะแนนเสียงต่างกัน 4 ล้าน แต่ถ้าเป็นเรื่องอนาคตการเมืองหรือการวิเคราะห์การเมือง คราวนี้รัฐบาล และ คมช.พ่ายแพ้แบบย่อยยับ
กลุ่มพื้นที่ที่ชนะ เช่น ภาคใต้และภาคกลางก็ไม่ได้เป็นผลงานหรือฝีมือของรัฐบาลและ คมช.
กลุ่มพื้นที่ที่แพ้ปรากฏชัดเจนว่าเป็นกลุ่มพื้นที่อิทธิพลของนักการเมืองกลุ่มอำนาจเก่า
จำนวน ส.ส.จะมีความสัมพันธ์หรือแปรผันตามขนาดของพื้นที่ อย่างกรณีนี้ ภาคใต้ถึงแม้ว่าทั้งภาคจะเห็นชอบแตกต่างจากภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน แต่เมื่อเทียบพื้นที่ภาคใต้มีขนาดพื้นที่ที่เล็กกว่ามาก ผิดกับภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้นสัดส่วน ส.ส.ของภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานย่อมมากกว่าภาคใต้ อาจเป็นตัวเลขประมาณ 150 คนต่อ 50 คน และส่วนใหญ่พื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานก็ยังคงเป็นพื้นที่ของกลุ่มอำนาจเก่าอยู่ทั้งหมด
กลุ่มพื้นที่สีแดงเป็นกลุ่มจังหวัดที่ใช้เป็นบัญชีรายชื่อของพรรคฯ ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ประมาณ 4 กลุ่มจังหวัดเกี่ยวเนื่องกันตามรัฐธรรมนูญ
โอกาสกลุ่มอำนาจเก่าจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเฉพาะในกลุ่มจังหวัดพื้นที่สีแดงอีกประมาณ 30 คน
นี่ยังไม่นับรวมพื้นที่สีเขียวที่กลุ่มอำนาจเก่าจะสามารถช่วงชิง ส.ส.ได้อีกหลายสิบคน เมื่อรวมแล้วน่าตกใจและใจหายใจคว่ำ กลุ่มอำนาจเก่าจะได้ ส.ส.ไปแล้วเกินครึ่งของสภา
จุดที่ต้องวิเคราะห์ให้ลึกคือคะแนนเสียงของ กทม. ครั้งนี้ก็ไม่ใช่ตัวที่สามารถชี้ขาดได้ เพราะ ชาว กทม.เองก็ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะมอบความไว้วางใจให้กับพรรคใดพรรคหนึ่ง และจะกลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เพราะการเลือก ส.ส. ของชาว กทม. มักจะเป็นไปตามกระแส คาดเดาได้ยาก
การลงประชามติครั้งนี้ ยังเป็นการบ้านหรือแบบฝึกหัดชั้นดีสำหรับหัวคะแนนที่จะเตรียมงานใหญ่ และถ้าผลงานจริงออกมาได้มากกว่านี้รับรองต้องมีการอัพค่าตัวเพิ่มขึ้นอีก
ผมเคยบอกตั้งแต่ตอนที่ผมเข้ามาเป็น ส.ส.ร.ใหม่ๆ ว่า การลงประชามติที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประชาชนจะรับร่างหรือเห็นชอบด้วยทั้งหมด และสิ่งสำคัญคือฝ่ายที่ไม่ต้องการให้รับร่างเป็นฝ่ายที่มีทุน มีการจัดตั้งและมีทรัพยากรมหาศาล แต่ฝ่ายที่ต้องการให้ผ่านมีเพียงแค่เครื่องมือภาครัฐ ซึ่งในความเป็นจริงมีก็เหมือนไม่มี
ไหนๆ ก็ไหนๆ ผลก็ออกมาแล้ว อาจจะมีข้อดีของการลงประชามติอยู่หลายข้อ ดังนี้
ประการที่ 1 บรรยากาศทางการเมืองจะได้เลิกอึมครึมจากภาวะความไม่แน่นอนเสียที
ประการที่ 2 นักการเมืองหน้าเก่าหน้าใหม่จะได้ตัดสินใจง่ายขึ้นว่าจะเข้าไปสังกัดพรรคไหน หลังจากที่มะงุมมะงาหรามาพักหนึ่ง
ประการที่ 3 เป็นการบอกรัฐบาลและ คมช. ให้ตื่นจากความฝันได้แล้ว ให้เข้าใจว่าความสมานฉันท์ที่ท่องกันหลังอาหาร 3 เวลา เช้าเย็นเป็นไปไม่ได้กับทักษิณ ชินวัตร
ประการที่ 4 เป็นการโยนหินถามทางของคนในเครื่องแบบที่ต้องการจะออกไปเล่นการเมือง หลังจากที่ประกาศยุทธศาสตร์บันได 4 ขั้น คราวนี้คงต้องระวังว่าบันไดขั้นที่ 5 จะขึ้นหรือจะลงดี
ประการที่ 5 เป็นการประกาศสงครามอย่างชัดเจนจากฝ่ายกลุ่มอำนาจเก่าว่า ตอนนี้เขาพร้อมที่จะสู้ทุกรูปแบบ
ประการที่ 6 เป็นการซ้อมใหญ่ของพวกหัวคะแนนว่าจะเลือกอยู่กับใคร และจะทำงานให้กับใครต่อไป
ประการที่ 7 ข้าราชการจะได้ทำงานแบบโนเกียร์ต่อไป เพราะเขากลับมาแน่
ประการที่ 8 เป็นการบอกให้พี่น้องพันธมิตรเตรียมทางหนีทีไล่ให้ดี
ประการที่ 9 เป็นการตรวจสอบการคานกำลังกันของกลุ่มต่างๆ
มีหลายท่านถามผม เมื่อเห็นคะแนนอย่างนี้ว่าเราควรทำอย่างไร ผมบอกได้คำเดียวครับว่าตอนนี้ต้องทำใจ ในเมื่อเราอยู่ในประเทศนี้มีรัฐบาลที่แอ๊บแบ๊ว และมี คมช.ที่หน่อมแน้ม
นี่แค่ลองทำเล่นๆ เท่านั้นเองครับ คอยดูตอนเอาจริงเอาจังในสมรภูมิรบแย่งชิงอำนาจจากการเลือกตั้งทั่วไปก็แล้วกันรับรองได้ว่าครั้งนี้จะดุเดือดเลือดพล่าน เปรี้ยวหวานมันเค็ม ถึงอกถึงใจพระเดชพระคุณท่านอย่างแน่นอน
สุดท้าย ผมจะบอกให้ว่าวันที่ 19 สิงหา ที่ผ่านมา ผลของตัวเลขเหมือนว่า คมช.จะชนะฝ่ายกลุ่มอำนาจเก่า แต่จริงๆ แล้วชัยชนะเป็นของทักษิณไงครับ ชนะที 2 ประเทศเลย ทั้งฟุตบอลทั้งการเช็กแถวตรวจกำลังคน