วานนี้(15 ส.ค.50) นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กกช. เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การโฆษณาที่มีผลต่อเด็กและเยาวชน โดยจะออกประกาศหลักเกณฑ์การโฆษณาที่มีผลกระทบต่อเด็ก และเยาวชนใน 2 มาตราการหลัก ดังนี้
1. การกำหนดระยะเวลา และความถี่ในการออกอากาศ ให้รายการสำหรับเด็ก 1 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ไม่เกิน 12 นาที แบ่งเป็นโฆษณาไม่เกิน 10 นาที และส่งเสริมการบริโภคที่ถูกต้องทางวิชาการให้เด็กอย่างน้อย 2 นาที ซึ่งต้องนับรวมเวลาที่ใช้ในการโฆษณาแฝงเป็นเวลาโฆษณาด้วย
"การโฆษณาในรายการสำหรับเด็ก ห้ามมีข้อความทางการค้าเดียวกัน หรือต่างกันของสินค้าชนิดเดียวกัน ออกอากาศเกิน 4 ครั้ง ต่อหนึ่งชั่วโมง และต้องไม่เกิน 2 ครั้งต่อครึ่งชั่วโมง มาตราการที่ 2. การให้ข้อเท็จจริงและป้องกันการจูงใจเด็กให้บริโภค ใน 4 ข้อ คือ 1. งดการโฆษณาส่งเสริมการขายโดยใช้ ของเล่น ของแถม ของแจก ของแลกซื้อ การชิงรางวัล และการเล่นเกม 2. งดการใช้หุ่น ตัวการ์ตูน บุคคลและตัวละคร ที่เด็กรู้จักเป็นอย่างดี หรืออยู่ในรายการสำหรับเด็ก มาโฆษณาสินค้า บริการ หรือของแถม รวมทั้งห้ามจับ ถือ หรือบริโภค" นายไพบูลย์ กล่าว
ข้อที่ 3. การโฆษณาต้องไม่มีเนื้อหาเชิญชวนให้เด็กบริโภคจนเกินขอบเขต ไม่นำเสนอข้อความ เสียง ภาพถ่าย หรือรูปภาพของสินค้าและบริการใดๆ ที่เกินจริง เช่น คุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี ความทนทาน เป็นต้น 4. คำเตือนใดๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้มีในฉลาก จะต้องปรากฏในโฆษณาเช่นกัน ทั้งนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวจะต้องปฏิบัติใน"รายการสำหรับเด็ก" ที่มีความหมายรวมถึง รายการประเภท น ด และ ท ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก เช่น การ์ตูน หุ่นยนต์ ด้วย ซึ่งจะออกเป็นประกาศการโฆษณาและบริการที่มีผลกระทบต่อเด็ก โดยกรมประชาสัมพันธ์ และมีผลบังคับใช้ 3 เดือน หลังจากออกประกาศ เพื่อให้เวลาผู้ผลิตได้ศึกษาข้อปฏิบัติ
"มาตรการที่เกิดขึ้น มาจากการประชุมร่วมกับทุกฝ่าย อาทิ ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง สมาคมโฆษณา ผู้ผลิตขนมจากเครือสหพัฒนาพิบูล มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งน่ายินดีมาก ที่ภาคธุรกิจ สมาคมโฆษณา และสถานีโทรทัศน์ เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยข้อเสนอต่างๆ ก็มาจากการหารือที่เห็นพ้องต้องกัน ก่อนหน้านี้อาจมีความคิดไม่ตรงกันบ้าง จึงดูเหมือนขัดแย้ง แต่เมื่อมีเวลาได้มานั่งพูดคุยกันมากขึ้น ทุกฝ่ายก็เข้าใจกันดี และพร้อมจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน" นายไพบูลย์ กล่าว
1. การกำหนดระยะเวลา และความถี่ในการออกอากาศ ให้รายการสำหรับเด็ก 1 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ไม่เกิน 12 นาที แบ่งเป็นโฆษณาไม่เกิน 10 นาที และส่งเสริมการบริโภคที่ถูกต้องทางวิชาการให้เด็กอย่างน้อย 2 นาที ซึ่งต้องนับรวมเวลาที่ใช้ในการโฆษณาแฝงเป็นเวลาโฆษณาด้วย
"การโฆษณาในรายการสำหรับเด็ก ห้ามมีข้อความทางการค้าเดียวกัน หรือต่างกันของสินค้าชนิดเดียวกัน ออกอากาศเกิน 4 ครั้ง ต่อหนึ่งชั่วโมง และต้องไม่เกิน 2 ครั้งต่อครึ่งชั่วโมง มาตราการที่ 2. การให้ข้อเท็จจริงและป้องกันการจูงใจเด็กให้บริโภค ใน 4 ข้อ คือ 1. งดการโฆษณาส่งเสริมการขายโดยใช้ ของเล่น ของแถม ของแจก ของแลกซื้อ การชิงรางวัล และการเล่นเกม 2. งดการใช้หุ่น ตัวการ์ตูน บุคคลและตัวละคร ที่เด็กรู้จักเป็นอย่างดี หรืออยู่ในรายการสำหรับเด็ก มาโฆษณาสินค้า บริการ หรือของแถม รวมทั้งห้ามจับ ถือ หรือบริโภค" นายไพบูลย์ กล่าว
ข้อที่ 3. การโฆษณาต้องไม่มีเนื้อหาเชิญชวนให้เด็กบริโภคจนเกินขอบเขต ไม่นำเสนอข้อความ เสียง ภาพถ่าย หรือรูปภาพของสินค้าและบริการใดๆ ที่เกินจริง เช่น คุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี ความทนทาน เป็นต้น 4. คำเตือนใดๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้มีในฉลาก จะต้องปรากฏในโฆษณาเช่นกัน ทั้งนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวจะต้องปฏิบัติใน"รายการสำหรับเด็ก" ที่มีความหมายรวมถึง รายการประเภท น ด และ ท ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก เช่น การ์ตูน หุ่นยนต์ ด้วย ซึ่งจะออกเป็นประกาศการโฆษณาและบริการที่มีผลกระทบต่อเด็ก โดยกรมประชาสัมพันธ์ และมีผลบังคับใช้ 3 เดือน หลังจากออกประกาศ เพื่อให้เวลาผู้ผลิตได้ศึกษาข้อปฏิบัติ
"มาตรการที่เกิดขึ้น มาจากการประชุมร่วมกับทุกฝ่าย อาทิ ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง สมาคมโฆษณา ผู้ผลิตขนมจากเครือสหพัฒนาพิบูล มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งน่ายินดีมาก ที่ภาคธุรกิจ สมาคมโฆษณา และสถานีโทรทัศน์ เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยข้อเสนอต่างๆ ก็มาจากการหารือที่เห็นพ้องต้องกัน ก่อนหน้านี้อาจมีความคิดไม่ตรงกันบ้าง จึงดูเหมือนขัดแย้ง แต่เมื่อมีเวลาได้มานั่งพูดคุยกันมากขึ้น ทุกฝ่ายก็เข้าใจกันดี และพร้อมจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน" นายไพบูลย์ กล่าว