เวลา 15.00 น. วานนี้ (15ส.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พล.ต.ต.เจตน์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น. หัวหน้าพนักงานสอบสวน คดีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ , นายจักรภาพ เพ็ญแข และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปก. ผู้ต้องหาที่ 1-4 คดีดำหมายเลขที่ พ.1562/2550 ระหว่างพนักงานสอบสวน สน.สามเสน ตามคำสั่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล กับแกนนำ นปก. รวม 9 คน ซึ่งถูกดำเนินคดี ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาสั่งการหรือยั่วยุปลุกระดมให้กลุ่มบุคคลกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองและขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำร้องพนักงานสอบสวน ระบุว่า หลังจากศาลอาญา มีคำสั่งให้ประกันตัวแกนนำ นปก. ผู้ต้องหาทั้งเก้า โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องขอฝากขังอันนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก และห้ามให้ข่าวในลักษณะยั่วยุให้ประชาชนเข้าใจผิด และเกิดความแตกแยก มิฉะนั้นจะถอนประกันแล้ว เมื่อคืนวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างเวลา 18.00– 22.34 น. ผู้ต้องหาที่ 1-4 ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุมนปก. ท้องสนามหลวง ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสี่ ผลัดกันขึ้นกล่าวบนเวทีปราศรัย โดยใช้ถ้อยคำลักษณะที่เป็นการยั่วยุ ปลุกระดม กล่าวร้ายพนักงานสอบสวนและเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกระบวนการยุติธรรม ทำนองว่า คนที่ติดคุกในเรือนจำ เพราะเป็นคนโง่ คนจน คนที่ไม่ได้กระทำผิด อีกทั้งพูดยั่วยุให้เกิดความรุนแรงว่า ให้ประชาชนออกมาทำสงครามประชาชน เพื่อให้เกิดความแตกแยกและความวุ่นวายในบ้าน เมือง ซึ่งปรากฏหลักฐานตามภาพและข้อความที่บันทึกในแผ่นวีซีดี 4 แผ่น เป็นหลัก ฐานต่อศาล
ทั้งนี้พนักงานสอบสวนยืนยันคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องที่ 1- 4 ว่า ระหว่างรอคำสั่งศาลผู้ต้องหาทั้งสี่ ได้กระทำการละเมิดเงื่อนไขของศาล ซึ่งหากปล่อยให้ผู้ต้องหาทั้งสี่ กระทำการดังกล่าวต่อไป คำปราศรัยของผู้ต้องหาอาจนำ
ไปสู่ความแตกแยกในหมู่ประชาชน จนถึงขนาดเกิดสงครามประชาชนได้ แต่หากศาลเห็นว่าตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1-4 ยังไม่ผิดเงื่อนไข และยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะเพิกถอนคำสั่งประกันตัว ก็ขอให้ศาลเรียกผู้ต้องหาทั้ง
สี่ มาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมในที่สาธารณะใด ๆ ในลักษณะดังกล่าวอีก ศาลรับคำร้องไว้ และมีคำสั่งสำเนาให้ผู้ต้องเพื่อคำคัดค้านยื่นต่อศาลภายใน 3 วันจนถึงวันที่ 17 ส.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว นายวีระ มุสิ กะพงศ์ , นาย จตุพร พรหมพันธุ์ , นายจักรภพ เพ็ญแข นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และพ.อ. อภิวันท์ วิริยะชัย แกนนำ นปก. ผู้ต้องหาที่ 1-5 และ 7 มาแล้ว โดยอ้างเหตุ ที่ผู้ต้องหากระทำผิดเงื่อนไขคำสั่งประกันตัวของศาล เนื่องจากคืนเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ว่า แกนนำนปก.ทั้ง 6 คนไปพบประชาชนผู้ชุมนุม ณ เวทีท้องสนามหลวงซึ่งมีการนำภาพทั้ง 6 คนขึ้นที่จอโปรเจ็กต์เตอร์ ขณะนายวีระ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ด้านล่างเวที โดยศาลรับคำร้องไว้และนัดไต่สวนเพื่อมีคำสั่งในวันครบกำหนดฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3 ในวันที่ 17 ส.ค. นี้
พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกรณี นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำกลุ่มม็อบนปก. ยังไปขึ้นเวทีปลุกระดมที่สนามหลวงว่า เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเกี่ยวข้องกับศาล ทางศาลมีข้อกำหนดมีคำสั่งไว้อย่างไร ผู้ที่ดูแลให้เป็นไปตามคำสั่งศาลก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่า เข้าข่ายอย่างไรก็สามารถร้องขอต่อศาลได้
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่แกนนำ นปก. ที่ได้รับประกันตัวแต่กลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก ว่า ขอให้รอดูศาลพิจารณาคดีในวันที่ 17 ส.ค.นี้ดีกว่า ว่าจะพิจารณาอย่างไร และใครเคยให้คำมั่นสัญญาต่อศาลไว้อย่างไร หากทำผิดไปจากนั้นศาลจะทำอย่างไร เอาไว้รอฟังผลการพิจารณาคดี
คำร้องพนักงานสอบสวน ระบุว่า หลังจากศาลอาญา มีคำสั่งให้ประกันตัวแกนนำ นปก. ผู้ต้องหาทั้งเก้า โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องขอฝากขังอันนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก และห้ามให้ข่าวในลักษณะยั่วยุให้ประชาชนเข้าใจผิด และเกิดความแตกแยก มิฉะนั้นจะถอนประกันแล้ว เมื่อคืนวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างเวลา 18.00– 22.34 น. ผู้ต้องหาที่ 1-4 ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุมนปก. ท้องสนามหลวง ซึ่งผู้ต้องหาทั้งสี่ ผลัดกันขึ้นกล่าวบนเวทีปราศรัย โดยใช้ถ้อยคำลักษณะที่เป็นการยั่วยุ ปลุกระดม กล่าวร้ายพนักงานสอบสวนและเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกระบวนการยุติธรรม ทำนองว่า คนที่ติดคุกในเรือนจำ เพราะเป็นคนโง่ คนจน คนที่ไม่ได้กระทำผิด อีกทั้งพูดยั่วยุให้เกิดความรุนแรงว่า ให้ประชาชนออกมาทำสงครามประชาชน เพื่อให้เกิดความแตกแยกและความวุ่นวายในบ้าน เมือง ซึ่งปรากฏหลักฐานตามภาพและข้อความที่บันทึกในแผ่นวีซีดี 4 แผ่น เป็นหลัก ฐานต่อศาล
ทั้งนี้พนักงานสอบสวนยืนยันคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องที่ 1- 4 ว่า ระหว่างรอคำสั่งศาลผู้ต้องหาทั้งสี่ ได้กระทำการละเมิดเงื่อนไขของศาล ซึ่งหากปล่อยให้ผู้ต้องหาทั้งสี่ กระทำการดังกล่าวต่อไป คำปราศรัยของผู้ต้องหาอาจนำ
ไปสู่ความแตกแยกในหมู่ประชาชน จนถึงขนาดเกิดสงครามประชาชนได้ แต่หากศาลเห็นว่าตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1-4 ยังไม่ผิดเงื่อนไข และยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะเพิกถอนคำสั่งประกันตัว ก็ขอให้ศาลเรียกผู้ต้องหาทั้ง
สี่ มาทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมในที่สาธารณะใด ๆ ในลักษณะดังกล่าวอีก ศาลรับคำร้องไว้ และมีคำสั่งสำเนาให้ผู้ต้องเพื่อคำคัดค้านยื่นต่อศาลภายใน 3 วันจนถึงวันที่ 17 ส.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว นายวีระ มุสิ กะพงศ์ , นาย จตุพร พรหมพันธุ์ , นายจักรภพ เพ็ญแข นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และพ.อ. อภิวันท์ วิริยะชัย แกนนำ นปก. ผู้ต้องหาที่ 1-5 และ 7 มาแล้ว โดยอ้างเหตุ ที่ผู้ต้องหากระทำผิดเงื่อนไขคำสั่งประกันตัวของศาล เนื่องจากคืนเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ว่า แกนนำนปก.ทั้ง 6 คนไปพบประชาชนผู้ชุมนุม ณ เวทีท้องสนามหลวงซึ่งมีการนำภาพทั้ง 6 คนขึ้นที่จอโปรเจ็กต์เตอร์ ขณะนายวีระ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ด้านล่างเวที โดยศาลรับคำร้องไว้และนัดไต่สวนเพื่อมีคำสั่งในวันครบกำหนดฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3 ในวันที่ 17 ส.ค. นี้
พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงกรณี นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำกลุ่มม็อบนปก. ยังไปขึ้นเวทีปลุกระดมที่สนามหลวงว่า เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเกี่ยวข้องกับศาล ทางศาลมีข้อกำหนดมีคำสั่งไว้อย่างไร ผู้ที่ดูแลให้เป็นไปตามคำสั่งศาลก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่า เข้าข่ายอย่างไรก็สามารถร้องขอต่อศาลได้
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่แกนนำ นปก. ที่ได้รับประกันตัวแต่กลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก ว่า ขอให้รอดูศาลพิจารณาคดีในวันที่ 17 ส.ค.นี้ดีกว่า ว่าจะพิจารณาอย่างไร และใครเคยให้คำมั่นสัญญาต่อศาลไว้อย่างไร หากทำผิดไปจากนั้นศาลจะทำอย่างไร เอาไว้รอฟังผลการพิจารณาคดี