ร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราเข้าที่ประชุม สนช.วันนี้ รมว.คลังยอมรับร่างใหม่โยกผลขาดทุนค่าเงินในทุนสำรองไปบัญชีสำรองพิเศษ ขณะที่ 6 มาตรการแก้ปัญหาบาทผ่านไป 3 สัปดาห์ เอกชนชี้ยังไม่ทำให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น เหตุบาทยังแข็งค่ากว่าภูมิภาค
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (15 ส.ค.) รัฐบาลจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา โดยกฎหมายดังกล่าวจะช่วยแก้ไขความไม่สมดุลในด้านการบันทึกบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อไม่ให้กระทบบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ทั้งนี้ การปรับปรุงวิธีการบันทึกบัญชีของทุนสำรองเงินตราตาม พ.ร.บ.เงินตราฉบับใหม่ ให้บันทึกผลกำไรขาดทุน ที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และให้บันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ
“เดิมทีในการตีค่าทุนสำรอง เมื่อเงินบาทอ่อนเราจะได้กำไร ส่วนที่กำไรจะนำไปใส่ไว้ในบัญชีพิเศษ แต่หากเงินบาทแข็ง เราขาดทุนก็จะนำไปในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี แต่กฎหมายใหม่ที่จะออกมา ไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไรจะให้นำไปใส่ไว้ในบัญชีพิเศษ”นายฉลองภพ กล่าว
ส่วนแนวทางการปรับปรุงระบบการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนบาท รวมทั้งการพิจารณาความเหมาะสมในการแยกตลาดออนชอร์ และออฟชอร์ ด้วยการยกเลิกหรือลดสัดส่วนการนำเงินบาทออกไปนอกประเทศจากบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศนั้น นายฉลองภพคาดว่าจะมีการหารือกันในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ โดยจะเน้นมาตรการระยะปานกลาง แต่ในระยะสั้นก็จะดูว่าจะมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร
ก่อนหน้านี้ นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า ธปท.ไม่มีการรวมบัญชีทุนสำรองเงินตรา (คลังหลวง) และบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร (ธปท.) เข้าเป็นบัญชีเดียวกันเพื่อล้างขาดทุนสะสมของ ธปท. ดังนั้นผลขาดทุนที่เกิดขึ้นยังอยู่ที่บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร
“การแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา ได้ปรับปรุงแค่วิธีการบันทึกบัญชี โดยให้บันทึกผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และให้บันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไว้ในบัญชีสำรองพิเศษ”นายอรรคบุษย์ อ้าง และว่า ธปท.จะบริหารทุนสำรองเงินตราตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด ซึ่งคณะกรรมการฯ จะมีสัดส่วนบุคคลภายนอกมากกว่าคนของ ธปท.
ความคืบหน้าขั้นตอนการพิจารณากฎหมายการเงินทั้ง 4 ฉบับในขณะนี้ โดยในวันที่ 15 ส.ค.นี้ พ.ร.บ.เงินตราจะนำเข้าสู่การพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นวาระแรก ส่วนพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากและพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินยังอยู่ในขั้นตอนของสำนักเลขาคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาอยู่ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกาพิจารณาอยู่ อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่ากฎหมายการเงินทั้ง 4 ฉบับสามารถได้รับการพิจารณาได้ทัน สนช.ชุดนี้ และกฎหมายทุกฉบับจะผ่านได้
*** เอกชนยังไม่มั่นใจค่าบาท
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอาหาร ส.อ.ท.กล่าวถึงภาวะค่าเงินบาทหลังจากที่รัฐบาลได้ออก 6 มาตรการเพื่อดูแลปัญหาค่าเงินบาทตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.จนถึงปัจจุบันที่มีผลแล้ว 3 สัปดาห์ ว่า มีผลดีระดับหนึ่งแต่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อภาวะค่าเงินบาทได้มากนักเนื่องจากที่ผ่านมาค่าเงินบาทไทยมีความผันผวนและแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านและขณะนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ ดังนั้นมาตรการที่ออกมาเปรียบเหมือนไทยถือไม้เรียวไว้ขู่แต่ไม่ได้ทำโทษจริง
“6 มาตรการที่ออกมาก็ถือว่าดีกว่าไม่มีอะไรเลยแต่ก็เปรียบเหมือนไม้เรียวที่ถือไว้ แต่ยังไม่ได้หวดก้นใครเท่านั้นเอง ซึ่งก็ยังทำให้ไม่แน่ใจว่าใครจะเข้ามาเก็งกำไรอีกหรือไม่”ไพบูลย์กล่าวอย่างไรก็ตามปกติช่วงไตรมาส 3 ของทุกปีจะเป็นช่วงที่ผู้ส่งออกจะมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศหรือออร์เดอร์เข้ามาจำนวนมากแต่ปีนี้ผู้ส่งออกยังคงไม่กล้าที่จะรับออร์เดอร์ดีหรือไม่เพราะไม่แน่ใจว่าตลอดสิ้นปีนี้ค่าเงินบาทจะไปในทิศทางใดกันแน่ ขณะเดียวกันผู้ซื้อทั้งตลาดสหรัฐและยุโรปก็พยายามที่จะต่อรองราคาทำให้การรับออร์เดอร์อยู่ที่ละรายจะตัดสินใจว่าจะเสี่ยงได้หรือไม่”
นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า ส.อ.ท.กล่าวว่า แม้ว่าภาครัฐจะออก 6 มาตรการมาดูแลค่าเงินบาทและล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ในระดับประมาณ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐยังถือว่ายังไม่สะท้อนภูมิภาคซึ่งตลอดสิ้นปีนี้หากค่าเงินบาทที่การเคลื่อนไหวในระดับ 34-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐจะทำให้การส่งออกไทยจะขยายตัวได้ค่อนข้างสูงมากจากที่โตอยู่ถึง 18 เปอร์เซ็นต์แล้ว
“ผมเดินทางไปสหรัฐมาเห็นเลยว่าเศรษฐกิจเขาก็ไม่ดีอะไร ขณะที่อุตสาหกรรมไทยส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างมากจำเป็นต้องมองตลาดอื่นๆ บ้างโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรองเท้าควรมองไปที่ตลาดยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่มีช่องทางมากแต่ต้องปรับปรุงเรื่องการดีไซน์และคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน”
นายธำรง กล่าวว่า การเปิดเสรีทางการค้าที่ส่งผลให้ภาษีนำเข้ารองเท้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนเหลือ 5% และเร็วๆ นี้กำลังจะเป็น 0% ก็จะทำให้การแข่งขันในอนาคตมีมากขึ้นในผู้ผลิตรองเท้าโดยเฉพาะเอสเอ็มอีแต่ปัญหาหนักสุดหากค่าเงินบาทไทยยังแข็งค่ากว่าคู่แข่งจะยิ่งทำให้ลำบากมากขึ้นซึ่งผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่แล้วเขาปรับตัวเองมามากแล้วพอสมควร แต่ค่าเงินบาทแข็งเขาปรับตัวเองไม่ได้
*** กองทุน SME ปล่อยล็อตแรก 22 ส.ค.
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า หลักการในการกู้เงินจากกองทุนเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาทได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดังนั้นขั้นตอนก็อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่งที่จะพิจารณาลูกค้าในการปล่อยกู้โดยหลังจากที่พิจารณาและอนุมัติแล้วก็จะรายงานให้ ธปท.ทราบเป็นครั้งๆ ไปทุกวันที่ 22 ของเดือนโดยล็อตแรกจะเป็น 22 ส.ค.นี้
“หลักการคือให้ได้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท โดยแบงก์พาณิชย์จะเป็นผู้พิจารณาจากลูกค้าก่อนแต่จะเน้นคนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงิน หรือช่วยเหลือแล้วแต่ยังไม่ได้เต็มวงเงินที่เสนอมา”นายสมมาต กล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (15 ส.ค.) รัฐบาลจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา โดยกฎหมายดังกล่าวจะช่วยแก้ไขความไม่สมดุลในด้านการบันทึกบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อไม่ให้กระทบบัญชีผลประโยชน์ประจำปี ทั้งนี้ การปรับปรุงวิธีการบันทึกบัญชีของทุนสำรองเงินตราตาม พ.ร.บ.เงินตราฉบับใหม่ ให้บันทึกผลกำไรขาดทุน ที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และให้บันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ
“เดิมทีในการตีค่าทุนสำรอง เมื่อเงินบาทอ่อนเราจะได้กำไร ส่วนที่กำไรจะนำไปใส่ไว้ในบัญชีพิเศษ แต่หากเงินบาทแข็ง เราขาดทุนก็จะนำไปในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี แต่กฎหมายใหม่ที่จะออกมา ไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไรจะให้นำไปใส่ไว้ในบัญชีพิเศษ”นายฉลองภพ กล่าว
ส่วนแนวทางการปรับปรุงระบบการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนบาท รวมทั้งการพิจารณาความเหมาะสมในการแยกตลาดออนชอร์ และออฟชอร์ ด้วยการยกเลิกหรือลดสัดส่วนการนำเงินบาทออกไปนอกประเทศจากบัญชีผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศนั้น นายฉลองภพคาดว่าจะมีการหารือกันในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ โดยจะเน้นมาตรการระยะปานกลาง แต่ในระยะสั้นก็จะดูว่าจะมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร
ก่อนหน้านี้ นายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า ธปท.ไม่มีการรวมบัญชีทุนสำรองเงินตรา (คลังหลวง) และบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร (ธปท.) เข้าเป็นบัญชีเดียวกันเพื่อล้างขาดทุนสะสมของ ธปท. ดังนั้นผลขาดทุนที่เกิดขึ้นยังอยู่ที่บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร
“การแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา ได้ปรับปรุงแค่วิธีการบันทึกบัญชี โดยให้บันทึกผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และให้บันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไว้ในบัญชีสำรองพิเศษ”นายอรรคบุษย์ อ้าง และว่า ธปท.จะบริหารทุนสำรองเงินตราตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด ซึ่งคณะกรรมการฯ จะมีสัดส่วนบุคคลภายนอกมากกว่าคนของ ธปท.
ความคืบหน้าขั้นตอนการพิจารณากฎหมายการเงินทั้ง 4 ฉบับในขณะนี้ โดยในวันที่ 15 ส.ค.นี้ พ.ร.บ.เงินตราจะนำเข้าสู่การพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นวาระแรก ส่วนพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากและพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินยังอยู่ในขั้นตอนของสำนักเลขาคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาอยู่ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกาพิจารณาอยู่ อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่ากฎหมายการเงินทั้ง 4 ฉบับสามารถได้รับการพิจารณาได้ทัน สนช.ชุดนี้ และกฎหมายทุกฉบับจะผ่านได้
*** เอกชนยังไม่มั่นใจค่าบาท
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอาหาร ส.อ.ท.กล่าวถึงภาวะค่าเงินบาทหลังจากที่รัฐบาลได้ออก 6 มาตรการเพื่อดูแลปัญหาค่าเงินบาทตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.จนถึงปัจจุบันที่มีผลแล้ว 3 สัปดาห์ ว่า มีผลดีระดับหนึ่งแต่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อภาวะค่าเงินบาทได้มากนักเนื่องจากที่ผ่านมาค่าเงินบาทไทยมีความผันผวนและแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านและขณะนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ ดังนั้นมาตรการที่ออกมาเปรียบเหมือนไทยถือไม้เรียวไว้ขู่แต่ไม่ได้ทำโทษจริง
“6 มาตรการที่ออกมาก็ถือว่าดีกว่าไม่มีอะไรเลยแต่ก็เปรียบเหมือนไม้เรียวที่ถือไว้ แต่ยังไม่ได้หวดก้นใครเท่านั้นเอง ซึ่งก็ยังทำให้ไม่แน่ใจว่าใครจะเข้ามาเก็งกำไรอีกหรือไม่”ไพบูลย์กล่าวอย่างไรก็ตามปกติช่วงไตรมาส 3 ของทุกปีจะเป็นช่วงที่ผู้ส่งออกจะมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศหรือออร์เดอร์เข้ามาจำนวนมากแต่ปีนี้ผู้ส่งออกยังคงไม่กล้าที่จะรับออร์เดอร์ดีหรือไม่เพราะไม่แน่ใจว่าตลอดสิ้นปีนี้ค่าเงินบาทจะไปในทิศทางใดกันแน่ ขณะเดียวกันผู้ซื้อทั้งตลาดสหรัฐและยุโรปก็พยายามที่จะต่อรองราคาทำให้การรับออร์เดอร์อยู่ที่ละรายจะตัดสินใจว่าจะเสี่ยงได้หรือไม่”
นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า ส.อ.ท.กล่าวว่า แม้ว่าภาครัฐจะออก 6 มาตรการมาดูแลค่าเงินบาทและล่าสุดค่าเงินบาทอยู่ในระดับประมาณ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐยังถือว่ายังไม่สะท้อนภูมิภาคซึ่งตลอดสิ้นปีนี้หากค่าเงินบาทที่การเคลื่อนไหวในระดับ 34-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐจะทำให้การส่งออกไทยจะขยายตัวได้ค่อนข้างสูงมากจากที่โตอยู่ถึง 18 เปอร์เซ็นต์แล้ว
“ผมเดินทางไปสหรัฐมาเห็นเลยว่าเศรษฐกิจเขาก็ไม่ดีอะไร ขณะที่อุตสาหกรรมไทยส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างมากจำเป็นต้องมองตลาดอื่นๆ บ้างโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรองเท้าควรมองไปที่ตลาดยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลียที่มีช่องทางมากแต่ต้องปรับปรุงเรื่องการดีไซน์และคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน”
นายธำรง กล่าวว่า การเปิดเสรีทางการค้าที่ส่งผลให้ภาษีนำเข้ารองเท้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนเหลือ 5% และเร็วๆ นี้กำลังจะเป็น 0% ก็จะทำให้การแข่งขันในอนาคตมีมากขึ้นในผู้ผลิตรองเท้าโดยเฉพาะเอสเอ็มอีแต่ปัญหาหนักสุดหากค่าเงินบาทไทยยังแข็งค่ากว่าคู่แข่งจะยิ่งทำให้ลำบากมากขึ้นซึ่งผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่แล้วเขาปรับตัวเองมามากแล้วพอสมควร แต่ค่าเงินบาทแข็งเขาปรับตัวเองไม่ได้
*** กองทุน SME ปล่อยล็อตแรก 22 ส.ค.
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า หลักการในการกู้เงินจากกองทุนเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาทได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดังนั้นขั้นตอนก็อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่งที่จะพิจารณาลูกค้าในการปล่อยกู้โดยหลังจากที่พิจารณาและอนุมัติแล้วก็จะรายงานให้ ธปท.ทราบเป็นครั้งๆ ไปทุกวันที่ 22 ของเดือนโดยล็อตแรกจะเป็น 22 ส.ค.นี้
“หลักการคือให้ได้ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท โดยแบงก์พาณิชย์จะเป็นผู้พิจารณาจากลูกค้าก่อนแต่จะเน้นคนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงิน หรือช่วยเหลือแล้วแต่ยังไม่ได้เต็มวงเงินที่เสนอมา”นายสมมาต กล่าว