"ธีรภัทร์" สนใจข้อเสนอนักวิชาการ รัฐบาลเจ้าภาพจัดดีเบตร่าง รธน.50 แต่ขอให้ฝ่ายสนับสนุน-คัดค้าน เสนอรายชื่อคนให้ข้อมูลมาก่อน พร้อมให้สื่อโทรทัศน์ถ่ายทอดสดก่อนวันลงประชามติ ย้ำพื้นที่กฎอัยการศึกไม่มีปัญหารณรงค์รับ-ไม่รับ ระบุใครมีปัญหา ให้มาบอก
นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการตั้งเวทีดีเบต ระหว่างผู้ที่สนับสนุนและคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ใน 1 สัปดาห์ ก่อนลงประชามติว่า สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ควรจะเป็นเจ้าภาพในการให้ข้อมูลมากกว่ารัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากผู้ต้องการออกมาดีเบต ควรจะเสนอชื่อมาทั้งผู้ที่สนับสนุน และคัดค้านก็สามารถเสนอชื่อมาได้ รัฐบาลก็อาจจะพิจารณาจัดให้ โดยจะประสานสถานีโทรทัศน์ทั้ง ช่อง 9 และช่อง 11ให้ว่าจะได้เวลาใด
ส่วนการให้ข้อมูล หรือรณรงค์ที่ผ่านมาเพียงพอหรือไม่นั้น เห็นว่า คงจะมีปัญหาในด้านเวลาที่จำกัด และตนก็พยายามให้สื่อโทรทัศน์นำเนื้อหามาประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุด
"คงจะหารือกันก่อนว่า หากรัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพในการจัดดีเบตอีกครั้ง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และหากเสนอมาในวันนี้ (14 ส.ค.) ก็น่าจะจัดได้ทันก่อนวันศุกร์ที่ 17 ส.ค.นี้ แต่จะรับทำเลยหรือไม่ ยังไม่ทราบ แต่จริงๆปัญหายังอยู่ที่เวลาของแต่ละสถานีที่จะให้ในการดีเบต สถานีโทรทัศน์จะมีเวลาให้หรือไม่ แต่จริงๆ แล้วองค์กรกลางน่าจะเหมาะสม และเป็นกลางกว่า และครั้งที่แล้ว ช่อง11 ก็ถ่ายทอดสดให้ด้วย ซึ่งรัฐบาลก็จะไม่ถูกข้อครหาว่าไม่เป็นกลาง ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมจะเอื้ออำนวยในเรื่องของสื่อโทรทัศน์ให้แล้ว ผมคงจะไปกำหนดไม่ได้ว่า จะให้ใครมาดีเบต"
นายธีรภัทร์ กล่าวด้วยว่า หากสำนักนายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพในการจัดดีเบตเองนั้น ก็สามารถทำได้ แต่เมื่อเอาตัวบุคคลมาเอง ก็จะมีปัญหาดังนั้ จึงควรจะกำหนดมาเองจะดีกว่า และผู้ที่จะออกมาดีเบต ก็ควรจะเป็นคนใหม่ที่มาให้ข้อมูลกับประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนเวทีของฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ที่อ้างว่าไม่ได้รับโอกาสจากสื่อของรัฐนั้น ที่จริงทั้ง 2 ฝ่ายถือว่าพอๆกัน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ และสาระของร่างรัฐธรรมนูญปี 50 มากกว่า คงไม่ใช้ลักษณะเป็นรายการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนการรณรงค์ให้ประชาชนรับ หรือไม่รับ ร่างฯ ในจังหวัดที่ยังมีการประกาศกฎอัยการศึกอยู่นั้น เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาหากทำโดยบริสุทธ์ใจ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวตามกฎหมาย เพราะหากพบปัญหาก็ขอให้มาบอกกับตนได้โดยตรง และจะให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนกรณีที่มองว่าในพื้นที่ยังประกาศกฎอัยการศึก จะเป็นการปิดกั้นระบอบประชาธิปไตยหรือไม่นั้น เห็นว่า ในคูหาทุกคนถือว่า ฟรีแมน ฟรีโหวต อยู่แล้ว ไม่มีใครเห็นว่าออกเสียงประชามติไปอย่างไรจะข่มขู่ ก็ไม่ได้ หากใครจะข่มขู่ หรือใช้อิทธิพล ก็จะผิดกฎหมายใน พ.ร.บ. ว่าด้วย ความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550 มีโทษจำคุก ไม่ว่าฝ่ายราชการ หรือฝ่ายอื่น ๆก็ตาม
นายธีรภัทร์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัดงานรณรงค์ในวันนี้ เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนมาใช้สิทธิ แม้จะมีประชาชนมาเป็นจำนวนมาก รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย หรือหน่วยราชการยืนอยู่บนแนวทางที่จะให้ประชาชนมาใช้สิทธิให้มากที่สุด แต่การออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เป็นไปโดยอิสระ ไม่มีใครบังคับได้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณผู้ใช้สิทธิ เพราะรัฐบาลตะหนักว่า ควรจะมีผู้มาใช้สิทธิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด คือ มากกว่า 23 ล้านคน
สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายออกมาระบุตรงกันว่า มีการซื้อสิทธิ ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หัวละ 200-300 บาทนั้น ยอมรับว่า คงจะต้องหาหลักฐานกันนานจึงไม่สามารถที่ยืนยันคนผิดได้ ส่วนกระแสข่าวที่รัฐบาลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำโพลลับในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 14 ส.ค.นี้นั้น นายธีรภัทร กล่าวว่า ไม่ทราบ ยกเว้นหน่วยงานอื่น ๆจะทำกันเอง เพราะหลังเวลา 24.00 น.วันที่ 16 ส.ค. จะไม่สามารถเผยแพร่ได้ หรือการทำเอ็กซิดโพลนั้น ก็สามารถทำได้ แต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ในวันที่ 16 ส.ค.
นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการตั้งเวทีดีเบต ระหว่างผู้ที่สนับสนุนและคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ใน 1 สัปดาห์ ก่อนลงประชามติว่า สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ควรจะเป็นเจ้าภาพในการให้ข้อมูลมากกว่ารัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากผู้ต้องการออกมาดีเบต ควรจะเสนอชื่อมาทั้งผู้ที่สนับสนุน และคัดค้านก็สามารถเสนอชื่อมาได้ รัฐบาลก็อาจจะพิจารณาจัดให้ โดยจะประสานสถานีโทรทัศน์ทั้ง ช่อง 9 และช่อง 11ให้ว่าจะได้เวลาใด
ส่วนการให้ข้อมูล หรือรณรงค์ที่ผ่านมาเพียงพอหรือไม่นั้น เห็นว่า คงจะมีปัญหาในด้านเวลาที่จำกัด และตนก็พยายามให้สื่อโทรทัศน์นำเนื้อหามาประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุด
"คงจะหารือกันก่อนว่า หากรัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพในการจัดดีเบตอีกครั้ง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และหากเสนอมาในวันนี้ (14 ส.ค.) ก็น่าจะจัดได้ทันก่อนวันศุกร์ที่ 17 ส.ค.นี้ แต่จะรับทำเลยหรือไม่ ยังไม่ทราบ แต่จริงๆปัญหายังอยู่ที่เวลาของแต่ละสถานีที่จะให้ในการดีเบต สถานีโทรทัศน์จะมีเวลาให้หรือไม่ แต่จริงๆ แล้วองค์กรกลางน่าจะเหมาะสม และเป็นกลางกว่า และครั้งที่แล้ว ช่อง11 ก็ถ่ายทอดสดให้ด้วย ซึ่งรัฐบาลก็จะไม่ถูกข้อครหาว่าไม่เป็นกลาง ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมจะเอื้ออำนวยในเรื่องของสื่อโทรทัศน์ให้แล้ว ผมคงจะไปกำหนดไม่ได้ว่า จะให้ใครมาดีเบต"
นายธีรภัทร์ กล่าวด้วยว่า หากสำนักนายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพในการจัดดีเบตเองนั้น ก็สามารถทำได้ แต่เมื่อเอาตัวบุคคลมาเอง ก็จะมีปัญหาดังนั้ จึงควรจะกำหนดมาเองจะดีกว่า และผู้ที่จะออกมาดีเบต ก็ควรจะเป็นคนใหม่ที่มาให้ข้อมูลกับประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนเวทีของฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ที่อ้างว่าไม่ได้รับโอกาสจากสื่อของรัฐนั้น ที่จริงทั้ง 2 ฝ่ายถือว่าพอๆกัน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนออกมาใช้สิทธิในการลงประชามติ และสาระของร่างรัฐธรรมนูญปี 50 มากกว่า คงไม่ใช้ลักษณะเป็นรายการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนการรณรงค์ให้ประชาชนรับ หรือไม่รับ ร่างฯ ในจังหวัดที่ยังมีการประกาศกฎอัยการศึกอยู่นั้น เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาหากทำโดยบริสุทธ์ใจ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวตามกฎหมาย เพราะหากพบปัญหาก็ขอให้มาบอกกับตนได้โดยตรง และจะให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
ส่วนกรณีที่มองว่าในพื้นที่ยังประกาศกฎอัยการศึก จะเป็นการปิดกั้นระบอบประชาธิปไตยหรือไม่นั้น เห็นว่า ในคูหาทุกคนถือว่า ฟรีแมน ฟรีโหวต อยู่แล้ว ไม่มีใครเห็นว่าออกเสียงประชามติไปอย่างไรจะข่มขู่ ก็ไม่ได้ หากใครจะข่มขู่ หรือใช้อิทธิพล ก็จะผิดกฎหมายใน พ.ร.บ. ว่าด้วย ความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550 มีโทษจำคุก ไม่ว่าฝ่ายราชการ หรือฝ่ายอื่น ๆก็ตาม
นายธีรภัทร์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัดงานรณรงค์ในวันนี้ เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนมาใช้สิทธิ แม้จะมีประชาชนมาเป็นจำนวนมาก รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย หรือหน่วยราชการยืนอยู่บนแนวทางที่จะให้ประชาชนมาใช้สิทธิให้มากที่สุด แต่การออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เป็นไปโดยอิสระ ไม่มีใครบังคับได้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณผู้ใช้สิทธิ เพราะรัฐบาลตะหนักว่า ควรจะมีผู้มาใช้สิทธิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด คือ มากกว่า 23 ล้านคน
สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายออกมาระบุตรงกันว่า มีการซื้อสิทธิ ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หัวละ 200-300 บาทนั้น ยอมรับว่า คงจะต้องหาหลักฐานกันนานจึงไม่สามารถที่ยืนยันคนผิดได้ ส่วนกระแสข่าวที่รัฐบาลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำโพลลับในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 14 ส.ค.นี้นั้น นายธีรภัทร กล่าวว่า ไม่ทราบ ยกเว้นหน่วยงานอื่น ๆจะทำกันเอง เพราะหลังเวลา 24.00 น.วันที่ 16 ส.ค. จะไม่สามารถเผยแพร่ได้ หรือการทำเอ็กซิดโพลนั้น ก็สามารถทำได้ แต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ในวันที่ 16 ส.ค.