ป.ป.ช.เชือด “ปลอดประสพ” ผิดอาญาร้ายแรง หลังสอบพบสมัยเป็นอธิบดีกรมป่าไม้อนุญาตให้เอกชนส่งออกเสือโคร่งไปให้เอกชนในจีนเพื่อธุรกิจ ระบุเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามกม.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เตรียมส่งอัยการฟ้องอาญา ส่วนความผิดวินัยไม่มีผลเพราะเกษียณอายุราชการแล้ว
ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วานนี้ (9 ส.ค.) นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงภายหลังการประชุมพิจารณาเรื่องกล่าวหา นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ กับพวก ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบกรณีพิจารณาใบอนุญาตให้มีการส่งออกเสือโคร่ง ที่อยู่ในความครอบครองของบริษัท เอกชนไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่ามีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า กองตำรวจป่าไม้ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญา เรื่องกล่าวหาอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ กับพวกกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ใน 3 ประเด็นคือ 1.ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนซึ่งแจ้งการครอบครองเสือโคร่งที่ได้มาโดยมิชอบ และพิจารณาอนุญาต ให้บริษัทดังกล่าวครอบครองเสือโคร่ง เบงกอลจำนวน 125 ตัว โดยมิชอบ
2.ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนที่เพาะพันธุ์เสือโคร่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และพิจารณาอนุญาตให้บริษัทเอกชน เพาะพันเสือโคร่งโดยมิชอบ3.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีพิจารณาอนุญาตให้มีการส่งออกเสือโคร่ง ที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทเอกชน ไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
นายกล้านรงค์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยไต่สวนพยานบุคคลจำนวน 18 ปาก และได้รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าข้อกล่าวหาในประเด็นที่ 1และ 2 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิด จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนข้อกล่าวหาที่ 3 คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่าการที่อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ได้ลงนามอนุญาต ให้บริษัทเอกชนในประเทศไทยส่งออกเสือโคร่งจำนวน 100 ตัวไปยังสวนสัตว์สาธารณะของบริษัทเอกชนที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังกล่าวนั้น นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ม.23 ม.26 เนื่องจากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อการสำรวจ การศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การเพาะพันธ์หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะซึ่งกระทำโดยราชการ
“แต่กรณีดังกล่าวเป็นการขออนุญาตส่งออกเพื่อประโยชน์ในกิจการสวนสัตว์สาธารณะของบริษัทเอกชน มิใช่เป็นการเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ซึ่งกระทำโดยทางราชการ เป็นการกระทำที่เอื้อให้กับบริษัทเอกชน ได้รับประโยชน์จากการส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย การกระทำของดีอธิบดีกรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157”โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าว
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติให้ส่งรายงานเอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และส่งรายงานไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับอธิบดีกรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจาก นายปลอดประสพ ได้เกษียณอายุราชการจากตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้ว การเสนอรายงานเอกสาร และความเห็นของ ป.ป.ช.ไปยังผู้บังคับบัญชาจึงไม่มีผลในทางปฏิวัติ เพียงแต่ ป.ป.ช.ดำเนินการไปตามขั้นตอน
ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วานนี้ (9 ส.ค.) นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงภายหลังการประชุมพิจารณาเรื่องกล่าวหา นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ กับพวก ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบกรณีพิจารณาใบอนุญาตให้มีการส่งออกเสือโคร่ง ที่อยู่ในความครอบครองของบริษัท เอกชนไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่ามีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า กองตำรวจป่าไม้ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญา เรื่องกล่าวหาอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ กับพวกกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ใน 3 ประเด็นคือ 1.ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนซึ่งแจ้งการครอบครองเสือโคร่งที่ได้มาโดยมิชอบ และพิจารณาอนุญาต ให้บริษัทดังกล่าวครอบครองเสือโคร่ง เบงกอลจำนวน 125 ตัว โดยมิชอบ
2.ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนที่เพาะพันธุ์เสือโคร่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และพิจารณาอนุญาตให้บริษัทเอกชน เพาะพันเสือโคร่งโดยมิชอบ3.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีพิจารณาอนุญาตให้มีการส่งออกเสือโคร่ง ที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทเอกชน ไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
นายกล้านรงค์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยไต่สวนพยานบุคคลจำนวน 18 ปาก และได้รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าข้อกล่าวหาในประเด็นที่ 1และ 2 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิด จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนข้อกล่าวหาที่ 3 คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่าการที่อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ได้ลงนามอนุญาต ให้บริษัทเอกชนในประเทศไทยส่งออกเสือโคร่งจำนวน 100 ตัวไปยังสวนสัตว์สาธารณะของบริษัทเอกชนที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังกล่าวนั้น นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ม.23 ม.26 เนื่องจากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อการสำรวจ การศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การเพาะพันธ์หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะซึ่งกระทำโดยราชการ
“แต่กรณีดังกล่าวเป็นการขออนุญาตส่งออกเพื่อประโยชน์ในกิจการสวนสัตว์สาธารณะของบริษัทเอกชน มิใช่เป็นการเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ซึ่งกระทำโดยทางราชการ เป็นการกระทำที่เอื้อให้กับบริษัทเอกชน ได้รับประโยชน์จากการส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย การกระทำของดีอธิบดีกรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157”โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าว
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติให้ส่งรายงานเอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และส่งรายงานไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับอธิบดีกรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจาก นายปลอดประสพ ได้เกษียณอายุราชการจากตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้ว การเสนอรายงานเอกสาร และความเห็นของ ป.ป.ช.ไปยังผู้บังคับบัญชาจึงไม่มีผลในทางปฏิวัติ เพียงแต่ ป.ป.ช.ดำเนินการไปตามขั้นตอน