ผู้จัดการรายวัน –โอ บอง แปง เร่งเครื่องหนัก เทงบรวม 25 ล้านบาท ผุดอีก 3 สาขา สู่เป้ารวม 36 สาขาถึงสิ้นปีนี้ เล็งขยายตามโรงพยาบาลเป็นหลัก พร้อมทั้งเพิ่มความถี่จัดโปรโมชั่น หลังสาขาในศูนย์การค้าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและปัญหาความไม่ปลอดภัย คาดปีนี้เติบโต 8%
นายนาดิม ซาเวียร์ ซาลฮานี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีพี คาเฟ่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบการกิจการร้าน โอ บอง แปง เดอะ เบเกอรี่ คาเฟ่ ในประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯจะขยายสาขาของ โอ บอง แปง (au bon pain) เพิ่มขึ้นเพื่อให้ครบ 36 แห่งให้ได้ เพื่อเป็นการขยายกิจการ รวมทั้งการเพิ่มยอดรายได้ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าครึ่งปีหลังจะเปิดอีก 5 สาขา ประกอบด้วยสาขาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ 2 แห่ง, เซ็นทรัลเวิลด์ (ฝั่งออฟฟิศ), สยามสแควร์ 1แห่ง และที่เจอะเวนิว พัทยาอีก 1 แห่ง โดยการเปิดทั้ง 5 สาขา คาดว่าจะใช้งบทั้งหมดประมาณกว่า 25 ล้านบาท
ทั้งนี้โลเกชั่นในการเปิดบริษัทฯจะโฟกัสการขยายสาขาตามโรงพยาบาล ให้มากขึ้นเนื่องจากที่ผ่านมาการเติบโตจากสาขาในกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง สาขาที่เปิดตามโรงพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน 5 แห่ง เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 2 แห่ง โรงพยาบาลกรุงเทพ 1 แห่ง สมิติเวช 2 แห่ง มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก มีทั้งลูกค้าที่เป็นคนไทยและต่างชาติเข้ามาใช้บริการ
สาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเลขของกลุ่มโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทฯมีสินค้าสอดคล้องกับคอนเซ็ปของโรงพยาบาล ที่ต้องมีสินค้าที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวสังเคราะห์ หรือ ทรานส์แฟ็ต ส่งเข้าตามโรงพยาบาลด้วย อีกทั้งการปรับโปรโมชั่นให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในโรงพยาบาลพร้อมทั้งเริ่มมีการทำตลาดแบบดีลิเวอรี่ รวมทั้งการทำสินค้าใหม่รูปแบบ คอมโบ เซ็ท เป็นครั้งแรก ที่เป็นชุดอาหารเป็นเซ็ท ประกอบด้วย แซนวิช สลัด และเครื่องดื่ม ซึ่งตรงจุดนี้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ครอบคลุมทุกจุดเป้าหมาย จากเดิมที่มีการขายเฉพาะในร้านนอกโรงพยาบาลเท่านั้น
นอกจากนี้บริษัทฯยังเพิ่มความถี่ของการจัดโปรโมชั่น รวมทั้งการลอนซ์สินค้าใหม่ทุกๆ 45 วัน เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า หลีกหนีเมนูที่จำเจ จากเดิมที่มี 6 โปรโมชั่นต่อปีเท่านั้น ทำให้ที่ผ่านมา ยอดใช้จ่ายต่อคนต่อบิลเพิ่มได้ถึง 6% จากปัจจุบันฐานลูกค้า 9,000 คนต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนคนไทย 70% ต่างชาติ 30% แบ่งเป็นรายได้จากเครื่องดื่ม 35% แซนวิช 25% เบเกอรี่ 20% สลัดและซุป 10% และอื่นๆอีก 10%
ดังนั้นบริษัทฯจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการทำตลาดอยู่ตลอดเวลา ทั้งการรีโนเวตร้าน การขยายสาขา การปรับเปลี่ยนเมนูเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์กลุ่มลูกค้าที่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า การทำตลาดมีความยากมากขึ้น เพราะผลจากปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมเป็นลูกโซ่
โดยสาขาของ โอ บอง แปง จะมีหลากหลายทั้งรูปแบบ ในห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งในรูปแบบสแตนอโลน แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุดจะเป็นสาขาที่อยู่ตามศูนย์การค้า ซึ่งที่ผ่านมาดูตัวเลขการความถี่ในการเข้ามาเดินในห้างฯลดลงถึง 20% ส่งผลให้ยอดบางสาขาลดลงเช่นเดียวกัน10% แต่ขณะนี้มองว่าถ้าเกิดการเลือกตั้งและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเศรษฐกิจจะกลับมาดีเช่นเดิม
อย่างไรก็ตามจากการปรับตัวสอดคล้องกับความต้องการตลาด บริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่า ผลประกอบการในปีนี้จะสามารถเติบโตได้ 8% แบ่งเป็นการเติบโตขึ้นจากบริการจัดเลี้ยงซึ่งมีรายได้สูงขึ้น 47% และการฉลองครบรอบ 10 ปีในการทำตลาดในประเทศไทย โอ บอง แบง ได้อย่างแน่นอน
ปัจจุบัน โอ บอง แปง มี 300 สาขา ทั่วโลก แบ่งเป็น 250 สาขาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็นสาขาในประเทศไทยที่คาดว่าปีนี้จะเปิดครบ 36 แห่ง และอีก 6 แห่งที่ประเทศไต้หวันและประเทศเกาหลี และต่อจากนี้ไปสาขาของ โอ บอง แปงจะเปิดสาขาใหม่ประมาณ 300 แห่งในญี่ปุ่นและอีก 50 สาขาในแถบตะวันออกกลาง
นายนาดิม ซาเวียร์ ซาลฮานี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีพี คาเฟ่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบการกิจการร้าน โอ บอง แปง เดอะ เบเกอรี่ คาเฟ่ ในประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯจะขยายสาขาของ โอ บอง แปง (au bon pain) เพิ่มขึ้นเพื่อให้ครบ 36 แห่งให้ได้ เพื่อเป็นการขยายกิจการ รวมทั้งการเพิ่มยอดรายได้ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าครึ่งปีหลังจะเปิดอีก 5 สาขา ประกอบด้วยสาขาโรงพยาบาลวิชัยยุทธ 2 แห่ง, เซ็นทรัลเวิลด์ (ฝั่งออฟฟิศ), สยามสแควร์ 1แห่ง และที่เจอะเวนิว พัทยาอีก 1 แห่ง โดยการเปิดทั้ง 5 สาขา คาดว่าจะใช้งบทั้งหมดประมาณกว่า 25 ล้านบาท
ทั้งนี้โลเกชั่นในการเปิดบริษัทฯจะโฟกัสการขยายสาขาตามโรงพยาบาล ให้มากขึ้นเนื่องจากที่ผ่านมาการเติบโตจากสาขาในกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง สาขาที่เปิดตามโรงพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน 5 แห่ง เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 2 แห่ง โรงพยาบาลกรุงเทพ 1 แห่ง สมิติเวช 2 แห่ง มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก มีทั้งลูกค้าที่เป็นคนไทยและต่างชาติเข้ามาใช้บริการ
สาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเลขของกลุ่มโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทฯมีสินค้าสอดคล้องกับคอนเซ็ปของโรงพยาบาล ที่ต้องมีสินค้าที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวสังเคราะห์ หรือ ทรานส์แฟ็ต ส่งเข้าตามโรงพยาบาลด้วย อีกทั้งการปรับโปรโมชั่นให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในโรงพยาบาลพร้อมทั้งเริ่มมีการทำตลาดแบบดีลิเวอรี่ รวมทั้งการทำสินค้าใหม่รูปแบบ คอมโบ เซ็ท เป็นครั้งแรก ที่เป็นชุดอาหารเป็นเซ็ท ประกอบด้วย แซนวิช สลัด และเครื่องดื่ม ซึ่งตรงจุดนี้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ครอบคลุมทุกจุดเป้าหมาย จากเดิมที่มีการขายเฉพาะในร้านนอกโรงพยาบาลเท่านั้น
นอกจากนี้บริษัทฯยังเพิ่มความถี่ของการจัดโปรโมชั่น รวมทั้งการลอนซ์สินค้าใหม่ทุกๆ 45 วัน เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า หลีกหนีเมนูที่จำเจ จากเดิมที่มี 6 โปรโมชั่นต่อปีเท่านั้น ทำให้ที่ผ่านมา ยอดใช้จ่ายต่อคนต่อบิลเพิ่มได้ถึง 6% จากปัจจุบันฐานลูกค้า 9,000 คนต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนคนไทย 70% ต่างชาติ 30% แบ่งเป็นรายได้จากเครื่องดื่ม 35% แซนวิช 25% เบเกอรี่ 20% สลัดและซุป 10% และอื่นๆอีก 10%
ดังนั้นบริษัทฯจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการทำตลาดอยู่ตลอดเวลา ทั้งการรีโนเวตร้าน การขยายสาขา การปรับเปลี่ยนเมนูเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์กลุ่มลูกค้าที่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า การทำตลาดมีความยากมากขึ้น เพราะผลจากปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมเป็นลูกโซ่
โดยสาขาของ โอ บอง แปง จะมีหลากหลายทั้งรูปแบบ ในห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งในรูปแบบสแตนอโลน แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุดจะเป็นสาขาที่อยู่ตามศูนย์การค้า ซึ่งที่ผ่านมาดูตัวเลขการความถี่ในการเข้ามาเดินในห้างฯลดลงถึง 20% ส่งผลให้ยอดบางสาขาลดลงเช่นเดียวกัน10% แต่ขณะนี้มองว่าถ้าเกิดการเลือกตั้งและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเศรษฐกิจจะกลับมาดีเช่นเดิม
อย่างไรก็ตามจากการปรับตัวสอดคล้องกับความต้องการตลาด บริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่า ผลประกอบการในปีนี้จะสามารถเติบโตได้ 8% แบ่งเป็นการเติบโตขึ้นจากบริการจัดเลี้ยงซึ่งมีรายได้สูงขึ้น 47% และการฉลองครบรอบ 10 ปีในการทำตลาดในประเทศไทย โอ บอง แบง ได้อย่างแน่นอน
ปัจจุบัน โอ บอง แปง มี 300 สาขา ทั่วโลก แบ่งเป็น 250 สาขาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็นสาขาในประเทศไทยที่คาดว่าปีนี้จะเปิดครบ 36 แห่ง และอีก 6 แห่งที่ประเทศไต้หวันและประเทศเกาหลี และต่อจากนี้ไปสาขาของ โอ บอง แปงจะเปิดสาขาใหม่ประมาณ 300 แห่งในญี่ปุ่นและอีก 50 สาขาในแถบตะวันออกกลาง