นายกฯ นำคณะเข้าร่วมประชุม LID 2007 ที่เกาะลังกาวี หารือกับประมุข-ผู้นำ 40 ประเทศ พร้อมยกปัญหาใต้หารือในที่ประชุม "เสรีพิศุทธ์"ลงใต้ 3 วันมอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่แก่ตำรวจ เชื่อสถานการณ์จะดีขึ้นหากทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงาน ขณะที่ จนท.ปิดล้อมรวบอีก 9 แนวร่วม สธ.เผยตัวเลขความรุนแรงใต้ 5 เดือนตาย 193 เจ็บนับพัน "อธิการบดีม มอ." ชี้การขาดแคลนครูนำสู่ปัญหาสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จี้รัฐเร่งแก้ ระบุยิ่งปล่อยไว้นับวันยิ่งอันตราย
เมื่อเวลา 10.50 น.วานนี้ (5 ส.ค.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมนายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.การต่างประเทศ พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางกัญจนา สปินเล่อร์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร (กองบิน 6) โดยเครื่องบินกองทัพอากาศ ไปยังเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุม Global 2007 Langkawi International Dialogue
ร.อ.นพ.ยงยุทธ เผยก่อนเดินทางว่า การประชุมหารือนานาชาติลังกาวี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชนเพื่อการสรรหาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา เป็นการประชุมหนึ่งใน Smart Partnership Dialogue Series ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยที่ประชุมหัวหน้ารัฐบาลของประเทศในเครือจักรภพ การประชุมนี้จะจัดขึ้นที่เกาะลังกาวีสลับกับประเทศในแอฟริกา โดยเมื่อจัดที่ลังกาวีใช้ชื่อว่า LID หากจัดขึ้นในแอฟริกาใช้ชื่อว่า Southern African International Dialogue มาเลเซียจัด LID ครั้งแรกเมื่อปี 2538 และจัดแล้ว 7 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2547 LID เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างประมุข ผู้นำรัฐบาลนักวิชาการ และ NGOs ในประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย
โดยการประชุมครั้งนี้มาเลเซียได้เชิญประมุขและหัวหน้ารัฐบาลจาก 40 ประเทศ โดยมีหลายประเทศที่ได้รับเชิญครั้งแรก เช่น ไทย กัมพูชา พม่า เวียดนาม โดยหัวข้อการประชุมครั้งนี้ได้แก่ การขจัดความยากจน การพัฒนาทุนมนุษย์ และการเสริมสร้างขีดความสามารถ "Poverty Eradication through Human Capital Development and Capacity Building" โดยหลังการประชุมนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางไปเยี่ยมชมสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองลังกาวี และเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ และพิธีเปิดการประชุม
"เข้าใจว่าในการประชุมจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้นำประเทศต่าง เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในภาพรวมของอนุภูมิและภูมิภาคมากกว่า โดยเฉพาะแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน และเน้นการเพิ่มศักยภาพมนุษย์ ศักยภาพชุมชน ซึ่งอาจจะอยู่ในช่วงที่มีการประชุมกลุ่มย่อยที่นายกรัฐมนตรีจะได้พบปะกับผู้นำประเทศอื่นๆ"
**"เสรีฯ"ลงใต้ 3 วันเยี่ยม จนท.-ปชช.
วันเดียวกัน พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส รักษาการ ผบ.ตร. พร้อมคณะนายตำรวจ ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อมอบนโยบายการปฏิบัติและตรวจเยี่ยมรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 12 อำเภอ พร้อมทั้งรับฟังผลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ถึงความคืบหน้าในเรื่องคดีความมั่นคงและรับฟังปัญหาของประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง พร้อมทั้งการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อประชาชน
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่และครอบครัวตำรวจ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ จ.ปัตตานี รวมถึงต้องการมารับทราบปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะการได้รับฟังรายงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่ชัดเจน โดยจะไปเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกสถานีและจะพักอยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 3 วัน ที่สำคัญอยากจะฝากให้ประชาชนทุกคนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ และอย่าทิ้งถิ่นฐาน
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เชื่อว่า อีกไม่นานสถานการณ์จะคลีคลายดีขึ้น เพราะทั้งตำรวจ ทหาร และพลเรือน ได้ร่วมมือกันทำงานโดยใช้กฎหมายเป็นหลัก ไม่มีการดำเนินการนอกระบบ สังเกตได้จากเมื่อมีการจับกุมผู้ต้องสงสัยหรือมีผู้ก่อเหตุเสียชีวิต ไม่มีการออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน เพราะเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกขั้นตอน นอกจากนี้ การทำงานแต่ละครั้งได้ระดมผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ลงมาช่วยในการสืบสวนสอบสวนขยายผล
ส่วนกรณีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวกว่า 200 คนนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ทั้งตำรวจและทหารได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรต้องปล่อยตัวไป แต่ก็จะมีการติดตามพฤติกรรมต่อไป เนื่องจากมีข้อมูลและประวัติ หากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมทางเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาดต่อไป
เช้าวันเดียวกันตำรวจ สภ.อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พร้อมเจ้าหน้าที่กองวิทยาการภูธรจังหวัด เข้าตรวจสอบหาหลักฐานอีกครั้งในที่เกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิงโรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง หมู่ 3 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ เมื่อเวลา 04.00 น.พบว่าอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว 4 ห้องเรียนของชั้นอนุบาลได้รับความเสียหาย รวมทั้งอุปกรณ์การเรียน โดยก่อนหน้านี้คืนที่ผ่านมา (4) มีโรงเรียนถูกคนร้ายลอบวางเพลิง 2 แห่ง คือ โรงเรียนมะพร้าวต้นเดียว หมู่ 1 ต.ปูโละปูโย อ.หนองจิก และโรงเรียนบ้านกาแลซือนอ หมู่ 3 ต.คลองใหม่ อ.ยะรัง
**ปิดล้อมรวบอีก 9 ผู้ต้องสงสัย
ต่อมาเวลา 14.00 น.พ.ท.ธักษภณ ศิริรักษ์ ผบ.หน่วยเฉพาะกิจ ที่ 23 พร้อมกำลังตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองกว่า 120 นายเข้าปิดล้อม ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี หลังคนร้ายลอบวางระเบิดนายตำรวจเสียชีวิต 1 นายบาดเจ็บ 5 นายเหตุเกิดเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยการปิดล้อมครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังปูพรมเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 58 จุดทั้งบ้านพักของผู้ต้องสงสัยและบริเวณป่าและทุ่งนาที่มีข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมในพื้นที่ โดยสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 2 คน คือ นายกูฮากาซะห์ กูมูดอ นายบัลลียา แวมานอ พร้อมของกลางที่ยึดมาได้จำนวนมาก อาทิ เครื่องมืออีเลคโทรนิค ปุ๋ยยูเรีย รีโมทคอนโทรล โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ที่คาดว่าน่าจะนำมาประกอบระเบิด
ขณะที่ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 7 คนในพื้นที่ ต.ท่าด่าน และ ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง โดยผู้ต้องสงสัยทั้ง 9 คน เจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งไปสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
**จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาใต้ขาดแคลนครู
ด้าน รศ.ดร.บุญสม สิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวแสดงความเห็นต่อกรณีปัญหาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ขณะนี้หลักสูตรการเรียน สถานที่เรียน และความสามารถของผู้สอนเป็นสาเหตุให้เกิดการว่างงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในที่สุดเยาวชนก็ถูกชักจูงให้เป็นแนวร่วมในการก่อความไม่สงบ ทำให้ผู้ที่รักการศึกษากลับไม่มีความรู้ไม่เพียงพอ ที่จะเรียนต่อในระดับสูง มอ.จึงได้มีส่วนเข้าไปแก้ไขโดยจัดโครงการบริการวิชาการ ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้สอนมีความรู้ทั้งเนื้อหาและหลักสูตรการสอน และจัดอบรมเจ้าของและผู้บริหารโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามด้วย
รศ.ดร.บุญสม กล่าวต่อว่า ในภาระหน้าที่โดยตรงของ มอ.ให้โอกาสกับนักศึกษาที่ยากจน จากทุกภูมิภาคของประเทศเข้าศึกษา มอ.วิทยาเขตปัตตานีแล้ว ยังเปิดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการชุมชนพื้นที่ และรองรับการได้งานทำของผู้เรียน เช่น พยาบาลศาสตร์เภสัชศาสตร์และคณะสหเวชศาสตร์ และยังเปิดหลักสูตรที่สามารถพัฒนาอาชีพและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน เช่น คณะวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการและคณะเทคโนโลยีทรัพยากรและอุตสาหกรรมอีกด้วย
"ความขัดแย้งของสังคมและชุมชน ที่เกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขจะทำให้เกิดการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน และเกิดความหวาดละแวงกันมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งให้มีการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยการส่งเสริมการผลิตนักวิชาการในจุดที่เข้าใจปัญหา เพื่อสนองต่อการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขและสร้างสมานฉันท์ในพื้นที่"รศ.ดร.บุญสม กล่าว
**เผยใต้ 5 เดือนตาย 193 เจ็บนับพัน
นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความรุนแรงใน 5 จังหวัดภาคใต้ สธ.ได้ให้โรงพยาบาลในพื้นที่ประเมินวิเคราะห์การเสียชีวิต การบาดเจ็บ เพื่อนำมาพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ช่วยเหลือเยียวยาผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น ผลจากการเฝ้าระวังกลุ่มผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์ทุกรายที่เข้ารักษาตัวหรือนำศพมาชันสูตรที่โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัด สธ.47 แห่งใน จ.สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ในรอบ 5 เดือนปี 50 ตั้งแต่ ม.ค.-พ.ค.มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 193 คน บาดเจ็บ 1,056 คน จากเหตุความรุนแรง 561 ครั้ง
โดย จ.นราธิวาส มีผู้บาดเจ็บ 393 คน เสียชีวิต 76 คน ยะลาบาดเจ็บ 330 คนเสียชีวิต 46 คน ปัตตานีบาดเจ็บ 243 คนเสียชีวิต 48 คน สงขลาบาดเจ็บ 79 คนเสียชีวิต 23 คน เมื่อคิดอัตราความรุนแรงแล้วพบผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตประมาณร้อยละ 80 ส่วนด้านการรักษาพยาบาลพบเสียชีวิตในที่เกิดเหตุร้อยละ 11 เดินทางไปโรงพยาบาลเองร้อยละ 19 และนำส่งโดยหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเพียงร้อยละ 7 ดังนั้น จะต้องปรับมาตรการทำงานด้านการแพทย์ โดยเพิ่มช่องทางแจ้งเหตุและการประสานงานโดยใช้วิทยุสื่อสารระหว่างหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพที่จุดเกิดเหตุกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในโรงพยาบาล สร้างความคล่องตัวในระบบให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากความไม่สงบส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุระเบิด ทำให้อวัยวะหลายส่วนได้รับอันตราย มีโอกาสพิการสูง รองลงมาคือถูกอาวุธปืนยิง สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เกิดบนถนนหรือทางหลวง รองลงมาเป็นสถานที่ค้าขายและบริการเวลาเกิดเหตุมักอยู่ในช่วงเวลา 06.00-10.00 น.และ 17.00-21.00 น. โดย สธ.ได้ให้การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บทั้งหมดกว่า 3.7 ล้านบาทรวมทั้งให้การดูแลเยียวยาด้านจิตใจครอบครัวผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 370 คนด้วย
เมื่อเวลา 10.50 น.วานนี้ (5 ส.ค.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมนายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.การต่างประเทศ พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางกัญจนา สปินเล่อร์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร (กองบิน 6) โดยเครื่องบินกองทัพอากาศ ไปยังเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุม Global 2007 Langkawi International Dialogue
ร.อ.นพ.ยงยุทธ เผยก่อนเดินทางว่า การประชุมหารือนานาชาติลังกาวี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชนเพื่อการสรรหาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา เป็นการประชุมหนึ่งใน Smart Partnership Dialogue Series ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยที่ประชุมหัวหน้ารัฐบาลของประเทศในเครือจักรภพ การประชุมนี้จะจัดขึ้นที่เกาะลังกาวีสลับกับประเทศในแอฟริกา โดยเมื่อจัดที่ลังกาวีใช้ชื่อว่า LID หากจัดขึ้นในแอฟริกาใช้ชื่อว่า Southern African International Dialogue มาเลเซียจัด LID ครั้งแรกเมื่อปี 2538 และจัดแล้ว 7 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2547 LID เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างประมุข ผู้นำรัฐบาลนักวิชาการ และ NGOs ในประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนาของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย
โดยการประชุมครั้งนี้มาเลเซียได้เชิญประมุขและหัวหน้ารัฐบาลจาก 40 ประเทศ โดยมีหลายประเทศที่ได้รับเชิญครั้งแรก เช่น ไทย กัมพูชา พม่า เวียดนาม โดยหัวข้อการประชุมครั้งนี้ได้แก่ การขจัดความยากจน การพัฒนาทุนมนุษย์ และการเสริมสร้างขีดความสามารถ "Poverty Eradication through Human Capital Development and Capacity Building" โดยหลังการประชุมนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางไปเยี่ยมชมสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองลังกาวี และเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ และพิธีเปิดการประชุม
"เข้าใจว่าในการประชุมจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้นำประเทศต่าง เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในภาพรวมของอนุภูมิและภูมิภาคมากกว่า โดยเฉพาะแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน และเน้นการเพิ่มศักยภาพมนุษย์ ศักยภาพชุมชน ซึ่งอาจจะอยู่ในช่วงที่มีการประชุมกลุ่มย่อยที่นายกรัฐมนตรีจะได้พบปะกับผู้นำประเทศอื่นๆ"
**"เสรีฯ"ลงใต้ 3 วันเยี่ยม จนท.-ปชช.
วันเดียวกัน พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส รักษาการ ผบ.ตร. พร้อมคณะนายตำรวจ ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อมอบนโยบายการปฏิบัติและตรวจเยี่ยมรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 12 อำเภอ พร้อมทั้งรับฟังผลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ถึงความคืบหน้าในเรื่องคดีความมั่นคงและรับฟังปัญหาของประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง พร้อมทั้งการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อประชาชน
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่และครอบครัวตำรวจ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ จ.ปัตตานี รวมถึงต้องการมารับทราบปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะการได้รับฟังรายงานเพียงอย่างเดียวอาจไม่ชัดเจน โดยจะไปเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกสถานีและจะพักอยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 3 วัน ที่สำคัญอยากจะฝากให้ประชาชนทุกคนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ และอย่าทิ้งถิ่นฐาน
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เชื่อว่า อีกไม่นานสถานการณ์จะคลีคลายดีขึ้น เพราะทั้งตำรวจ ทหาร และพลเรือน ได้ร่วมมือกันทำงานโดยใช้กฎหมายเป็นหลัก ไม่มีการดำเนินการนอกระบบ สังเกตได้จากเมื่อมีการจับกุมผู้ต้องสงสัยหรือมีผู้ก่อเหตุเสียชีวิต ไม่มีการออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน เพราะเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกขั้นตอน นอกจากนี้ การทำงานแต่ละครั้งได้ระดมผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ลงมาช่วยในการสืบสวนสอบสวนขยายผล
ส่วนกรณีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวกว่า 200 คนนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ทั้งตำรวจและทหารได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรต้องปล่อยตัวไป แต่ก็จะมีการติดตามพฤติกรรมต่อไป เนื่องจากมีข้อมูลและประวัติ หากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมทางเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นเด็ดขาดต่อไป
เช้าวันเดียวกันตำรวจ สภ.อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พร้อมเจ้าหน้าที่กองวิทยาการภูธรจังหวัด เข้าตรวจสอบหาหลักฐานอีกครั้งในที่เกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิงโรงเรียนบ้านบาโงฆาดิง หมู่ 3 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ เมื่อเวลา 04.00 น.พบว่าอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว 4 ห้องเรียนของชั้นอนุบาลได้รับความเสียหาย รวมทั้งอุปกรณ์การเรียน โดยก่อนหน้านี้คืนที่ผ่านมา (4) มีโรงเรียนถูกคนร้ายลอบวางเพลิง 2 แห่ง คือ โรงเรียนมะพร้าวต้นเดียว หมู่ 1 ต.ปูโละปูโย อ.หนองจิก และโรงเรียนบ้านกาแลซือนอ หมู่ 3 ต.คลองใหม่ อ.ยะรัง
**ปิดล้อมรวบอีก 9 ผู้ต้องสงสัย
ต่อมาเวลา 14.00 น.พ.ท.ธักษภณ ศิริรักษ์ ผบ.หน่วยเฉพาะกิจ ที่ 23 พร้อมกำลังตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองกว่า 120 นายเข้าปิดล้อม ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี หลังคนร้ายลอบวางระเบิดนายตำรวจเสียชีวิต 1 นายบาดเจ็บ 5 นายเหตุเกิดเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยการปิดล้อมครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังปูพรมเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 58 จุดทั้งบ้านพักของผู้ต้องสงสัยและบริเวณป่าและทุ่งนาที่มีข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมในพื้นที่ โดยสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 2 คน คือ นายกูฮากาซะห์ กูมูดอ นายบัลลียา แวมานอ พร้อมของกลางที่ยึดมาได้จำนวนมาก อาทิ เครื่องมืออีเลคโทรนิค ปุ๋ยยูเรีย รีโมทคอนโทรล โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ที่คาดว่าน่าจะนำมาประกอบระเบิด
ขณะที่ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 7 คนในพื้นที่ ต.ท่าด่าน และ ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง โดยผู้ต้องสงสัยทั้ง 9 คน เจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งไปสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
**จี้รัฐเร่งแก้ปัญหาใต้ขาดแคลนครู
ด้าน รศ.ดร.บุญสม สิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวแสดงความเห็นต่อกรณีปัญหาครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ขณะนี้หลักสูตรการเรียน สถานที่เรียน และความสามารถของผู้สอนเป็นสาเหตุให้เกิดการว่างงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในที่สุดเยาวชนก็ถูกชักจูงให้เป็นแนวร่วมในการก่อความไม่สงบ ทำให้ผู้ที่รักการศึกษากลับไม่มีความรู้ไม่เพียงพอ ที่จะเรียนต่อในระดับสูง มอ.จึงได้มีส่วนเข้าไปแก้ไขโดยจัดโครงการบริการวิชาการ ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้สอนมีความรู้ทั้งเนื้อหาและหลักสูตรการสอน และจัดอบรมเจ้าของและผู้บริหารโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามด้วย
รศ.ดร.บุญสม กล่าวต่อว่า ในภาระหน้าที่โดยตรงของ มอ.ให้โอกาสกับนักศึกษาที่ยากจน จากทุกภูมิภาคของประเทศเข้าศึกษา มอ.วิทยาเขตปัตตานีแล้ว ยังเปิดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการชุมชนพื้นที่ และรองรับการได้งานทำของผู้เรียน เช่น พยาบาลศาสตร์เภสัชศาสตร์และคณะสหเวชศาสตร์ และยังเปิดหลักสูตรที่สามารถพัฒนาอาชีพและยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน เช่น คณะวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการและคณะเทคโนโลยีทรัพยากรและอุตสาหกรรมอีกด้วย
"ความขัดแย้งของสังคมและชุมชน ที่เกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขจะทำให้เกิดการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน และเกิดความหวาดละแวงกันมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งให้มีการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยการส่งเสริมการผลิตนักวิชาการในจุดที่เข้าใจปัญหา เพื่อสนองต่อการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขและสร้างสมานฉันท์ในพื้นที่"รศ.ดร.บุญสม กล่าว
**เผยใต้ 5 เดือนตาย 193 เจ็บนับพัน
นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความรุนแรงใน 5 จังหวัดภาคใต้ สธ.ได้ให้โรงพยาบาลในพื้นที่ประเมินวิเคราะห์การเสียชีวิต การบาดเจ็บ เพื่อนำมาพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ช่วยเหลือเยียวยาผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น ผลจากการเฝ้าระวังกลุ่มผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์ทุกรายที่เข้ารักษาตัวหรือนำศพมาชันสูตรที่โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัด สธ.47 แห่งใน จ.สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ในรอบ 5 เดือนปี 50 ตั้งแต่ ม.ค.-พ.ค.มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 193 คน บาดเจ็บ 1,056 คน จากเหตุความรุนแรง 561 ครั้ง
โดย จ.นราธิวาส มีผู้บาดเจ็บ 393 คน เสียชีวิต 76 คน ยะลาบาดเจ็บ 330 คนเสียชีวิต 46 คน ปัตตานีบาดเจ็บ 243 คนเสียชีวิต 48 คน สงขลาบาดเจ็บ 79 คนเสียชีวิต 23 คน เมื่อคิดอัตราความรุนแรงแล้วพบผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตประมาณร้อยละ 80 ส่วนด้านการรักษาพยาบาลพบเสียชีวิตในที่เกิดเหตุร้อยละ 11 เดินทางไปโรงพยาบาลเองร้อยละ 19 และนำส่งโดยหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเพียงร้อยละ 7 ดังนั้น จะต้องปรับมาตรการทำงานด้านการแพทย์ โดยเพิ่มช่องทางแจ้งเหตุและการประสานงานโดยใช้วิทยุสื่อสารระหว่างหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพที่จุดเกิดเหตุกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในโรงพยาบาล สร้างความคล่องตัวในระบบให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากความไม่สงบส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุระเบิด ทำให้อวัยวะหลายส่วนได้รับอันตราย มีโอกาสพิการสูง รองลงมาคือถูกอาวุธปืนยิง สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เกิดบนถนนหรือทางหลวง รองลงมาเป็นสถานที่ค้าขายและบริการเวลาเกิดเหตุมักอยู่ในช่วงเวลา 06.00-10.00 น.และ 17.00-21.00 น. โดย สธ.ได้ให้การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บทั้งหมดกว่า 3.7 ล้านบาทรวมทั้งให้การดูแลเยียวยาด้านจิตใจครอบครัวผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 370 คนด้วย