.
ผมรู้สึกอึดอัด ขัดข้องใจทุกครั้ง ที่ได้ยินคนไทยพูดภาษาไทย แต่ใช้ภาษาอังกฤษผสม หรืออย่างที่เรียกกันว่า “พูดไทยคำ อังกฤษคำ” โดยไม่จำเป็น
ใช่ว่าผมจะเป็นคนชาตินิยมรุนแรง และอย่างไม่มีเหตุผล เพราะเข้าใจดีว่าคำศัพท์ทางเทคนิคที่บัญญัติขึ้นจากตะวันตก เช่น คำว่า Demand เราเรียกว่า ดีมานด์ คงจะดีกว่าที่มีคนบัญญัติศัพท์เป็นภาษาแขกว่า “อุปสงค์” ซึ่งก็ต้องแปลความซ้อนขึ้นมาอีกครั้งจึงจะเข้าใจ
หรือคำว่า Software ก็เป็นคำที่เกิดจากตะวันตก แม้จะไปบัญญัติคำว่า “ละมุนภัณฑ์” ก็ไม่มีใครเข้าใจ เราก็เลยใช้ทับศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ กันเสียเลย
นอกจากนี้ ยังมีคำอีกจำนวนมาก ที่เรานิยมใช้แบบทับศัพท์ เช่น อีเมล อินเทอร์เน็ต เว็บ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี โน้ตบุ๊ค ซิมการ์ด ม็อบ เป็นต้น
แต่ในระยะหลังๆ มักมีผู้นำคำภาษาอังกฤษมาใช้มากขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งอธิบายได้ก็แต่เพียงว่าผู้พูดคิดเห็นเป็นความโก้เก๋ เป็นความดีงามที่ได้พูดหรือใช้คำฝรั่ง ออกเสียงภาษาไทยอย่างฝรั่ง ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า คนไทยที่ทำแบบนี้คิดว่าการทำอะไรอย่างฝรั่งคือการกระทำความดีงาม เห็นฝรั่งคือแบบอย่างของความถูกต้อง ความดีงาม ความเหมาะสม ไปเสียทุกอย่าง โดยไม่ต้องคิดด้วยปัญญา
แม้แต่การประกาศของโฆษกโทรทัศน์ ที่ต้องการจะสื่อความหมายว่า “ใครเป็นผู้ชนะในสัปดาห์นี้” ก็ประกาศว่า “เดอะวินเวอร์” หรือ “ใครจะเข้าวิน” ในวีคนี้
น่าเสียดาย ลักษณะนามที่เป็นเอกลักษณ์ และความสวยงามอย่างหนึ่งของภาษาไทย ก็ถูกดัดแปลงให้เข้ากับวิธีการพูดและเขียนของภาษาอังกฤษ เช่น
คนร้าย 9 คน ก็เรียกว่า “ 9 คนร้าย”
กีฬา 8 ชนิด ก็เรียกว่า “8 ชนิดกีฬา”
หรือ นักกีฬาได้รับเหรียญทอง 3 เหรียญ ก็เรียกว่า “ 3 เหรียญทอง” เป็นต้น
ผมเป็นห่วงว่า ถ้าไม่หยุดคิด หยุดพูดกันอย่างนี้ ต่อไปก็คงจะพูดกันทั้งประเทศ ในลักษณะว่า “เราไปดู 10 คน ลง 2 เรือ มี 2 คนขับ เป็นหนึ่งชาย หนึ่งกะเทย”
หรือ “พิซซ่าร้านนี้ เติมชีส ใส่เป็ปเปอร์ฟรี” แทนที่จะพูดว่า “ร้านนี้ ให้เติมเนยแข็งและพริกไทยลงในพิซซ่าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”
หรืออย่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณก็เคยพูดว่า “เก้าอี้การบินไทยมันซัค” แทนที่จะพูดว่า เก้าอี้นั่งเครื่องบินการบินไทยนั่งไม่ค่อยสบาย นั่งแล้วจม
ปัจจุบัน นอกจากเรื่อง คำ และการเรียบเรียงประโยค การใช้ภาษา ที่นิยมตามแบบฝรั่งอย่างไม่เหมาะสมแล้ว ยังพบว่า การตั้งชื่อสินค้า สถานที่ หรือหน่วยงาน มักเรียกให้เป็นภาษาฝรั่งอีกด้วย เช่น ดีเอสไอ(DSI) (แทนที่จะเรียกว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ) เพราะต้องการจะเทียบกับเอฟบีไอ(FBI) ของอเมริกา หรือกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ก็ไพล่ไปเรียกว่ากระทรวงไอซีที (ICT) สถานีวิทยุคลื่นเอฟเอ็ม 101 เขาก็เรียก วันโอวัน
หรือโครงการต่างๆ ก็มักเรียกเป็นโครงการฝรั่งไปหมด เช่น เอสดียู (SDU) โอท็อป (OTOP) อีออคชั่น (E-Auction) เอสเอ็มอี (SME) เอ็กซิมแบงก์ (Export-Import Bank) เอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ (Entertainment complex) ซีอีโอ (CEO) เวิร์กชอป (Workshop) ฯลฯ
วันก่อน ผมร่างหนังสือราชการกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เชิญไปร่วมรายการของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. เจ้าหน้าที่สภายังทักท้วงว่าผมเขียนผิด เพราะขณะนี้ช่อง 9 เขาไม่ใช้ชื่อภาษาไทยแล้ว ให้แก้ไขใหม่ เปลี่ยนเป็นว่า ขอให้นายกรัฐมนตรีไปที่ “โมเดิร์นไนน์ทีวี”
หวั่นใจว่า ต่อจากนี้ไป ผมจะต้องเขียนหนังสือราชการว่า “ขอเชิญท่านไปเรคคอร์ดรายการที่โมเดิร์นไนน์ทีวี เสร็จแล้วเชิญดินเนอร์ด้วยกัน แล้วไปดูโชว์ที่ทิฟฟานี จากนั้นขบวนลีมูซีนจะนำส่งท่านกลับบ้านในเวลาสิบพีเอ็ม”
พูดตรงๆ ผมกังวลใจในความดัดจริตของคนไทยที่อยากจะเป็นฝรั่ง โดยเข้าถึงแต่เปลือกของฝรั่งโดยแท้
นับแต่ไทยตั้งราชธานีที่ “บางกอก” คำว่า “บาง” แปลว่า ชุมชนที่อยู่ริมน้ำ สันนิษฐานว่า เราเรียกชื่อชุมชนตามสภาพของพื้นที่ เมื่อมีต้นมะกอกมาก เราก็เรียก “บางกอก” และนอกจากบางออก เราก็ยังมีบางกระเจ้า บางซื่อ บางซ่อน บางรัก บางปะอิน และบางอื่นๆ อีกหลายๆ บาง
เมื่อฝรั่งออกเสียงคำว่าบางกอก ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Bangkok ได้ไม่ชัด ผิดเพี้ยนไป แทนที่เราจะเรียกชื่อของเราให้ถูกต้องตามอัขระวิธี และที่มาความหมายของเรา และสอนให้ฝรั่งเรียกอย่างถูกต้องว่า “บางกอก” ไม่ใช่แบ๊งค่อก เฉกเช่นเดียวกันกับที่จีนพยายามให้ต่างชาติเรียก “เป่ยจิ่ง” แทนที่เรียกผิดๆ ว่า “ปักกิ่ง” หรือพม่าขอให้เรียกว่า “เมียนม่า” ไม่ใช่เรียกผิดๆ ว่า “เบอร์ม่า”
น่าเสียดาย คนไทยกลับนิยมเรียก “บางกอก” ตามอย่างที่ฝรั่งเรียกเราผิดๆ เพี้ยนๆ ว่า “แบ๊งค่อก”
ไม่ต้องฟังจากอะไรหรอกครับ แค่ฟังจากการประกาศของพนักงานการบินไทยก่อนเครื่องบินจะถึงกรุงเทพว่า “เรากำลังแลนดิ้งที่แบ๊งค่อก” แทนที่จะออกเสียงว่า “บางกอก”
แค่นี้ ได้ยินทีไร ก็สะดุ้งทุกที
เมื่อพยายามดัดจริตให้เป็นฝรั่งกันขนาดนี้ ก็ไม่แปลกใจที่วัยรุ่น หรือคนรุ่นใหม่ จะก้าวไปไกลถึงขั้นพยายามออกเสียงภาษาไทย ที่มี ซ.โซ่ ส.เสือ ให้ฟังซู่ซ่า เสียเสียงไปแล้ว ยังพยายามร้องเพลงให้ฟังดูเหมือน “พูดไทยไม่ชัด” เช่น
คำว่า “ฉัน” ก็ออกเสียง “ฉาน...”
หรือคำว่า “สุดจะทน” ก็ออกเสียงว่า “ซูดจะทน”
เมื่อก้าวไกลไปถึงขนาดนี้ ก็เลยมีการนำคำในภาษาอังกฤษมาดัดแปลงใช้ในภาษาไทยเสียเลย เช่น คำว่า “ชิว ชิว” ที่มาจากคำว่า “Chill Out” ซึ่งเดิมคนไทยเรียกว่า ไปนั่งเล่น เดินเล่น หรือไปคุยกันสบายๆ
นอกจากนี้ ยังมีการผสมคำอังกฤษปนกับไทย สร้างคำลูกผสมตามที่ตัวอยากจะให้เป็นเสียเลยก็ได้ เช่น คำว่า “แอ๊บแบ๊ว” เข้าใจว่ามาจากคำว่า Abnormal ผสมกับคำว่า “บ้องแบ๊ว”
น่าแปลกใจ ราชบัณฑิตสถานแห่งประเทศไทย ดูเหมือนกับกลัวคนจะหาว่าล้าหลัง ก็เลยแสดงความก้าวหน้า ถึงกับบัญญัติศัพท์วัยรุ่นเข้าไปในพจนานุกรมให้เป็นบรรทัดฐานของภาษาไทยเสียเลย
หากเราจะสังเกตต่อไป ถึงชื่อคนไทย สมัยนี้ ก็นิยมตั้งชื่อลูกเป็นฝรั่งกันไม่น้อย เช่น จอย จอน ปีเตอร์ แอน แอนดรู เจสัน แจ๊ค หรือแม้แต่ชื่อจริงก็เริ่มนิยมตั้งชื่อฝรั่งกันมากขึ้น เช่น ซาร่า อริสมัน ฯลฯ
น่าเสียดายว่า ชื่อไทยๆ ประเภท สมชาย บุญหลาย สมศรี ฯลฯ จะค่อยๆ ขาดตลาดไปเรื่อยๆ
ทั้งหมดนี้ เราได้แต่ปลงใจตัวเองว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่ภาษาต้องวิวัฒนาการผันแปรไปตามกาลเวลา ไม่ควรฝืนให้อยู่คงที่
แต่ถ้าเราผันผ่านและแปรเปลี่ยนภาษาของเราไปโดยขาดการใช้สติปัญญา รู้ไม่ทันจริตของคนไทย ไม่รู้จักภาคภูมิใจที่ไทยเราถึงจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็มีภาษาไทยของเราเอง ซึ่งต่างกับหลายประเทศที่ต้องใช้ภาษาของคนอื่น เราก็คงต้องสูญเสียความงามทางวัฒนธรรมไปอย่างน่าเสียดาย
ภาษาที่คนใช้ สะท้อนความคิดของผู้ใช้ สะท้อนวัฒนธรรมคือวิถีชีวิตของผู้ใช้ และสะท้อนการวัดคุณค่าความดีงาม เลวทรามของผู้ใช้
ผมเชื่อว่า เราควรจะปรับตัว มีจิตตระหนักในเรื่องการใช้ภาษาไทย โดยน้อมรับความห่วงใยของในหลวงของเรา ที่พระราชทานผ่านพลเอกเปรมลงมา เพื่อว่าต่อไป เราจะเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหมาย มีอัตลักษณ์ อันเป็นเอกลักษณ์ของตน บนโลกที่มีความหลากหลายใบนี้
ผมรู้สึกอึดอัด ขัดข้องใจทุกครั้ง ที่ได้ยินคนไทยพูดภาษาไทย แต่ใช้ภาษาอังกฤษผสม หรืออย่างที่เรียกกันว่า “พูดไทยคำ อังกฤษคำ” โดยไม่จำเป็น
ใช่ว่าผมจะเป็นคนชาตินิยมรุนแรง และอย่างไม่มีเหตุผล เพราะเข้าใจดีว่าคำศัพท์ทางเทคนิคที่บัญญัติขึ้นจากตะวันตก เช่น คำว่า Demand เราเรียกว่า ดีมานด์ คงจะดีกว่าที่มีคนบัญญัติศัพท์เป็นภาษาแขกว่า “อุปสงค์” ซึ่งก็ต้องแปลความซ้อนขึ้นมาอีกครั้งจึงจะเข้าใจ
หรือคำว่า Software ก็เป็นคำที่เกิดจากตะวันตก แม้จะไปบัญญัติคำว่า “ละมุนภัณฑ์” ก็ไม่มีใครเข้าใจ เราก็เลยใช้ทับศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ กันเสียเลย
นอกจากนี้ ยังมีคำอีกจำนวนมาก ที่เรานิยมใช้แบบทับศัพท์ เช่น อีเมล อินเทอร์เน็ต เว็บ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี โน้ตบุ๊ค ซิมการ์ด ม็อบ เป็นต้น
แต่ในระยะหลังๆ มักมีผู้นำคำภาษาอังกฤษมาใช้มากขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งอธิบายได้ก็แต่เพียงว่าผู้พูดคิดเห็นเป็นความโก้เก๋ เป็นความดีงามที่ได้พูดหรือใช้คำฝรั่ง ออกเสียงภาษาไทยอย่างฝรั่ง ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า คนไทยที่ทำแบบนี้คิดว่าการทำอะไรอย่างฝรั่งคือการกระทำความดีงาม เห็นฝรั่งคือแบบอย่างของความถูกต้อง ความดีงาม ความเหมาะสม ไปเสียทุกอย่าง โดยไม่ต้องคิดด้วยปัญญา
แม้แต่การประกาศของโฆษกโทรทัศน์ ที่ต้องการจะสื่อความหมายว่า “ใครเป็นผู้ชนะในสัปดาห์นี้” ก็ประกาศว่า “เดอะวินเวอร์” หรือ “ใครจะเข้าวิน” ในวีคนี้
น่าเสียดาย ลักษณะนามที่เป็นเอกลักษณ์ และความสวยงามอย่างหนึ่งของภาษาไทย ก็ถูกดัดแปลงให้เข้ากับวิธีการพูดและเขียนของภาษาอังกฤษ เช่น
คนร้าย 9 คน ก็เรียกว่า “ 9 คนร้าย”
กีฬา 8 ชนิด ก็เรียกว่า “8 ชนิดกีฬา”
หรือ นักกีฬาได้รับเหรียญทอง 3 เหรียญ ก็เรียกว่า “ 3 เหรียญทอง” เป็นต้น
ผมเป็นห่วงว่า ถ้าไม่หยุดคิด หยุดพูดกันอย่างนี้ ต่อไปก็คงจะพูดกันทั้งประเทศ ในลักษณะว่า “เราไปดู 10 คน ลง 2 เรือ มี 2 คนขับ เป็นหนึ่งชาย หนึ่งกะเทย”
หรือ “พิซซ่าร้านนี้ เติมชีส ใส่เป็ปเปอร์ฟรี” แทนที่จะพูดว่า “ร้านนี้ ให้เติมเนยแข็งและพริกไทยลงในพิซซ่าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”
หรืออย่างอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณก็เคยพูดว่า “เก้าอี้การบินไทยมันซัค” แทนที่จะพูดว่า เก้าอี้นั่งเครื่องบินการบินไทยนั่งไม่ค่อยสบาย นั่งแล้วจม
ปัจจุบัน นอกจากเรื่อง คำ และการเรียบเรียงประโยค การใช้ภาษา ที่นิยมตามแบบฝรั่งอย่างไม่เหมาะสมแล้ว ยังพบว่า การตั้งชื่อสินค้า สถานที่ หรือหน่วยงาน มักเรียกให้เป็นภาษาฝรั่งอีกด้วย เช่น ดีเอสไอ(DSI) (แทนที่จะเรียกว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ) เพราะต้องการจะเทียบกับเอฟบีไอ(FBI) ของอเมริกา หรือกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ก็ไพล่ไปเรียกว่ากระทรวงไอซีที (ICT) สถานีวิทยุคลื่นเอฟเอ็ม 101 เขาก็เรียก วันโอวัน
หรือโครงการต่างๆ ก็มักเรียกเป็นโครงการฝรั่งไปหมด เช่น เอสดียู (SDU) โอท็อป (OTOP) อีออคชั่น (E-Auction) เอสเอ็มอี (SME) เอ็กซิมแบงก์ (Export-Import Bank) เอนเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ (Entertainment complex) ซีอีโอ (CEO) เวิร์กชอป (Workshop) ฯลฯ
วันก่อน ผมร่างหนังสือราชการกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เชิญไปร่วมรายการของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. เจ้าหน้าที่สภายังทักท้วงว่าผมเขียนผิด เพราะขณะนี้ช่อง 9 เขาไม่ใช้ชื่อภาษาไทยแล้ว ให้แก้ไขใหม่ เปลี่ยนเป็นว่า ขอให้นายกรัฐมนตรีไปที่ “โมเดิร์นไนน์ทีวี”
หวั่นใจว่า ต่อจากนี้ไป ผมจะต้องเขียนหนังสือราชการว่า “ขอเชิญท่านไปเรคคอร์ดรายการที่โมเดิร์นไนน์ทีวี เสร็จแล้วเชิญดินเนอร์ด้วยกัน แล้วไปดูโชว์ที่ทิฟฟานี จากนั้นขบวนลีมูซีนจะนำส่งท่านกลับบ้านในเวลาสิบพีเอ็ม”
พูดตรงๆ ผมกังวลใจในความดัดจริตของคนไทยที่อยากจะเป็นฝรั่ง โดยเข้าถึงแต่เปลือกของฝรั่งโดยแท้
นับแต่ไทยตั้งราชธานีที่ “บางกอก” คำว่า “บาง” แปลว่า ชุมชนที่อยู่ริมน้ำ สันนิษฐานว่า เราเรียกชื่อชุมชนตามสภาพของพื้นที่ เมื่อมีต้นมะกอกมาก เราก็เรียก “บางกอก” และนอกจากบางออก เราก็ยังมีบางกระเจ้า บางซื่อ บางซ่อน บางรัก บางปะอิน และบางอื่นๆ อีกหลายๆ บาง
เมื่อฝรั่งออกเสียงคำว่าบางกอก ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Bangkok ได้ไม่ชัด ผิดเพี้ยนไป แทนที่เราจะเรียกชื่อของเราให้ถูกต้องตามอัขระวิธี และที่มาความหมายของเรา และสอนให้ฝรั่งเรียกอย่างถูกต้องว่า “บางกอก” ไม่ใช่แบ๊งค่อก เฉกเช่นเดียวกันกับที่จีนพยายามให้ต่างชาติเรียก “เป่ยจิ่ง” แทนที่เรียกผิดๆ ว่า “ปักกิ่ง” หรือพม่าขอให้เรียกว่า “เมียนม่า” ไม่ใช่เรียกผิดๆ ว่า “เบอร์ม่า”
น่าเสียดาย คนไทยกลับนิยมเรียก “บางกอก” ตามอย่างที่ฝรั่งเรียกเราผิดๆ เพี้ยนๆ ว่า “แบ๊งค่อก”
ไม่ต้องฟังจากอะไรหรอกครับ แค่ฟังจากการประกาศของพนักงานการบินไทยก่อนเครื่องบินจะถึงกรุงเทพว่า “เรากำลังแลนดิ้งที่แบ๊งค่อก” แทนที่จะออกเสียงว่า “บางกอก”
แค่นี้ ได้ยินทีไร ก็สะดุ้งทุกที
เมื่อพยายามดัดจริตให้เป็นฝรั่งกันขนาดนี้ ก็ไม่แปลกใจที่วัยรุ่น หรือคนรุ่นใหม่ จะก้าวไปไกลถึงขั้นพยายามออกเสียงภาษาไทย ที่มี ซ.โซ่ ส.เสือ ให้ฟังซู่ซ่า เสียเสียงไปแล้ว ยังพยายามร้องเพลงให้ฟังดูเหมือน “พูดไทยไม่ชัด” เช่น
คำว่า “ฉัน” ก็ออกเสียง “ฉาน...”
หรือคำว่า “สุดจะทน” ก็ออกเสียงว่า “ซูดจะทน”
เมื่อก้าวไกลไปถึงขนาดนี้ ก็เลยมีการนำคำในภาษาอังกฤษมาดัดแปลงใช้ในภาษาไทยเสียเลย เช่น คำว่า “ชิว ชิว” ที่มาจากคำว่า “Chill Out” ซึ่งเดิมคนไทยเรียกว่า ไปนั่งเล่น เดินเล่น หรือไปคุยกันสบายๆ
นอกจากนี้ ยังมีการผสมคำอังกฤษปนกับไทย สร้างคำลูกผสมตามที่ตัวอยากจะให้เป็นเสียเลยก็ได้ เช่น คำว่า “แอ๊บแบ๊ว” เข้าใจว่ามาจากคำว่า Abnormal ผสมกับคำว่า “บ้องแบ๊ว”
น่าแปลกใจ ราชบัณฑิตสถานแห่งประเทศไทย ดูเหมือนกับกลัวคนจะหาว่าล้าหลัง ก็เลยแสดงความก้าวหน้า ถึงกับบัญญัติศัพท์วัยรุ่นเข้าไปในพจนานุกรมให้เป็นบรรทัดฐานของภาษาไทยเสียเลย
หากเราจะสังเกตต่อไป ถึงชื่อคนไทย สมัยนี้ ก็นิยมตั้งชื่อลูกเป็นฝรั่งกันไม่น้อย เช่น จอย จอน ปีเตอร์ แอน แอนดรู เจสัน แจ๊ค หรือแม้แต่ชื่อจริงก็เริ่มนิยมตั้งชื่อฝรั่งกันมากขึ้น เช่น ซาร่า อริสมัน ฯลฯ
น่าเสียดายว่า ชื่อไทยๆ ประเภท สมชาย บุญหลาย สมศรี ฯลฯ จะค่อยๆ ขาดตลาดไปเรื่อยๆ
ทั้งหมดนี้ เราได้แต่ปลงใจตัวเองว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่ภาษาต้องวิวัฒนาการผันแปรไปตามกาลเวลา ไม่ควรฝืนให้อยู่คงที่
แต่ถ้าเราผันผ่านและแปรเปลี่ยนภาษาของเราไปโดยขาดการใช้สติปัญญา รู้ไม่ทันจริตของคนไทย ไม่รู้จักภาคภูมิใจที่ไทยเราถึงจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็มีภาษาไทยของเราเอง ซึ่งต่างกับหลายประเทศที่ต้องใช้ภาษาของคนอื่น เราก็คงต้องสูญเสียความงามทางวัฒนธรรมไปอย่างน่าเสียดาย
ภาษาที่คนใช้ สะท้อนความคิดของผู้ใช้ สะท้อนวัฒนธรรมคือวิถีชีวิตของผู้ใช้ และสะท้อนการวัดคุณค่าความดีงาม เลวทรามของผู้ใช้
ผมเชื่อว่า เราควรจะปรับตัว มีจิตตระหนักในเรื่องการใช้ภาษาไทย โดยน้อมรับความห่วงใยของในหลวงของเรา ที่พระราชทานผ่านพลเอกเปรมลงมา เพื่อว่าต่อไป เราจะเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหมาย มีอัตลักษณ์ อันเป็นเอกลักษณ์ของตน บนโลกที่มีความหลากหลายใบนี้