ศาลส่ง 8 หัวโจก นปก. คุมขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร "จรัล"รอดศาลให้ประกันตีราคา 2 แสน แต่กำหนดเงื่อนไขห้ามพูดยั่วยุ ทำให้แตกแยก "มานิตย์"ยังเหิมอ้างดีกรีเคยเป็นอธิบดีศาลอาญา ค้านคำร้องฝากขัง แต่ไร้ผล ศาลยกคำร้อง สุดท้ายจำนนขึ้นรถเรือนจำนอนคุก ด้านตำรวจ เตรียมจับเพิ่ม คาดสิ้นเดือน ส.ค. ส่งอัยการได้ "สุรยุทธ์"ยันรัฐบาลไม่เคยหักหลังใคร ขณะที่ประธาน คมช. ระบุ ประชาชนชื่นชมตำรวจที่ดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง สั่งแม่ทัพภาคที่ 1 ส่งทหารช่วยเสริมการปฏิบัติงานของตำรวจ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว
วานนี้ (27 ก.ค.) ที่ศาลอาญา พล.ต.ต.เจตต์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น.ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ควบคุมตัวนายวีระ มุกสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย และนายจรัล ดิษฐาอภิชัย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 9 ผู้ต้องหาคดีมั่วสุม 10 คนขึ้นไปก่อความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ขึ้นรถตู้สีขาวจาก สน.สามเสน มาที่ศาลอาญา โดยนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าไปควบคุมไว้ที่ห้องควบคุมตัวงานฝากขัง บริเวณใต้ถุนศาลอาญา
ทั้งนี้ ระหว่างถูกควบคุมตัว นายจตุพร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าตน นายวีระ นายจักรภพ นายณัฐวุฒิ นพ.เหวง นายวิภูแถลง พ.อ. อภิวันท์ และนายมานิตย์ จะไม่ยื่นประกันตัว โดยทั้งหมดพร้อมจะถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ขณะที่นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ต้องหาที่ 8 กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัว โดยเหตุผลที่ใช้ยื่นคำร้อง ระบุว่าตนต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนกรรมมาสิทธิมนุษยชน 4 ชุด ซึ่งขณะนี้มีหลายเรื่องต้องพิจารณา ดังนั้นหากไม่ได้รับประกันตัวจะมีผลกระทบทำให้ขาดองค์ประชุมและดำเนินการประชุมต่อไปไม่ได้ หากไม่ติดภารกิจนี้ก็จะไม่ขอยื่นประกันตัวเช่นกัน ถึงอยู่ข้างนอกก็ไม่ต่างจากในคุก เพียงแต่ข้างในมีลูกกรงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมานายโสภณ จริงจิตร ผู้อำนวยการกลุ่มงาน 8 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นตำแหน่งที่มีเงินเดือนและค่าตอบแทน รวม 28,950 บาท ตีเป็นวงเงิน 10 เท่า เป็นเงิน 289,500 บาท ขอประกันตัวนายจรัล
**คดีส่งอัยการสิ้นเดือนสิงหาคม
พล.ต.ต.เจตต์ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันและพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหาทั้งหมดตามขั้นตอนระเบียบตำรวจโดยครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ หากจะต้องมีการสอบสวนเพิ่มเติมขณะที่ผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นฝากขัง ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดต้องถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ พนักงานสอบสวนก็พร้อมจะเดินทางไปสอบปากคำผู้ต้องหาทั้งหมดที่เรือนจำต่อไป แต่ขณะนี้ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดประเด็นที่จะสอบสวนเพิ่มเติมได้ โดยคดีนี้ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ แต่ก็ประโยชน์อยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม การสรุปผลสอบสวนคดีนี้คาดว่าพนักงานสอบสวนน่าจะใช้เวลาประมาณเดือนเศษในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อสรุปความเห็นส่งให้พนักงานอัยการสั่งคดีได้ประมาณสิ้นเดือน ส.ค.
เมื่อถามว่าจะมีสอบสวนดำเนินคดี และขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหารายอื่นอีกหรือไม่ พล.ต.ต.เจตต์ กล่าวว่า มี แต่ไม่สามารถตอบได้ว่ามีจำนวนกี่คน เพราะเท่าที่ได้ดูเทปบันทึกภาพเหตุการณ์มีผู้กระทำผิดจำนวนมาก ซึ่งพนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อจะดำเนินการออกหมายจับต่อไป ส่วนข้อหาจะเป็นความผิดข้อหาเดียวกับแกนนำ นปก.ทั้ง 9 คนหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์การกระทำความผิดของแต่ละบุคคล
**"มานิตย์"ดิ้นค้านฝากขัง
ต่อมาเวลา 17.00 น. แกนนำม็อบทั้ง 9 คนได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยอ้างว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาให้ทราบตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้ต้องหาที่ 9 อ้างว่าถูกเจ้าตำรวจใช้กำลังบังคับอุ้มมาจากที่นั่งของผู้ต้องหา อันเป็นการกระทำที่ละเมิดอำนาจศาล ขอได้โปรดไต่สวนให้ปรากฏความจริงด้วย
อนึ่งขอกราบเรียนต่อศาลโดยเฉพาะอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่า ข้าพเจ้าเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญานี้มาก่อน ไม่ควรถูกปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมากระทำกับข้าพเจ้าเช่นนี้ ขอให้ท่านได้โปรดรับผิดชอบดูแลเพื่อชื่อเสียงของศาลสถิตยุติธรรมในอนาคตด้วย ลงชื่อ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และแกนนำ นปก.รวม 8 คน ยกเว้นนายจรัล ที่ขอประกันตัว
โดยศาลพิจารณาหนังสือคำร้องดังกล่าวแล้ว เห็นว่า คำร้องดังกล่าวเป็นเพียงลายมือเขียนบันทึกข้อความในแผ่นกระดาษเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้พวกจำเลยไปจัดทำพิมพ์คำร้องตามแบบฟอร์มราชการศาล จึงจะรับพิจารณา เพื่อจะมีคำสั่งต่อไป ต่อมาเมื่อเวลา 17.30 น. ทีมทนายความของแกนนำ นปก. จึงได้นำคำร้องคัดค้านการฝากขัง ที่จัดพิมพ์อย่างเป็นทางการยื่นต่อผู้พิพากษา แต่หลังจากศาลพิจารณาแล้ว ศาลสั่งยกคำร้อง
**ส่ง8 หัวโจกขังคุก-ให้ประกันจรัล
ต่อมาเวลา 17.35 น. นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ต้องหาที่ 8 ที่ยื่นคำร้องขอประกันตัวเพียงคนเดียวนั้น ศาลอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 2 แสนบาท จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจราจล พาตัวนายจรัล ออกมาจากห้องควบคุม โดยกลุ่มผู้สนับสนุน นปก. รุมเข้ามาจับมือให้กำลังใจ โดยนายจรัล ปฏิเสธที่จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าจะกลับไปขึ้นเวทีปราศรัย และจะลาออกจาก นปก. หรือไม่ โดยกล่าวเพียงว่า คำสั่งให้ประกันตัวศาลกำหนดเงื่อนไขห้าม ให้สัมภาษณ์ลักษณะยั่วยุ และก่อให้เกิดความแตกแยกวุ่นวาย
จากนั้นเมื่อเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ควบคุมตัวแกนนำนปก. ทั้ง 8 ขึ้นรถเรือนจำ เพื่อนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนนปก. ที่เดินทางมาให้กำลังใจ บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เมื่อเห็น 8 แกนนำ นปก. ต้องถูกนำตัวส่งเรือนจำ ขณะที่บางคนถึงกับเป็นลมล้มพับจนเพื่อนต้องช่วยกันพยุง ซึ่งส่วนใหญ่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์การถูกคุมตัวของแกนนำ นปก.ในครั้งว่า เพราะอำนาจเผด็จการ พร้อมกับมีการตะโกนขับไล่ คมช. และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร.ให้ออกไป
นางจิรวรรณ สุญาณวนิชกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวว่า ส่วนคำร้องคัดค้านการขอฝากขังของผู้ต้องหาทั้ง 8 คนนั้น ศาลรับคำร้องไว้แต่ยังไม่พิจารณาเนื่องจากหมดเวลาราชการ โดยคำร้องคัดค้านของผู้ต้องหาทั้ง 8 ตนเองจะเป็นผู้วินิจฉัยและมีคำสั่งในคำร้องคัดค้านดังกล่าวเอง ในวันที่ 1 ส.ค.50 เนื่องจากติดวันหยุดนักขัตฤกษ์ติดต่อกันหลายวัน
**"นัทธี"ล้างคุกต้อนรับ
นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้ง 8 จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ต้องขังรายอื่นๆ โดยไม่มีสิทธิพิเศษเหมือนกับกลุ่มพิราบขาว 6 คนซึ่งตำรวจนำตัวมาฝากขังก่อนหน้านี้ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่แดนแรกรับ
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังไม่มีสิทธิ์ใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะถือเป็นอุปกรณ์ต้องห้ามในเรือนจำ แต่ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาฝากขังญาติสามารถนำเครื่องนอน เครื่องใช้ให้ได้บางส่วน แต่เครื่องใช้หลัก เช่น ที่นอนจะต้องใช้ของเรือนจำ ส่วนระเบียบการเยี่ยมอนุญาตเฉพาะญาติ และจะมีการตรวจสอบผู้ที่จะเข้าเยี่ยมอย่างเคร่งครัด
**"ศ.ศิวรักษ์-ธนา"รุดเยี่ยม
วันเดียวกันในช่วงเช้าที่ สน.สามเสน ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งศาลอาญา เวลา 10.00 น.นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปก.รุ่น 2 เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาทั้ง 9 คน พร้อมกับเปิดเผยว่า นายจักรภพ ได้ฝากช็อกโกแลต ซึ่งอยู่ในกล่องรูปหัวใจ ผ่านตนเพื่อนำไปให้กับประชาชนที่เดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจแกนนำทั้ง 9 คน
ต่อมาเวลา 12.00 น. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหา โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที จากนั้น นายสุลักษณ์ เปิดเผยว่า ตนเดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจ นพ.เหวง และนายจรัล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของตน พร้อมกับได้อวยพรให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเชื่อว่าทั้ง 2 คน เชื่อในพุทธคุณจะไม่เป็นอะไร ส่วนเรื่องกฎหมาย และการต่อสู้คดีคงไม่ต้องไปแนะนำ เนื่องจากแต่ละคนมีความรู้อยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนา เบญจาทิกุล อดีตทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาทั้ง 9 คน แต่ไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างรอลงอาญาโทษจำคุกในคดีหมิ่นศาล
**จ่อจับเพิ่ม"ครูประทีป-พิมพ์พา"
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเตรียมขออนุมัติหมายจับแกนนำที่เหลืออีก 6 คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องในเหตุการณ์คืนวันที่ 22 ก.ค. โดยหนึ่งในนั้น มีนางพิมพา จันทรประสงค์ และนางประทีป อึ้งทรงธรรม ส่วนแกนนำ 9 คน ที่ขึ้นเวทีปราศรัยที่สนามหลวงเมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ก.ค.) แทนแกนนำ 9 คน ที่ถูกจับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จับตามองหากทำผิดกฎหมาย จะถูกจับกุมทันที
** "สุรยุทธ์"ยันไม่เคยหักหลังใคร
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์ 9 แกนนำ นปก. ถูกจับกุมว่า สถานการณ์เรื่องทางการเมืองน่าจะคลี่คลายลงไปได้ระดับหนึ่ง และคิดว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนส่วนใหญ่ได้ว่า การดำเนินการต่าง ๆ ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งหรือฉกฉวยผลประโยชน์ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ตนคิดว่าด้วยเหตุผลและการทำงานของเจ้าหน้าที่ ก็เห็นว่าเราไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการตั้งเป้า หรือตั้งธงแต่อย่างใด เราอยากให้เป็นเรื่องกระบวนการพิจารณาของกฎหมายอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร. รายงานให้ทราบถึงปัญหาฟางเส้นสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น เพราะตำรวจเปลี่ยนจากหมายจับ เป็นฝากขังหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้พูดถึงฟางเส้นสุดท้ายหรือฟางเส้นแรก แต่ได้รายงานถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร เมื่อถามต่อว่า 9 แกนนำ นปก. ระบุว่าถูกหักหลัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเลขาธิการศาลฎีกาได้ชี้แจงรายละเอียดแล้ว ซึ่งชัดเจน คงไม่ได้เป็นเรื่องของการหักหลัง เพราะทุกคนเชื่อมั่นในกระบวนการของศาลยุติธรรม
เมื่อถามถึงความเห็นที่กลุ่มม็อบ ตั้งแกนนำขึ้นมาใหม่ คิดว่าสถานการณ์จะกลับไปสู่จุดเดิมหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า คงต้องเฝ้าดู คิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเข้าใจ เพราะการทำอะไรที่ถือว่าผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ใช้สิทธิของตัวเองจนไปก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่นก็จะมีปัญหา หากทำอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
**ชี้ประชาชนถูกใจที่จับแกนนำม็อบ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. และประธานคมช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือร่วมกับ พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ก่อนเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ ถึงกรณี 9 แกนนำม็อบถูกจับว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเอาจริงเอาจังกับการรักษากฎหมาย เห็นชัดว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจ เป็นการตัดสินใจที่น่าชื่นชม และเป็นการรักษากฎหมายที่ชัดเจน เชื่อว่าประชาชนทั้งประเทศจะแซ่ซ้องสรรเสริญ ยินดีกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
"ประชาชนต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง การเรียกร้องประชาธิปไตยต้องอยู่ในกรอบ ถ้าอยู่นอกกกรอบ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย" พล.อ.สนธิ กล่าว
ส่วนกรณีที่มีการตั้งแกนนำใหม่ขึ้นมานั้น ประธาน คมช. กล่าวว่า การดูแลก็เหมือนที่ผ่านมา ถ้าเป็นการชุมนุมในกรอบของกฎหมาย แต่ถ้านอกกรอบก็ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เรากำลังจะเพิ่มมาตรการทางกฎหมาย ทั้งทหาร ตำรวจ จะต้องเอาจริงเอาจังมากขึ้น โดยเฉพาะได้สั่งการไปยังแม่ทัพภาคที่ 1 ให้ส่งทหารลงไปช่วยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เต็มที่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพราะปัจจุบันทหารมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน เพียง แต่ยังไม่ได้ออกไปช่วยเท่านั้น
"ปัจจุบันตำรวจมีภาระมาก เราจึงจำเป็นต้องไปช่วย ตำรวจที่เข้ามาทำงานในชุดของกองร้อยปราบฝูงชนจากสถานีต่าง ๆ ทำให้เกิดช่องว่างของการดูแลความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน จึงจำเป็นต้องนำทหารเข้าไปเสริมในบางจุด" พล.อ. สนธิ กล่าว
**ทหารเตรียมพร้อมรับวันหยุดยาว
ด้าน พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวถึงกรณี ผบ.ทบ. จะส่งทหารเข้าไปช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ว่า ไปช่วยในเรื่องของการตั้งด่านตรวจค้น จุดสกัดต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม และสถานที่ราชการที่สำคัญ ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือจากประชาชนให้เสียสละเวลา ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อความสงบสุขส่วนรวมของบ้านเมือง สำหรับกรณี 9 แกนนำ นปก.ถูกจับ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่คิดว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย 100% ขึ้นอยู่กับผู้ชุมนุมว่า จะมีเจตนาอย่างไรในการเคลื่อนไหว
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช. กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยในช่วงวันหยุดติดต่อกัน 4 วันว่า ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลอะไร การดูแลรักษาความปลอดภัยจะเป็นหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งทหารจะเตรียมความพร้อมในส่วนกำลัง คือ กองทัพภาคที่ 1 ได้แบ่งพื้นที่ กทม. ออกเป็น 14 โซน ในใจกลาง กทม. เป็นหลัก แต่ละโซนมีกำลังทหารเตรียมการอย่างน้อยโซนละไม่ต่ำกว่า 1 กองร้อย โดยจะปฏิบัติร่วมเรื่องการตั้งจุดตรวจ การลาดตระเวน และการแสดงกำลังเพื่อป้องปราม และพร้อมเข้ารักษาพื้นที่เป็นจุดสำคัญ
"ทหารจะออกปฏิบัติภารกิจใน 2 ลักษณะ คือ เมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี แต่ทาง คมช. ก็จะต้องเสนอแนะข้อคิดเห็นร่วมกัน และ 2. ทหารจะออกปฏิบัติภารกิจเมื่อทางตำรวจได้ร้องขอให้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเท่านั้น ซึ่งขั้นนี้จะเตรียมกำลังอยู่ในที่ตั้ง ปกติมีแต่การลาดตระเวนร่วมกันและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สำคัญๆ มั่นใจว่าสถานการณ์ในช่วง 4 วัน ไม่น่าจะมีเหตุการณ์อะไร" พ.อ.สรรเสริญ กล่าว และว่า ในช่วงวันหยุด 4 วันนี้ รู้สึกเป็นห่วงในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นหากได้ยินข่าวว่า จะมีการปฎิวัติซ้ำ ปฎิวัติซ้อน มีการนำกำลังทหาร หรือพบการเคลื่อนไหวของรถยานเกราะ รถสายพานลำเลียง รถถัง ก็สามารถตรวจสอบได้จากกองทัพบก สถานีจส.100 หรือ ร่วมด้วยช่วยกัน
** ยันรัฐบาลไม่ได้รังแก 9 แกนนำม็อบ
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่ แกนนำม็อบ พยายามฟ้องให้ทั่วโลกวิจารณ์การกระทำของรัฐบาลไทย ว่าเป็นการรังแกประชาชนว่า รัฐบาลไม่ได้รังแกกลุ่มคนเหล่านั้น ทั้งนี้ในช่วงวันหยุด 4 วันในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่ามีการเคลื่อนไหวระดมคนจากต่างจังหวัดเข้ามาชุมนุมใน กทม. แต่เชื่อว่าทุกคนอยากอยู่อย่างสันติ ไม่ต้องการอยู่บนความวุ่นวาย
ส่วนกรณีที่ “กลุ่มคนรักป๋า” ออกมาเคลื่อนไหวใน จ.นครราชสีมา และสงขลานั้น นายอารีย์ กล่าวว่า ไม่ได้สั่งกำชับผู้ว่าราชการจังหวัดให้ดูแลทำความเข้าใจกับกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะถือเป็นความเห็น และเป็นความรู้สึกของคนแต่ละจังหวัด ซึ่งใครมีความเห็นอย่างไรก็เป็นสิทธิ
ไพวกนั้นไปด่าเขาโครมๆ จะไปว่าคนอื่นเขารังแกได้อย่างไร ภาพหลักฐานออกมาชัดเจน ทีออกมาด่าป๋า ก็ไม่เห็นมีใครว่า ป๋าก็ไม่ว่า จนถึงขั้นไปก่อเหตุที่หน้าบ้าน แต่ทีคนอื่นไปด่าบ้าง จะมาว่าได้อย่างไร" นายอารีย์ กล่าว
**เตือนถวายฎีกาต้องดูความเหมาะสม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ. สนธิ สั่งการให้กองทัพภาคที่ 1 ส่งทหารไปทำงานร่วมกับตำตรวจ เพื่อไปดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือไม่ ว่า เรื่องนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริง ตนคิดว่า คนไทยได้เห็นภาพของการชุมนุมในสัปดาห์ที่แล้ว และเห็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตนเชื่อว่าภาพเหล่านี้ได้ถูกส่งไปยังต่างประเทศ และต่างประเทศคงไม่ฟังเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และคงชั่งน้ำหนักได้ เราเชื่อว่าความจริงได้ปรากกฎออกไป ถ้าเราไม่ได้ละเมิด ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกลัว แม้จะมีคนบางกลุ่มนำไปฟ้องต่างประเทศก็ตาม
ส่วนที่แกนนำกลุ่มม็อบ ที่ถูกจับกุมจะยื่นขอถวายฎีกา ก็เป็นสิทธิที่ทำได้ ส่วนจะมีความเหมาะสมหรือไม่ คิดว่าเจ้าตัวคงทราบดี แต่ตนคิดว่า คงมีความพยายามที่จะดิสเครดิตกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมคืบคลานเข้ามาสะสางความไม่ถูกต้องหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากในอดีต เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากตรงนี้จึงพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้คนยอมรับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมาก และตนคิดว่า ใครที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ก็ขอให้หยุด เพราะถือเป็นการทำลายพื้นฐานของประเทศอีกอย่างหนึ่ง
**นักข่าววอนคู่ขัดแย้งเข้าใจการทำหน้าที่
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ กรณี เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มนปก. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า วิกฤตการณ์ทางการเมืองดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นอุสรรคในการทำหน้าที่ของนักข่าวด้วย เนื่องจาก ผู้ชุมนุมมักแสดงท่าทีเป็นปรปักษ์ ต่อนักข่าวถึงขั้นที่นักข่าวไม่กล้าเปิดเผยตัวขณะทำข่าวการชุมนุมประท้วงเพราะเกรงว่า จะถูกทำร้าย ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนกลับสันนิษฐานเองว่า นักข่าวเป็นฝ่ายตรงข้าม และไม่ได้ปฏิบัติต่อนักข่าวอย่างที่ควรเป็นในฐานะที่นักข่าวเป็นผู้ส่งสารที่ต้องการนำความจริงไปแจ้งให้ประชาชนคนไทยได้รับทราบ
สมาคมนักข่าวฯ ขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจภารกิจหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักข่าวที่ต้องออกไปทำข่าวในเหตุการณ์ประท้วงการปะทะกันรวมถึงการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่ายด้วย และสถานการณ์ยิ่งเปราะบางเพียงใด สื่อมวลชนยิ่งสมควรได้รับการอนุญาตให้ทำหน้าที่อย่างมืออาชีพ เป็นอิสระ และเป็นกลางโดยไม่ต้องคอยหวาดกลัวหรือเผชิญการคุกคามใด ๆ เพื่อเป็นการอำนวยให้ความจริงได้มีโอกาสเดินทางไปถึงสาธารณชนให้มากที่สุด
นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้องค์กรสื่อต่างๆ ใช้ความรอบคอบและวิจารณญาณอย่างเต็มที่ในการสื่อข่าว และนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน โดยตระหนักถึงความอ่อนไหวของสถานการณ์บ้านเมืองที่จำเป็นต้องได้รับข่าวสารที่มีความสมดุลย์เหมาะสมระหว่างคุณค่าข่าว และความรับผิดชอบ เพราะนักข่าวไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่นำเสนอความจริงเท่านั้น หากแต่ยังต้องมีความรับผิดชอบในฐานะประชาชนคนไทยที่จะต้องช่วยประคับประคองประเทศชาติให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้
วานนี้ (27 ก.ค.) ที่ศาลอาญา พล.ต.ต.เจตต์ มงคลหัตถี รอง ผบช.น.ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ควบคุมตัวนายวีระ มุกสิกพงศ์, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย และนายจรัล ดิษฐาอภิชัย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 9 ผู้ต้องหาคดีมั่วสุม 10 คนขึ้นไปก่อความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ขึ้นรถตู้สีขาวจาก สน.สามเสน มาที่ศาลอาญา โดยนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าไปควบคุมไว้ที่ห้องควบคุมตัวงานฝากขัง บริเวณใต้ถุนศาลอาญา
ทั้งนี้ ระหว่างถูกควบคุมตัว นายจตุพร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าตน นายวีระ นายจักรภพ นายณัฐวุฒิ นพ.เหวง นายวิภูแถลง พ.อ. อภิวันท์ และนายมานิตย์ จะไม่ยื่นประกันตัว โดยทั้งหมดพร้อมจะถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ขณะที่นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ต้องหาที่ 8 กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัว โดยเหตุผลที่ใช้ยื่นคำร้อง ระบุว่าตนต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนกรรมมาสิทธิมนุษยชน 4 ชุด ซึ่งขณะนี้มีหลายเรื่องต้องพิจารณา ดังนั้นหากไม่ได้รับประกันตัวจะมีผลกระทบทำให้ขาดองค์ประชุมและดำเนินการประชุมต่อไปไม่ได้ หากไม่ติดภารกิจนี้ก็จะไม่ขอยื่นประกันตัวเช่นกัน ถึงอยู่ข้างนอกก็ไม่ต่างจากในคุก เพียงแต่ข้างในมีลูกกรงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมานายโสภณ จริงจิตร ผู้อำนวยการกลุ่มงาน 8 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นตำแหน่งที่มีเงินเดือนและค่าตอบแทน รวม 28,950 บาท ตีเป็นวงเงิน 10 เท่า เป็นเงิน 289,500 บาท ขอประกันตัวนายจรัล
**คดีส่งอัยการสิ้นเดือนสิงหาคม
พล.ต.ต.เจตต์ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันและพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหาทั้งหมดตามขั้นตอนระเบียบตำรวจโดยครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ หากจะต้องมีการสอบสวนเพิ่มเติมขณะที่ผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นฝากขัง ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดต้องถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ พนักงานสอบสวนก็พร้อมจะเดินทางไปสอบปากคำผู้ต้องหาทั้งหมดที่เรือนจำต่อไป แต่ขณะนี้ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดประเด็นที่จะสอบสวนเพิ่มเติมได้ โดยคดีนี้ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ แต่ก็ประโยชน์อยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม การสรุปผลสอบสวนคดีนี้คาดว่าพนักงานสอบสวนน่าจะใช้เวลาประมาณเดือนเศษในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อสรุปความเห็นส่งให้พนักงานอัยการสั่งคดีได้ประมาณสิ้นเดือน ส.ค.
เมื่อถามว่าจะมีสอบสวนดำเนินคดี และขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหารายอื่นอีกหรือไม่ พล.ต.ต.เจตต์ กล่าวว่า มี แต่ไม่สามารถตอบได้ว่ามีจำนวนกี่คน เพราะเท่าที่ได้ดูเทปบันทึกภาพเหตุการณ์มีผู้กระทำผิดจำนวนมาก ซึ่งพนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อจะดำเนินการออกหมายจับต่อไป ส่วนข้อหาจะเป็นความผิดข้อหาเดียวกับแกนนำ นปก.ทั้ง 9 คนหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์การกระทำความผิดของแต่ละบุคคล
**"มานิตย์"ดิ้นค้านฝากขัง
ต่อมาเวลา 17.00 น. แกนนำม็อบทั้ง 9 คนได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยอ้างว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาให้ทราบตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ผู้ต้องหาที่ 9 อ้างว่าถูกเจ้าตำรวจใช้กำลังบังคับอุ้มมาจากที่นั่งของผู้ต้องหา อันเป็นการกระทำที่ละเมิดอำนาจศาล ขอได้โปรดไต่สวนให้ปรากฏความจริงด้วย
อนึ่งขอกราบเรียนต่อศาลโดยเฉพาะอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่า ข้าพเจ้าเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญานี้มาก่อน ไม่ควรถูกปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมากระทำกับข้าพเจ้าเช่นนี้ ขอให้ท่านได้โปรดรับผิดชอบดูแลเพื่อชื่อเสียงของศาลสถิตยุติธรรมในอนาคตด้วย ลงชื่อ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ และแกนนำ นปก.รวม 8 คน ยกเว้นนายจรัล ที่ขอประกันตัว
โดยศาลพิจารณาหนังสือคำร้องดังกล่าวแล้ว เห็นว่า คำร้องดังกล่าวเป็นเพียงลายมือเขียนบันทึกข้อความในแผ่นกระดาษเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้พวกจำเลยไปจัดทำพิมพ์คำร้องตามแบบฟอร์มราชการศาล จึงจะรับพิจารณา เพื่อจะมีคำสั่งต่อไป ต่อมาเมื่อเวลา 17.30 น. ทีมทนายความของแกนนำ นปก. จึงได้นำคำร้องคัดค้านการฝากขัง ที่จัดพิมพ์อย่างเป็นทางการยื่นต่อผู้พิพากษา แต่หลังจากศาลพิจารณาแล้ว ศาลสั่งยกคำร้อง
**ส่ง8 หัวโจกขังคุก-ให้ประกันจรัล
ต่อมาเวลา 17.35 น. นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ต้องหาที่ 8 ที่ยื่นคำร้องขอประกันตัวเพียงคนเดียวนั้น ศาลอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 2 แสนบาท จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจราจล พาตัวนายจรัล ออกมาจากห้องควบคุม โดยกลุ่มผู้สนับสนุน นปก. รุมเข้ามาจับมือให้กำลังใจ โดยนายจรัล ปฏิเสธที่จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าจะกลับไปขึ้นเวทีปราศรัย และจะลาออกจาก นปก. หรือไม่ โดยกล่าวเพียงว่า คำสั่งให้ประกันตัวศาลกำหนดเงื่อนไขห้าม ให้สัมภาษณ์ลักษณะยั่วยุ และก่อให้เกิดความแตกแยกวุ่นวาย
จากนั้นเมื่อเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ควบคุมตัวแกนนำนปก. ทั้ง 8 ขึ้นรถเรือนจำ เพื่อนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนนปก. ที่เดินทางมาให้กำลังใจ บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เมื่อเห็น 8 แกนนำ นปก. ต้องถูกนำตัวส่งเรือนจำ ขณะที่บางคนถึงกับเป็นลมล้มพับจนเพื่อนต้องช่วยกันพยุง ซึ่งส่วนใหญ่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์การถูกคุมตัวของแกนนำ นปก.ในครั้งว่า เพราะอำนาจเผด็จการ พร้อมกับมีการตะโกนขับไล่ คมช. และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร.ให้ออกไป
นางจิรวรรณ สุญาณวนิชกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวว่า ส่วนคำร้องคัดค้านการขอฝากขังของผู้ต้องหาทั้ง 8 คนนั้น ศาลรับคำร้องไว้แต่ยังไม่พิจารณาเนื่องจากหมดเวลาราชการ โดยคำร้องคัดค้านของผู้ต้องหาทั้ง 8 ตนเองจะเป็นผู้วินิจฉัยและมีคำสั่งในคำร้องคัดค้านดังกล่าวเอง ในวันที่ 1 ส.ค.50 เนื่องจากติดวันหยุดนักขัตฤกษ์ติดต่อกันหลายวัน
**"นัทธี"ล้างคุกต้อนรับ
นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้ง 8 จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ต้องขังรายอื่นๆ โดยไม่มีสิทธิพิเศษเหมือนกับกลุ่มพิราบขาว 6 คนซึ่งตำรวจนำตัวมาฝากขังก่อนหน้านี้ และถูกควบคุมตัวอยู่ที่แดนแรกรับ
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังไม่มีสิทธิ์ใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะถือเป็นอุปกรณ์ต้องห้ามในเรือนจำ แต่ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาฝากขังญาติสามารถนำเครื่องนอน เครื่องใช้ให้ได้บางส่วน แต่เครื่องใช้หลัก เช่น ที่นอนจะต้องใช้ของเรือนจำ ส่วนระเบียบการเยี่ยมอนุญาตเฉพาะญาติ และจะมีการตรวจสอบผู้ที่จะเข้าเยี่ยมอย่างเคร่งครัด
**"ศ.ศิวรักษ์-ธนา"รุดเยี่ยม
วันเดียวกันในช่วงเช้าที่ สน.สามเสน ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งศาลอาญา เวลา 10.00 น.นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปก.รุ่น 2 เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาทั้ง 9 คน พร้อมกับเปิดเผยว่า นายจักรภพ ได้ฝากช็อกโกแลต ซึ่งอยู่ในกล่องรูปหัวใจ ผ่านตนเพื่อนำไปให้กับประชาชนที่เดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจแกนนำทั้ง 9 คน
ต่อมาเวลา 12.00 น. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหา โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที จากนั้น นายสุลักษณ์ เปิดเผยว่า ตนเดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจ นพ.เหวง และนายจรัล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของตน พร้อมกับได้อวยพรให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเชื่อว่าทั้ง 2 คน เชื่อในพุทธคุณจะไม่เป็นอะไร ส่วนเรื่องกฎหมาย และการต่อสู้คดีคงไม่ต้องไปแนะนำ เนื่องจากแต่ละคนมีความรู้อยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนา เบญจาทิกุล อดีตทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาทั้ง 9 คน แต่ไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างรอลงอาญาโทษจำคุกในคดีหมิ่นศาล
**จ่อจับเพิ่ม"ครูประทีป-พิมพ์พา"
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเตรียมขออนุมัติหมายจับแกนนำที่เหลืออีก 6 คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องในเหตุการณ์คืนวันที่ 22 ก.ค. โดยหนึ่งในนั้น มีนางพิมพา จันทรประสงค์ และนางประทีป อึ้งทรงธรรม ส่วนแกนนำ 9 คน ที่ขึ้นเวทีปราศรัยที่สนามหลวงเมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ก.ค.) แทนแกนนำ 9 คน ที่ถูกจับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จับตามองหากทำผิดกฎหมาย จะถูกจับกุมทันที
** "สุรยุทธ์"ยันไม่เคยหักหลังใคร
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์ 9 แกนนำ นปก. ถูกจับกุมว่า สถานการณ์เรื่องทางการเมืองน่าจะคลี่คลายลงไปได้ระดับหนึ่ง และคิดว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และสามารถทำความเข้าใจกับประชาชนส่วนใหญ่ได้ว่า การดำเนินการต่าง ๆ ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งหรือฉกฉวยผลประโยชน์ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ตนคิดว่าด้วยเหตุผลและการทำงานของเจ้าหน้าที่ ก็เห็นว่าเราไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการตั้งเป้า หรือตั้งธงแต่อย่างใด เราอยากให้เป็นเรื่องกระบวนการพิจารณาของกฎหมายอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการ ผบ.ตร. รายงานให้ทราบถึงปัญหาฟางเส้นสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น เพราะตำรวจเปลี่ยนจากหมายจับ เป็นฝากขังหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้พูดถึงฟางเส้นสุดท้ายหรือฟางเส้นแรก แต่ได้รายงานถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร เมื่อถามต่อว่า 9 แกนนำ นปก. ระบุว่าถูกหักหลัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเลขาธิการศาลฎีกาได้ชี้แจงรายละเอียดแล้ว ซึ่งชัดเจน คงไม่ได้เป็นเรื่องของการหักหลัง เพราะทุกคนเชื่อมั่นในกระบวนการของศาลยุติธรรม
เมื่อถามถึงความเห็นที่กลุ่มม็อบ ตั้งแกนนำขึ้นมาใหม่ คิดว่าสถานการณ์จะกลับไปสู่จุดเดิมหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า คงต้องเฝ้าดู คิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเข้าใจ เพราะการทำอะไรที่ถือว่าผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ใช้สิทธิของตัวเองจนไปก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่นก็จะมีปัญหา หากทำอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
**ชี้ประชาชนถูกใจที่จับแกนนำม็อบ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. และประธานคมช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือร่วมกับ พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ก่อนเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ ถึงกรณี 9 แกนนำม็อบถูกจับว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเอาจริงเอาจังกับการรักษากฎหมาย เห็นชัดว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจ เป็นการตัดสินใจที่น่าชื่นชม และเป็นการรักษากฎหมายที่ชัดเจน เชื่อว่าประชาชนทั้งประเทศจะแซ่ซ้องสรรเสริญ ยินดีกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
"ประชาชนต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง การเรียกร้องประชาธิปไตยต้องอยู่ในกรอบ ถ้าอยู่นอกกกรอบ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย" พล.อ.สนธิ กล่าว
ส่วนกรณีที่มีการตั้งแกนนำใหม่ขึ้นมานั้น ประธาน คมช. กล่าวว่า การดูแลก็เหมือนที่ผ่านมา ถ้าเป็นการชุมนุมในกรอบของกฎหมาย แต่ถ้านอกกรอบก็ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เรากำลังจะเพิ่มมาตรการทางกฎหมาย ทั้งทหาร ตำรวจ จะต้องเอาจริงเอาจังมากขึ้น โดยเฉพาะได้สั่งการไปยังแม่ทัพภาคที่ 1 ให้ส่งทหารลงไปช่วยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เต็มที่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพราะปัจจุบันทหารมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน เพียง แต่ยังไม่ได้ออกไปช่วยเท่านั้น
"ปัจจุบันตำรวจมีภาระมาก เราจึงจำเป็นต้องไปช่วย ตำรวจที่เข้ามาทำงานในชุดของกองร้อยปราบฝูงชนจากสถานีต่าง ๆ ทำให้เกิดช่องว่างของการดูแลความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน จึงจำเป็นต้องนำทหารเข้าไปเสริมในบางจุด" พล.อ. สนธิ กล่าว
**ทหารเตรียมพร้อมรับวันหยุดยาว
ด้าน พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวถึงกรณี ผบ.ทบ. จะส่งทหารเข้าไปช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ว่า ไปช่วยในเรื่องของการตั้งด่านตรวจค้น จุดสกัดต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม และสถานที่ราชการที่สำคัญ ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือจากประชาชนให้เสียสละเวลา ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อความสงบสุขส่วนรวมของบ้านเมือง สำหรับกรณี 9 แกนนำ นปก.ถูกจับ พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่คิดว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย 100% ขึ้นอยู่กับผู้ชุมนุมว่า จะมีเจตนาอย่างไรในการเคลื่อนไหว
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก คมช. กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยในช่วงวันหยุดติดต่อกัน 4 วันว่า ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลอะไร การดูแลรักษาความปลอดภัยจะเป็นหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งทหารจะเตรียมความพร้อมในส่วนกำลัง คือ กองทัพภาคที่ 1 ได้แบ่งพื้นที่ กทม. ออกเป็น 14 โซน ในใจกลาง กทม. เป็นหลัก แต่ละโซนมีกำลังทหารเตรียมการอย่างน้อยโซนละไม่ต่ำกว่า 1 กองร้อย โดยจะปฏิบัติร่วมเรื่องการตั้งจุดตรวจ การลาดตระเวน และการแสดงกำลังเพื่อป้องปราม และพร้อมเข้ารักษาพื้นที่เป็นจุดสำคัญ
"ทหารจะออกปฏิบัติภารกิจใน 2 ลักษณะ คือ เมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี แต่ทาง คมช. ก็จะต้องเสนอแนะข้อคิดเห็นร่วมกัน และ 2. ทหารจะออกปฏิบัติภารกิจเมื่อทางตำรวจได้ร้องขอให้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเท่านั้น ซึ่งขั้นนี้จะเตรียมกำลังอยู่ในที่ตั้ง ปกติมีแต่การลาดตระเวนร่วมกันและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สำคัญๆ มั่นใจว่าสถานการณ์ในช่วง 4 วัน ไม่น่าจะมีเหตุการณ์อะไร" พ.อ.สรรเสริญ กล่าว และว่า ในช่วงวันหยุด 4 วันนี้ รู้สึกเป็นห่วงในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นหากได้ยินข่าวว่า จะมีการปฎิวัติซ้ำ ปฎิวัติซ้อน มีการนำกำลังทหาร หรือพบการเคลื่อนไหวของรถยานเกราะ รถสายพานลำเลียง รถถัง ก็สามารถตรวจสอบได้จากกองทัพบก สถานีจส.100 หรือ ร่วมด้วยช่วยกัน
** ยันรัฐบาลไม่ได้รังแก 9 แกนนำม็อบ
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่ แกนนำม็อบ พยายามฟ้องให้ทั่วโลกวิจารณ์การกระทำของรัฐบาลไทย ว่าเป็นการรังแกประชาชนว่า รัฐบาลไม่ได้รังแกกลุ่มคนเหล่านั้น ทั้งนี้ในช่วงวันหยุด 4 วันในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่ามีการเคลื่อนไหวระดมคนจากต่างจังหวัดเข้ามาชุมนุมใน กทม. แต่เชื่อว่าทุกคนอยากอยู่อย่างสันติ ไม่ต้องการอยู่บนความวุ่นวาย
ส่วนกรณีที่ “กลุ่มคนรักป๋า” ออกมาเคลื่อนไหวใน จ.นครราชสีมา และสงขลานั้น นายอารีย์ กล่าวว่า ไม่ได้สั่งกำชับผู้ว่าราชการจังหวัดให้ดูแลทำความเข้าใจกับกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะถือเป็นความเห็น และเป็นความรู้สึกของคนแต่ละจังหวัด ซึ่งใครมีความเห็นอย่างไรก็เป็นสิทธิ
ไพวกนั้นไปด่าเขาโครมๆ จะไปว่าคนอื่นเขารังแกได้อย่างไร ภาพหลักฐานออกมาชัดเจน ทีออกมาด่าป๋า ก็ไม่เห็นมีใครว่า ป๋าก็ไม่ว่า จนถึงขั้นไปก่อเหตุที่หน้าบ้าน แต่ทีคนอื่นไปด่าบ้าง จะมาว่าได้อย่างไร" นายอารีย์ กล่าว
**เตือนถวายฎีกาต้องดูความเหมาะสม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ. สนธิ สั่งการให้กองทัพภาคที่ 1 ส่งทหารไปทำงานร่วมกับตำตรวจ เพื่อไปดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือไม่ ว่า เรื่องนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริง ตนคิดว่า คนไทยได้เห็นภาพของการชุมนุมในสัปดาห์ที่แล้ว และเห็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตนเชื่อว่าภาพเหล่านี้ได้ถูกส่งไปยังต่างประเทศ และต่างประเทศคงไม่ฟังเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และคงชั่งน้ำหนักได้ เราเชื่อว่าความจริงได้ปรากกฎออกไป ถ้าเราไม่ได้ละเมิด ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกลัว แม้จะมีคนบางกลุ่มนำไปฟ้องต่างประเทศก็ตาม
ส่วนที่แกนนำกลุ่มม็อบ ที่ถูกจับกุมจะยื่นขอถวายฎีกา ก็เป็นสิทธิที่ทำได้ ส่วนจะมีความเหมาะสมหรือไม่ คิดว่าเจ้าตัวคงทราบดี แต่ตนคิดว่า คงมีความพยายามที่จะดิสเครดิตกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมคืบคลานเข้ามาสะสางความไม่ถูกต้องหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากในอดีต เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากตรงนี้จึงพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้คนยอมรับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมาก และตนคิดว่า ใครที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ก็ขอให้หยุด เพราะถือเป็นการทำลายพื้นฐานของประเทศอีกอย่างหนึ่ง
**นักข่าววอนคู่ขัดแย้งเข้าใจการทำหน้าที่
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ กรณี เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มนปก. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า วิกฤตการณ์ทางการเมืองดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นอุสรรคในการทำหน้าที่ของนักข่าวด้วย เนื่องจาก ผู้ชุมนุมมักแสดงท่าทีเป็นปรปักษ์ ต่อนักข่าวถึงขั้นที่นักข่าวไม่กล้าเปิดเผยตัวขณะทำข่าวการชุมนุมประท้วงเพราะเกรงว่า จะถูกทำร้าย ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนกลับสันนิษฐานเองว่า นักข่าวเป็นฝ่ายตรงข้าม และไม่ได้ปฏิบัติต่อนักข่าวอย่างที่ควรเป็นในฐานะที่นักข่าวเป็นผู้ส่งสารที่ต้องการนำความจริงไปแจ้งให้ประชาชนคนไทยได้รับทราบ
สมาคมนักข่าวฯ ขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจภารกิจหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักข่าวที่ต้องออกไปทำข่าวในเหตุการณ์ประท้วงการปะทะกันรวมถึงการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่ายด้วย และสถานการณ์ยิ่งเปราะบางเพียงใด สื่อมวลชนยิ่งสมควรได้รับการอนุญาตให้ทำหน้าที่อย่างมืออาชีพ เป็นอิสระ และเป็นกลางโดยไม่ต้องคอยหวาดกลัวหรือเผชิญการคุกคามใด ๆ เพื่อเป็นการอำนวยให้ความจริงได้มีโอกาสเดินทางไปถึงสาธารณชนให้มากที่สุด
นอกจากนี้ ขอเรียกร้องให้องค์กรสื่อต่างๆ ใช้ความรอบคอบและวิจารณญาณอย่างเต็มที่ในการสื่อข่าว และนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน โดยตระหนักถึงความอ่อนไหวของสถานการณ์บ้านเมืองที่จำเป็นต้องได้รับข่าวสารที่มีความสมดุลย์เหมาะสมระหว่างคุณค่าข่าว และความรับผิดชอบ เพราะนักข่าวไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่นำเสนอความจริงเท่านั้น หากแต่ยังต้องมีความรับผิดชอบในฐานะประชาชนคนไทยที่จะต้องช่วยประคับประคองประเทศชาติให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้