รายงานเมื่อฉบับที่แล้ว, เกี่ยวกับดินแดนที่ไทยควรจะได้เพิ่มขึ้นที่ “ดอยผ้าห่มปก” นั้น ได้รับการยืนยันจากนายทหารผู้เคยปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกองทัพภาคที่ 3 ว่า เรื่องนี้ทางกองทัพภาคที่ 3 ได้เคยเสนอความเห็นไปทางพม่าว่า การปักปันถาวรในบริเวณนั้นโดยเฉพาะพื้นที่ภูเขา น่าจะมีการทบทวนกันให้เป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม ที่ทำกันไว้เมื่อครั้งพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และเมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษมาแล้ว สนธิสัญญาก็มีการตกทอดตามหลักสากล พม่าต้องยึดถือตามสนธิสัญญานั้น
เรื่องดอยผ้าห่มปกมิใช่เขตแดนที่แท้จริงตามสนธิสัญญาดังกล่าวนี้ ทางพม่าเองก็รู้เท่าๆ กับที่ไทยรู้ คือมีเทือกเขาอีกเทือกหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือดอยผ้าห่มปกเข้าไป เวลานี้อยู่ในเขตพม่าที่มีความสูงกว่ายอดดอยผ้าห่มปก 3 เมตร 25 เซนติเมตร ถ้าหากเส้นเขตแดนเขยิบเข้าไปตามข้อความในสนธิสัญญาที่ระบุว่าให้ยึดถือตามแนวทิวเขาของภูเขาหรือดอยที่มีความสูงที่สุด (จากระดับน้ำทะเล-มิใช่มองตาเปล่า) พม่าจะต้องมอบดินแดนให้ไทย เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาเป็นเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร แล้วดอยผ้าห่มปก ดอยลาง ก็จะไม่ใช่เส้นพรมแดน จะต้องเป็นของไทยทั้งหมด แล้วไปเริ่มใช้เขตแดนใหม่ให้ตรงตามข้อเท็จจริงนั้น, พม่าก็ดูท่าทีไทยว่าจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้เพียงใด เมื่อไทยนำไปหารือกันในระดับภูมิภาคก็ถูกปัดว่าต้องขึ้นไประดับรัฐบาล ถ้าหากขึ้นไประดับรัฐบาล ก็ต้องบอกปัดว่า ต้องเข้าที่ประชุมอาเซียน จากอาเซียนก็ไปสหประชาชาติ หรือไม่ก็ต้องฟ้องศาลโลกที่กรุงเฮกกันเลย
ความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ หยุดสนิทไม่มีการหยิบยกหรือเอ่ยปากอะไรเลยในสมัยรัฐบาล “ทักษิณ” ซึ่งวิเคราะห์ได้อย่างง่ายๆ ว่า รัฐบาลอำนาจเก่านั้น มองทางผลประโยชน์ด้านอื่นๆ เสียมากกว่าที่จะให้เรื่องนี้ไปกระทบใจทางพม่า จะทำให้เสียการค้าขายและธุรกิจ ซึ่งมิใช่ธุรกิจของชาติโดยตรง แต่เป็นธุรกิจของกลุ่มไทยรักไทย
เป็นเหตุผลเดียวกัน ที่ปล่อยให้ทหารพม่าล้ำแดนเข้ามาอยู่ในเขตไทยที่เหนือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ คือไม่อยากจะขัดใจพม่า, ก็เท่ากับว่าเป็นการทำธุรกิจของตนและพวกพ้อง โดยยอมเสียดินแดน มองไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ก็เท่ากับเอาดินแดนของชาติไปเป็น “ทุน” นั่นเอง
เรื่องของยอดดอยอีกดอยหนึ่งที่สูงกว่าดอยผ้าห่มปก 3 เมตร 25 เซนติเมตร จากการวัดความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางด้วยดาวเทียมนั้น, มีการพูดกันอยู่ในกลุ่มผู้ทำงานชายแดน ว่าต้องเฝ้ามองยอดดอยแห่งนี้ไว้ให้ดี เพราะความสูงขนาดนั้น ไม่ใช่จะมากมาย (แต่ก็สูงกว่า ถือว่าสูงสุดตามข้อความในสนธิสัญญา) ทางพม่าหรือว้าที่ดูแลพื้นที่นี้อยู่ จะเกณฑ์คนสักร้อยคน ใช้จอบเสียมไปทำลายคือตัดส่วนสูงของยอดดอยที่เป็นดินมิใช่ผาหินให้ลดต่ำลงมา คือถากยอดดอยให้ต่ำลงมาสัก 5 เมตร ก็จะเป็นยอดดอยที่ต่ำกว่าดอยผ้าห่มปก ไปตรวจสภาพความเป็นจริงในพื้นที่แบบ “เผชิญสืบ” ก็จะพบว่ายอดดอยต่ำกว่าดอยผ้าห่มปก, เรื่องนี้เป็นความห่วงใยกันอย่างพื้นๆ ว่า พม่าจะ “ทำลายหลักฐาน” อันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยแรงคน แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว เวลานี้สภาพของยอดดอยนี้ก็ยังเป็นปกติ ไม่มีการลดความสูงของยอดดอยดังกล่าว
โดยที่ทางพม่าก็ฉลาดพอในการเข้าไปแตะต้อง เพราะนั่นเท่ากับเป็นการยอมรับโดยปริยายจึงมีการทำลายหลักฐาน เพราะภาพถ่ายดาวเทียมนั้นสามารถตรวจจับสิ่งที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นได้ทุกวันว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ภาพถ่ายดาวเทียมที่บอกวันเวลาของการถ่ายภาพก็เป็นหลักฐานอยู่
ที่สำคัญก็คือ กองทัพกู้ชาติไทยใหญ่ของ เจ้าหาญฟ้า กลุ่มแม่นาง (พระนาง) เรือนคำ ก็มีฐานปฏิบัติการอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้น เท่ากับเป็นผู้รักษายอดดอย เขตแดนที่ควรจะเป็นจริงตามสนธิสัญญาไว้ให้กับไทย, และภาพถ่ายตลอดจนหลักฐานต่างๆ ไทยก็เคยมอบให้กับพม่าไว้แล้วตั้งแต่สมัย พล.อ.ยิ่งยส โชติพิมาย เป็นแม่ทัพภาคที่ 3 ถ้าหากว่ามีสภาพเปลี่ยนไป ก็เท่ากับว่าพม่าทำลายหลักฐาน และต้องมีคำตอบได้ด้วยว่าเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
มีความกังวลเช่นนี้จริงๆ แม้จะฟังดูเป็นเรื่องที่คนฉลาดเขาจะไม่ทำกัน...แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
เส้นเขตแดนธรรมชาติอันควรจะเป็น แต่ไม่ได้เป็นเพราะเทคโนโลยีวิชาการแผนที่ในขณะทำสนธิสัญญานั้น หรือการมองด้วยสายตาจะเห็นว่า ดอยผ้าห่มปกสูงที่สุดแล้ว จึงได้ยึดถือตามนั้น ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับความถูกต้องของดินแดนนี้ ที่จะต้องมีความถูกต้องตามข้อความในสนธิสัญญาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด มิใช่เป็นสิ่งที่คนรุ่นนี้จะวางเฉยเสีย เท่ากับเป็นการยอมรับสภาพของสิ่งที่ผิดพลาด ไม่เป็นจริง ว่าเป็นความถูกต้อง หรือหากว่า คนรุ่นเราไม่มีโอกาสหรือมีความสามารถที่จะทำได้ก็ต้องมอบสิ่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกของคนรุ่นต่อไป เพราะลูกหลานไทยในอนาคตนั้น อาจจะมีเลือดไทยเข้มข้นกว่าปัจจุบัน ที่มีการปลูกฝังให้ “รักตัวบุคคล” มากกว่ารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังที่ได้เห็นกันแล้วในเหตุการณ์ม็อบถ่อยลุยไปถึงบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แล้วกระทำการต่อประธานองคมนตรี ซึ่งดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ผู้อยู่ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่สุด ได้รับการกระทำที่ก้าวร้าวเช่นนี้
นโยบายเชิดชูตัวบุคคลจนลืมชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นี้ ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งเป็นอันตรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนด้วย แม้ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ว่าเป็นยุคทหารโดยแท้ กลับเป็นยุคที่ท่านผู้นำได้เป็นผู้นำในการปลุกใจให้รักชาติ การมีนโยบายแบบรัฐนิยม นั้น ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อชาติมากกว่านโยบายประชานิคมของระบอบทักษิณ เพราะเป็นประชานิยมที่ให้ผู้คนมัวเมาลุ่มหลงในสิ่งที่จับต้องได้คือเงิน และมองเห็นตัวบุคคลที่เงินเสกให้เป็นเทวดา ถึงจะชั่วก็ยังดูว่าเป็นการชั่วแบบเทวดา ส่วนการรักชาตินั้นเป็นมโนสำนึก อันเป็นนามธรรมที่ละเลยได้ ก็เจือจางกันลงไป เพราะนโยบายประชานิยมนั้น คือนโยบายของการปลูกฝังความเห็นแก่ตัว แล้วก็ลืมสิ่งอื่นๆ ว่ามีความสำคัญยิ่ง
เมื่อได้กล่าวถึงเรื่องนี้, ก็เป็นโอกาสที่จะได้พูดถึงความเป็นพม่า อย่างมองเห็นธาตุแท้
จากข่าวสารที่ได้รับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นข่าวจากกลุ่มตะวันตก ที่สะท้อนออกมาในรูปของรัฐบาลเผด็จการทหารของพม่า โดยการนำเอา นางอองซาน ซูจี มาเป็นศูนย์กลางของข่าว, การทำให้เห็นว่าพม่าเต็มไปด้วยเหตุโกลาหล มีสงครามกลางเมือง จากการขัดขืนของชนกลุ่มน้อยที่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราช
โดยที่ข่าวสารเช่นนั้น แม้แต่คนที่มีรั้วบ้านติดกันอยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุดอย่างไทย ก็มีไม่น้อยที่เห็นว่า รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่ต้องการแยกตัวออกจากสหภาพพม่า และอาจจะมองเลยไปถึงกับว่าให้ความเห็นใจต่อชนกลุ่มน้อยนั้น
แต่ในวันนี้, ตามสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ของไทย แม้ว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเหตุการณ์ในพม่า เพราะยังไม่ถึงระดับจัดเป็นกองทัพมีการสู้รบ แล้วเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิดที่สุดของไทยไม่ว่าจะเป็นทางทิศใดก็ตาม เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เราเคยมองและคิดต่อเหตุการณ์ในพม่าหรือไม่?
เป็นการเปรียบเทียบโดยนัยที่ไม่ยากหรือซับซ้อนอะไรนัก
พม่าหรือชนเผ่าเมียนมาร์...พูดกับเฉพาะพม่าแท้ โดยเฉพาะนายทหารนั้น เป็นผู้ที่พูดตรงและทำจริงอย่างที่สุด มีความน่าเชื่อถือมาก และที่สำคัญคือ ทหารพม่าถือวินัย คือความรู้สึกพิเศษที่อยู่ในตัวของตัวเองเป็นเครื่องกำหนดควบคุมตัวเอง รัฐบาลทหารพม่าเป็นรัฐบาลที่เอาวินัยทหารมาควบคุมกันเอง และจัดการกันเองมาหลายยุคสมัยแล้ว นับตั้งแต่ พล.อ.เนวินห์ ได้นำทหารเข้าปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของ “อูนุ” (การเขียนชื่อ พล.อ.เนวินห์ เช่นนี้ ผู้ที่ทำงานติดต่อกับพม่าบอกว่า น่าจะเขียนให้ออกเสียงเช่นนี้จะเป็นการถูกต้อง และจะได้ไม่เหมือนกับ เนวิน ที่เป็นคนไทยแถวบุรีรัมย์) เมื่อถึงเวลาเขาก็ถ่ายโอนอำนาจให้ พล.อ.ซอ หม่อง และจากพล.อ.ซอ หม่อง ก็มาถึงยุค พล.อ.ตาน ฉ่วย ซึ่งสำเนียงภาษาพม่าเป็น “ตาน ฉะ-เหว่” ใครดีก็อยู่ได้ ใครที่ขาดวินัยก็ต้องลงไป
พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งจะหลุดไปนั้น เป็นผู้มีอำนาจอย่างสูงมาตั้งแต่เป็นพลตรี โดยที่เขาเป็นลูกเขยของ พล.อ.เนวินห์ จึงนั่งอยู่ในเก้าอี้สำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงคือ ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ที่ยิ่งใหญ่ปานเคจีบีของสหภาพโซเวียตในอดีต เขาอยู่ตรงนั้นมาทุกยุค จนกระทั่งเป็นพลเอก เป็นนายกรัฐมนตรีก็ยังคุมหน่วยข่าวกรองอยู่เช่นเดิม
การที่ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ ถูกทหารภายใต้การนำของ พล.อ.หม่อง เอ ผู้บัญชาการทหารบกปฏิวัตินั้น เสียงวิจารณ์ในพม่ากล่าวกันว่า เป็นเพราะมาคบกับ “ทักษิณ” นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ที่ได้แสดงบทบาทเหมือนกับอาสาต่อชาวโลกว่า เขาจะเป็นผู้ที่ทำในสิ่งที่โลกทำไม่ได้ คือ การนำประชาธิปไตยสู่พม่า ซึ่งก็เป็นกลลวงอย่างหนึ่งที่เขาอาศัยบทบาทในอาเซียน ขอรับบทเป็นพระเอกเพื่อการพลิกพม่า กลลวงนั้นคือ การทำให้สหประชาชาติหรือสหรัฐอเมริกา ไม่ขัดขวางการที่ต่างชาติจะไปลงทุนในพม่า โดยไม่มีการแอนตี้ บอยคอต แล้วเขาก็จูงมือสิงคโปร์เข้าไปพม่า ทำธุรกิจที่เหมือนกับจะส่งเสริมแต่ที่จริงเป็นการกอบโกยต่อทรัพยากรของพม่า ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แหล่งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ
ย้อนกลับไปสู่การรายงาน “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” ชุดนี้ในตอนแรกที่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายของรัฐบาลระบอบเก่า ประกาศต่อสู้กับยาเสพติด แต่กลับมีการแอบจับมือกับ “ว้า” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างลับๆ ด้วยการสนับสนุน โครงการ “ยองข่า” และเฉยเมยต่อการที่ทหารพม่าส่งกำลังมาอยู่ที่เหนือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นของไทย โดยประโยชน์ที่ได้ก็คือ “ว้า” ที่พม่าได้ดูแลดินแดนส่วนนั้น เสมือนเป็น “รัฐว้า” โดยปริยาย
มีข้อมูลใหม่ที่เข้ามาสู่รายงานนี้ว่า อำนาจเก่ากับบริษัทร่วมทุนยักษ์ใหญ่ของจีนแห่งหนึ่ง กำลังมองแหล่งทรัพยากรใหญ่ที่อยู่ในเขตดูแลของว้า อย่างกระหายอยากได้มากคือ “บ่อหยก” ซึ่งเป็นขุมกำเนิดอัญมณีที่มีความสำคัญและมีค่ายิ่ง โดยเฉพาะกับชาวจีน บ่อหยกแห่งนี้จะเป็นบ่อหยกที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว หากมีการลงทุนอย่างครบวงจร โดยทางพม่าสมัย พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ ยินยอมแล้ว แต่ขอให้พูดจากับว้าซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่อยู่เสียก่อน
ภาพของบ่อหยกที่ว่านี้ และภาพอื่นๆ ภายในเขตว้า คงจะมาถึงมือและได้รับการเปิดเผยตีพิมพ์ในฉบับหน้า อันเป็นภาพที่มีค่าให้ความหมายบอกเล่าอะไรได้หลายอย่าง เหมือนกับภาพของเมืองยอน-เมืองหลวงของว้าที่เนรมิตเมืองใหญ่ขึ้นมาในหุบเขาที่ได้ตีพิมพ์ไปเมื่อฉบับที่แล้ว
เรื่องดอยผ้าห่มปกมิใช่เขตแดนที่แท้จริงตามสนธิสัญญาดังกล่าวนี้ ทางพม่าเองก็รู้เท่าๆ กับที่ไทยรู้ คือมีเทือกเขาอีกเทือกหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือดอยผ้าห่มปกเข้าไป เวลานี้อยู่ในเขตพม่าที่มีความสูงกว่ายอดดอยผ้าห่มปก 3 เมตร 25 เซนติเมตร ถ้าหากเส้นเขตแดนเขยิบเข้าไปตามข้อความในสนธิสัญญาที่ระบุว่าให้ยึดถือตามแนวทิวเขาของภูเขาหรือดอยที่มีความสูงที่สุด (จากระดับน้ำทะเล-มิใช่มองตาเปล่า) พม่าจะต้องมอบดินแดนให้ไทย เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาเป็นเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร แล้วดอยผ้าห่มปก ดอยลาง ก็จะไม่ใช่เส้นพรมแดน จะต้องเป็นของไทยทั้งหมด แล้วไปเริ่มใช้เขตแดนใหม่ให้ตรงตามข้อเท็จจริงนั้น, พม่าก็ดูท่าทีไทยว่าจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้เพียงใด เมื่อไทยนำไปหารือกันในระดับภูมิภาคก็ถูกปัดว่าต้องขึ้นไประดับรัฐบาล ถ้าหากขึ้นไประดับรัฐบาล ก็ต้องบอกปัดว่า ต้องเข้าที่ประชุมอาเซียน จากอาเซียนก็ไปสหประชาชาติ หรือไม่ก็ต้องฟ้องศาลโลกที่กรุงเฮกกันเลย
ความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ หยุดสนิทไม่มีการหยิบยกหรือเอ่ยปากอะไรเลยในสมัยรัฐบาล “ทักษิณ” ซึ่งวิเคราะห์ได้อย่างง่ายๆ ว่า รัฐบาลอำนาจเก่านั้น มองทางผลประโยชน์ด้านอื่นๆ เสียมากกว่าที่จะให้เรื่องนี้ไปกระทบใจทางพม่า จะทำให้เสียการค้าขายและธุรกิจ ซึ่งมิใช่ธุรกิจของชาติโดยตรง แต่เป็นธุรกิจของกลุ่มไทยรักไทย
เป็นเหตุผลเดียวกัน ที่ปล่อยให้ทหารพม่าล้ำแดนเข้ามาอยู่ในเขตไทยที่เหนือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ คือไม่อยากจะขัดใจพม่า, ก็เท่ากับว่าเป็นการทำธุรกิจของตนและพวกพ้อง โดยยอมเสียดินแดน มองไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ก็เท่ากับเอาดินแดนของชาติไปเป็น “ทุน” นั่นเอง
เรื่องของยอดดอยอีกดอยหนึ่งที่สูงกว่าดอยผ้าห่มปก 3 เมตร 25 เซนติเมตร จากการวัดความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางด้วยดาวเทียมนั้น, มีการพูดกันอยู่ในกลุ่มผู้ทำงานชายแดน ว่าต้องเฝ้ามองยอดดอยแห่งนี้ไว้ให้ดี เพราะความสูงขนาดนั้น ไม่ใช่จะมากมาย (แต่ก็สูงกว่า ถือว่าสูงสุดตามข้อความในสนธิสัญญา) ทางพม่าหรือว้าที่ดูแลพื้นที่นี้อยู่ จะเกณฑ์คนสักร้อยคน ใช้จอบเสียมไปทำลายคือตัดส่วนสูงของยอดดอยที่เป็นดินมิใช่ผาหินให้ลดต่ำลงมา คือถากยอดดอยให้ต่ำลงมาสัก 5 เมตร ก็จะเป็นยอดดอยที่ต่ำกว่าดอยผ้าห่มปก ไปตรวจสภาพความเป็นจริงในพื้นที่แบบ “เผชิญสืบ” ก็จะพบว่ายอดดอยต่ำกว่าดอยผ้าห่มปก, เรื่องนี้เป็นความห่วงใยกันอย่างพื้นๆ ว่า พม่าจะ “ทำลายหลักฐาน” อันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยแรงคน แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว เวลานี้สภาพของยอดดอยนี้ก็ยังเป็นปกติ ไม่มีการลดความสูงของยอดดอยดังกล่าว
โดยที่ทางพม่าก็ฉลาดพอในการเข้าไปแตะต้อง เพราะนั่นเท่ากับเป็นการยอมรับโดยปริยายจึงมีการทำลายหลักฐาน เพราะภาพถ่ายดาวเทียมนั้นสามารถตรวจจับสิ่งที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นได้ทุกวันว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ภาพถ่ายดาวเทียมที่บอกวันเวลาของการถ่ายภาพก็เป็นหลักฐานอยู่
ที่สำคัญก็คือ กองทัพกู้ชาติไทยใหญ่ของ เจ้าหาญฟ้า กลุ่มแม่นาง (พระนาง) เรือนคำ ก็มีฐานปฏิบัติการอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้น เท่ากับเป็นผู้รักษายอดดอย เขตแดนที่ควรจะเป็นจริงตามสนธิสัญญาไว้ให้กับไทย, และภาพถ่ายตลอดจนหลักฐานต่างๆ ไทยก็เคยมอบให้กับพม่าไว้แล้วตั้งแต่สมัย พล.อ.ยิ่งยส โชติพิมาย เป็นแม่ทัพภาคที่ 3 ถ้าหากว่ามีสภาพเปลี่ยนไป ก็เท่ากับว่าพม่าทำลายหลักฐาน และต้องมีคำตอบได้ด้วยว่าเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
มีความกังวลเช่นนี้จริงๆ แม้จะฟังดูเป็นเรื่องที่คนฉลาดเขาจะไม่ทำกัน...แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
เส้นเขตแดนธรรมชาติอันควรจะเป็น แต่ไม่ได้เป็นเพราะเทคโนโลยีวิชาการแผนที่ในขณะทำสนธิสัญญานั้น หรือการมองด้วยสายตาจะเห็นว่า ดอยผ้าห่มปกสูงที่สุดแล้ว จึงได้ยึดถือตามนั้น ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับความถูกต้องของดินแดนนี้ ที่จะต้องมีความถูกต้องตามข้อความในสนธิสัญญาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด มิใช่เป็นสิ่งที่คนรุ่นนี้จะวางเฉยเสีย เท่ากับเป็นการยอมรับสภาพของสิ่งที่ผิดพลาด ไม่เป็นจริง ว่าเป็นความถูกต้อง หรือหากว่า คนรุ่นเราไม่มีโอกาสหรือมีความสามารถที่จะทำได้ก็ต้องมอบสิ่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกของคนรุ่นต่อไป เพราะลูกหลานไทยในอนาคตนั้น อาจจะมีเลือดไทยเข้มข้นกว่าปัจจุบัน ที่มีการปลูกฝังให้ “รักตัวบุคคล” มากกว่ารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังที่ได้เห็นกันแล้วในเหตุการณ์ม็อบถ่อยลุยไปถึงบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แล้วกระทำการต่อประธานองคมนตรี ซึ่งดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ผู้อยู่ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่สุด ได้รับการกระทำที่ก้าวร้าวเช่นนี้
นโยบายเชิดชูตัวบุคคลจนลืมชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นี้ ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งเป็นอันตรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนด้วย แม้ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ว่าเป็นยุคทหารโดยแท้ กลับเป็นยุคที่ท่านผู้นำได้เป็นผู้นำในการปลุกใจให้รักชาติ การมีนโยบายแบบรัฐนิยม นั้น ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อชาติมากกว่านโยบายประชานิคมของระบอบทักษิณ เพราะเป็นประชานิยมที่ให้ผู้คนมัวเมาลุ่มหลงในสิ่งที่จับต้องได้คือเงิน และมองเห็นตัวบุคคลที่เงินเสกให้เป็นเทวดา ถึงจะชั่วก็ยังดูว่าเป็นการชั่วแบบเทวดา ส่วนการรักชาตินั้นเป็นมโนสำนึก อันเป็นนามธรรมที่ละเลยได้ ก็เจือจางกันลงไป เพราะนโยบายประชานิยมนั้น คือนโยบายของการปลูกฝังความเห็นแก่ตัว แล้วก็ลืมสิ่งอื่นๆ ว่ามีความสำคัญยิ่ง
เมื่อได้กล่าวถึงเรื่องนี้, ก็เป็นโอกาสที่จะได้พูดถึงความเป็นพม่า อย่างมองเห็นธาตุแท้
จากข่าวสารที่ได้รับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นข่าวจากกลุ่มตะวันตก ที่สะท้อนออกมาในรูปของรัฐบาลเผด็จการทหารของพม่า โดยการนำเอา นางอองซาน ซูจี มาเป็นศูนย์กลางของข่าว, การทำให้เห็นว่าพม่าเต็มไปด้วยเหตุโกลาหล มีสงครามกลางเมือง จากการขัดขืนของชนกลุ่มน้อยที่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราช
โดยที่ข่าวสารเช่นนั้น แม้แต่คนที่มีรั้วบ้านติดกันอยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุดอย่างไทย ก็มีไม่น้อยที่เห็นว่า รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามชนกลุ่มน้อยที่ต้องการแยกตัวออกจากสหภาพพม่า และอาจจะมองเลยไปถึงกับว่าให้ความเห็นใจต่อชนกลุ่มน้อยนั้น
แต่ในวันนี้, ตามสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ของไทย แม้ว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเหตุการณ์ในพม่า เพราะยังไม่ถึงระดับจัดเป็นกองทัพมีการสู้รบ แล้วเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิดที่สุดของไทยไม่ว่าจะเป็นทางทิศใดก็ตาม เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เราเคยมองและคิดต่อเหตุการณ์ในพม่าหรือไม่?
เป็นการเปรียบเทียบโดยนัยที่ไม่ยากหรือซับซ้อนอะไรนัก
พม่าหรือชนเผ่าเมียนมาร์...พูดกับเฉพาะพม่าแท้ โดยเฉพาะนายทหารนั้น เป็นผู้ที่พูดตรงและทำจริงอย่างที่สุด มีความน่าเชื่อถือมาก และที่สำคัญคือ ทหารพม่าถือวินัย คือความรู้สึกพิเศษที่อยู่ในตัวของตัวเองเป็นเครื่องกำหนดควบคุมตัวเอง รัฐบาลทหารพม่าเป็นรัฐบาลที่เอาวินัยทหารมาควบคุมกันเอง และจัดการกันเองมาหลายยุคสมัยแล้ว นับตั้งแต่ พล.อ.เนวินห์ ได้นำทหารเข้าปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของ “อูนุ” (การเขียนชื่อ พล.อ.เนวินห์ เช่นนี้ ผู้ที่ทำงานติดต่อกับพม่าบอกว่า น่าจะเขียนให้ออกเสียงเช่นนี้จะเป็นการถูกต้อง และจะได้ไม่เหมือนกับ เนวิน ที่เป็นคนไทยแถวบุรีรัมย์) เมื่อถึงเวลาเขาก็ถ่ายโอนอำนาจให้ พล.อ.ซอ หม่อง และจากพล.อ.ซอ หม่อง ก็มาถึงยุค พล.อ.ตาน ฉ่วย ซึ่งสำเนียงภาษาพม่าเป็น “ตาน ฉะ-เหว่” ใครดีก็อยู่ได้ ใครที่ขาดวินัยก็ต้องลงไป
พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งจะหลุดไปนั้น เป็นผู้มีอำนาจอย่างสูงมาตั้งแต่เป็นพลตรี โดยที่เขาเป็นลูกเขยของ พล.อ.เนวินห์ จึงนั่งอยู่ในเก้าอี้สำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงคือ ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ที่ยิ่งใหญ่ปานเคจีบีของสหภาพโซเวียตในอดีต เขาอยู่ตรงนั้นมาทุกยุค จนกระทั่งเป็นพลเอก เป็นนายกรัฐมนตรีก็ยังคุมหน่วยข่าวกรองอยู่เช่นเดิม
การที่ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ ถูกทหารภายใต้การนำของ พล.อ.หม่อง เอ ผู้บัญชาการทหารบกปฏิวัตินั้น เสียงวิจารณ์ในพม่ากล่าวกันว่า เป็นเพราะมาคบกับ “ทักษิณ” นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ที่ได้แสดงบทบาทเหมือนกับอาสาต่อชาวโลกว่า เขาจะเป็นผู้ที่ทำในสิ่งที่โลกทำไม่ได้ คือ การนำประชาธิปไตยสู่พม่า ซึ่งก็เป็นกลลวงอย่างหนึ่งที่เขาอาศัยบทบาทในอาเซียน ขอรับบทเป็นพระเอกเพื่อการพลิกพม่า กลลวงนั้นคือ การทำให้สหประชาชาติหรือสหรัฐอเมริกา ไม่ขัดขวางการที่ต่างชาติจะไปลงทุนในพม่า โดยไม่มีการแอนตี้ บอยคอต แล้วเขาก็จูงมือสิงคโปร์เข้าไปพม่า ทำธุรกิจที่เหมือนกับจะส่งเสริมแต่ที่จริงเป็นการกอบโกยต่อทรัพยากรของพม่า ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แหล่งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ
ย้อนกลับไปสู่การรายงาน “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” ชุดนี้ในตอนแรกที่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายของรัฐบาลระบอบเก่า ประกาศต่อสู้กับยาเสพติด แต่กลับมีการแอบจับมือกับ “ว้า” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างลับๆ ด้วยการสนับสนุน โครงการ “ยองข่า” และเฉยเมยต่อการที่ทหารพม่าส่งกำลังมาอยู่ที่เหนือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นของไทย โดยประโยชน์ที่ได้ก็คือ “ว้า” ที่พม่าได้ดูแลดินแดนส่วนนั้น เสมือนเป็น “รัฐว้า” โดยปริยาย
มีข้อมูลใหม่ที่เข้ามาสู่รายงานนี้ว่า อำนาจเก่ากับบริษัทร่วมทุนยักษ์ใหญ่ของจีนแห่งหนึ่ง กำลังมองแหล่งทรัพยากรใหญ่ที่อยู่ในเขตดูแลของว้า อย่างกระหายอยากได้มากคือ “บ่อหยก” ซึ่งเป็นขุมกำเนิดอัญมณีที่มีความสำคัญและมีค่ายิ่ง โดยเฉพาะกับชาวจีน บ่อหยกแห่งนี้จะเป็นบ่อหยกที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ทีเดียว หากมีการลงทุนอย่างครบวงจร โดยทางพม่าสมัย พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ ยินยอมแล้ว แต่ขอให้พูดจากับว้าซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่อยู่เสียก่อน
ภาพของบ่อหยกที่ว่านี้ และภาพอื่นๆ ภายในเขตว้า คงจะมาถึงมือและได้รับการเปิดเผยตีพิมพ์ในฉบับหน้า อันเป็นภาพที่มีค่าให้ความหมายบอกเล่าอะไรได้หลายอย่าง เหมือนกับภาพของเมืองยอน-เมืองหลวงของว้าที่เนรมิตเมืองใหญ่ขึ้นมาในหุบเขาที่ได้ตีพิมพ์ไปเมื่อฉบับที่แล้ว