ผู้จัดการรายวัน-สุราพื้นบ้านของไทย มีตำนานเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน จากเหล้าที่ต้มกินกันเองแบบหลบๆ ซ่อนๆ หลังจากที่รัฐ เข้าไปส่งเสริมให้มีการทำเหล้าอย่างถูกกฎหมายไม่ต้องหลบๆ ซ่อน สุราพื้นบ้าน จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้แบรนด์ สุราลิกอร์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับโรงเหล้าอีกมากกว่า 100 โรงในจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการผลิตเหล้าที่เรียกว่าเหล้าเถื่อนกันเป็นจำนวนมาก รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากแหล่งผลิตอื่นๆ ทำให้เหล้าพื้นบ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับความนิยม ซึ่งจุดเด่นของเหล้าพื้นบ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่างจากเหล้าของภาคอื่นๆ เพราะถ้าเหล้าภาคอีสานจะใช้ข้าวเหนียวเป็นหลัก หรือ เหล้าภาคเหนือ จะใช้น้ำตาลมะพร้าว แต่เหล้าพื้นบ้านของนครศรีธรรมราชใช้ทั้งข้าวเหนียวและน้ำตาลมะพร้าว
หนึ่งใน 100 กว่าโรงของสุราพื้นบ้าน คือ โรงงานสุราลิกอร์ ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อต้นปี 2546 โดยกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยเตง มีนายนเรศ สุขรินทร์ เป็นแกนนำกลุ่ม ผู้ริเริ่ม และจดทะเบียนการค้าในรูปแบบห้างหุ้นส่วน ภายใต้ชื่อ “สุราลิกอร์” ลิกอร์เป็นชื่อเดิมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้นำเอาจุดเด่นของภูมิปัญญาทำเหล้า ของบรรพบุรุษที่ได้ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น นั่นคือใช้วัตถุดิบจากน้ำตาลมะพร้าว น้ำสะอาดจากธรรมชาติ ลูกแป้งสมุนไพร และหมักบ่มด้วยไหดิน ทุกขั้นตอนจึงเน้นความสะอาดและปลอดสารเคมี
นเรศ เล่าว่า จุดประสงค์ของการผลิตสุราลิกอร์ ต้องการจะผลักดันให้เป็นของฝากและของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวเมื่อมาเที่ยวเมืองนครศรีธรรมราช เพราะในอดีตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเรื่องของสุราพื้นบ้านที่มีรสชาติดี ซึ่งสุราลิกอร์ได้รักษาขั้นตอนการผลิต เพราะหัวใจหลักของการผลิตสุราพื้นบ้านให้ยังคงรสชาติดั้งเดิม คือ ผ่านการหมักบ่มรสชาติ ด้วยไหดินแบบดั้งเดิม เพราะดินที่เป็นส่วนผสมของการทำไหเมื่อผสมกับแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมัก ช่วยให้รสชาติของสุรากลมกล่อม
ดังนั้น เหล้ายิ่งบ่มอยู่ในไหนานรสชาติยิ่งกลมกล่อม แต่ต้องเป็นไหดินแท้ปัจจุบันเริ่มหายากมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะใช้ดินที่มีส่วนผสมของดินทรายเมื่อนำมาบ่มเหล้าทำให้รสชาติผิดเพี้ยนไป ขั้นตอนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การต้มเหล้า ที่ต้องใช้การต้มแบบเก่าที่ใช้ฟื้น ส่วนวัตถุดิบน้ำตาลมะพร้าวมาจากแหล่งผลิตในท้องถิ่นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะเหมาะกับการนำมาทำเหล้า ซึ่งน้ำตาลมะพร้าวแต่ละที่มีความเหมาะสมกับการนำมาทำอาหารที่แตกต่างกัน ลูกแป้งคุณภาพดีราคาลูกละ 20 บาท และสมุนไพรอีก 3 ชนิด
สำหรับสุราลิกอร์ที่ผลิตออกจำหน่ายในขณะนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ เหล้ากลั่นชั้นเดียวและบรรจุใส่ขวดขายเลย กลุ่มนี้ต้องการจะออกมาแข่งขันกับเหล้าโรงที่ขายตามท้องตลาด ราคาใกล้เคียงกัน คือ ราคา 40 บาท ขนาด 330 มิลลิลิตร ประเภที่ 2 สุราที่ผ่านการหมักบ่มเป็นระยะเวลา 2 ปี จัดอยู่ในกลุ่มพรีเมียม ขนาด 330 มิลลิลิตร ราคา 100 บาท และประเภทที่ 3 สุราที่ผ่านการหมักบ่มในไหดิน บรรจุอยู่ในขวดซึ่งทำจากเครื่องปั้นดินเผา ราคา 500 บาท ดีกรีเท่ากัน คือ 35 ดีกรี
"ที่ผ่านมาได้มีการส่งเหล้าลิกอร์ไปทดสอบคุณภาพที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเหล้าของเราถูกจัดอยู่ในประเภทเหล้าชั้นดีเมื่อเทียบกับในหลายประเทศ และด้วยคุณภาพเหล้าวันนี้เราคงไม่ต้องกลัวคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ แต่ปัญหาในขณะนี้ คือ เหล้าพื้นบ้านมักจะถูกปิดกั้นจากภาครัฐของเราเอง จากนโยบายการส่งเสริมในแบบที่ไม่ถูกต้อง เช่น การให้เราเข้าสู่ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม ทั้งที่จริงแล้วรสชาติของสุราพื้นบ้านที่ดีต้องผ่านการผลิตแบบดั้งเดิม แต่ยังคงรักษาคุณภาพและความสะอาดเช่นเดียวกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่"
นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีที่สูงมาก และมีการเรียกเก็บภาษีทันที่ที่มีการบรรจุ ทั้งที่ยังไม่ได้ขาย ซึ่งเราเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่มีเงินทุนมาก แทนที่จะนำเงินมาใช้หมุนเวียนเงินส่วนหนึ่งก็ต้องนำมาเสียภาษี ดังนั้น โอกาสที่จะเข้าไปแข่งกับผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งมีเงินทุนมหาศาล ก็ทำได้อยาก
ช่องทางการขายของสุราลิกอร์ในปัจจุบัน เน้นการขายผ่านร้านขายของที่ระลึก ตามสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียงอย่างสุราษฏร์ธานี ส่วนเหล้ากลั่นชั้นเดียวที่บรรจุขายทันที่โดยไม่ผ่านการบ่ม จะใช้การขายผ่านร้านตามชุมชนต่างๆ รายได้ในส่วนนี้ที่จะได้นำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน ส่วนเหล้าที่ขายได้ก็เป็นเหล้าที่ผ่านการบ่ม 2 ปี ขายได้มากกว่า 90% ของยอดขายปัจจุบัน 5,000 ขวด ต่อเดือน ส่วนสุรา 5 ปีคาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ประมาณปลายปี มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นแบบของเราเองเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของสุราลิกอร์
สนใจ โทร. 075-394-398,08-9909-8533
สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการผลิตเหล้าที่เรียกว่าเหล้าเถื่อนกันเป็นจำนวนมาก รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากแหล่งผลิตอื่นๆ ทำให้เหล้าพื้นบ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับความนิยม ซึ่งจุดเด่นของเหล้าพื้นบ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่างจากเหล้าของภาคอื่นๆ เพราะถ้าเหล้าภาคอีสานจะใช้ข้าวเหนียวเป็นหลัก หรือ เหล้าภาคเหนือ จะใช้น้ำตาลมะพร้าว แต่เหล้าพื้นบ้านของนครศรีธรรมราชใช้ทั้งข้าวเหนียวและน้ำตาลมะพร้าว
หนึ่งใน 100 กว่าโรงของสุราพื้นบ้าน คือ โรงงานสุราลิกอร์ ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อต้นปี 2546 โดยกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยเตง มีนายนเรศ สุขรินทร์ เป็นแกนนำกลุ่ม ผู้ริเริ่ม และจดทะเบียนการค้าในรูปแบบห้างหุ้นส่วน ภายใต้ชื่อ “สุราลิกอร์” ลิกอร์เป็นชื่อเดิมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้นำเอาจุดเด่นของภูมิปัญญาทำเหล้า ของบรรพบุรุษที่ได้ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น นั่นคือใช้วัตถุดิบจากน้ำตาลมะพร้าว น้ำสะอาดจากธรรมชาติ ลูกแป้งสมุนไพร และหมักบ่มด้วยไหดิน ทุกขั้นตอนจึงเน้นความสะอาดและปลอดสารเคมี
นเรศ เล่าว่า จุดประสงค์ของการผลิตสุราลิกอร์ ต้องการจะผลักดันให้เป็นของฝากและของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวเมื่อมาเที่ยวเมืองนครศรีธรรมราช เพราะในอดีตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเรื่องของสุราพื้นบ้านที่มีรสชาติดี ซึ่งสุราลิกอร์ได้รักษาขั้นตอนการผลิต เพราะหัวใจหลักของการผลิตสุราพื้นบ้านให้ยังคงรสชาติดั้งเดิม คือ ผ่านการหมักบ่มรสชาติ ด้วยไหดินแบบดั้งเดิม เพราะดินที่เป็นส่วนผสมของการทำไหเมื่อผสมกับแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมัก ช่วยให้รสชาติของสุรากลมกล่อม
ดังนั้น เหล้ายิ่งบ่มอยู่ในไหนานรสชาติยิ่งกลมกล่อม แต่ต้องเป็นไหดินแท้ปัจจุบันเริ่มหายากมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะใช้ดินที่มีส่วนผสมของดินทรายเมื่อนำมาบ่มเหล้าทำให้รสชาติผิดเพี้ยนไป ขั้นตอนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การต้มเหล้า ที่ต้องใช้การต้มแบบเก่าที่ใช้ฟื้น ส่วนวัตถุดิบน้ำตาลมะพร้าวมาจากแหล่งผลิตในท้องถิ่นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะเหมาะกับการนำมาทำเหล้า ซึ่งน้ำตาลมะพร้าวแต่ละที่มีความเหมาะสมกับการนำมาทำอาหารที่แตกต่างกัน ลูกแป้งคุณภาพดีราคาลูกละ 20 บาท และสมุนไพรอีก 3 ชนิด
สำหรับสุราลิกอร์ที่ผลิตออกจำหน่ายในขณะนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ เหล้ากลั่นชั้นเดียวและบรรจุใส่ขวดขายเลย กลุ่มนี้ต้องการจะออกมาแข่งขันกับเหล้าโรงที่ขายตามท้องตลาด ราคาใกล้เคียงกัน คือ ราคา 40 บาท ขนาด 330 มิลลิลิตร ประเภที่ 2 สุราที่ผ่านการหมักบ่มเป็นระยะเวลา 2 ปี จัดอยู่ในกลุ่มพรีเมียม ขนาด 330 มิลลิลิตร ราคา 100 บาท และประเภทที่ 3 สุราที่ผ่านการหมักบ่มในไหดิน บรรจุอยู่ในขวดซึ่งทำจากเครื่องปั้นดินเผา ราคา 500 บาท ดีกรีเท่ากัน คือ 35 ดีกรี
"ที่ผ่านมาได้มีการส่งเหล้าลิกอร์ไปทดสอบคุณภาพที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเหล้าของเราถูกจัดอยู่ในประเภทเหล้าชั้นดีเมื่อเทียบกับในหลายประเทศ และด้วยคุณภาพเหล้าวันนี้เราคงไม่ต้องกลัวคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ แต่ปัญหาในขณะนี้ คือ เหล้าพื้นบ้านมักจะถูกปิดกั้นจากภาครัฐของเราเอง จากนโยบายการส่งเสริมในแบบที่ไม่ถูกต้อง เช่น การให้เราเข้าสู่ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม ทั้งที่จริงแล้วรสชาติของสุราพื้นบ้านที่ดีต้องผ่านการผลิตแบบดั้งเดิม แต่ยังคงรักษาคุณภาพและความสะอาดเช่นเดียวกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่"
นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีที่สูงมาก และมีการเรียกเก็บภาษีทันที่ที่มีการบรรจุ ทั้งที่ยังไม่ได้ขาย ซึ่งเราเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่มีเงินทุนมาก แทนที่จะนำเงินมาใช้หมุนเวียนเงินส่วนหนึ่งก็ต้องนำมาเสียภาษี ดังนั้น โอกาสที่จะเข้าไปแข่งกับผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งมีเงินทุนมหาศาล ก็ทำได้อยาก
ช่องทางการขายของสุราลิกอร์ในปัจจุบัน เน้นการขายผ่านร้านขายของที่ระลึก ตามสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียงอย่างสุราษฏร์ธานี ส่วนเหล้ากลั่นชั้นเดียวที่บรรจุขายทันที่โดยไม่ผ่านการบ่ม จะใช้การขายผ่านร้านตามชุมชนต่างๆ รายได้ในส่วนนี้ที่จะได้นำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน ส่วนเหล้าที่ขายได้ก็เป็นเหล้าที่ผ่านการบ่ม 2 ปี ขายได้มากกว่า 90% ของยอดขายปัจจุบัน 5,000 ขวด ต่อเดือน ส่วนสุรา 5 ปีคาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ประมาณปลายปี มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นแบบของเราเองเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของสุราลิกอร์
สนใจ โทร. 075-394-398,08-9909-8533