“ขิงแก่” ทำเต็มที่ แก้ปัญหาบาทแข็ง ตั้งทันทีกองทุนเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีวงเงิน 5 พันล้านบาท แต่แพ็คเกจปลดล๊อคค่าบาท ต้องรอ ครม.อังคารหน้า เผยให้ถือครองเงินตราต่างประเทศแบบไม่กำหนดเวลา ให้เปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินดอลลาร์ได้ ใช้จ่ายและชำระสินค้าระหว่างกันเป็นเงินตราต่างประเทศได้ นายกฯ ชี้ความผันผวนของบาทต้องอาศัยเวลา ช็อก! เงินบาทวานนี้อ่อนค่าแตะ 33.70 ขณะที่ตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) แข็งสุดๆ 29.75 ดันส่วนต่างสูงถึง 4 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. วานนี้ (20 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง และนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือและชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการดูแลค่าเงินบาทตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอมาทั้งสิ้น 7 มาตรการ
ก่อนการเข้าหารือร่วมกัน นายโฆสิตให้สัมภาษณ์ว่า จะนำมาตรการทั้ง 7 ข้อเสนอต่อนายกฯ เมื่อมาตรการดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากนายกฯ แล้ว หากมีบางมาตรการสามารถประกาศใช้ได้เลยก็จะดำเนินการทันที แต่บางมาตรการต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ก่อน
ภายหลังหารือ นายโฆสิตกล่าวว่า นายกฯ เห็นชอบในหลักการสำหรับมาตรการเร่งด่วนในการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มีเงินทุนประเดิมกองทุนจำนวน 5,000 ล้านบาท โดยความร่วมกันระหว่าง ธปท. และสมาคมธนาคารไทยเป็นจำนวนเงินคนละ 50% เพื่อนำมาปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่อง เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท
“รัฐบาลรับข้อเสนอของภาคเอกชน 6 มาตรการ จากทั้งหมด 7 มาตรการที่เสนอมา เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ข้อเสนอที่ภาคเอกชนเสนอให้สต็อกน้ำมันสะสมไว้ล่วงหน้า คงไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบเรื่องราคากับผู้บริโภค และจำเป็นต้องหารือกันอีกครั้ง ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ทั้งหมด ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 24 ก.ค.นี้ก่อน จึงจะบอกรายละเอียดได้ว่า ธปท. และกระทรวงการคลัง จะทำหน้าที่รับผิดชอบ และมีแนวทางแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทอย่างไรต่อไป”นายโฆสิต กล่าว
นางธาริษา ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า เบื้องต้น ธปท. รับข้อเสนอการดูแลภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ยกเว้นการสต๊อกน้ำมัน ธปท.มองว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศสำหรับผู้บริโภคได้
ส่วนกรณีที่มีนักวิชาการหลายฝ่ายออกมาเสนอแนะให้ธปท.ควรหันกลับมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ว่า ธปท.พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย เพราะทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไม่มีด้านไหนผิดหรือถูก แต่การจะนำแนวคิดใดมาใช้นั้นจะต้องทำให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ทั้งนี้ ธปท.มองว่าในอดีตที่ผ่านมาได้เคยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่มาแล้ว แต่ไทยก็ได้รับบทเรียนมาแล้วอย่างในปี 40 ขณะที่ปัจจุบันการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนใดก็ควรให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินที่หมุนเวียนในตลาดโลกปริมาณมาก ดังนั้นการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่น่าจะเหมาะสมแล้ว
“เราจะทำแบบสุดโต่งไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่งหรือแบบคงที่มีกำหนดเป็นช่วงๆ แต่เราจะดำเนินนโยบายแบบกลางๆ คือ ใช้แบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ เพราะไทยยังเป็นเพียงประเทศเล็กๆ เท่านั้น”ผู้ว่าฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการออกมาตรการทั้ง 8 ข้อออกมาแล้ว แต่ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอยู่และยังมีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ ธปท.จะดำเนินการอย่างไรนั้น นางธาริษากล่าวว่า ต้องรอให้มาตรการดังกล่าวประกาศออกใช้มาก่อนว่าจะมีผลเป็นเช่นไร ส่วนจะมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมมารองรับหากมาตรการดูแลค่าเงินบาทออกไปแล้วใช้ไม่ได้ผลนั้น นางธาริษา กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขอรอดูผลของมาตรการดังกล่าวที่เสนอไปก่อน
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทเริ่มทรงตัว ไม่ได้แข็งค่ามากนัก หรือมีความผันผวนเหมือนช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการร่วมมือของหลายฝ่าย และการเตรียมออกมาตรการช่วยดูแลค่าเงินบาท ทั้งการถือครองเงินดอลลาร์ และการเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศได้ ทำให้เงินทุนที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย รวมทั้งเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในไทยเริ่มชะลอลง
“ขณะนี้ปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาในไทยเริ่มชะลอตัวแล้ว สะท้อนให้เห็นจากรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินดอลลาร์เข้ามาไทยเริ่มชะลอลง ขณะเดียวกันมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งภาพรวมเงินทุนไหลเข้าในขณะนี้เริ่มชะลง ซึ่งดีกว่าช่วงปลายปีก่อนที่สัปดาห์หนึ่งมีปริมาณเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาไทยถึง 900-1,000 เหรียญ”
ส่วนประเด็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวถามว่า ธปท.ได้มีการเข้าไปแทรกแซงหรือไม่ในช่วงนี้ เพราะค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัวลง นางสุชาดา กล่าวว่า ธปท.พยายามจะทำหน้าที่ทุกส่วนให้ดีที่สุดแล้ว
*** เผยแพ็คเกจรับมือบาทแข็ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 ก.ค. นี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ที่มีนายโฆสิตเป็นประธาน จะเสนอที่ประชุมเพื่อสรุปมาตรการที่ ธปท.เสนอผ่านกระทรวงการคลัง เพื่อให้ ครม.วันที่ 24 ก.ค.นี้ ตัดสินใจนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 8 มาตรการ คือ 1.ให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน 2.อนุมัติให้เปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้ ใน 2 กรณี โดยกรณีแรกให้ฝากเงินตราต่างประเทศในสถาบันการเงินไทยได้ไม่จำกัดจำนวน กรณีที่สองให้นำเงินบาทไปซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และฝากไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ โดยไม่ต้องแจ้งภาระคงค้าง โดยบุคคลธรรมดาไม่เกิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯและนิติบุคคลไม่เกิน 300,000 เหรียญสหรัฐฯ
3.ให้สามารถโอนเงินไปยังต่างประเทศได้ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/ราย/ปี โดยมีเงื่อนไข เช่น การนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ 4.ให้ขยายเวลานำเงินตราต่างประเทศเข้าในประเทศเป็น 360 วันจากเดิม 120 วัน 5.ให้ยกเลิกการกำหนดถือครองเงินสกุลต่างประเทศ 15 วัน 6.เพิ่มความคล่องตัวให้สถาบันการเงิน โดยลดภาระเอกสารในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 7.ให้ปรับระเบียบให้เอื้อต่อการซื้อขายทองคำ และ 8.ให้ปรับระเบียบการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนประเภทสถาบัน และการดูแลเงินฝากที่ฝากไว้ในสถาบันต่างประเทศไม่ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงาน
*** นายกฯ ชี้บาทผันผวนต้องอาศัยเวลา
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเสนอมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า นายโฆสิต นายฉลองภพและธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าหารือ สิ่งแรกที่อยากจะเรียน คือนายโฆสิตได้นำข้อเสนอของภาคเอกชนที่เสนอมาตรการต่างๆ ตามมุมมองภาคเอกชน ซึ่งในนามของรัฐบาลก็ต้องขอขอบคุณที่ภาคเอกชนให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่รองนายกฯโฆสิตได้ดำเนินการไปแล้ว โดยเป็นผลจากการหารือร่วมกันคือการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาทางภาคธุรกิจภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทในวงเงิน 5 พันล้านบาท คือจากภาครัฐ 2,500 ล้านบาท และจากธนาคารพาณิชย์ 2,500 ล้านบาท
นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่เหลือจะมีการหารือกันต่อในวันจันทร์ที่ 23 ก.ค.ในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม หากอะไรที่ดำเนินการได้ก็จะดำเนินการทันทีในวันจันทร์ สิ่งใดที่ต้องขอได้รับการอนุมัติจากครม.ก็จะนำเข้าสู่ประชุม ครม.วันอังคารที่ 24 ก.ค.ทันที
“ความผันผวนค่าเงินบาทนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขกันในระยะยาว เพราะว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 49 และคิดว่าในปี 50 ก็ยังไม่ยุติ เพราะได้เกิดจากค่าเงินบาท เพราะมันเป็นเรื่องของค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทได้รับผลกระทบ นั้นก็เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในสภาวะโดยทั่วไป เราไม่สามารถที่จะไปบอกได้ว่า ความผันผวนจะยุติเมื่อไร เพราะเป็นเรื่องของสถานการณ์โลก”
ส่วนมาตรการที่กระทรวงการคลังและ ธปท.เสนอเพียงพอหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในขณะนี้เราพูดถึงมาตรการระยะสั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ขณะที่ระยะปานกลางก็ต้องทำต่อไป เมื่อถามว่า นักวิชาการอยากให้รัฐบาลส่งสัญญาณให้ชัดเจนเรื่องค่าเงินบาทเพื่อให้นักลงทุนดูทิศทางออก นายกฯ กล่าวว่า ชัดเจนแน่นอน เราจะรักษาเสถียรภาพ ให้มีการเปลี่ยนแปลงให้น้อย และไม่รวดเร็ว นี้คือสิ่งที่รัฐบาลต้องการ แต่ถ้าจะให้ยืนยันเรื่องค่าเงินผมทำไม่ได้
เมื่อถามว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะขอเปิดอภิปรายทั่วไปเรื่องค่าเงินบาท นายกฯ กล่าววา ผมมีความเห็น แต่รัฐบาลก็พร้อมที่จะชี้แจง เพราะว่าเป็นเรื่องที่จะทำความเข้าใจและชี้แจงกันได้ และผมรวมถึง รมว.คลังพร้อมที่จะชี้แจงอยู่แล้ว
*** ออฟชอร์-ออนชอร์ห่างเกือบ 4 บาท
วานนี้เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง ตลาดในประเทศ (ออนชอร์) ปิดตลาดที่ 33.62/66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงเช้าที่เปิด 33.48/52 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าสุดที่ 33.52 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 33.70 บาท/ดอลลาร์ นักบริการเงินธนาคารกรุงเทพระบุว่า เป็นผลจากความกังวลเรื่องมาตรการดูแลเงินบาทที่ทางการกำลังจะประกาศออกมา ขณะที่ค่าเงินเยนและค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย
สำหรับต้นสัปดาห์หน้า มองกรอบความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วง 33.50-33.70 บาท โดยตลาดยังคงรอดูความชัดเจนของมาตรการทั้งหมดที่ทางการจะประกาศออกมาเร็วๆ นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) วานนี้ปิดตลาดที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์ ส่งผลให้ออฟชอร์กับออนชอร์มีส่วนต่างสูงเกือบ 4 บาท ส่วนต่างดังกล่าวเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าการเก็งกำไรยังรุนแรง ขณะที่มาตรการที่ออกมาก่อนหน้าและแพ็คเกจที่กำลังเสนอ ครม.ไม่มีผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
*** โพลชี้ผู้ประกอบการวิตกบาท
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จำนวน 808 ตัวอย่าง พบว่า ผู้ประกอบการวิตกต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากที่สุด และต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาโดยด่วนถึงร้อยละ 50 เพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมีผลต่อกำไรยอดขาย ความสามารถในการแข่งขันลดลงอย่างต่อเนื่อง และเอกชนยังต้องแบกรับภาระของการขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ซึ่งผู้ประกอบการเชื่อว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกถึงระดับ 32.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 35.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่เห็นว่าเหมาะสม และระดับของเงินบาทที่สามารถรับภาระได้ คือ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและธุรกิจมากที่สุด
ผลสำรวจยังเห็นว่า ธุรกิจขนาดย่อมที่ปิดกิจการมีสาเหตุมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก และยังกระทบทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับการปลดคนงาน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.3 ยังไม่มีการปลดคนงาน และส่วนใหญ่ไม่ทราบข่าวการปิดกิจการ แต่หากค่าเงินบาทแข็งค่ากว่านี้ อาจจะทำให้ปัญหาปิดโรงงานขยายวงกว้างขึ้น ดังนั้น เชื่อว่าหากรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเงินบาทตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน จะทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 34.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 1-3 เดือน แต่หากภาครัฐดำเนินมาตรการแล้วไม่ได้ผล ก็คงจะต้องใช้การลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง ร้อยละ 0.50-1 เพื่อหยุดการแข็งค่าเงินบาท
กรณีที่รัฐบาลเห็นชอบตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท เพื่อช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เชื่อว่าน่าจะช่วยแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องได้ หากมีการเร่งเบิกจ่ายอย่างรวดเร็ว ก็จะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยจะมีผลประมาณร้อยละ 0.02-0.05 น่าจะประคองสถานการณ์ดีขึ้นได้
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ปัจจัยราคาน้ำมัน การเมือง และอัตราดอกเบี้ย ผู้ประกอบการวิตกกังวลน้อยลง โดยเชื่อว่าหากราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน ราคาดีเซลไม่สูงเกิน 28 บาท/ลิตร ทางภาคธุรกิจก็มั่นใจว่าสามารถปรับตัวได้ และเห็นว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักที่กระทบธุรกิจ ส่วนสถานการณ์การเมือง ผู้ประกอบการยังวิตกกังวล เห็นได้จากการชะลอการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชน โดยผู้ประกอบการต้องการให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว และกำหนดวันที่แน่นอน
ส่วนอัตราดอกเบี้ย ผู้ประกอบการเห็นว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ควรปรับลดลงมากกว่านี้ โดยควรอยู่ระดับร้อยละ 6.5-7 หรือลดลงอีกร้อยละ 0.25-0.50 ส่วนการก่อวินาศกรรม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่วิตกกังวล เพราะเป็นสถานการณ์เฉพาะในพื้นที่ และไม่ได้ลุกลามไปในพื้นที่สำคัญ โดยผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 50 เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 ซึ่งมีมุมมองที่ดีขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่รัฐบาลยอมรับข้อเสนอ 6 ข้อ ใน 7 ข้อ ที่ กกร.เสนอ แต่คงต้องรอดูรายละเอียดของมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทหลัง ครม.มีมติเห็นชอบออกมาก่อน ซึ่งการยกเลิกกำหนดการถือครองเงินสกุลต่างประเทศ จากเดิมไม่เกิน 14 วันออกไป และการให้ฝากเงินตราต่างประเทศในสถาบันการเงินไทยได้ไม่จำกัดจำนวน จะมีผลทางด้านจิตวิทยาของผู้ส่งออกอย่างมาก แต่ในรายละเอียดคงต้องหารือกันอีกว่า การฝากเงินตราต่างประเทศนั้นธนาคารจะให้ดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด เพราะขณะนี้ดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศต่างกันถึง 2.5% ส่วนการตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาทจะช่วยพยุงธุรกิจของเอสเอ็มอีได้ ทาง ส.อ.ท.จะรีบไปสำรวจว่าขณะนี้มีเอสเอ็มอีรายใดบ้างที่ต้องการความช่วยเหลือ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. วานนี้ (20 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง และนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือและชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการดูแลค่าเงินบาทตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอมาทั้งสิ้น 7 มาตรการ
ก่อนการเข้าหารือร่วมกัน นายโฆสิตให้สัมภาษณ์ว่า จะนำมาตรการทั้ง 7 ข้อเสนอต่อนายกฯ เมื่อมาตรการดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากนายกฯ แล้ว หากมีบางมาตรการสามารถประกาศใช้ได้เลยก็จะดำเนินการทันที แต่บางมาตรการต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ก่อน
ภายหลังหารือ นายโฆสิตกล่าวว่า นายกฯ เห็นชอบในหลักการสำหรับมาตรการเร่งด่วนในการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มีเงินทุนประเดิมกองทุนจำนวน 5,000 ล้านบาท โดยความร่วมกันระหว่าง ธปท. และสมาคมธนาคารไทยเป็นจำนวนเงินคนละ 50% เพื่อนำมาปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่อง เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท
“รัฐบาลรับข้อเสนอของภาคเอกชน 6 มาตรการ จากทั้งหมด 7 มาตรการที่เสนอมา เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ข้อเสนอที่ภาคเอกชนเสนอให้สต็อกน้ำมันสะสมไว้ล่วงหน้า คงไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบเรื่องราคากับผู้บริโภค และจำเป็นต้องหารือกันอีกครั้ง ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ทั้งหมด ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 24 ก.ค.นี้ก่อน จึงจะบอกรายละเอียดได้ว่า ธปท. และกระทรวงการคลัง จะทำหน้าที่รับผิดชอบ และมีแนวทางแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทอย่างไรต่อไป”นายโฆสิต กล่าว
นางธาริษา ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า เบื้องต้น ธปท. รับข้อเสนอการดูแลภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ยกเว้นการสต๊อกน้ำมัน ธปท.มองว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศสำหรับผู้บริโภคได้
ส่วนกรณีที่มีนักวิชาการหลายฝ่ายออกมาเสนอแนะให้ธปท.ควรหันกลับมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ว่า ธปท.พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย เพราะทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไม่มีด้านไหนผิดหรือถูก แต่การจะนำแนวคิดใดมาใช้นั้นจะต้องทำให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ทั้งนี้ ธปท.มองว่าในอดีตที่ผ่านมาได้เคยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่มาแล้ว แต่ไทยก็ได้รับบทเรียนมาแล้วอย่างในปี 40 ขณะที่ปัจจุบันการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนใดก็ควรให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินที่หมุนเวียนในตลาดโลกปริมาณมาก ดังนั้นการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่น่าจะเหมาะสมแล้ว
“เราจะทำแบบสุดโต่งไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่งหรือแบบคงที่มีกำหนดเป็นช่วงๆ แต่เราจะดำเนินนโยบายแบบกลางๆ คือ ใช้แบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ เพราะไทยยังเป็นเพียงประเทศเล็กๆ เท่านั้น”ผู้ว่าฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการออกมาตรการทั้ง 8 ข้อออกมาแล้ว แต่ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอยู่และยังมีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ ธปท.จะดำเนินการอย่างไรนั้น นางธาริษากล่าวว่า ต้องรอให้มาตรการดังกล่าวประกาศออกใช้มาก่อนว่าจะมีผลเป็นเช่นไร ส่วนจะมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมมารองรับหากมาตรการดูแลค่าเงินบาทออกไปแล้วใช้ไม่ได้ผลนั้น นางธาริษา กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขอรอดูผลของมาตรการดังกล่าวที่เสนอไปก่อน
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทเริ่มทรงตัว ไม่ได้แข็งค่ามากนัก หรือมีความผันผวนเหมือนช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการร่วมมือของหลายฝ่าย และการเตรียมออกมาตรการช่วยดูแลค่าเงินบาท ทั้งการถือครองเงินดอลลาร์ และการเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศได้ ทำให้เงินทุนที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย รวมทั้งเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในไทยเริ่มชะลอลง
“ขณะนี้ปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาในไทยเริ่มชะลอตัวแล้ว สะท้อนให้เห็นจากรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินดอลลาร์เข้ามาไทยเริ่มชะลอลง ขณะเดียวกันมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งภาพรวมเงินทุนไหลเข้าในขณะนี้เริ่มชะลง ซึ่งดีกว่าช่วงปลายปีก่อนที่สัปดาห์หนึ่งมีปริมาณเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาไทยถึง 900-1,000 เหรียญ”
ส่วนประเด็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวถามว่า ธปท.ได้มีการเข้าไปแทรกแซงหรือไม่ในช่วงนี้ เพราะค่าเงินบาทเริ่มอ่อนตัวลง นางสุชาดา กล่าวว่า ธปท.พยายามจะทำหน้าที่ทุกส่วนให้ดีที่สุดแล้ว
*** เผยแพ็คเกจรับมือบาทแข็ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 ก.ค. นี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ที่มีนายโฆสิตเป็นประธาน จะเสนอที่ประชุมเพื่อสรุปมาตรการที่ ธปท.เสนอผ่านกระทรวงการคลัง เพื่อให้ ครม.วันที่ 24 ก.ค.นี้ ตัดสินใจนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 8 มาตรการ คือ 1.ให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน 2.อนุมัติให้เปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้ ใน 2 กรณี โดยกรณีแรกให้ฝากเงินตราต่างประเทศในสถาบันการเงินไทยได้ไม่จำกัดจำนวน กรณีที่สองให้นำเงินบาทไปซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และฝากไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ โดยไม่ต้องแจ้งภาระคงค้าง โดยบุคคลธรรมดาไม่เกิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯและนิติบุคคลไม่เกิน 300,000 เหรียญสหรัฐฯ
3.ให้สามารถโอนเงินไปยังต่างประเทศได้ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/ราย/ปี โดยมีเงื่อนไข เช่น การนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ 4.ให้ขยายเวลานำเงินตราต่างประเทศเข้าในประเทศเป็น 360 วันจากเดิม 120 วัน 5.ให้ยกเลิกการกำหนดถือครองเงินสกุลต่างประเทศ 15 วัน 6.เพิ่มความคล่องตัวให้สถาบันการเงิน โดยลดภาระเอกสารในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 7.ให้ปรับระเบียบให้เอื้อต่อการซื้อขายทองคำ และ 8.ให้ปรับระเบียบการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนประเภทสถาบัน และการดูแลเงินฝากที่ฝากไว้ในสถาบันต่างประเทศไม่ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงาน
*** นายกฯ ชี้บาทผันผวนต้องอาศัยเวลา
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเสนอมาตรการแก้ไขค่าเงินบาทของกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า นายโฆสิต นายฉลองภพและธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าหารือ สิ่งแรกที่อยากจะเรียน คือนายโฆสิตได้นำข้อเสนอของภาคเอกชนที่เสนอมาตรการต่างๆ ตามมุมมองภาคเอกชน ซึ่งในนามของรัฐบาลก็ต้องขอขอบคุณที่ภาคเอกชนให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่รองนายกฯโฆสิตได้ดำเนินการไปแล้ว โดยเป็นผลจากการหารือร่วมกันคือการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาทางภาคธุรกิจภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทในวงเงิน 5 พันล้านบาท คือจากภาครัฐ 2,500 ล้านบาท และจากธนาคารพาณิชย์ 2,500 ล้านบาท
นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่เหลือจะมีการหารือกันต่อในวันจันทร์ที่ 23 ก.ค.ในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม หากอะไรที่ดำเนินการได้ก็จะดำเนินการทันทีในวันจันทร์ สิ่งใดที่ต้องขอได้รับการอนุมัติจากครม.ก็จะนำเข้าสู่ประชุม ครม.วันอังคารที่ 24 ก.ค.ทันที
“ความผันผวนค่าเงินบาทนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขกันในระยะยาว เพราะว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 49 และคิดว่าในปี 50 ก็ยังไม่ยุติ เพราะได้เกิดจากค่าเงินบาท เพราะมันเป็นเรื่องของค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทได้รับผลกระทบ นั้นก็เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในสภาวะโดยทั่วไป เราไม่สามารถที่จะไปบอกได้ว่า ความผันผวนจะยุติเมื่อไร เพราะเป็นเรื่องของสถานการณ์โลก”
ส่วนมาตรการที่กระทรวงการคลังและ ธปท.เสนอเพียงพอหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในขณะนี้เราพูดถึงมาตรการระยะสั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ขณะที่ระยะปานกลางก็ต้องทำต่อไป เมื่อถามว่า นักวิชาการอยากให้รัฐบาลส่งสัญญาณให้ชัดเจนเรื่องค่าเงินบาทเพื่อให้นักลงทุนดูทิศทางออก นายกฯ กล่าวว่า ชัดเจนแน่นอน เราจะรักษาเสถียรภาพ ให้มีการเปลี่ยนแปลงให้น้อย และไม่รวดเร็ว นี้คือสิ่งที่รัฐบาลต้องการ แต่ถ้าจะให้ยืนยันเรื่องค่าเงินผมทำไม่ได้
เมื่อถามว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะขอเปิดอภิปรายทั่วไปเรื่องค่าเงินบาท นายกฯ กล่าววา ผมมีความเห็น แต่รัฐบาลก็พร้อมที่จะชี้แจง เพราะว่าเป็นเรื่องที่จะทำความเข้าใจและชี้แจงกันได้ และผมรวมถึง รมว.คลังพร้อมที่จะชี้แจงอยู่แล้ว
*** ออฟชอร์-ออนชอร์ห่างเกือบ 4 บาท
วานนี้เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง ตลาดในประเทศ (ออนชอร์) ปิดตลาดที่ 33.62/66 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงเช้าที่เปิด 33.48/52 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าสุดที่ 33.52 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 33.70 บาท/ดอลลาร์ นักบริการเงินธนาคารกรุงเทพระบุว่า เป็นผลจากความกังวลเรื่องมาตรการดูแลเงินบาทที่ทางการกำลังจะประกาศออกมา ขณะที่ค่าเงินเยนและค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย
สำหรับต้นสัปดาห์หน้า มองกรอบความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วง 33.50-33.70 บาท โดยตลาดยังคงรอดูความชัดเจนของมาตรการทั้งหมดที่ทางการจะประกาศออกมาเร็วๆ นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) วานนี้ปิดตลาดที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์ ส่งผลให้ออฟชอร์กับออนชอร์มีส่วนต่างสูงเกือบ 4 บาท ส่วนต่างดังกล่าวเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าการเก็งกำไรยังรุนแรง ขณะที่มาตรการที่ออกมาก่อนหน้าและแพ็คเกจที่กำลังเสนอ ครม.ไม่มีผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
*** โพลชี้ผู้ประกอบการวิตกบาท
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จำนวน 808 ตัวอย่าง พบว่า ผู้ประกอบการวิตกต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากที่สุด และต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาโดยด่วนถึงร้อยละ 50 เพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมีผลต่อกำไรยอดขาย ความสามารถในการแข่งขันลดลงอย่างต่อเนื่อง และเอกชนยังต้องแบกรับภาระของการขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ซึ่งผู้ประกอบการเชื่อว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีกถึงระดับ 32.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 35.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่เห็นว่าเหมาะสม และระดับของเงินบาทที่สามารถรับภาระได้ คือ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและธุรกิจมากที่สุด
ผลสำรวจยังเห็นว่า ธุรกิจขนาดย่อมที่ปิดกิจการมีสาเหตุมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก และยังกระทบทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับการปลดคนงาน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.3 ยังไม่มีการปลดคนงาน และส่วนใหญ่ไม่ทราบข่าวการปิดกิจการ แต่หากค่าเงินบาทแข็งค่ากว่านี้ อาจจะทำให้ปัญหาปิดโรงงานขยายวงกว้างขึ้น ดังนั้น เชื่อว่าหากรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเงินบาทตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน จะทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 34.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 1-3 เดือน แต่หากภาครัฐดำเนินมาตรการแล้วไม่ได้ผล ก็คงจะต้องใช้การลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง ร้อยละ 0.50-1 เพื่อหยุดการแข็งค่าเงินบาท
กรณีที่รัฐบาลเห็นชอบตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท เพื่อช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เชื่อว่าน่าจะช่วยแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องได้ หากมีการเร่งเบิกจ่ายอย่างรวดเร็ว ก็จะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยจะมีผลประมาณร้อยละ 0.02-0.05 น่าจะประคองสถานการณ์ดีขึ้นได้
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ปัจจัยราคาน้ำมัน การเมือง และอัตราดอกเบี้ย ผู้ประกอบการวิตกกังวลน้อยลง โดยเชื่อว่าหากราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน ราคาดีเซลไม่สูงเกิน 28 บาท/ลิตร ทางภาคธุรกิจก็มั่นใจว่าสามารถปรับตัวได้ และเห็นว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักที่กระทบธุรกิจ ส่วนสถานการณ์การเมือง ผู้ประกอบการยังวิตกกังวล เห็นได้จากการชะลอการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชน โดยผู้ประกอบการต้องการให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว และกำหนดวันที่แน่นอน
ส่วนอัตราดอกเบี้ย ผู้ประกอบการเห็นว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ควรปรับลดลงมากกว่านี้ โดยควรอยู่ระดับร้อยละ 6.5-7 หรือลดลงอีกร้อยละ 0.25-0.50 ส่วนการก่อวินาศกรรม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่วิตกกังวล เพราะเป็นสถานการณ์เฉพาะในพื้นที่ และไม่ได้ลุกลามไปในพื้นที่สำคัญ โดยผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 50 เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 ซึ่งมีมุมมองที่ดีขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่รัฐบาลยอมรับข้อเสนอ 6 ข้อ ใน 7 ข้อ ที่ กกร.เสนอ แต่คงต้องรอดูรายละเอียดของมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทหลัง ครม.มีมติเห็นชอบออกมาก่อน ซึ่งการยกเลิกกำหนดการถือครองเงินสกุลต่างประเทศ จากเดิมไม่เกิน 14 วันออกไป และการให้ฝากเงินตราต่างประเทศในสถาบันการเงินไทยได้ไม่จำกัดจำนวน จะมีผลทางด้านจิตวิทยาของผู้ส่งออกอย่างมาก แต่ในรายละเอียดคงต้องหารือกันอีกว่า การฝากเงินตราต่างประเทศนั้นธนาคารจะให้ดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด เพราะขณะนี้ดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศต่างกันถึง 2.5% ส่วนการตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาทจะช่วยพยุงธุรกิจของเอสเอ็มอีได้ ทาง ส.อ.ท.จะรีบไปสำรวจว่าขณะนี้มีเอสเอ็มอีรายใดบ้างที่ต้องการความช่วยเหลือ