กระทรวงไอซีที ส่งนิติกรให้ข้อมูลแจ้งความ และเร่งแกะรอยเลขหมายประจำเครื่อง หรือ IP Address ลากคอแฮกเกอร์ที่เจาะเว็บไซต์เข้าคุก ตำรวจทุ่งสองห้องมึน เจอคดีแรกชิมลาง พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ ผู้กำกับพร้อมทีมสอบปากคำผ.อ. บริหารเว็บไซต์กระทรวงร่วมวัน ด้านศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สตช. เอาผิดได้ 3 มาตรา เบาะๆ จำคุกไม่เกินหกเดือน หากศาลชี้ผิดหนักสุดต้องนอนคุก 5 ปีและปรับเป็นแสนบาท
เมื่อเวลา 11.00 วานนี้ (20 ก.ค.) นายธนิต ประภาตนันท์ นิติกร 9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที รับมอบอำนาจจากนายสือ ล้ออุทัย รักษาการปลัดกระทรวงไอทีซี เข้าพบ พ.ต.ท.พีรพร บุญลอย รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าไปแก้ไขดัดแปลงหน้าจอเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีทีแล้ว และได้มอบหลักฐานภาพหน้าจอเว็บไซต์ และข้อมูลเอกสารทั้งหมด ส่งให้ทางตำรวจ เพื่อติดตามผู้ต้องหามาดำเนินคดีต่อไป
นายวิษณุ มีอยู่ โฆษกกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ตอนนี้ค่อนข้างมั่นใจ การติดตามต้นทางที่เข้ามาเจาะระบบ และจากเลขหมายประจำเครื่อง หรือ IP Address ที่ตามได้นั้น เชื่อว่าจะเจอตัวอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องการป้องกันการถูกเจาะระบบอีกในอนาคตนั้น ทาง รมว.ไอซีที ได้มีการกำชับ ผู้บริหารที่รับผิดชอบให้เพิ่มระดับความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
“ปัญหาที่เกิดขึ้นถึงแม้จะเป็นภาพลบ กับกระทรวงไอซีที แต่เรื่องนี้ก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้รับผิดชอบต้องตระหนักให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะไม่มีการเจาะเข้าไประบบส่วนสำคัญของราชการได้ แต่การที่มีผู้กระทำแบบนี้ได้ จะมีผลต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบของรัฐและกระทรวงที่รับผิดชอบงานด้านไอซีที”
นายอาทิตยา สุธาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลและบริหารเว็บไซต์กระทรวงไอซีที กล่าวว่า ช่วงเวลาที่ถูกแฮกเว็บไซต์ ทางหน่วยกำลังทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ชุดใหม่ สำหรับรองรับการใช้ตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูล ตาม พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะต้องสามารถจัดเก็บ Log File ของการใช้ ร่วมกับข้อมูล IP Address เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการบันทึกข้อมูล หากมีการมีผู้เข้ามาเจาะระบบและใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงทำให้ช่วงเวลานั้นเกิดช่องโหว่ ต่อการบุกรุก จึงทำให้มีผู้เข้ามาปรับเปลี่ยนแก้ไขเว็บไซต์ได้
*** เชื่อการแฮกมาจาก 3 เส้นทาง
สำหรับข้อมูลที่ได้ในขณะนี้ ยังไม่สามรถเปิดเผยถึงรายละเอียดได้ เนื่องจากข้อมูลบางส่วนยังมีรายละเอียดที่ยังไม่ครบถ้วน แต่สิ่งที่นำไปให้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง จะเป็นข้อมูลที่ส่งให้เบื้องต้นและแจ้งถึงข้อกล่าวหา เพื่อให้มีการรองรับต่อการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด ซึ่งเบื้องต้น ไอซีที และ กสท ได้เก็บข้อมูลมาได้ส่วนหนึ่ง โดยมาการบุกเจาะมา 3 เส้นทาง หรือมากกว่า ทั้งแถบเอเชีย และยุโรป โดยการเจาะครั้งนี้ทำได้เพียงการเปลี่ยนแปลงแค่หน้าหลักของเว็บไซต์ แต่ส่วนอื่นไม่สามารถดำเนินการได้ รวมถึงการเข้ามาไปยังระบบข้อมูลกลางหรือส่วนสำคัญของกระทรวงแต่อย่างใด และ ในขณะนี้ทีมเจ้าหน้าที่ได้เพิ่มระดับความปลอดภัยขึ้นไปขั้นสูงสุดแล้ว
“เรายังไม่แน่ใจว่ามาเส้นทางไหน เพราะมีการใช้ข้อมูลที่หลอก และ ส่งมาพร้อมกัน โดยจะต้องตรวจสอบในรายละเอียดให้ชัดเจน โดยจุดนี้ทางกระทรวงไอซีที และ กสท จะคอยประสานเจ้าที่ตำรวจ เพื่อให้ข้อมูลทางเทคนิค ที่จะมีผลต่อการนำไปใช้ในทางรูปคดีและการนำเสนอต่อศาล”
ขณะที่ส่วนผู้ให้บริการรับฝากข้อมูล (โฮสต์เว็บไซต์) ของกระทรวงไอซีทีนั้น ได้อยู่บนความรับผิดชอบของ บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งได้นำข้อมูลเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีทีไปเก็บไว้ในส่วนบริการด้านระบบความปลอดภัย “ไซเฟนซ์ (Cyfense)” อาสารักษาความปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์ของลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการส่วนให้บริการรับฝากพื้นที่ข้อมูล หรือไอดีซี โดยมีนางสาวอโณทัย ศรีกิจจา ผู้จัดการส่วนพัฒนาธุรกิจ IT Security ฝ่ายธุรกิจเครือข่ายสื่อสารข้อมูล กสท. ทางผู้สื่อข่าวได้ติดต่อประสานไปยังฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อขอสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มีการตอบปฏิเสธต่อการให้ข้อมูล และเกรงต่อผลกระทบในการให้บริการความปลอดภัย ของ กสท ที่เปิดบริการแก่ลูกค้าองค์กร อันมาจากการที่ระบบได้มีแฮกเกอร์เข้าไป ผ่านระบบเข้าไปแก้ไขส่วนของกระทรวงไอซีทีได้
จากกรณีดังกล่าวนั้น พ.ต.ท.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้กำกับการศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการแฮกเว็บไซต์กระทรวงไอซีที ของแฮกเกอร์ครั้งนี้ หากดูจากหน้าเว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถบอกได้ว่าแฮกเกอร์รายนี้มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หรือ ต้องการท้าทายพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งตนคงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นที่ชัดเจนได้
อย่างไรก็ตาม สามารถนำ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาใช้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ทันที เนื่องจากมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 50 โดยกระทรวงไอซีทีสามารถแจ้งความกับพนักงานตำรวจได้ทันที และสามารถรวบรวมหลักฐานส่งมา ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี เพื่อติดตามผู้กระทำความผิด ทั้งนี้หากผู้กระทำความผิด กระทำการในต่างประเทศ ก็จะประสานความร่วมมือไปยังต่างประเทศเพื่อขอข้อมูลมาใช้ในการติดตามต่อไป
สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่ศาลจะพิจารณาตามที่เจ้าหน้าที่ได้ยื่นส่งฟ้องต่อศาลให้ดำเนินตามบทลงโทษ ซึ่งเบื้องต้นความที่กระทำผิดจะถูกดำเนินการตามมาตราต่างๆ พ.ร.บ. คือ มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*** กอ.รมน.สั่งขันน็อตเว็บไซต์กองทัพ
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวว่า ในที่ประชุม กอ.รมน. ได้มีการพูดถึงกรณีที่มีการ แฮกเกอร์ เข้าไปในเว็บไซต์ ไอซีทีว่า กอ.รมน.ได้มีการประสานงานไปทางกระทรวงไอซีทีแล้ว โดย กอ.รมน.รับทราบว่าทาง ไอซีที มีนโยบายในการดูแลในเรื่องนี้แล้ว โดยมอบหมายให้ศูนย์ความปลอดภัย ของ กสท ให้ดูแลแล้ว อย่าไรก็ตาม ในสงครามไอที คงไม่สามารถแก้ไขได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนความรับผิดชอบของ กอ.รมน. ได้กำชับให้กองทัพภาคต่างๆ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปดูแลว่ามีสิ่งใดแปลกปลอมหรือไม่
“เรามองว่าเป็นความต้องการที่จะดิสเครดิต คมช. และไอซีที มากกว่า แม้การแฮกเข้ามาจะมาจากต่างประเทศ แต่ดูแลไม่ว่าจะเป็นรูปของอดีตนายกฯ และ ประธาน คมช. คงเป็นเรื่องการเมือง จุดประสงค์ต้องการดิสเครดิตว่าขนาดเว็บไซด์ของหน่วยราชการ ยังสามารถที่จะเข้ามาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางไอซีที ได้มีการแก้ไข และปรับหน้าเว็บกลับมาเหมือนเดิมได้แค่เพียง 1 ชม.เท่านั้น”
ส่วนที่เกรงว่าในอนาคตอาจจะมีการแฮกเข้าไปในหน่วยงานด้านความมั่นคงนั้น พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า ได้กำชับทุกหน่วยงานให้ตรวจตราแล้ว และให้ประสานงานไปยัง กระทรวงไอซีที ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมระบบระบุว่า ในปัจจุบัน สงครามอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้กันมากเพราะไม่ได้ใช้กำลังทหารในการต่อสู้ เป็นความต้องการที่จะดิสเครดิตผู้ควบคุมระบบมากกว่า ทาง กอ.รมน.ได้มีการกำชับไปกรมการสื่อสารทหาร ให้มีความเข้าใจและเชื่อมโยงการทำงานกับ กสท มากขึ้น ทั้งนี้ หากมีการตรวจสอบระบบตลอดเวลาและประสาน กสท อย่างต่อเนื่องจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
“นี่เป็นสงครามยุทธวิธี การตรวจสอบ และการป้องกันคงทำไม่ได้100 เปอร์เซ็นต์ หากมีการเข้มงวดตรวจตราก็น่าจะดีขึ้น”โฆษก กอ.รมน. กล่าว
เมื่อเวลา 11.00 วานนี้ (20 ก.ค.) นายธนิต ประภาตนันท์ นิติกร 9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที รับมอบอำนาจจากนายสือ ล้ออุทัย รักษาการปลัดกระทรวงไอทีซี เข้าพบ พ.ต.ท.พีรพร บุญลอย รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าไปแก้ไขดัดแปลงหน้าจอเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีทีแล้ว และได้มอบหลักฐานภาพหน้าจอเว็บไซต์ และข้อมูลเอกสารทั้งหมด ส่งให้ทางตำรวจ เพื่อติดตามผู้ต้องหามาดำเนินคดีต่อไป
นายวิษณุ มีอยู่ โฆษกกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ตอนนี้ค่อนข้างมั่นใจ การติดตามต้นทางที่เข้ามาเจาะระบบ และจากเลขหมายประจำเครื่อง หรือ IP Address ที่ตามได้นั้น เชื่อว่าจะเจอตัวอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องการป้องกันการถูกเจาะระบบอีกในอนาคตนั้น ทาง รมว.ไอซีที ได้มีการกำชับ ผู้บริหารที่รับผิดชอบให้เพิ่มระดับความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
“ปัญหาที่เกิดขึ้นถึงแม้จะเป็นภาพลบ กับกระทรวงไอซีที แต่เรื่องนี้ก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้รับผิดชอบต้องตระหนักให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะไม่มีการเจาะเข้าไประบบส่วนสำคัญของราชการได้ แต่การที่มีผู้กระทำแบบนี้ได้ จะมีผลต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบของรัฐและกระทรวงที่รับผิดชอบงานด้านไอซีที”
นายอาทิตยา สุธาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลและบริหารเว็บไซต์กระทรวงไอซีที กล่าวว่า ช่วงเวลาที่ถูกแฮกเว็บไซต์ ทางหน่วยกำลังทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ชุดใหม่ สำหรับรองรับการใช้ตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูล ตาม พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะต้องสามารถจัดเก็บ Log File ของการใช้ ร่วมกับข้อมูล IP Address เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการบันทึกข้อมูล หากมีการมีผู้เข้ามาเจาะระบบและใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงทำให้ช่วงเวลานั้นเกิดช่องโหว่ ต่อการบุกรุก จึงทำให้มีผู้เข้ามาปรับเปลี่ยนแก้ไขเว็บไซต์ได้
*** เชื่อการแฮกมาจาก 3 เส้นทาง
สำหรับข้อมูลที่ได้ในขณะนี้ ยังไม่สามรถเปิดเผยถึงรายละเอียดได้ เนื่องจากข้อมูลบางส่วนยังมีรายละเอียดที่ยังไม่ครบถ้วน แต่สิ่งที่นำไปให้ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง จะเป็นข้อมูลที่ส่งให้เบื้องต้นและแจ้งถึงข้อกล่าวหา เพื่อให้มีการรองรับต่อการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด ซึ่งเบื้องต้น ไอซีที และ กสท ได้เก็บข้อมูลมาได้ส่วนหนึ่ง โดยมาการบุกเจาะมา 3 เส้นทาง หรือมากกว่า ทั้งแถบเอเชีย และยุโรป โดยการเจาะครั้งนี้ทำได้เพียงการเปลี่ยนแปลงแค่หน้าหลักของเว็บไซต์ แต่ส่วนอื่นไม่สามารถดำเนินการได้ รวมถึงการเข้ามาไปยังระบบข้อมูลกลางหรือส่วนสำคัญของกระทรวงแต่อย่างใด และ ในขณะนี้ทีมเจ้าหน้าที่ได้เพิ่มระดับความปลอดภัยขึ้นไปขั้นสูงสุดแล้ว
“เรายังไม่แน่ใจว่ามาเส้นทางไหน เพราะมีการใช้ข้อมูลที่หลอก และ ส่งมาพร้อมกัน โดยจะต้องตรวจสอบในรายละเอียดให้ชัดเจน โดยจุดนี้ทางกระทรวงไอซีที และ กสท จะคอยประสานเจ้าที่ตำรวจ เพื่อให้ข้อมูลทางเทคนิค ที่จะมีผลต่อการนำไปใช้ในทางรูปคดีและการนำเสนอต่อศาล”
ขณะที่ส่วนผู้ให้บริการรับฝากข้อมูล (โฮสต์เว็บไซต์) ของกระทรวงไอซีทีนั้น ได้อยู่บนความรับผิดชอบของ บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งได้นำข้อมูลเว็บไซต์ของกระทรวงไอซีทีไปเก็บไว้ในส่วนบริการด้านระบบความปลอดภัย “ไซเฟนซ์ (Cyfense)” อาสารักษาความปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์ของลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการส่วนให้บริการรับฝากพื้นที่ข้อมูล หรือไอดีซี โดยมีนางสาวอโณทัย ศรีกิจจา ผู้จัดการส่วนพัฒนาธุรกิจ IT Security ฝ่ายธุรกิจเครือข่ายสื่อสารข้อมูล กสท. ทางผู้สื่อข่าวได้ติดต่อประสานไปยังฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อขอสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น ได้มีการตอบปฏิเสธต่อการให้ข้อมูล และเกรงต่อผลกระทบในการให้บริการความปลอดภัย ของ กสท ที่เปิดบริการแก่ลูกค้าองค์กร อันมาจากการที่ระบบได้มีแฮกเกอร์เข้าไป ผ่านระบบเข้าไปแก้ไขส่วนของกระทรวงไอซีทีได้
จากกรณีดังกล่าวนั้น พ.ต.ท.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้กำกับการศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการแฮกเว็บไซต์กระทรวงไอซีที ของแฮกเกอร์ครั้งนี้ หากดูจากหน้าเว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถบอกได้ว่าแฮกเกอร์รายนี้มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หรือ ต้องการท้าทายพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งตนคงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นที่ชัดเจนได้
อย่างไรก็ตาม สามารถนำ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาใช้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ทันที เนื่องจากมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 50 โดยกระทรวงไอซีทีสามารถแจ้งความกับพนักงานตำรวจได้ทันที และสามารถรวบรวมหลักฐานส่งมา ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี เพื่อติดตามผู้กระทำความผิด ทั้งนี้หากผู้กระทำความผิด กระทำการในต่างประเทศ ก็จะประสานความร่วมมือไปยังต่างประเทศเพื่อขอข้อมูลมาใช้ในการติดตามต่อไป
สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่ศาลจะพิจารณาตามที่เจ้าหน้าที่ได้ยื่นส่งฟ้องต่อศาลให้ดำเนินตามบทลงโทษ ซึ่งเบื้องต้นความที่กระทำผิดจะถูกดำเนินการตามมาตราต่างๆ พ.ร.บ. คือ มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*** กอ.รมน.สั่งขันน็อตเว็บไซต์กองทัพ
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวว่า ในที่ประชุม กอ.รมน. ได้มีการพูดถึงกรณีที่มีการ แฮกเกอร์ เข้าไปในเว็บไซต์ ไอซีทีว่า กอ.รมน.ได้มีการประสานงานไปทางกระทรวงไอซีทีแล้ว โดย กอ.รมน.รับทราบว่าทาง ไอซีที มีนโยบายในการดูแลในเรื่องนี้แล้ว โดยมอบหมายให้ศูนย์ความปลอดภัย ของ กสท ให้ดูแลแล้ว อย่าไรก็ตาม ในสงครามไอที คงไม่สามารถแก้ไขได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนความรับผิดชอบของ กอ.รมน. ได้กำชับให้กองทัพภาคต่างๆ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปดูแลว่ามีสิ่งใดแปลกปลอมหรือไม่
“เรามองว่าเป็นความต้องการที่จะดิสเครดิต คมช. และไอซีที มากกว่า แม้การแฮกเข้ามาจะมาจากต่างประเทศ แต่ดูแลไม่ว่าจะเป็นรูปของอดีตนายกฯ และ ประธาน คมช. คงเป็นเรื่องการเมือง จุดประสงค์ต้องการดิสเครดิตว่าขนาดเว็บไซด์ของหน่วยราชการ ยังสามารถที่จะเข้ามาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางไอซีที ได้มีการแก้ไข และปรับหน้าเว็บกลับมาเหมือนเดิมได้แค่เพียง 1 ชม.เท่านั้น”
ส่วนที่เกรงว่าในอนาคตอาจจะมีการแฮกเข้าไปในหน่วยงานด้านความมั่นคงนั้น พ.อ.ธนาธิป กล่าวว่า ได้กำชับทุกหน่วยงานให้ตรวจตราแล้ว และให้ประสานงานไปยัง กระทรวงไอซีที ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมระบบระบุว่า ในปัจจุบัน สงครามอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้กันมากเพราะไม่ได้ใช้กำลังทหารในการต่อสู้ เป็นความต้องการที่จะดิสเครดิตผู้ควบคุมระบบมากกว่า ทาง กอ.รมน.ได้มีการกำชับไปกรมการสื่อสารทหาร ให้มีความเข้าใจและเชื่อมโยงการทำงานกับ กสท มากขึ้น ทั้งนี้ หากมีการตรวจสอบระบบตลอดเวลาและประสาน กสท อย่างต่อเนื่องจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
“นี่เป็นสงครามยุทธวิธี การตรวจสอบ และการป้องกันคงทำไม่ได้100 เปอร์เซ็นต์ หากมีการเข้มงวดตรวจตราก็น่าจะดีขึ้น”โฆษก กอ.รมน. กล่าว