ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกคณะทำงานบริหารจัดการกลุ่มไทยรักไทย แถลงภายหลังการประชุมกลุ่มว่า ได้มีการกำหนดโครงสร้างคณะทำงานบริหารจัดการกลุ่มไทยรักไทย ชุดใหม่ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คณะผู้บริหาร 9 คน ในส่วนและกรรมการบริหารที่คัดมาจากรายภาค ประะมาณ 60 ถึง 70 คน ประกอบด้วย ภาคอีสาน 20 คน ภาคกลาง 12 คน ภาคเหนือ 10 คน กทม. 6 คน ภาคใต้ 2 คน และโควต้าจากส่วนกลางอีก 15 คน ขณะที่อดีตกรรมการพรรคที่ถูกตัดสิทธิ จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน สำหรับรายชื่อทั้งหมดจะได้ความชัดเจนหลังการประชุมวันที่ 19 ก.ค. นี้ ส่วนคนที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค ต้องหารืออีกครั้งหลังจากยื่นจดทะเบียนตั้งพรรคแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงสร้างกลุ่มไทยรักไทย ในเบื้องต้นที่แกนนำกลุ่มสรุปได้นั้น มีดังนี้ นายบุญคลี ปลั่งศิริ อดีตประธานกรรมการบริหารเครือชินคอร์ป จะเป็นหัวหน้าพรรค นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรมว.ไอซีที และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม จะเป็นรองหัวหน้าพรรค นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีต รมว.แรงงาน และอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา จะเป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคนที่มีความใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรค เรียกได้ว่า "สายตรงจันทร์ส่องหล้า"ทั้งสิ้น
ด้านนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ยอมรับว่า ตอนนี้ได้หารือถึงการร่วมมือทางการเมืองกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แกนนำกลุ่มธรรมาธิปไตย และผู้สนับสนุนการตั้งพรรครวมใจไทย เพราะส่วนตัวนั้นมองว่าบ้านเมืองกำลังประสบวิกฤตหนัก จนต่างประเทศมองว่า เมืองไทยคล้ายกับอิรัก จึงสมควรที่จะมีบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาแก้ปัญหาในยามนี้ เพราะบุคคลที่มีการคาดว่าจะเป็นนายกฯ คนใหม่นั้น ยังอ่อนประสบการณ์
รายงานข่าวจากคนใกล้ชิด นายเสนาะกล่าวว่า ตอนนี้นายสมคิด ได้ต่อสายคุยกับนายเสนาะแล้ว และจะมีการหารือเรื่องการร่วมงานทางการเมืองกันเร็ว ๆนี้ โดยช่วงนี้ นายเสนาะ ขอให้นายสมคิด อย่าเป็นข่าวรายวันว่าสนับสนุนกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ ควรนิ่งไว้ก่อน และรีบตัดสินใจว่าจะร่วมงานกับกลุ่มใด เพราะเวลามันกระชั้นชิด ส่วนการร่วมมือทางการเมืองระหว่างกลุ่มของนายสมคิด กับพรรคประชาราชนั้น หากจะร่วมงานกันจริง นายเสนาะ เสนอว่าควรเจอกันครึ่งทาง โดยขอให้ทั้งสองฝ่ายเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อกลาง โดยนายเสนาะจะดูแลคนของตัวเอง ส่วนนายสมคิด ก็ดูแลคนของนายสมคิดไป
รายงานข่าวกล่าวว่า นายเสนาะได้กล่าวกับนายสมคิด ว่ากลุ่มต่างๆ ที่แตกตัวมาจากพรรคไทยรักไทยนั้น นายเสนาะ มองว่า กลุ่มเหล่านั้นยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดทัพสู้ศึกเลือกตั้ง คิดกันเพียงว่า มีเงินก็เลือกตั้งได้ แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่
**สนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.แก้ไข คปค.ฉบับ 15
ในวันเดียวกันนี้ ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยพิจารณาร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) ฉบับที่ 15 เรื่องห้ามพรรคการเมืองประชุม หรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมือง ลงวันที่ 21 ก.ย. 49 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม
พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้อภิปรายแสดงความกังวลว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลไปล้มล้างคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงได้ขอแปรญัตติเพิ่มข้อความว่า การจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองที่ใช้ชื่อพรรค ตราสัญลักษณ์ของพรรค อุดมการณ์ของพรรค ตลอดจนแนวทางนโยบายของพรรคที่เหมือน หรือพ้อง หรือใกล้เคียง หรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นพรรคการเมืองเดียวกันกับพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง หรือคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคจะกระทำมิได้
นายประพันธ์ คูณมี กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่าคณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาร่างกฎหมายนี้และเห็นตรงกันกับผู้แปรญัตติว่าควรจะมีบทบัญญัติวางหลักเกณฑ์และห้ามการใช้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ชื่อดังกล่าวไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจ แต่เราคำนึงถึงกฎหมายบ้านเมืองว่าควรจะมีมาตรการทางกฎหมายหรือมาตรการทางสังคมมาบังคับให้พรรคการเมืองได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่หากแก้ไขตามที่สมาชิกขอแปรญัตติจะกลายเป็นแก้ไขในหลักการหรือไม่ ที่ประชุมจึงเห็นพ้องกันว่าจะไม่แก้ไขในประกาศฉบับนี้ แต่ได้มอบหมายให้กรรมาธิการฯไปเสนอแก้ไขประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งได้รับการแจ้งว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้โดยเนื้อหาที่ได้ยื่นไปนั้น ได้ขอแก้ไขหลักเกณฑ์จดตั้งพรรคการเมืองที่ห้ามมิให้ใช้ชื่อ หรือเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ซ้ำหรือพ้อง หรือมีลักษณะภาพลักษณ์ใกล้เคียงกับพรรคการเมืองที่ถูกยุบโดยตุลาการรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะล่วงพ้นเวลา 5 ปีแล้ว และในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติตาม ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีสิทธิใช้ดุลยพินิจไม่รับจดแจ้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชี้แจงของคณะกรรมาธิการแล้ว พล.อ.ปานเทพ ไม่ติดใจแต่กล่าวว่าจะตามไปแปรญัตติในร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ยังเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองนั้นใช้ชื่อเดิมได้หลังจากถูกยุบใน 5 ปี เพราะเท่ากับเป็นการยุบพรรคแค่ 5 ปี จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับการแก้ไขของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน 149 ต่อ 4 คะแนน.
นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 ที่ สนช.เสนอคำแปรญัตติห้ามจดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่โดยใช้ชื่อเดิมของพรรคการเมืองที่ถูกยุบ อาจทำให้อาจจะเกิดความซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยพรรคการเมือง ว่า ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้แล้ว เพราะ สนช.ได้ทำ ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งตนได้บรรจุให้เข้าสู่วาระการประชุม สนช.ในสัปดาห์หน้า วันที่ 25 ก.ค. ส่วนจะพิจารณา 3 วาระหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสนช.
"หากร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับ 15 ประกาศใช้แล้ว การจดทะเบียนพรรคการเมือง จะสามารถทำได้ทันที ส่วนช่วงรอยต่อที่รอ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พรรคการเมืองนั้น ใครจะจดชื่อได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องไปถามกกต. " นายมีชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงสร้างกลุ่มไทยรักไทย ในเบื้องต้นที่แกนนำกลุ่มสรุปได้นั้น มีดังนี้ นายบุญคลี ปลั่งศิริ อดีตประธานกรรมการบริหารเครือชินคอร์ป จะเป็นหัวหน้าพรรค นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรมว.ไอซีที และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม จะเป็นรองหัวหน้าพรรค นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีต รมว.แรงงาน และอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา จะเป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคนที่มีความใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรค เรียกได้ว่า "สายตรงจันทร์ส่องหล้า"ทั้งสิ้น
ด้านนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ยอมรับว่า ตอนนี้ได้หารือถึงการร่วมมือทางการเมืองกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แกนนำกลุ่มธรรมาธิปไตย และผู้สนับสนุนการตั้งพรรครวมใจไทย เพราะส่วนตัวนั้นมองว่าบ้านเมืองกำลังประสบวิกฤตหนัก จนต่างประเทศมองว่า เมืองไทยคล้ายกับอิรัก จึงสมควรที่จะมีบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาแก้ปัญหาในยามนี้ เพราะบุคคลที่มีการคาดว่าจะเป็นนายกฯ คนใหม่นั้น ยังอ่อนประสบการณ์
รายงานข่าวจากคนใกล้ชิด นายเสนาะกล่าวว่า ตอนนี้นายสมคิด ได้ต่อสายคุยกับนายเสนาะแล้ว และจะมีการหารือเรื่องการร่วมงานทางการเมืองกันเร็ว ๆนี้ โดยช่วงนี้ นายเสนาะ ขอให้นายสมคิด อย่าเป็นข่าวรายวันว่าสนับสนุนกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ ควรนิ่งไว้ก่อน และรีบตัดสินใจว่าจะร่วมงานกับกลุ่มใด เพราะเวลามันกระชั้นชิด ส่วนการร่วมมือทางการเมืองระหว่างกลุ่มของนายสมคิด กับพรรคประชาราชนั้น หากจะร่วมงานกันจริง นายเสนาะ เสนอว่าควรเจอกันครึ่งทาง โดยขอให้ทั้งสองฝ่ายเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อกลาง โดยนายเสนาะจะดูแลคนของตัวเอง ส่วนนายสมคิด ก็ดูแลคนของนายสมคิดไป
รายงานข่าวกล่าวว่า นายเสนาะได้กล่าวกับนายสมคิด ว่ากลุ่มต่างๆ ที่แตกตัวมาจากพรรคไทยรักไทยนั้น นายเสนาะ มองว่า กลุ่มเหล่านั้นยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดทัพสู้ศึกเลือกตั้ง คิดกันเพียงว่า มีเงินก็เลือกตั้งได้ แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่
**สนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.แก้ไข คปค.ฉบับ 15
ในวันเดียวกันนี้ ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยพิจารณาร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) ฉบับที่ 15 เรื่องห้ามพรรคการเมืองประชุม หรือดำเนินกิจการอื่นใดทางการเมือง ลงวันที่ 21 ก.ย. 49 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม
พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้อภิปรายแสดงความกังวลว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลไปล้มล้างคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จึงได้ขอแปรญัตติเพิ่มข้อความว่า การจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองที่ใช้ชื่อพรรค ตราสัญลักษณ์ของพรรค อุดมการณ์ของพรรค ตลอดจนแนวทางนโยบายของพรรคที่เหมือน หรือพ้อง หรือใกล้เคียง หรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นพรรคการเมืองเดียวกันกับพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง หรือคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคจะกระทำมิได้
นายประพันธ์ คูณมี กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่าคณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาร่างกฎหมายนี้และเห็นตรงกันกับผู้แปรญัตติว่าควรจะมีบทบัญญัติวางหลักเกณฑ์และห้ามการใช้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ชื่อดังกล่าวไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจ แต่เราคำนึงถึงกฎหมายบ้านเมืองว่าควรจะมีมาตรการทางกฎหมายหรือมาตรการทางสังคมมาบังคับให้พรรคการเมืองได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่หากแก้ไขตามที่สมาชิกขอแปรญัตติจะกลายเป็นแก้ไขในหลักการหรือไม่ ที่ประชุมจึงเห็นพ้องกันว่าจะไม่แก้ไขในประกาศฉบับนี้ แต่ได้มอบหมายให้กรรมาธิการฯไปเสนอแก้ไขประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งได้รับการแจ้งว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้โดยเนื้อหาที่ได้ยื่นไปนั้น ได้ขอแก้ไขหลักเกณฑ์จดตั้งพรรคการเมืองที่ห้ามมิให้ใช้ชื่อ หรือเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ซ้ำหรือพ้อง หรือมีลักษณะภาพลักษณ์ใกล้เคียงกับพรรคการเมืองที่ถูกยุบโดยตุลาการรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะล่วงพ้นเวลา 5 ปีแล้ว และในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติตาม ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีสิทธิใช้ดุลยพินิจไม่รับจดแจ้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการชี้แจงของคณะกรรมาธิการแล้ว พล.อ.ปานเทพ ไม่ติดใจแต่กล่าวว่าจะตามไปแปรญัตติในร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ยังเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองนั้นใช้ชื่อเดิมได้หลังจากถูกยุบใน 5 ปี เพราะเท่ากับเป็นการยุบพรรคแค่ 5 ปี จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับการแก้ไขของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน 149 ต่อ 4 คะแนน.
นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 ที่ สนช.เสนอคำแปรญัตติห้ามจดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่โดยใช้ชื่อเดิมของพรรคการเมืองที่ถูกยุบ อาจทำให้อาจจะเกิดความซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยพรรคการเมือง ว่า ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้แล้ว เพราะ สนช.ได้ทำ ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งตนได้บรรจุให้เข้าสู่วาระการประชุม สนช.ในสัปดาห์หน้า วันที่ 25 ก.ค. ส่วนจะพิจารณา 3 วาระหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสนช.
"หากร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับ 15 ประกาศใช้แล้ว การจดทะเบียนพรรคการเมือง จะสามารถทำได้ทันที ส่วนช่วงรอยต่อที่รอ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พรรคการเมืองนั้น ใครจะจดชื่อได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องไปถามกกต. " นายมีชัย กล่าว