.
หลวงประพันธ์ไพรัชพากย์ เคยเขียนเรื่อง “วัธนธัมทางจิตใจ” ไว้เมื่อปีที่ผมเกิด (2487) ว่า ผู้มีวัฒนธรรมทางจิตใจควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นผู้รักษาไว้ซึ่งเกียรติ และความเป็นเอกราชของชาติ
2. เป็นผู้เสียสละให้แก่ชาติ
3. เป็นผู้ซื่อตรง
4. เป็นผู้รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด
5. เป็นผู้กล้าหาญ
6. เป็นผู้รักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์
7. เป็นผู้รักษาเกียรติศักดิ์ของตน
8. เป็นผู้ทำงานด้วยความเข้มแข็งมานะอดทน
9. เป็นผู้มีความสุภาพเป็นนิสัย
เวลานี้เราไม่ค่อยได้ยินเรื่องวัฒนธรรมทางจิตใจเท่าไรนัก เพราะในยุคประชาธิปไตย แม้รัฐจะตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้น แต่รัฐและรัฐบาลก็ไม่ได้มีแผนการที่จะสร้างคนให้มีลักษณะนิสัยที่เป็นคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แต่พูดรวมๆ ว่าให้เป็นคนดี มีคุณธรรม บางชาติ เช่น ญี่ปุ่นจะมีการกำหนดลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ไว้ และมีการกล่อมเกลาตั้งแต่เด็ก
การกล่อมเกลาจิตใจคนนั้น ทำได้โดยครอบครัว และโรงเรียนครอบครัวสมัยใหม่ พ่อ-แม่ทำงานทั้งคู่ เวลาอยู่กับลูกมีน้อย ลูกๆ ส่วนมากจะอยู่กับเพื่อน และดูหนังดูทีวีฟังเพลง เวลาที่อยู่ในโรงเรียน ส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องเรียน ซึ่งเน้นเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ โอกาสที่เด็กๆ จะได้รับการอบรมสั่งสอนหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น และจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันจึงมีน้อย
ในยุคโลกาภิวัตน์ความเป็นชาติไม่มีความชัดเจนเท่าไร นอกจากเวลาเราเชียร์ทีมกีฬาชาติไทย แต่ความภักดีของคนดูฟุตบอลก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะทีมชาติไทย เพราะมีทีมฟุตบอลอังกฤษ สเปน และอีกหลายชาติ
ถ้าเช่นนั้นโอกาสที่เด็กไทยจะเรียนรู้ที่จะเสียสละให้แก่ชาติ หรือช่วยรักษาเกียรติและความเป็นเอกราชของชาติจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กที่เข้าโรงเรียนทหารคงเป็นกลุ่มเดียวที่จะซึมซับสิ่งนี้
ยังดีที่ในสมัยนี้ คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัวมาแทนที่ พระเจ้าอยู่หัวเป็นแหล่งรวมใจของคนไทย และหากได้ดูการส่ง SMS ไปที่โทรทัศน์ช่องต่างๆ ก็จะเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง นอกจากนั้น พระราชดำรัสต่างๆ ก็มีการนำมาเผยแพร่ ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมแม้รัฐจะไม่ได้กำหนดไว้โดยตรง แต่การนำพระราชดำรัสมาเผยแพร่มีส่วนที่ทำให้เด็กไทยได้เรียนรู้คุณลักษณะที่ดีของคนไทยหลายอย่าง
ที่สำคัญที่สุดก็คือ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเผยแพร่อย่างจริงจังจากรัฐบาลปัจจุบัน การเรียนรู้ของคนไทยจึงต่างไปจากสมัยการสร้างชาติเมื่อ 60 ปีที่แล้ว คุณธรรมบางประการ เช่น ความเพียรก็ได้มีการสอบผ่านพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก
แม้จะไม่มีการจัดคุณธรรมเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นข้อๆ แต่ถ้ารวมคุณธรรมจากพระราชดำรัสต่างๆ แล้ว จะเห็นได้ว่ามีคุณธรรมชุดหนึ่งที่คนไทยรุ่นนี้ได้รับการสั่งสอน คือ
1. การมีความสามัคคี
2. การมีความเพียร
3. การมีความซื่อสัตย์
4. การมีความพอเพียง พอประมาณ
5. การมีเหตุผล
ที่จริงยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมาก แต่คุณธรรมหรือจะเรียกว่าคุณลักษณะที่คนไทยพึงมีทั้งห้าประการนี้มีความชัดเจนมากกว่าคุณลักษณะอื่นใด
คำถามก็คือ ใครมีหน้าที่ทำให้คนไทยมีคุณลักษณะเหล่านี้ จริงอยู่เราได้ฟังการกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ แต่การเรียนรู้เพื่อสร้างลักษณะนิสัย จะทำได้ก็ต้องอาศัยโรงเรียน การสอบเน้นหนักไปทางด้านวิชาการ ก่อให้เกิดนิสัยการแข่งขันและความเพียรพยายาม แต่ความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และการมีเหตุมีผลเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง หรือผ่านกิจกรรม ไม่ใช่มีแค่วิชาหน้าที่พลเมืองศีลธรรม
เด็กๆ สมัยผมเติบโตมาจากการกล่อมเกลาของพ่อ-แม่ พี่น้องและครู ตลอดจนการเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกันในหมู่เพื่อน ลักษณะนิสัยบางอย่างเช่น การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การเสียสละก็ได้มาจากการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน ผมเติบโตมาภายใต้บรรยากาศของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน หากต้องแข่งขันก็เป็นการแข่งกีฬา ซึ่งเป็นการร่วมมือกันแข่งขันโดยมีกติกาที่ชัดเจน เป็นการแข่งขันที่มีกรอบกติกา และมีการยอมรับการพ่ายแพ้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ใช่การพ่ายแพ้ตลอดกาล กลับทำให้ต้องมีการเตรียมตัวฟิตซ้อมให้ดีขึ้น
โรงเรียนไป-มามีโอกาสน้อยในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก จึงควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมมากๆ และเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เล่นกีฬาอย่างน้อยทุกวันๆ ละหนึ่งชั่วโมง โดยเฉพาะกีฬาที่เล่นเป็นทีม
ทุกชาติต่างมีวิธีการกล่อมเกลาพลเมืองของตน ไทยเราเป็นชาติที่เคยผ่านสมัยชาตินิยมมาแล้ว ในปัจจุบันแม้รัฐจะไม่มีแผนการสร้างนิสัยให้พลเมืองอย่างจริงจัง แต่ถ้ามีการสอนลักษณะนิสัยที่ดีอย่างน้อยห้าประการดังกล่าวมาแล้ว ก็จะช่วยลดปัญหาสังคมลงได้มาก
หลวงประพันธ์ไพรัชพากย์ เคยเขียนเรื่อง “วัธนธัมทางจิตใจ” ไว้เมื่อปีที่ผมเกิด (2487) ว่า ผู้มีวัฒนธรรมทางจิตใจควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นผู้รักษาไว้ซึ่งเกียรติ และความเป็นเอกราชของชาติ
2. เป็นผู้เสียสละให้แก่ชาติ
3. เป็นผู้ซื่อตรง
4. เป็นผู้รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด
5. เป็นผู้กล้าหาญ
6. เป็นผู้รักความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์
7. เป็นผู้รักษาเกียรติศักดิ์ของตน
8. เป็นผู้ทำงานด้วยความเข้มแข็งมานะอดทน
9. เป็นผู้มีความสุภาพเป็นนิสัย
เวลานี้เราไม่ค่อยได้ยินเรื่องวัฒนธรรมทางจิตใจเท่าไรนัก เพราะในยุคประชาธิปไตย แม้รัฐจะตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้น แต่รัฐและรัฐบาลก็ไม่ได้มีแผนการที่จะสร้างคนให้มีลักษณะนิสัยที่เป็นคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แต่พูดรวมๆ ว่าให้เป็นคนดี มีคุณธรรม บางชาติ เช่น ญี่ปุ่นจะมีการกำหนดลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ไว้ และมีการกล่อมเกลาตั้งแต่เด็ก
การกล่อมเกลาจิตใจคนนั้น ทำได้โดยครอบครัว และโรงเรียนครอบครัวสมัยใหม่ พ่อ-แม่ทำงานทั้งคู่ เวลาอยู่กับลูกมีน้อย ลูกๆ ส่วนมากจะอยู่กับเพื่อน และดูหนังดูทีวีฟังเพลง เวลาที่อยู่ในโรงเรียน ส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องเรียน ซึ่งเน้นเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ โอกาสที่เด็กๆ จะได้รับการอบรมสั่งสอนหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น และจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันจึงมีน้อย
ในยุคโลกาภิวัตน์ความเป็นชาติไม่มีความชัดเจนเท่าไร นอกจากเวลาเราเชียร์ทีมกีฬาชาติไทย แต่ความภักดีของคนดูฟุตบอลก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะทีมชาติไทย เพราะมีทีมฟุตบอลอังกฤษ สเปน และอีกหลายชาติ
ถ้าเช่นนั้นโอกาสที่เด็กไทยจะเรียนรู้ที่จะเสียสละให้แก่ชาติ หรือช่วยรักษาเกียรติและความเป็นเอกราชของชาติจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กที่เข้าโรงเรียนทหารคงเป็นกลุ่มเดียวที่จะซึมซับสิ่งนี้
ยังดีที่ในสมัยนี้ คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัวมาแทนที่ พระเจ้าอยู่หัวเป็นแหล่งรวมใจของคนไทย และหากได้ดูการส่ง SMS ไปที่โทรทัศน์ช่องต่างๆ ก็จะเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง นอกจากนั้น พระราชดำรัสต่างๆ ก็มีการนำมาเผยแพร่ ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมแม้รัฐจะไม่ได้กำหนดไว้โดยตรง แต่การนำพระราชดำรัสมาเผยแพร่มีส่วนที่ทำให้เด็กไทยได้เรียนรู้คุณลักษณะที่ดีของคนไทยหลายอย่าง
ที่สำคัญที่สุดก็คือ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเผยแพร่อย่างจริงจังจากรัฐบาลปัจจุบัน การเรียนรู้ของคนไทยจึงต่างไปจากสมัยการสร้างชาติเมื่อ 60 ปีที่แล้ว คุณธรรมบางประการ เช่น ความเพียรก็ได้มีการสอบผ่านพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก
แม้จะไม่มีการจัดคุณธรรมเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นข้อๆ แต่ถ้ารวมคุณธรรมจากพระราชดำรัสต่างๆ แล้ว จะเห็นได้ว่ามีคุณธรรมชุดหนึ่งที่คนไทยรุ่นนี้ได้รับการสั่งสอน คือ
1. การมีความสามัคคี
2. การมีความเพียร
3. การมีความซื่อสัตย์
4. การมีความพอเพียง พอประมาณ
5. การมีเหตุผล
ที่จริงยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมาก แต่คุณธรรมหรือจะเรียกว่าคุณลักษณะที่คนไทยพึงมีทั้งห้าประการนี้มีความชัดเจนมากกว่าคุณลักษณะอื่นใด
คำถามก็คือ ใครมีหน้าที่ทำให้คนไทยมีคุณลักษณะเหล่านี้ จริงอยู่เราได้ฟังการกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ แต่การเรียนรู้เพื่อสร้างลักษณะนิสัย จะทำได้ก็ต้องอาศัยโรงเรียน การสอบเน้นหนักไปทางด้านวิชาการ ก่อให้เกิดนิสัยการแข่งขันและความเพียรพยายาม แต่ความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความพอเพียง และการมีเหตุมีผลเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง หรือผ่านกิจกรรม ไม่ใช่มีแค่วิชาหน้าที่พลเมืองศีลธรรม
เด็กๆ สมัยผมเติบโตมาจากการกล่อมเกลาของพ่อ-แม่ พี่น้องและครู ตลอดจนการเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกันในหมู่เพื่อน ลักษณะนิสัยบางอย่างเช่น การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การเสียสละก็ได้มาจากการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน ผมเติบโตมาภายใต้บรรยากาศของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน หากต้องแข่งขันก็เป็นการแข่งกีฬา ซึ่งเป็นการร่วมมือกันแข่งขันโดยมีกติกาที่ชัดเจน เป็นการแข่งขันที่มีกรอบกติกา และมีการยอมรับการพ่ายแพ้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ใช่การพ่ายแพ้ตลอดกาล กลับทำให้ต้องมีการเตรียมตัวฟิตซ้อมให้ดีขึ้น
โรงเรียนไป-มามีโอกาสน้อยในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก จึงควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมมากๆ และเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เล่นกีฬาอย่างน้อยทุกวันๆ ละหนึ่งชั่วโมง โดยเฉพาะกีฬาที่เล่นเป็นทีม
ทุกชาติต่างมีวิธีการกล่อมเกลาพลเมืองของตน ไทยเราเป็นชาติที่เคยผ่านสมัยชาตินิยมมาแล้ว ในปัจจุบันแม้รัฐจะไม่มีแผนการสร้างนิสัยให้พลเมืองอย่างจริงจัง แต่ถ้ามีการสอนลักษณะนิสัยที่ดีอย่างน้อยห้าประการดังกล่าวมาแล้ว ก็จะช่วยลดปัญหาสังคมลงได้มาก