“ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” แนะแบงก์ชาติ “ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการทุนสำรอง-ขยายเวลาการถือครองเงินดอลลาร์ให้ผู้ส่งออก-ลดดอกเบี้ย” เตือนการแทรกแซงค่าเงินอาจเสียหายรุนแรง ด้าน “ฉลองภพ-ธาริษา” ถกด่วนก่อนแถลงแก้กฎหมายบริหารหนี้ให้คลังร่วมปกป้องค่าเงิน-ให้บริษัทจดทะเบียนออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยไม่จำกัดวงเงิน เผยยอดเงินไหลเข้า 1.36 แสนล้านบาท เฉพาะ 2 สัปดาห์ล่าสุด 34,000 ล้าน
วานนี้ (12 ก.ค.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวถึงแนวทางการแก้วิกฤตค่าเงินบาทของประเทศในขณะนี้ว่า กลไกที่จะช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาท ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ การให้ภาคเอกชนขยายเวลาถือครองดอลลาร์ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์
โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศว่า สามารถทำได้ 3 ทาง คือ การนำไปชำระคืนหนี้ต่างประเทศ การนำเข้าสินค้า และการนำเงินออกไปลงทุน ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดในอดีต เนื่องจากเป็นการขยายช่องทางที่จะระบายออกไปในระดับที่สามารถควบคุมได้ และเหมาะสมกับสภาพคล่องของประเทศ
ทั้งนี้ การไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ในต่างประเทศอาจจะต้องอาศัยความรู้ความชำนาญพอสมควร แต่หนทางที่ง่ายคือการขยายเวลาให้คนไทยถือครองเงินตราต่างประเทศได้นานขึ้นหรือนำไปฝากธนาคารพาณิชย์ในสกุลดอลลาร์ได้
“สาเหตุที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนที่เป็นการค้าตามปกติและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จนส่งผลให้ตลาดเงินในประเทศขาดสมดุลเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจจริง การที่แบงก์ชาติเอาบาทออกมาแล้วซื้อดอลลาร์เข้าไป ถ้าเป็นเรื่องปรับนิดปรับหน่อยเพื่อชะลอไม่ให้เปลี่ยนแปลงฮวบฮาบก็พอทำได้ แต่ถ้าหักหาญจะไปเปลี่ยนทิศทางตรงนี้อันตรายเหมือนในอดีตที่เราเคยทำมาแล้ว”
นายประสาร มองว่า การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและอาจสร้างความเสียหาย แต่หากทางการไม่เข้าแทรกแซง บาทก็ยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อเนื่อง เพราะการค้าต่างประเทศยังเกินดุล ขณะที่เงินทุนยังเคลื่อนย้ายเข้ามาอีก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่าถึง 33 บาทกว่าๆ
นายประสาร เชื่อว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดแรงจูงใจในการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามา ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาฟองสบู่ เป็นต้น เพราะหากลดลงแล้วจะต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่
“ผมคิดว่าพอจะมีเหตุผลที่อธิบายได้เพราะเศรษฐกิจภายในทั้งอุปโภคบริโภคค่อนข้างซบเซา และเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ ถ้าจะลดอีกสัก 1 สลึงก็อธิบายได้ แต่ถ้าจะไม่ลดก็พอมีเหตุผลที่ไม่ตรงกับทิศทางของต่างประเทศ” นายประสาร กล่าว
ในส่วนของรัฐบาลหากมีการเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยคลายแรงกดดันลงได้ในระดับหนึ่ง โดยรัฐบาลไม่ควรไปกังวลเรื่องเวลาในการบริหารงานที่เหลือไม่มาก แต่ต้องเร่งทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจจริงให้กลับมาฟื้นตัวเพื่อรักษาสมดุล ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
*** “พี่หลอง” เรียก “ธาริษา” ถกด่วน
บ่ายวันเดียวกัน นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าหารือเพื่อแก้ไขวิกฤตผลกระทบค่าเงินบาท และรวบรวมข้อมูลเสนอแก่นายกรัฐมนตรี
นายฉลองภพ กล่าวก่อนเข้าประชุมฯ ว่า สิ่งที่ควรแก้ปัญหาค่าเงินบาทเร่งด่านในขณะนี้ คือ การจัดทำระบบที่ดี เพื่อทำให้เราสามารถดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถแก้ไขปัญหาเงินทุนที่ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนให้เกิดความผันผวน
โดยระยะแรก เราต้องพิจารณาว่า ระบบที่มีอยู่มีอะไรที่เป็นข้อจำกัด ซึ่งทำให้เราไม่สามารถดูแลสถานการณ์ดังกล่าวได้ดีเท่าที่ควร เพื่อจะเข้าไปพัฒนาจุดนั้นให้ยืดหยุ่นและดูแลได้เต็มที่ โดยที่แบงก์ชาติไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือเพิ่มเติม เพียงแต่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีอุปสรรคในการบริหารน้อยที่สุด ถ้าเราไปดูจีน ทำไมจีนทำได้ จีนเขาเงินไหลเข้ามามากกว่าไทยหลายเท่าตัว
“ก่อนหน้านี้ ผมเองได้ปรึกษากับแบงก์ชาติว่า ควรจะต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่าย ในการดูแลปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะทำให้วิธีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านี้ โดยในส่วนของกระทรวงการคลังนั้นจะมีเครื่องมือในการช่วยดูแล ซึ่งอยู่ในกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ ที่คาดว่าจะออกได้ในรัฐบาลชุดนี้ ในกฎหมายดังกล่าวจะมีมาตรการที่บอกว่า ในกรณีที่ต้องการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หรือต้องการสร้างสภาพคล่อง พร้อมไปกับการสร้างอัตราผลตอบแทนก็สามารถออกพันธบัตรเพื่อการนี้ได้จะทำให้ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งกฎหมายจะให้สิทธิไปลงทุนในตราสารที่ไม่มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศ”
เมื่อมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาเยอะ กระทรวงการคลังก็จะมีเครื่องมือ มีความสามารถ เข้าไปซื้อเงินต่างประเทศ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ธปท.ในการดูแลค่าเงินได้ด้วย ซึ่งขณะนี้ ถือว่า ธปท.ทำหน้าที่อยู่คนเดียว ซึ่งมีจุดอ่อนของเครื่องมือที่จะเข้าไปดูแลตลาดทุนด้วย
หลังการหารือ รมว.คลัง และผู้ว่าฯ ธปท.ร่วมกันแถลงผลการหารือว่า อาจใช้มาตรการเสริมบางส่วนที่มีผลลดแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น รวมถึงการให้หน่วยงานรัฐที่มีแผนจะกู้เงินจากต่างประเทศพิจารณาว่าจะสามารถปรับเป็นการกู้เงินในประเทศแทนได้หรือไม่ เพื่อช่วยลดแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า
“คลัง และแบงก์ชาติจะร่วมกันรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทต่อนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) รวมถึงรายงานเรื่องความสามารถในการรับมือความผันผวนของค่าเงินและการเสริมสร้างระบบในการรับมือร่วมกันระหว่างคลังกับแบงก์ชาติในระยะต่อไป” นายฉลองภพกล่าว และว่า คลังและ ธปท.จะมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ส่งออกว่าทางการจะดูแลอย่างเต็มที่และยังมีเครื่องมือทางการเงินที่สามารถรับมือได้ ส่วนครึ่งปีหลังไทยยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลก แม้ว่าทางการจะออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยบริหารค่าเงิน แต่คงไม่สามารถจะหยุดความผันผวนได้ ยังมีมาตรการเสริมให้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจกู้เงินในประเทศแทนการออกไปกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อลดแรงกดันค่าเงินบาทนั้น ในปีงบประมาณ 50 ภาครัฐมีความจำเป็นต้องกู้เงินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คงเปลี่ยนมากู้ในประเทศส่วนหนึ่งเท่านั้น
นางธาริษา กล่าวว่า ธปท.กำลังผลักดันมาตรการเสริมที่จะช่วยลดแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า โดยจะเสนอให้กระทรวงการคลังผ่อนปรนให้มีการไหลออกของเงินไปลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้น โดยในเบื้องต้นมีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะวางแนวทางให้นักลงทุนรายบุคคลสามารถออกไปลงทุนต่างประเทศได้นอกเหนือจากที่มีการลงทุนผ่านกองทุนรวม
“ยังจะขยายเพดานให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นำเงินออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ โดยไม่จำกัดวงเงิน” นางธาริษา กล่าว และว่าความเสี่ยงที่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญต่อจากนี้ คือการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติ โดยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมีเงินทุนไหลเข้าแล้ว 4 พันล้านดอลลาร์ (136,000 ล้านบาท คำนวณดอลลาร์บาทที่ 34) ขณะที่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินเข้ามามากถึง 1 พันล้านดอลลาร์ (34,000 ล้านบาท)
วานนี้ เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.31/33 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดที่ 33.30/35 บาท/ดอลลาร์ นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพเปิดเผยความเคลื่อนไหวระหว่างวันว่า เงินบาทอ่อนค่าลงมาแตะที่ 33.40 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่ รมว.คลัง และผู้ว่าฯ ธปท.จะหารือแต่หลังจากหารือเสร็จเงินบาทก็กลับมาแข็งค่าที่ 33.31 บาท/ดอลลาร์ และทรงตัวจนกระทั่งปิดตลาด
ผู้สื่อข่าวรายงานค่าเงินบาทตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) ว่า วานนี้อยู่ที่ 30.67 บาทต่อดอลลาร์ หรือมีส่วนต่างจากเงินบาทตลาดในประเทศถึง 2.64 บาท
*** “นายกฯ” เชื่อแบงก์ชาติคุมได้
ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเงินบาทที่แข็งค่าว่ายังไม่น่าจะมีอะไรที่เป็นกังวลมากนัก เพียงแต่เฝ้าดู ตนคิดว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ รมว.คลัง ก็ได้ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า ความเชื่อมั่นที่ภาครัฐจะมอบให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติจะเพิ่มความมั่นใจให้อย่างไรบ้าง พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของผู้ประกอบการก่อนว่าขอให้มีความมั่นใจ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์ให้มากขึ้น ในส่วนของนักลงทุนเองตนเชื่อว่าในขณะนี้ก็มีเงินทุน ระยะสั้นที่เข้ามาในตลาดหุ้นค่อนข้างสูง เราก็ดูอยู่ สิ่งเหล่านี้คงเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าติดตามทั้งสิ้น นักลงทุนของไทยที่ลงทุนระยะสั้น จะต้องระมัดระวัง
*** ปชป.ชี้ช่องใช้ประโยชน์บาทแข็ง
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาล และ ธปท.เพิ่มมาตรการบรรเทาแข็งค่าขึ้นโดยการเร่งรัดการใช้เงินตราต่างประเทศ เพิ่มการลงทุนโดยเฉพาะเพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว และจะทำให้สามารถใช้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออก เป็นประโยชน์ แทนที่จะใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยไร้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม
“แบงก์ชาติจะต้องมีความกล้าหาญมากขึ้นในการแทรกแซงรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ให้กระทบกับผู้ส่งออกอย่างรุนแรงเกินไป อย่าลืมว่าการแทรกแซง ในช่วงที่บาทกำลังแข็งค่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าการแทรกแซงที่แบงก์ชาติเคยในอดีตเมื่อที่ 10 ปีที่แล้ว ในช่วงเงินบาทขาลงจนหมดจำทำให้เกิดวิกฤต แต่กรณีปัจจุบันกลับกันค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ที่อาจจะส่งผลเพียงแค่ทำให้เงินหมุนเวียนเพิ่ม อาจจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ แต่ว่าแบงก์ชาติมีเครื่องมือที่ หลากหลายเข้ามาบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแทรกแซง” นายกรณ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวอีกว่า 2 นโยบายที่ควรจะนำมาใช้ทันที คือ 1.การให้ผู้ส่งออกเปิดบัญชีเงินต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องบังคับให้แปรเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทเท่ากับการเพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศก็มักจะมีรายจ่ายเป็นการนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นเงินตราต่างประเทศเช่นกัน และ 2.เปิดให้บุคคลหรือนิติบุคคลไทย พิจารณาลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม แต่ขณะนี้ถูกปิดกั้นโดยกฎเกณฑ์ของแบงก์ชาติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศมีดุลการค้าเป็นบวกพันล้านถึงหมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าลดการกดดันไปได้บ้างก็มีผลแน่นอน นอกจากนี้ การวิธีเพิ่มการนำเข้าที่เหมาะสมที่สุดคือเพิ่มการลงทุน ในประเภทการลงทุนสาธารณูปโภค ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทุนมีสัดส่วนสูงในการลงทุน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศแล้ว ยังเป็นการใช้เงินตราต่างประเทศที่สะสมจากการส่งออกให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม และบรรเทาปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนไปในตัว ทางพรรคประเมินว่า ทุนสำรองเราอยู่ระดับสูงไปอีกนานไม่มีความเสี่ยง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ทุก 1 บาท/เหรียญสหรัฐ ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไทยลดลง 0.2-0.3 เปอร์เซ็นต์ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าคาดว่า จะทำให้รายได้จากส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังต้องสูญเสียไป 10,000-20,000 ล้านบาท ธปท.ต้องแทรกแซงค่าเงินบาท ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.25 เปอร์เซ็นต์ ในเดือน ก.ค.นี้ ออกมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าบาทเฉพาะจุด เช่น ในตลาดตราสารหนี้ และส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ หากไม่สามารถรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ที่ไม่เกิน 33.5 บาท/เหรียญได้ จะส่งสัญญาณร้ายต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อาจไม่ถึง 4 เปอร์เซ็นต์
“วิกฤตค่าเงินบาทอยู่ในช่วงอันตรายหรือมีระดับเตือนภัยสีส้มเข้ม ธปท.ต้องเร่งรักษาค่าเงินไม่ให้แข็งค่าขึ้นอีก และออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร แต่หากจะออกมาตรการควบคุมเงินไม่ให้ไหลเข้าตลาดหุ้นคงทำได้ยาก เพราะตลาดหุ้นไทยยังมีผลตอบแทนต่อหุ้น (พี/อี) ต่ำ มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เหมาะสม และเกิดผลในทางจิตวิทยาระหว่างประเทศ เพราะอาจทำให้ต่างประเทศมองได้ว่า เงินบาทถูกเก็งกำไรจริงและเทขายหุ้น ตลาดหุ้นทรุด ความมั่งคั่งหายไป เกิดวิกฤตได้ง่าย”
*** ธปท.ถกปรับจีดีพีรับบาทแข็ง
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าฯ ธปท. ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงการพิจารณาดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แต่เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าจะมีการหารือเพื่อทบทวนอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอีกครั้งว่าจะต้องปรับลดหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า
วานนี้ (12 ก.ค.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวถึงแนวทางการแก้วิกฤตค่าเงินบาทของประเทศในขณะนี้ว่า กลไกที่จะช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาท ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ การให้ภาคเอกชนขยายเวลาถือครองดอลลาร์ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์
โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศว่า สามารถทำได้ 3 ทาง คือ การนำไปชำระคืนหนี้ต่างประเทศ การนำเข้าสินค้า และการนำเงินออกไปลงทุน ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดในอดีต เนื่องจากเป็นการขยายช่องทางที่จะระบายออกไปในระดับที่สามารถควบคุมได้ และเหมาะสมกับสภาพคล่องของประเทศ
ทั้งนี้ การไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ในต่างประเทศอาจจะต้องอาศัยความรู้ความชำนาญพอสมควร แต่หนทางที่ง่ายคือการขยายเวลาให้คนไทยถือครองเงินตราต่างประเทศได้นานขึ้นหรือนำไปฝากธนาคารพาณิชย์ในสกุลดอลลาร์ได้
“สาเหตุที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนที่เป็นการค้าตามปกติและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จนส่งผลให้ตลาดเงินในประเทศขาดสมดุลเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจจริง การที่แบงก์ชาติเอาบาทออกมาแล้วซื้อดอลลาร์เข้าไป ถ้าเป็นเรื่องปรับนิดปรับหน่อยเพื่อชะลอไม่ให้เปลี่ยนแปลงฮวบฮาบก็พอทำได้ แต่ถ้าหักหาญจะไปเปลี่ยนทิศทางตรงนี้อันตรายเหมือนในอดีตที่เราเคยทำมาแล้ว”
นายประสาร มองว่า การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและอาจสร้างความเสียหาย แต่หากทางการไม่เข้าแทรกแซง บาทก็ยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าต่อเนื่อง เพราะการค้าต่างประเทศยังเกินดุล ขณะที่เงินทุนยังเคลื่อนย้ายเข้ามาอีก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่าถึง 33 บาทกว่าๆ
นายประสาร เชื่อว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดแรงจูงใจในการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามา ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาฟองสบู่ เป็นต้น เพราะหากลดลงแล้วจะต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่
“ผมคิดว่าพอจะมีเหตุผลที่อธิบายได้เพราะเศรษฐกิจภายในทั้งอุปโภคบริโภคค่อนข้างซบเซา และเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ ถ้าจะลดอีกสัก 1 สลึงก็อธิบายได้ แต่ถ้าจะไม่ลดก็พอมีเหตุผลที่ไม่ตรงกับทิศทางของต่างประเทศ” นายประสาร กล่าว
ในส่วนของรัฐบาลหากมีการเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยคลายแรงกดดันลงได้ในระดับหนึ่ง โดยรัฐบาลไม่ควรไปกังวลเรื่องเวลาในการบริหารงานที่เหลือไม่มาก แต่ต้องเร่งทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจจริงให้กลับมาฟื้นตัวเพื่อรักษาสมดุล ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
*** “พี่หลอง” เรียก “ธาริษา” ถกด่วน
บ่ายวันเดียวกัน นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าหารือเพื่อแก้ไขวิกฤตผลกระทบค่าเงินบาท และรวบรวมข้อมูลเสนอแก่นายกรัฐมนตรี
นายฉลองภพ กล่าวก่อนเข้าประชุมฯ ว่า สิ่งที่ควรแก้ปัญหาค่าเงินบาทเร่งด่านในขณะนี้ คือ การจัดทำระบบที่ดี เพื่อทำให้เราสามารถดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถแก้ไขปัญหาเงินทุนที่ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนให้เกิดความผันผวน
โดยระยะแรก เราต้องพิจารณาว่า ระบบที่มีอยู่มีอะไรที่เป็นข้อจำกัด ซึ่งทำให้เราไม่สามารถดูแลสถานการณ์ดังกล่าวได้ดีเท่าที่ควร เพื่อจะเข้าไปพัฒนาจุดนั้นให้ยืดหยุ่นและดูแลได้เต็มที่ โดยที่แบงก์ชาติไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือเพิ่มเติม เพียงแต่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีอุปสรรคในการบริหารน้อยที่สุด ถ้าเราไปดูจีน ทำไมจีนทำได้ จีนเขาเงินไหลเข้ามามากกว่าไทยหลายเท่าตัว
“ก่อนหน้านี้ ผมเองได้ปรึกษากับแบงก์ชาติว่า ควรจะต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่าย ในการดูแลปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะทำให้วิธีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านี้ โดยในส่วนของกระทรวงการคลังนั้นจะมีเครื่องมือในการช่วยดูแล ซึ่งอยู่ในกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ ที่คาดว่าจะออกได้ในรัฐบาลชุดนี้ ในกฎหมายดังกล่าวจะมีมาตรการที่บอกว่า ในกรณีที่ต้องการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หรือต้องการสร้างสภาพคล่อง พร้อมไปกับการสร้างอัตราผลตอบแทนก็สามารถออกพันธบัตรเพื่อการนี้ได้จะทำให้ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งกฎหมายจะให้สิทธิไปลงทุนในตราสารที่ไม่มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศ”
เมื่อมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาเยอะ กระทรวงการคลังก็จะมีเครื่องมือ มีความสามารถ เข้าไปซื้อเงินต่างประเทศ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ธปท.ในการดูแลค่าเงินได้ด้วย ซึ่งขณะนี้ ถือว่า ธปท.ทำหน้าที่อยู่คนเดียว ซึ่งมีจุดอ่อนของเครื่องมือที่จะเข้าไปดูแลตลาดทุนด้วย
หลังการหารือ รมว.คลัง และผู้ว่าฯ ธปท.ร่วมกันแถลงผลการหารือว่า อาจใช้มาตรการเสริมบางส่วนที่มีผลลดแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น รวมถึงการให้หน่วยงานรัฐที่มีแผนจะกู้เงินจากต่างประเทศพิจารณาว่าจะสามารถปรับเป็นการกู้เงินในประเทศแทนได้หรือไม่ เพื่อช่วยลดแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า
“คลัง และแบงก์ชาติจะร่วมกันรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทต่อนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) รวมถึงรายงานเรื่องความสามารถในการรับมือความผันผวนของค่าเงินและการเสริมสร้างระบบในการรับมือร่วมกันระหว่างคลังกับแบงก์ชาติในระยะต่อไป” นายฉลองภพกล่าว และว่า คลังและ ธปท.จะมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ส่งออกว่าทางการจะดูแลอย่างเต็มที่และยังมีเครื่องมือทางการเงินที่สามารถรับมือได้ ส่วนครึ่งปีหลังไทยยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลก แม้ว่าทางการจะออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยบริหารค่าเงิน แต่คงไม่สามารถจะหยุดความผันผวนได้ ยังมีมาตรการเสริมให้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจกู้เงินในประเทศแทนการออกไปกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อลดแรงกดันค่าเงินบาทนั้น ในปีงบประมาณ 50 ภาครัฐมีความจำเป็นต้องกู้เงินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คงเปลี่ยนมากู้ในประเทศส่วนหนึ่งเท่านั้น
นางธาริษา กล่าวว่า ธปท.กำลังผลักดันมาตรการเสริมที่จะช่วยลดแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า โดยจะเสนอให้กระทรวงการคลังผ่อนปรนให้มีการไหลออกของเงินไปลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้น โดยในเบื้องต้นมีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะวางแนวทางให้นักลงทุนรายบุคคลสามารถออกไปลงทุนต่างประเทศได้นอกเหนือจากที่มีการลงทุนผ่านกองทุนรวม
“ยังจะขยายเพดานให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นำเงินออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ โดยไม่จำกัดวงเงิน” นางธาริษา กล่าว และว่าความเสี่ยงที่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญต่อจากนี้ คือการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติ โดยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมีเงินทุนไหลเข้าแล้ว 4 พันล้านดอลลาร์ (136,000 ล้านบาท คำนวณดอลลาร์บาทที่ 34) ขณะที่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินเข้ามามากถึง 1 พันล้านดอลลาร์ (34,000 ล้านบาท)
วานนี้ เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.31/33 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดที่ 33.30/35 บาท/ดอลลาร์ นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพเปิดเผยความเคลื่อนไหวระหว่างวันว่า เงินบาทอ่อนค่าลงมาแตะที่ 33.40 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่ รมว.คลัง และผู้ว่าฯ ธปท.จะหารือแต่หลังจากหารือเสร็จเงินบาทก็กลับมาแข็งค่าที่ 33.31 บาท/ดอลลาร์ และทรงตัวจนกระทั่งปิดตลาด
ผู้สื่อข่าวรายงานค่าเงินบาทตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) ว่า วานนี้อยู่ที่ 30.67 บาทต่อดอลลาร์ หรือมีส่วนต่างจากเงินบาทตลาดในประเทศถึง 2.64 บาท
*** “นายกฯ” เชื่อแบงก์ชาติคุมได้
ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเงินบาทที่แข็งค่าว่ายังไม่น่าจะมีอะไรที่เป็นกังวลมากนัก เพียงแต่เฝ้าดู ตนคิดว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ รมว.คลัง ก็ได้ติดตามสถานการณ์อยู่แล้ว
เมื่อถามว่า ความเชื่อมั่นที่ภาครัฐจะมอบให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติจะเพิ่มความมั่นใจให้อย่างไรบ้าง พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของผู้ประกอบการก่อนว่าขอให้มีความมั่นใจ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์ให้มากขึ้น ในส่วนของนักลงทุนเองตนเชื่อว่าในขณะนี้ก็มีเงินทุน ระยะสั้นที่เข้ามาในตลาดหุ้นค่อนข้างสูง เราก็ดูอยู่ สิ่งเหล่านี้คงเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าติดตามทั้งสิ้น นักลงทุนของไทยที่ลงทุนระยะสั้น จะต้องระมัดระวัง
*** ปชป.ชี้ช่องใช้ประโยชน์บาทแข็ง
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาล และ ธปท.เพิ่มมาตรการบรรเทาแข็งค่าขึ้นโดยการเร่งรัดการใช้เงินตราต่างประเทศ เพิ่มการลงทุนโดยเฉพาะเพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว และจะทำให้สามารถใช้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออก เป็นประโยชน์ แทนที่จะใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยไร้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม
“แบงก์ชาติจะต้องมีความกล้าหาญมากขึ้นในการแทรกแซงรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ให้กระทบกับผู้ส่งออกอย่างรุนแรงเกินไป อย่าลืมว่าการแทรกแซง ในช่วงที่บาทกำลังแข็งค่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าการแทรกแซงที่แบงก์ชาติเคยในอดีตเมื่อที่ 10 ปีที่แล้ว ในช่วงเงินบาทขาลงจนหมดจำทำให้เกิดวิกฤต แต่กรณีปัจจุบันกลับกันค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ที่อาจจะส่งผลเพียงแค่ทำให้เงินหมุนเวียนเพิ่ม อาจจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ แต่ว่าแบงก์ชาติมีเครื่องมือที่ หลากหลายเข้ามาบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแทรกแซง” นายกรณ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวอีกว่า 2 นโยบายที่ควรจะนำมาใช้ทันที คือ 1.การให้ผู้ส่งออกเปิดบัญชีเงินต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องบังคับให้แปรเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทเท่ากับการเพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศก็มักจะมีรายจ่ายเป็นการนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นเงินตราต่างประเทศเช่นกัน และ 2.เปิดให้บุคคลหรือนิติบุคคลไทย พิจารณาลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม แต่ขณะนี้ถูกปิดกั้นโดยกฎเกณฑ์ของแบงก์ชาติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศมีดุลการค้าเป็นบวกพันล้านถึงหมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าลดการกดดันไปได้บ้างก็มีผลแน่นอน นอกจากนี้ การวิธีเพิ่มการนำเข้าที่เหมาะสมที่สุดคือเพิ่มการลงทุน ในประเภทการลงทุนสาธารณูปโภค ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทุนมีสัดส่วนสูงในการลงทุน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศแล้ว ยังเป็นการใช้เงินตราต่างประเทศที่สะสมจากการส่งออกให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม และบรรเทาปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนไปในตัว ทางพรรคประเมินว่า ทุนสำรองเราอยู่ระดับสูงไปอีกนานไม่มีความเสี่ยง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ทุก 1 บาท/เหรียญสหรัฐ ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไทยลดลง 0.2-0.3 เปอร์เซ็นต์ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าคาดว่า จะทำให้รายได้จากส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังต้องสูญเสียไป 10,000-20,000 ล้านบาท ธปท.ต้องแทรกแซงค่าเงินบาท ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.25 เปอร์เซ็นต์ ในเดือน ก.ค.นี้ ออกมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าบาทเฉพาะจุด เช่น ในตลาดตราสารหนี้ และส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ หากไม่สามารถรักษาค่าเงินบาทให้อยู่ที่ไม่เกิน 33.5 บาท/เหรียญได้ จะส่งสัญญาณร้ายต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อาจไม่ถึง 4 เปอร์เซ็นต์
“วิกฤตค่าเงินบาทอยู่ในช่วงอันตรายหรือมีระดับเตือนภัยสีส้มเข้ม ธปท.ต้องเร่งรักษาค่าเงินไม่ให้แข็งค่าขึ้นอีก และออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร แต่หากจะออกมาตรการควบคุมเงินไม่ให้ไหลเข้าตลาดหุ้นคงทำได้ยาก เพราะตลาดหุ้นไทยยังมีผลตอบแทนต่อหุ้น (พี/อี) ต่ำ มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เหมาะสม และเกิดผลในทางจิตวิทยาระหว่างประเทศ เพราะอาจทำให้ต่างประเทศมองได้ว่า เงินบาทถูกเก็งกำไรจริงและเทขายหุ้น ตลาดหุ้นทรุด ความมั่งคั่งหายไป เกิดวิกฤตได้ง่าย”
*** ธปท.ถกปรับจีดีพีรับบาทแข็ง
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าฯ ธปท. ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงการพิจารณาดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แต่เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าจะมีการหารือเพื่อทบทวนอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอีกครั้งว่าจะต้องปรับลดหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า