บริษัทยามะเร็งย่องเงียบพบ "หมอมงคล" เสนอให้ยารักษามะเร็งฟรีเฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2,000 คน ชี้ต้องศึกษารายละเอียดว่ามีเงื่อนไขอื่นใดหรือไม่ พร้อมเตรียมหารืออย่างเป็นทางการเร็วๆนี้ ลั่นให้ฟรีจริง ไม่จำเป็นต้องทำซีแอล
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า มีตัวแทนบริษัทยารักษาโรคมะเร็งแห่งหนึ่งได้เข้าพบขอเจรจาเพื่อเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับยารักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากบริษัทอาจจะได้ทราบข่าวว่า สธ.จะดำเนินการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ยามะเร็งในเร็วๆนี้ จึงมาติดต่อขอเจรจาโดยข้อเสนอเป็นที่น่าสนใจว่า จะเสนอให้ยาต้นตำรับที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดหนึ่งฟรีกับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีประมาณ 2,000 คน
"เมื่อบริษัทยาต้นตำรับเสนอราคายารักษาโรคมะเร็งฟรี หากเป็นเงื่อนไขเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศซีแอลแต่อย่างใด เพราะสามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาโดยสาเหตุที่บริษัทยาดำเนินการเช่นนี้อาจเป็นเพราะได้กำไรกับยาดังกล่าวมามากพอแล้ว แต่สิ่งที่บริษัทจะได้คือ การขายยาราคาเดิมกับผู้ป่วยจากระบบประกันสังคมและระบบการรักษาสวัสดิการ ซึ่งสามารถซื้อยาตามปกติ ซึ่ง เร็วๆนี้จะหารือกับตัวแทนบริษัทอย่างเป็นทางการอีกครั้ง" นพ. มงคล กล่าว
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ในฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า บริษัทยาต้นตำรับที่ผลิตยารักษาโรคมะเร็งได้ติดต่อขอเข้าพบ นพ.มงคล เมื่อช่วงปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา โดยในการหารือบริษัทก็ฉลาดพอที่จะไม่พูดเรื่องซีแอลเลย ซึ่งถือเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้งว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ หรือไม่ อาทิ ระยะเวลาเงื่อนไขที่ให้ฟรีจะตลอดไปหรือไม่ หรือจะมีการร่วมจ่าย ฯลฯ แต่หากเป็นข้อเสนอตามเงื่อนไขฟรีตลอดไปก็คงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ซีแอล
"บริษัทคงคำนวณหลายอย่างในแง่ของผลกำไร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาพลักษณ์ของบริษัทในอนาคต ซึ่งขณะนี้ยาดังกล่าวถูกโจมตีในประเทศอื่นๆ เรื่องราคายาที่สูงมาก แต่เพื่อภาพลักษณ์ในระยะยาวก็คงต้องดำเนินการเช่นนี้" นพ.วิชัย กล่าว
สำหรับข้อพิจารณาเกี่ยวกับยารักษาโรคมะเร็งที่จะทำซีแอลจะพิจารณาจากอันดับโรคมะเร็งที่ผู้ชายไทย และผู้หญิงไทยป่วยเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมียาประมาณ 3-4 รายการ แต่ยังต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ด้วย เพราะยาบางชนิดรักษาโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุของคนไทยป่วย และเสียชีวิตมากก็จริงแต่ยาไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อคัดแล้วจะเหลือยาประมาณ 2 รายการเท่านั้น
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นพ.มงคล ได้เสนอรายชื่อยาที่มีความจำเป็นของคนไทยที่มีปัญหาการเข้าถึงยา เนื่องจากมีราคาแพง ถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อ ก.พ.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในยากลุ่มมะเร็ง ได้แก่ อินนาทินิบ(Inafinib) จากบริษัท โนวาตีส ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดหรือลูคีเมียชื่อทางการค้า กลีเวค , ริทูกซิแม็บ(Rituximab) จากบริษัท จีนีเทค, จีฟิทินิบ (Gefitinib) จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า , บีเวซูแม็บ (Bevaeizumab) จากบริษัทเจเนนเทค
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีเพียงบริษัทโนวาติส ผู้ผลิตยารักษาโรคมะเร็งชนิดเดียวที่ได้เข้าพบ สธ.เพื่อเจรจาและเสนอโครงการพิเศษที่จะร่วมกันรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่าย โดยให้สธ.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน 3 เดือนแรกของการรักษา และทางบริษัทฯ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 9 เดือนที่เหลืออยู่ ใน 1 ปี ซึ่งราคายา 100 มิลลิกรัมเม็ดละ 917 บาทต้องทานวันละ 4 เม็ด รวมวันละประมาณ 3,600 บาท
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า มีตัวแทนบริษัทยารักษาโรคมะเร็งแห่งหนึ่งได้เข้าพบขอเจรจาเพื่อเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับยารักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากบริษัทอาจจะได้ทราบข่าวว่า สธ.จะดำเนินการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ยามะเร็งในเร็วๆนี้ จึงมาติดต่อขอเจรจาโดยข้อเสนอเป็นที่น่าสนใจว่า จะเสนอให้ยาต้นตำรับที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดหนึ่งฟรีกับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีประมาณ 2,000 คน
"เมื่อบริษัทยาต้นตำรับเสนอราคายารักษาโรคมะเร็งฟรี หากเป็นเงื่อนไขเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศซีแอลแต่อย่างใด เพราะสามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาโดยสาเหตุที่บริษัทยาดำเนินการเช่นนี้อาจเป็นเพราะได้กำไรกับยาดังกล่าวมามากพอแล้ว แต่สิ่งที่บริษัทจะได้คือ การขายยาราคาเดิมกับผู้ป่วยจากระบบประกันสังคมและระบบการรักษาสวัสดิการ ซึ่งสามารถซื้อยาตามปกติ ซึ่ง เร็วๆนี้จะหารือกับตัวแทนบริษัทอย่างเป็นทางการอีกครั้ง" นพ. มงคล กล่าว
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ในฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า บริษัทยาต้นตำรับที่ผลิตยารักษาโรคมะเร็งได้ติดต่อขอเข้าพบ นพ.มงคล เมื่อช่วงปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา โดยในการหารือบริษัทก็ฉลาดพอที่จะไม่พูดเรื่องซีแอลเลย ซึ่งถือเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้งว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ หรือไม่ อาทิ ระยะเวลาเงื่อนไขที่ให้ฟรีจะตลอดไปหรือไม่ หรือจะมีการร่วมจ่าย ฯลฯ แต่หากเป็นข้อเสนอตามเงื่อนไขฟรีตลอดไปก็คงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ซีแอล
"บริษัทคงคำนวณหลายอย่างในแง่ของผลกำไร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาพลักษณ์ของบริษัทในอนาคต ซึ่งขณะนี้ยาดังกล่าวถูกโจมตีในประเทศอื่นๆ เรื่องราคายาที่สูงมาก แต่เพื่อภาพลักษณ์ในระยะยาวก็คงต้องดำเนินการเช่นนี้" นพ.วิชัย กล่าว
สำหรับข้อพิจารณาเกี่ยวกับยารักษาโรคมะเร็งที่จะทำซีแอลจะพิจารณาจากอันดับโรคมะเร็งที่ผู้ชายไทย และผู้หญิงไทยป่วยเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมียาประมาณ 3-4 รายการ แต่ยังต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ด้วย เพราะยาบางชนิดรักษาโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุของคนไทยป่วย และเสียชีวิตมากก็จริงแต่ยาไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อคัดแล้วจะเหลือยาประมาณ 2 รายการเท่านั้น
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นพ.มงคล ได้เสนอรายชื่อยาที่มีความจำเป็นของคนไทยที่มีปัญหาการเข้าถึงยา เนื่องจากมีราคาแพง ถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อ ก.พ.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ในยากลุ่มมะเร็ง ได้แก่ อินนาทินิบ(Inafinib) จากบริษัท โนวาตีส ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดหรือลูคีเมียชื่อทางการค้า กลีเวค , ริทูกซิแม็บ(Rituximab) จากบริษัท จีนีเทค, จีฟิทินิบ (Gefitinib) จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า , บีเวซูแม็บ (Bevaeizumab) จากบริษัทเจเนนเทค
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีเพียงบริษัทโนวาติส ผู้ผลิตยารักษาโรคมะเร็งชนิดเดียวที่ได้เข้าพบ สธ.เพื่อเจรจาและเสนอโครงการพิเศษที่จะร่วมกันรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่าย โดยให้สธ.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน 3 เดือนแรกของการรักษา และทางบริษัทฯ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 9 เดือนที่เหลืออยู่ ใน 1 ปี ซึ่งราคายา 100 มิลลิกรัมเม็ดละ 917 บาทต้องทานวันละ 4 เม็ด รวมวันละประมาณ 3,600 บาท