.
ออสเตรเลียนับเป็นประเทศกว้างใหญ่ ประกอบกับมีทำเลตั้งอยู่ห่างไกลจากประเทศอื่นๆ ทำให้ต้องขนส่งสินค้าเป็นระยะทางไกล ดังนั้น โลจิสติกส์จึงนับเป็นสิ่งท้าทายที่สำคัญของประเทศ ซึ่งออสเตรเลียประสบผลสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจแขนงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ธุรกิจโลจิสติกส์นับเป็นความท้าทายเป็นอย่างมากของประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ทำให้การขนส่งภายในประเทศจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งมีระยะทางไกลมาก
ประการที่สอง ทำเลที่ตั้งของประเทศอยู่ในซีกโลกภาคใต้ ห่างไกลจากประเทศอื่นๆ เป็นอย่างมาก ทำให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลเช่นเดียวกัน
ประการที่สาม สินค้าส่งออกสำคัญเป็นสินค้าเกษตรกรรม ถ่านหิน และสินแร่ ซึ่งมีน้ำหนักมาก แต่มูลค่าต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรกรรมรายสำคัญของโลก ซึ่งเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้กระบวนการโลจิสติกส์ยิ่งทวีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น
ปัจจุบันโลจิสติกส์มีขนาดสัดส่วน 9% ของ GDP ของประเทศออสเตรเลีย ในปี 2548 มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางบกในออสเตรเลียปริมาณ 2,300 ล้านตัน โดยเป็นการขนส่งทางถนนมากที่สุดปริมาณ 1,700 ล้านตัน รองลงมา คือ ทางรถไฟ 600 ล้านตัน โดยผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ของออสเตรเลีย เป็นต้นว่า บริษัท Toll, บริษัท Linfox ฯลฯ
ออสเตรเลียมีทางรถไฟยาวประมาณ 44,242 กม. การขนส่งทางรถไฟกระจุกตัวในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยเฉพาะในเส้นทางระหว่างนครเมลเบิร์นกับนครซิดนีย์ และระหว่างนครเมลเบิร์นกับนครบริสเบน การขนส่งทางรถไฟในออสเตรเลีย เกือบทั้งหมดเป็นการขนส่งสินค้าพวกสินแร่ ถ่านหิน น้ำมัน ไม้ และพืชผลทางการเกษตร
เดิมการขนส่งทางรถไฟของออสเตรเลียมีคุณภาพบริการไม่ดีนัก แต่เมื่อมีการเปิดให้เอกชนเข้ามาทำธุรกิจในด้านนี้นับแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาก โดยปัจจุบันรัฐบาลออสเตรเลียได้พยายามส่งเสริมการใช้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ รวมถึงลดปัญหามลภาวะและอุบัติเหตุอีกด้วย โดยมีมาตรการต่างๆ เป็นต้นว่า
ประการแรก ปรับปรุงขนาดของรางรถไฟเชื่อมระหว่างมลรัฐต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อ เนื่องจากเดิมก่อนที่จะรวมตัวเป็นประเทศออสเตรเลียนั้น มลรัฐต่างๆ ได้กำหนดขนาดรางรถไฟของตนเอง ทำให้ออสเตรเลียมีทั้งรางขนาด Broad Gauge ซึ่งมีขนาดความกว้างเกินกว่า 1.435 เมตร และขนาด Standard Gauge ซึ่งมีความกว้างของราง 1.435 เมตร ทำให้ยุ่งยากในการเชื่อมต่อ
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลกลางได้ให้เงินสนับสนุนแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อลงทุนปรับปรุงเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างมลรัฐต่างๆ ให้เป็นขนาด Standard Gauge ทั้งหมด เป็นต้นว่า การเปลี่ยนขนาดของรางรถไฟจากขนาด Broad Gauge มาเป็น Standard Gauge ในเส้นทางระหว่างนครเมลเบิร์นกับนครแอดดิเลตซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2538
ประการที่สอง ขยายเครือข่ายทางรถไฟ โดยมีโครงการสำคัญ คือ การลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท ก่อสร้างทางรถไฟเส้นทาง AustralAsia Railway ซึ่งมีระยะทาง 1,420 กม. เชื่อมระหว่างเมืองอลิสสปริงกับเมืองดาร์วิน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางตอนเหนือของประเทศ ได้เปิดดำเนินการต้นปี 2547 พร้อมกับลงทุนอีก 2,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างท่าเรือ East Am Port ที่เมืองดาร์วิน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เมืองดาร์วินเป็นประตูเชื่อมระหว่างออสเตรเลียกับทวีปเอเชีย
ประการที่สาม ส่งเสริมการขนส่งสินค้าโดยรถไฟ เป็นต้นว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 รัฐบาลของมลรัฐนิวเซาท์เวลล์ ได้ออกนโยบาย NSW Port Freight Plan กำหนดเป้าหมายการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เข้าออกท่าเรือ Port Botany ว่าต้องขนส่งทางรถไฟเป็นสัดส่วนอย่างต่ำ 40% ของทั้งหมด
นอกจากนี้ รัฐบาลบางมลรัฐยังได้กำหนดให้การขนถ่านหินต้องดำเนินการทางรถไฟ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น โดยในปี 2548 ออสเตรเลียส่งออกถ่านหิน 234 ล้านตัน ขนส่งไปยังท่าเรือโดยใช้รถไฟเป็นสัดส่วนสูงถึง 97% ของทั้งหมด โดยเฉพาะการขนส่งไปลงเรือเดินสมุทรที่ท่าเรือนิวคาสเซิล ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีปริมาณขนถ่ายถ่านหินปริมาณมากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณขนถ่ายถ่านหินที่ท่าเรือแห่งนี้เป็นจำนวนมากถึง 80 ล้านตัน/ปี
ประการที่สี่ ลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยปัญหาในระยะที่ผ่านมา คือ อุปสงค์ต่อการขนถ่ายสินค้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากประเทศจีน ยิ่งไปกว่านั้น เส้นทางรถไฟยังใช้สำหรับขบวนรถไฟขนส่งมวลชน ทำให้ขบวนรถไฟขนส่งถ่านหินต้องเสียเวลาหยุดรอรถไฟขนส่งมวลชน ทำให้โครงสร้างพื้นฐานไม่สามารถรองรับปริมาณขนถ่ายถ่านหินที่เพิ่มขึ้นได้ จึงต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลออสเตรเลียได้วางแผนก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมในจุดที่เป็นคอขวด เป็นต้นว่า การก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมในเส้นทาง Southern Sydney Freight Line ความยาว 36 กม. สำหรับรถไฟขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ เพื่อลดปัญหาความล่าช้าที่รถไฟขนส่งสินค้าต้องเสียเวลาจอดรอรถไฟขนส่งผู้โดยสาร
ประการที่ห้า ปัจจุบันมีหน่วยงานจำนวนมากเป็นเจ้าของทางรถไฟ ทำให้ยากในการเจรจาเพื่อเปิดให้บริการรถไฟเป็นระยะทางไกลซึ่งต้องใช้เส้นทางรถไฟของหลายบริษัท เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลกลางและรัฐบาลของมลรัฐต่างๆ จึงก่อตั้งบริษัท Australian Rail Track Corporation (ARTC) ขึ้นเมื่อปี 2541 เพื่อเป็น One Stop Service โดยปัจจุบันบริษัท ARTC ได้บริหารทางรถไฟเป็นระยะทางรวม 7,600 กม.
สำหรับการขนส่งทางถนนนั้น ปัจจุบันออสเตรเลียมีทางหลวงและถนนยาว 810,000 กม. การขนส่งทางถนนก็นับว่าสำคัญมากสำหรับออสเตรเลีย โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งไปยังลูกค้า และขนส่งในเส้นทางระยะไม่ไกลมากนัก ทำให้ไม่คุ้มที่จะขนส่งทางรถไฟ
นวัตกรรมสำคัญที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย คือ รถบรรทุกพ่วงแบบที่เรียกว่า B-Double ซึ่งความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ได้พัฒนาขึ้นใช้ในประเทศแคนาดามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 และต่อมาได้ใช้กันแพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย
ข้อดีของรถบรรทุกพ่วงแบบ B-double คือ สามารถขนส่งตู้ตอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ได้มากถึงจำนวน 3 ตู้ มากกว่ารถกึ่งพ่วงปกติ (Semi-trailer) ซึ่งขนส่งได้ครั้งละ 2 ตู้ ยิ่งไปกว่านั้น กรณีเป็นรถบรรทุกพ่วงแบบ Super B-double แล้ว สามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ได้มากถึง 4 ตู้ รวมน้ำหนักสินค้าและรถยนต์มากถึง 68 ตัน ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันออสเตรเลียได้พัฒนารถบรรทุกพ่วงให้มีน้ำหนักเบาลง ส่งผลทำให้สามารถบรรทุกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าน้ำหนักรถยนต์รวมกับสินค้าเท่าเดิม
อนึ่ง สำหรับรถบรรทุกพ่วงแบบ B-Double นี้ ได้เคยทดลองขนส่งในประเทศไทยเมื่อปี 2547 โดยกรมการขนส่งทางบก ร่วมกับบริษัท พนัสแอสเซมบลี่ย์ จำกัด และบริษัท ลินฟอกซ์โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใน 3 เส้นทาง พบว่ารถบรรทุก B-double ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่ารถกึ่งพ่วงและรถ 10 ล้อ ประมาณ 20% และ 30% ตามลำดับ
สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจโลจิสติกส์ของออสเตรเลีย คือ บริษัท Toll ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี เนื่องจากปัจจุบันได้เข้ามาดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ในระยะที่ผ่านมาบริษัท Toll ได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะภายหลังการซื้อกิจการของบริษัท Patrick ของออสเตรเลียเมื่อปี 2549 ทำให้กลายเป็นบริษัทโลจิสติกส์ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียและเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
การขยายกิจการข้างต้น ทำให้บริษัท Toll เป็นเจ้าของทั้งกิจการรถขนส่งทางรถบรรทุกใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย กิจการขนส่งพัสดุด่วนใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย กิจการขนส่งทางรถไฟใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย กิจการท่าเรือ นอกจากนี้ ยังถือหุ้นใหญ่ คือ 62.8% ในสายการบินเวอร์จินบลู ซึ่งนับเป็นสายการบินใหญ่เป็นอันดับ 2 ของออสเตรเลีย โดยเป็นรองเฉพาะสายการบิน Qantas เท่านั้น
การขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัท Toll ได้สร้างความไม่สบายใจแก่หน่วยงาน Australian Competition and Consumer Commission เป็นอย่างมาก เนื่องจากเห็นว่ามีกิจการหลากหลายทั้งในส่วนการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ สายการเดินเรือ สายการบิน ฯลฯ จึงมีอำนาจเหนือตลาด โดยหวั่นเกรงว่าบริษัท Toll จะผูกขาดในธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจต้องจ่ายค่าบริการที่แพงยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบต่อบริษัทคู่แข่ง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้อวิตกกังวลข้างต้น เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 บริษัท Toll ได้แยกกิจการในส่วนรถไฟและท่าเรือ ออกไปจากบริษัท Toll โดยก่อตั้งเป็นบริษัทอิสระซึ่งมีชื่อว่าบริษัท Asciano โดยบริษัท Toll คงเหลือเฉพาะในส่วนรถบรรทุก เดินเรือ โลจิสติกส์ รวมถึงการถือหุ้นในสายการบินเวอร์จินบลูเท่านั้น
ภายหลังแยกกิจการออกเป็น 2 บริษัท ในส่วนบริษัท Toll จะมีรายได้ปีละประมาณ 7,600 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท โดยมีพนักงานมากกว่า 22,000 คน ส่วนบริษัท Asciano จะมีรายได้น้อยกว่า คือ ปีละประมาณ 2,600 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 75,000 ล้านบาท และมีพนักงานรวมประมาณ 8,000 คน
แม้ภายหลังแยกกิจการออกเป็น 2 บริษัท ทั้งบริษัท Toll และบริษัท Asciano ความจริงแล้วยังคงมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 บริษัทจะมีคณะกรรมการและผู้บริหารแยกจากกันโดยเด็ดขาด และการเจรจาธุรกิจระหว่างกันจะอยู่ในรูปเจรจาต่อรองเสมือนกับเป็นบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงกับหน่วยงาน Australian Competition and Consumer Commission
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th
ออสเตรเลียนับเป็นประเทศกว้างใหญ่ ประกอบกับมีทำเลตั้งอยู่ห่างไกลจากประเทศอื่นๆ ทำให้ต้องขนส่งสินค้าเป็นระยะทางไกล ดังนั้น โลจิสติกส์จึงนับเป็นสิ่งท้าทายที่สำคัญของประเทศ ซึ่งออสเตรเลียประสบผลสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจแขนงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ธุรกิจโลจิสติกส์นับเป็นความท้าทายเป็นอย่างมากของประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ทำให้การขนส่งภายในประเทศจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งมีระยะทางไกลมาก
ประการที่สอง ทำเลที่ตั้งของประเทศอยู่ในซีกโลกภาคใต้ ห่างไกลจากประเทศอื่นๆ เป็นอย่างมาก ทำให้การนำเข้าและส่งออกสินค้าต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลเช่นเดียวกัน
ประการที่สาม สินค้าส่งออกสำคัญเป็นสินค้าเกษตรกรรม ถ่านหิน และสินแร่ ซึ่งมีน้ำหนักมาก แต่มูลค่าต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรกรรมรายสำคัญของโลก ซึ่งเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้กระบวนการโลจิสติกส์ยิ่งทวีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น
ปัจจุบันโลจิสติกส์มีขนาดสัดส่วน 9% ของ GDP ของประเทศออสเตรเลีย ในปี 2548 มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางบกในออสเตรเลียปริมาณ 2,300 ล้านตัน โดยเป็นการขนส่งทางถนนมากที่สุดปริมาณ 1,700 ล้านตัน รองลงมา คือ ทางรถไฟ 600 ล้านตัน โดยผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ของออสเตรเลีย เป็นต้นว่า บริษัท Toll, บริษัท Linfox ฯลฯ
ออสเตรเลียมีทางรถไฟยาวประมาณ 44,242 กม. การขนส่งทางรถไฟกระจุกตัวในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยเฉพาะในเส้นทางระหว่างนครเมลเบิร์นกับนครซิดนีย์ และระหว่างนครเมลเบิร์นกับนครบริสเบน การขนส่งทางรถไฟในออสเตรเลีย เกือบทั้งหมดเป็นการขนส่งสินค้าพวกสินแร่ ถ่านหิน น้ำมัน ไม้ และพืชผลทางการเกษตร
เดิมการขนส่งทางรถไฟของออสเตรเลียมีคุณภาพบริการไม่ดีนัก แต่เมื่อมีการเปิดให้เอกชนเข้ามาทำธุรกิจในด้านนี้นับแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นมาก โดยปัจจุบันรัฐบาลออสเตรเลียได้พยายามส่งเสริมการใช้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ รวมถึงลดปัญหามลภาวะและอุบัติเหตุอีกด้วย โดยมีมาตรการต่างๆ เป็นต้นว่า
ประการแรก ปรับปรุงขนาดของรางรถไฟเชื่อมระหว่างมลรัฐต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อ เนื่องจากเดิมก่อนที่จะรวมตัวเป็นประเทศออสเตรเลียนั้น มลรัฐต่างๆ ได้กำหนดขนาดรางรถไฟของตนเอง ทำให้ออสเตรเลียมีทั้งรางขนาด Broad Gauge ซึ่งมีขนาดความกว้างเกินกว่า 1.435 เมตร และขนาด Standard Gauge ซึ่งมีความกว้างของราง 1.435 เมตร ทำให้ยุ่งยากในการเชื่อมต่อ
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลกลางได้ให้เงินสนับสนุนแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อลงทุนปรับปรุงเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างมลรัฐต่างๆ ให้เป็นขนาด Standard Gauge ทั้งหมด เป็นต้นว่า การเปลี่ยนขนาดของรางรถไฟจากขนาด Broad Gauge มาเป็น Standard Gauge ในเส้นทางระหว่างนครเมลเบิร์นกับนครแอดดิเลตซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2538
ประการที่สอง ขยายเครือข่ายทางรถไฟ โดยมีโครงการสำคัญ คือ การลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท ก่อสร้างทางรถไฟเส้นทาง AustralAsia Railway ซึ่งมีระยะทาง 1,420 กม. เชื่อมระหว่างเมืองอลิสสปริงกับเมืองดาร์วิน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางตอนเหนือของประเทศ ได้เปิดดำเนินการต้นปี 2547 พร้อมกับลงทุนอีก 2,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างท่าเรือ East Am Port ที่เมืองดาร์วิน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เมืองดาร์วินเป็นประตูเชื่อมระหว่างออสเตรเลียกับทวีปเอเชีย
ประการที่สาม ส่งเสริมการขนส่งสินค้าโดยรถไฟ เป็นต้นว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 รัฐบาลของมลรัฐนิวเซาท์เวลล์ ได้ออกนโยบาย NSW Port Freight Plan กำหนดเป้าหมายการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เข้าออกท่าเรือ Port Botany ว่าต้องขนส่งทางรถไฟเป็นสัดส่วนอย่างต่ำ 40% ของทั้งหมด
นอกจากนี้ รัฐบาลบางมลรัฐยังได้กำหนดให้การขนถ่านหินต้องดำเนินการทางรถไฟ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น โดยในปี 2548 ออสเตรเลียส่งออกถ่านหิน 234 ล้านตัน ขนส่งไปยังท่าเรือโดยใช้รถไฟเป็นสัดส่วนสูงถึง 97% ของทั้งหมด โดยเฉพาะการขนส่งไปลงเรือเดินสมุทรที่ท่าเรือนิวคาสเซิล ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีปริมาณขนถ่ายถ่านหินปริมาณมากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณขนถ่ายถ่านหินที่ท่าเรือแห่งนี้เป็นจำนวนมากถึง 80 ล้านตัน/ปี
ประการที่สี่ ลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยปัญหาในระยะที่ผ่านมา คือ อุปสงค์ต่อการขนถ่ายสินค้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากประเทศจีน ยิ่งไปกว่านั้น เส้นทางรถไฟยังใช้สำหรับขบวนรถไฟขนส่งมวลชน ทำให้ขบวนรถไฟขนส่งถ่านหินต้องเสียเวลาหยุดรอรถไฟขนส่งมวลชน ทำให้โครงสร้างพื้นฐานไม่สามารถรองรับปริมาณขนถ่ายถ่านหินที่เพิ่มขึ้นได้ จึงต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลออสเตรเลียได้วางแผนก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมในจุดที่เป็นคอขวด เป็นต้นว่า การก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มเติมในเส้นทาง Southern Sydney Freight Line ความยาว 36 กม. สำหรับรถไฟขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ เพื่อลดปัญหาความล่าช้าที่รถไฟขนส่งสินค้าต้องเสียเวลาจอดรอรถไฟขนส่งผู้โดยสาร
ประการที่ห้า ปัจจุบันมีหน่วยงานจำนวนมากเป็นเจ้าของทางรถไฟ ทำให้ยากในการเจรจาเพื่อเปิดให้บริการรถไฟเป็นระยะทางไกลซึ่งต้องใช้เส้นทางรถไฟของหลายบริษัท เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น รัฐบาลกลางและรัฐบาลของมลรัฐต่างๆ จึงก่อตั้งบริษัท Australian Rail Track Corporation (ARTC) ขึ้นเมื่อปี 2541 เพื่อเป็น One Stop Service โดยปัจจุบันบริษัท ARTC ได้บริหารทางรถไฟเป็นระยะทางรวม 7,600 กม.
สำหรับการขนส่งทางถนนนั้น ปัจจุบันออสเตรเลียมีทางหลวงและถนนยาว 810,000 กม. การขนส่งทางถนนก็นับว่าสำคัญมากสำหรับออสเตรเลีย โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งไปยังลูกค้า และขนส่งในเส้นทางระยะไม่ไกลมากนัก ทำให้ไม่คุ้มที่จะขนส่งทางรถไฟ
นวัตกรรมสำคัญที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย คือ รถบรรทุกพ่วงแบบที่เรียกว่า B-Double ซึ่งความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ได้พัฒนาขึ้นใช้ในประเทศแคนาดามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 และต่อมาได้ใช้กันแพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย
ข้อดีของรถบรรทุกพ่วงแบบ B-double คือ สามารถขนส่งตู้ตอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ได้มากถึงจำนวน 3 ตู้ มากกว่ารถกึ่งพ่วงปกติ (Semi-trailer) ซึ่งขนส่งได้ครั้งละ 2 ตู้ ยิ่งไปกว่านั้น กรณีเป็นรถบรรทุกพ่วงแบบ Super B-double แล้ว สามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ได้มากถึง 4 ตู้ รวมน้ำหนักสินค้าและรถยนต์มากถึง 68 ตัน ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันออสเตรเลียได้พัฒนารถบรรทุกพ่วงให้มีน้ำหนักเบาลง ส่งผลทำให้สามารถบรรทุกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าน้ำหนักรถยนต์รวมกับสินค้าเท่าเดิม
อนึ่ง สำหรับรถบรรทุกพ่วงแบบ B-Double นี้ ได้เคยทดลองขนส่งในประเทศไทยเมื่อปี 2547 โดยกรมการขนส่งทางบก ร่วมกับบริษัท พนัสแอสเซมบลี่ย์ จำกัด และบริษัท ลินฟอกซ์โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใน 3 เส้นทาง พบว่ารถบรรทุก B-double ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่ารถกึ่งพ่วงและรถ 10 ล้อ ประมาณ 20% และ 30% ตามลำดับ
สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจโลจิสติกส์ของออสเตรเลีย คือ บริษัท Toll ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี เนื่องจากปัจจุบันได้เข้ามาดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ในระยะที่ผ่านมาบริษัท Toll ได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะภายหลังการซื้อกิจการของบริษัท Patrick ของออสเตรเลียเมื่อปี 2549 ทำให้กลายเป็นบริษัทโลจิสติกส์ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียและเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
การขยายกิจการข้างต้น ทำให้บริษัท Toll เป็นเจ้าของทั้งกิจการรถขนส่งทางรถบรรทุกใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย กิจการขนส่งพัสดุด่วนใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย กิจการขนส่งทางรถไฟใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย กิจการท่าเรือ นอกจากนี้ ยังถือหุ้นใหญ่ คือ 62.8% ในสายการบินเวอร์จินบลู ซึ่งนับเป็นสายการบินใหญ่เป็นอันดับ 2 ของออสเตรเลีย โดยเป็นรองเฉพาะสายการบิน Qantas เท่านั้น
การขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัท Toll ได้สร้างความไม่สบายใจแก่หน่วยงาน Australian Competition and Consumer Commission เป็นอย่างมาก เนื่องจากเห็นว่ามีกิจการหลากหลายทั้งในส่วนการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ สายการเดินเรือ สายการบิน ฯลฯ จึงมีอำนาจเหนือตลาด โดยหวั่นเกรงว่าบริษัท Toll จะผูกขาดในธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจต้องจ่ายค่าบริการที่แพงยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบต่อบริษัทคู่แข่ง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้อวิตกกังวลข้างต้น เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 บริษัท Toll ได้แยกกิจการในส่วนรถไฟและท่าเรือ ออกไปจากบริษัท Toll โดยก่อตั้งเป็นบริษัทอิสระซึ่งมีชื่อว่าบริษัท Asciano โดยบริษัท Toll คงเหลือเฉพาะในส่วนรถบรรทุก เดินเรือ โลจิสติกส์ รวมถึงการถือหุ้นในสายการบินเวอร์จินบลูเท่านั้น
ภายหลังแยกกิจการออกเป็น 2 บริษัท ในส่วนบริษัท Toll จะมีรายได้ปีละประมาณ 7,600 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท โดยมีพนักงานมากกว่า 22,000 คน ส่วนบริษัท Asciano จะมีรายได้น้อยกว่า คือ ปีละประมาณ 2,600 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 75,000 ล้านบาท และมีพนักงานรวมประมาณ 8,000 คน
แม้ภายหลังแยกกิจการออกเป็น 2 บริษัท ทั้งบริษัท Toll และบริษัท Asciano ความจริงแล้วยังคงมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 บริษัทจะมีคณะกรรมการและผู้บริหารแยกจากกันโดยเด็ดขาด และการเจรจาธุรกิจระหว่างกันจะอยู่ในรูปเจรจาต่อรองเสมือนกับเป็นบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงกับหน่วยงาน Australian Competition and Consumer Commission
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่กองการตลาดเพื่อการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 หรือที่ marketing@boi.go.th