.
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ อยากให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเอาคำว่า “สังคม” มาอยู่หน้าคำ “เศรษฐกิจ”
เพื่อเป็นการจัดความสำคัญกันใหม่
นั่นเป็นความเห็นจากการไปกล่าวเปิดสัมมนาใหญ่ประจำปี 2550 ของ “สภาพัฒน์” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ปีนี้กำหนดชื่อหัวข้อ คือ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ซึ่งเป็นการบอกว่า ให้มุ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาไปที่คนและสังคมเป็นสำคัญ
ก็นับว่าสอดคล้องกับความเห็นของนายกรัฐมนตรี
ส่วนจะถึงกับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานวางแผนพัฒนาระดับชาติที่เรียกกันติดปากว่า “สภาพัฒน์” แห่งนี้เป็น สำนักงานพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือไม่ ก็เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ง่ายนักในแง่พิธีการ แม้แค่สลับคำก็ตาม
แต่ “ผลสัมฤทธิ” จากการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น สำคัญกว่า
เพราะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 ซึ่งเริ่มใช้ พ.ศ. 2550-2554 ที่มีการกำหนดเข็มมุ่งในการพัฒนาเพื่อให้เกิด “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) และยังให้ยึดแนวปฏิบัติตาม “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมทั้งการบูรณาการแนวการพัฒนาเป็นองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา
นับเป็นแนวคิดที่ดูดีมากเลย
ยิ่งเมื่อดูคำอธิบาย เป้าหมาย “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ว่าหมายถึง
“สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวม และสัมพันธ์กันได้อย่างถูกต้อง ดีงาม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
หมอประเวศ วะสี ผู้นำความคิดทางสังคมคนสำคัญ บอกบนเวทีอภิปรายว่า “แผน 10” จะเป็น “จุดเปลี่ยน” และหวังว่าภายใน 5 ปี ของ “แผนชาติ” ดังกล่าวน่าจะเห็นได้ว่าสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ปัญหาจึงอยู่ที่จะทำอย่างไร หรือมียุทธวิธีอะไรให้ได้ผลเป็นจริงตามแผนเชิงยุทธศาสตร์
หมอประเวศ ได้แนะ “พลัง 3” ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่
1. พลังการสร้างฐานของความอยู่เย็นเป็นสุข คือ (1) การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ก็ต้องส่งเสริมการประกอบอาชีพทั้งปวงที่สุจริต (2) การสร้างชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งให้มีประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่น (3) ความเป็นประชาสังคมที่มีการรวมตัวกันร่วมคิด ร่วมทำเพื่อส่วนรวม
2. พลังแห่งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วม เช่น ทุกจังหวัด ทุกท้องถิ่น เข้าใจตรงกันว่าต้องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณธรรมและปัญญา ทุกพื้นที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน แต่เป้าหมายเฉพาะท้องถิ่นอาจต่างกันได้
3. พลังแห่งการจัดการ ด้วยปัญญาและความรู้ตั้งแต่ระดับชาติ ลงไปถึงระดับชุมชน หรือวัดก็ตาม หากมีระบบการจัดการที่ดีก็จะเกิดประสิทธิภาพ และผลดีต่อสังคม
คราวนี้มาพิจารณารายงาน “สถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ที่มีดัชนีชี้วัดล่าสุดก็พบว่าน่าเป็นห่วง และต้องรีบแก้ไข เช่น
1. ภาวะความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย แม้จะมีทิศทางดีขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับไม่น่าพอใจ
ค่าดัชนีรวมปี 2544 อยู่ที่ 61.41% เพิ่มเป็น 64.02% ในปี 2549
2. ปัจจัยพื้นฐานร่วมหลายเรื่องยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ได้แก่
การพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและเป็นธรรม และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดี และระบบนิเวศน์ที่สมดุลร้อยละ 67.87 และ 66.36 ตามลำดับ
ขณะที่การสร้างประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 61.17)
ส่วนการเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง อยู่ในระดับต่ำอย่างน่าเป็นห่วง (ร้อยละ 58.75 และ 54.58 ตามลำดับ)
3. แม้คนไทยมีสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จิตสำนึกในเรื่อง “คุณธรรม” กลับเสื่อมถอยลง เนื่องจากวิถีชีวิต และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การแข่งขันเพื่อความอยู่รอด หรืออยู่เหนือกว่า มุ่งวัตถุนิยมและบริโภคนิยม นำไปสู่ปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและรุนแรงขึ้นทุกขณะ
4. แม้คนไทยมีสัมมาชีพมั่นคงมากขึ้น ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงขึ้น แต่ครัวเรือนเกือบครึ่งของประเทศยังไม่สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ และมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
หนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 9.33 ต่อปี คือ จาก 82,485 บาท ในปี 2545 เพิ่มเป็น 116,588 บาท ในปี 2549
ข้อมูลเหล่านี้ก็เลยกลายเป็นคำถามที่ผู้คนต้องนึกถึง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นเจ้ากระทรวงแถมเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ย่อมเข้าใจปัญหาดี
จากแผน 8 ที่เริ่มเน้น “คนเป็นศูนย์กลาง” การพัฒนา และส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งคุณไพบูลย์ บอกว่า นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิดที่สำคัญ
แต่น่าเสียดายที่ยังไม่เกิดการเปลี่ยน “วิธีคิด” และ “ระบบคิด” การเปลี่ยนแปลงจึงยังไม่เกิดขึ้นจริงจัง
ในวันนั้น “สภาพัฒน์” โดนมอบการบ้านให้ไปจัดทำดัชนีชี้วัดที่เจาะจงเป็นพื้นที่ ไม่ใช่เป็นภาพใหญ่ของ “คนไทย” ซึ่งอาจไม่ตรงกับคนในพื้นที่
แต่วิธีบริหารจัดการให้เกิดผลตามแผน 10 นั้น เป็นภารกิจของรัฐบาลที่ได้เวลาดีตอนนี้เลย
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ อยากให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเอาคำว่า “สังคม” มาอยู่หน้าคำ “เศรษฐกิจ”
เพื่อเป็นการจัดความสำคัญกันใหม่
นั่นเป็นความเห็นจากการไปกล่าวเปิดสัมมนาใหญ่ประจำปี 2550 ของ “สภาพัฒน์” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ปีนี้กำหนดชื่อหัวข้อ คือ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ซึ่งเป็นการบอกว่า ให้มุ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาไปที่คนและสังคมเป็นสำคัญ
ก็นับว่าสอดคล้องกับความเห็นของนายกรัฐมนตรี
ส่วนจะถึงกับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานวางแผนพัฒนาระดับชาติที่เรียกกันติดปากว่า “สภาพัฒน์” แห่งนี้เป็น สำนักงานพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือไม่ ก็เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ง่ายนักในแง่พิธีการ แม้แค่สลับคำก็ตาม
แต่ “ผลสัมฤทธิ” จากการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น สำคัญกว่า
เพราะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 ซึ่งเริ่มใช้ พ.ศ. 2550-2554 ที่มีการกำหนดเข็มมุ่งในการพัฒนาเพื่อให้เกิด “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) และยังให้ยึดแนวปฏิบัติตาม “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมทั้งการบูรณาการแนวการพัฒนาเป็นองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา
นับเป็นแนวคิดที่ดูดีมากเลย
ยิ่งเมื่อดูคำอธิบาย เป้าหมาย “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ว่าหมายถึง
“สภาวะที่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวม และสัมพันธ์กันได้อย่างถูกต้อง ดีงาม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
หมอประเวศ วะสี ผู้นำความคิดทางสังคมคนสำคัญ บอกบนเวทีอภิปรายว่า “แผน 10” จะเป็น “จุดเปลี่ยน” และหวังว่าภายใน 5 ปี ของ “แผนชาติ” ดังกล่าวน่าจะเห็นได้ว่าสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ปัญหาจึงอยู่ที่จะทำอย่างไร หรือมียุทธวิธีอะไรให้ได้ผลเป็นจริงตามแผนเชิงยุทธศาสตร์
หมอประเวศ ได้แนะ “พลัง 3” ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่
1. พลังการสร้างฐานของความอยู่เย็นเป็นสุข คือ (1) การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ก็ต้องส่งเสริมการประกอบอาชีพทั้งปวงที่สุจริต (2) การสร้างชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งให้มีประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่น (3) ความเป็นประชาสังคมที่มีการรวมตัวกันร่วมคิด ร่วมทำเพื่อส่วนรวม
2. พลังแห่งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วม เช่น ทุกจังหวัด ทุกท้องถิ่น เข้าใจตรงกันว่าต้องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณธรรมและปัญญา ทุกพื้นที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน แต่เป้าหมายเฉพาะท้องถิ่นอาจต่างกันได้
3. พลังแห่งการจัดการ ด้วยปัญญาและความรู้ตั้งแต่ระดับชาติ ลงไปถึงระดับชุมชน หรือวัดก็ตาม หากมีระบบการจัดการที่ดีก็จะเกิดประสิทธิภาพ และผลดีต่อสังคม
คราวนี้มาพิจารณารายงาน “สถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ที่มีดัชนีชี้วัดล่าสุดก็พบว่าน่าเป็นห่วง และต้องรีบแก้ไข เช่น
1. ภาวะความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย แม้จะมีทิศทางดีขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับไม่น่าพอใจ
ค่าดัชนีรวมปี 2544 อยู่ที่ 61.41% เพิ่มเป็น 64.02% ในปี 2549
2. ปัจจัยพื้นฐานร่วมหลายเรื่องยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ได้แก่
การพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและเป็นธรรม และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดี และระบบนิเวศน์ที่สมดุลร้อยละ 67.87 และ 66.36 ตามลำดับ
ขณะที่การสร้างประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 61.17)
ส่วนการเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง อยู่ในระดับต่ำอย่างน่าเป็นห่วง (ร้อยละ 58.75 และ 54.58 ตามลำดับ)
3. แม้คนไทยมีสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จิตสำนึกในเรื่อง “คุณธรรม” กลับเสื่อมถอยลง เนื่องจากวิถีชีวิต และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การแข่งขันเพื่อความอยู่รอด หรืออยู่เหนือกว่า มุ่งวัตถุนิยมและบริโภคนิยม นำไปสู่ปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและรุนแรงขึ้นทุกขณะ
4. แม้คนไทยมีสัมมาชีพมั่นคงมากขึ้น ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงขึ้น แต่ครัวเรือนเกือบครึ่งของประเทศยังไม่สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ และมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
หนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 9.33 ต่อปี คือ จาก 82,485 บาท ในปี 2545 เพิ่มเป็น 116,588 บาท ในปี 2549
ข้อมูลเหล่านี้ก็เลยกลายเป็นคำถามที่ผู้คนต้องนึกถึง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นเจ้ากระทรวงแถมเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ย่อมเข้าใจปัญหาดี
จากแผน 8 ที่เริ่มเน้น “คนเป็นศูนย์กลาง” การพัฒนา และส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งคุณไพบูลย์ บอกว่า นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิดที่สำคัญ
แต่น่าเสียดายที่ยังไม่เกิดการเปลี่ยน “วิธีคิด” และ “ระบบคิด” การเปลี่ยนแปลงจึงยังไม่เกิดขึ้นจริงจัง
ในวันนั้น “สภาพัฒน์” โดนมอบการบ้านให้ไปจัดทำดัชนีชี้วัดที่เจาะจงเป็นพื้นที่ ไม่ใช่เป็นภาพใหญ่ของ “คนไทย” ซึ่งอาจไม่ตรงกับคนในพื้นที่
แต่วิธีบริหารจัดการให้เกิดผลตามแผน 10 นั้น เป็นภารกิจของรัฐบาลที่ได้เวลาดีตอนนี้เลย