.
รายงาน “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” วันนี้, น่าจะถือว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างชัดเจนที่สุด โดย คตส. ไม่ต้องตั้งสำนวนสอบสวน ส่งฟ้องยื่นฟ้องใดๆ เพราะการกระทำนี้สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องได้ คือ แผ่นดินของพระราชอาณาจักรไทยประมาณ 250 ไร่ที่อยู่ในความยึดครอง หรือมีทหารต่างชาติเข้ามาประจำการอยู่อย่างเกือบเป็นการถาวร
แม้ว่าจะมีความคาบเกี่ยวกับรัฐบาล “ชวน 2” ที่รัฐบาล “ทักษิณ” เข้ามารับช่วงต่อใน พ.ศ. 2543 โดยปัญหานี้ น่าจะได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ก็ไม่ได้มีนโยบายเช่นว่านั้น
ปล่อยให้ปัญหาพอกพูนมานานวัน-นานปี, จนกลายเป็นว่า ไทยเราได้ยินยอมเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับพม่าไปแล้วโดยปริยาย เพราะไม่ได้มีการขัดขืนป้องกัน หรือแสดงความเป็นผู้มีอธิปไตยใดๆ ต่อดินแดนส่วนนั้น เพราะกองกำลังทหารพม่าเข้ามาประจำการอยู่อย่างเปิดเผยเหมือนกับว่าแผ่นดินส่วนนั้นเป็นของเขา
แผ่นดินที่มีปัญหาจากการที่ปักปันเขตแดนยังไม่เรียบร้อย ทั้งสองชาติที่มีเขตแดนติดต่อกัน จะต่างถอยออกมาให้พ้นบริเวณนั้น ให้เป็นพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อรอการแก้ไขปัญหาอย่างถาวรต่อไป ดินแดนที่มีปัญหาเช่นนี้ ไทยกับมาเลเซียก็มีปัญหากันอยู่หลายจุด แต่ก็แก้ไขโดยลักษณะดังกล่าวโดยให้เป็นพื้นที่ “โนแมนแลนด์” (No Manland)
แต่สำหรับพื้นที่ “เหนือท่าตอน” ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของพื้นที่ในบทท้ายของรายงานวันนี้, ไม่ได้อยู่ในลักษณะดังกล่าวคือ เป็นดินแดนที่ไทยมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ตลอดมา แต่เพิ่งจะเกิดปัญหาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ และปัญหาดังกล่าวน่าจะได้รับการแก้ไขในสมัยรัฐบาลทักษิณ แต่ก็ไม่ได้ทำกัน
ทั้งๆ ที่ดินแดนส่วนนี้ มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับนโยบายปราบปรามยาเสพติด ที่ประกาศเอาจริงเอาจัง แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า นโยบายที่ว่านั้นหวังผลอย่างจริงจัง หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชานิยม เพราะพื้นที่ตอนนั้นเป็นทั้งปากและจมูกของ “ว้า” ผู้ผลิตยาเสพติดรายใหญ่ที่สุดของโลก เพราะไม่ได้มีแต่ยาบ้าเพียงอย่างเดียว ทั้งยาอี ยาไอซ์ สารพัดอย่างที่ว้าผลิตได้หมด รวมทั้งยาเสพติดชนิดใหม่ๆ ที่ตั้งสูตรตำรับขึ้นมาเองโดยเฉพาะ
พื้นที่ตรงนี้-คือพื้นที่จะกล่าวถึงต่อไปว่าเกี่ยวกับว้าและยาเสพติดอย่างไร
เรามองในประเด็นแรกคือ ลักษณะของดินแดนที่ถูกกองทหารพม่ารุกล้ำเข้ามาและยึดครองเสียก่อน ว่าเหตุใดรัฐบาลที่ผ่านมา จึงไม่ดำเนินการผลักดันหรือทำอะไรที่เป็นการแสดงออกถึงการรักษาอธิปไตยและหวงแหนแผ่นดิน ซึ่งไม่ใช่ตารางนิ้วเดียว แต่มีเนื้อที่ถึง 250 ไร่ และยังเป็นดินแดนจุดที่ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางทหาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติด เพราะเป็นช่องทางเข้าออกของว้า
โดยเฉพาะเป็นเส้นทางสู่ “เมืองยอน” ที่ถือว่าเป็นเมืองหลวงของชนเผ่าว้า
ปล่อยให้เป็นเส้นทางเสมือนประตูสู่ว้า โดยที่มีนโยบายการปราบปรามยาเสพติดซึ่งมีโรงงานใหญ่อยู่ในเขตว้า อันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันทั้งทางนโยบายและการปฏิบัติ แม้ว่าไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ก็ซ่อนเงื่อนความเป็นจริงอยู่อย่างแน่นอน โดยจะต้องมองไปถึงความสัมพันธ์ของ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ อดีตนายกรัฐมนตรีของพม่า และ “ทักษิณ” ซึ่งต่างก็ตกเก้าอี้ด้วยกันทั้งคู่เพราะการปฏิวัติ
ขอปูพื้นทำความเข้าใจต่อรายงานชุดที่จะเป็นรายงานสองตอน ว่า
การจัดการต่อปัญหาภายในของพม่า ได้ใช้ชนกลุ่มน้อยจัดการกันเอง โดยสร้างความแตกแยกแล้วให้เกิดความอ่อนแอ เช่น ความพยายามที่บรรลุผลแล้ว ในการให้กองกำลังกะเหรี่ยงอิสระที่มี พล.อ.โบเมี๊ยะ เป็นผู้นำ (ประกาศตัวเองว่าเป็นประธานาธิบดี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด) แบ่งออกจากกันเป็น 2 ฝ่ายและกลายเป็นศัตรูกันคือ กะเหรี่ยงที่นับถือพระพุทธศาสนาแยกตัวออกไปอยู่กับพม่า และกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาคริสต์ ยังอยู่กับนายพลโบเมี๊ยะ
พม่าใช้กองกำลังชาวว้า เป็นกำลังอาสาสมัคร (กองกาเย่) ของพม่าเข้าจัดการกับกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ของ จาง สี ฝู่ ที่เรารู้จักกันในนามของ “ขุนส่า” จนสลายกองทัพ “ขุนส่า” ได้ในที่สุด และตกลงให้กลุ่มว้ามีเขตปกครองตนเอง เป็นกองกำลังคุมพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน (ไทยใหญ่) และเป็นพื้นที่กันชนระหว่างพม่ากับไทย โดยมอบพื้นที่บริเวณดอยลาง ซึ่งเป็นทิวเขาเส้นเขตแดนไทย-พม่าให้กับว้าทั้งหมด ตั้งแต่บริเวณจุดตั้งต้นดอยลางที่อยู่บริเวณติดกับแม่น้ำกก (คนเหนือเรียกแม่กก) เหนือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดไปทางทิศตะวันออก จนถึงแม่น้ำโขง ซึ่งอีกฟากหนึ่งเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยพื้นที่ทางใต้ดอยลางเป็นเขตอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เขตว้าที่ว่านี้ รวมทั้งจังหวัดท่าขี้เหล็ก ที่อยู่ตรงข้ามอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่เรารู้จักกันดีด้วย
เขตว้าที่พม่าให้ปกครองหรือดูแลตัวเองแบบกึ่งอิสระนี้ มิใช่รัฐอิสระหรือแยกเป็นอีกประเทศหนึ่ง แต่มีฐานะแบบจะเป็นเขตปกครองพิเศษมี “เปา เยา ยี่” เป็นผู้นำ และมียศทางทหารของว้าเองว่าเป็นพลเอก
ที่เรียกกันในไทยว่า “ว้าแดง” แทนที่จะเรียกว่า “ว้า” เฉยๆ เพราะกลุ่มนี้มีการติดต่อสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ และปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แบบจีน จึงเรียกว่า “ว้าแดง”
ว้าแดงมีการปกครองและการทหารของตัวเอง และ “เหวย เซียง กัง” ที่เรารู้จักชื่อกันดีว่าเป็นผู้ผลิตยาบ้ารายใหญ่ในเขตว้านั้น ก็มีตำแหน่งเป็นพันเอก ผู้บังคับการกรมในกองทัพว้านี้ และดูเหมือนว่า “บังรอน” เอเยนต์ยาบ้ารายใหญ่ของไทยที่ไปอยู่กับว้าแดง ก็ได้รับยศเป็น “ร้อยเอก” กลายเป็น ร.อ.สุรชัย ทองเงินฟู อยู่ในกองทัพว้าแดง
พม่าจะให้ว้ามีการปกครองตัวเองในพื้นที่พิเศษก็เป็นเรื่องของพม่า แต่โรงงานผลิตยาบ้า และผงขาวนั้นอยู่ในเขตว้า ทั้ง “เหวย เซียง กัง” และ “บังรอน” เป็นผู้ต้องหามีหมายจับของไทย โดยเฉพาะ “เหวย เซียง กัง” นั้น เป็นผู้ที่สหรัฐอเมริกาต้องการตัว มีหมายจับและรางวัลค่าหัวก้อนใหญ่ด้วยคือ 80 ล้านบาทไทย
ดังนั้น ปัญหาว้าที่ดอยลางจึงเป็นปัญหาของไทย และของโลกจากการเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่สำคัญขึ้นมาแทน “ขุนส่า” ที่ว้าร่วมกับพม่าปราบได้ แล้วว้าก็มาทำยาเสพติดแทนที่ “ขุนส่า”
นโยบายหรือยุทธศาสตร์ของพม่าต่อเขตว้านี้ ทำกันในสมัย พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ เป็นนายกรัฐมนตรีของพม่า และเมื่อ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ หมดอำนาจลงด้วยการปฏิวัติเงียบของ พล.อ.หม่อง เอ ผู้บัญชาการทหารบก แล้วมีนโยบายบางอย่างปรับเปลี่ยนไปบ้าง ซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายงานพิเศษตอนต่อไปถึงรายละเอียด
พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สนิทสนมเป็นพิเศษกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ถึงขนาดที่มีการนำธุรกิจด้านการสื่อสารไปลงทุนในพม่า และให้ลูกชายของ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ เป็นตัวแทนธุรกิจหรือ “นอมินี” ด้วย
คงจะยังจำกันได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวตำหนิการปฏิบัติการทางทหาร ที่เป็นภารกิจปกปิดลับที่สุด ว่าเป็นการปฏิบัติที่เกินความจำเป็น หรือเกินภารกิจที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นการปฏิบัติการ “โอเวอร์ แอ็กชั่น”
สิ่งที่กล่าวว่าเป็น “โอเวอร์ แอ็กชั่น” เกิดขึ้นในสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในปัจจุบันเป็นผู้บัญชาการทหารบก จากการที่มีการปฏิบัติการโดยหน่วยจู่โจมพิเศษจาก กองพันทหารจู่โจม (พัน.จจ.) ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ที่พล.อ.สุรยุทธ์ เคยเป็น ผบ.นสศ. มาก่อน เข้าปฏิบัติการจู่โจมแบบสายฟ้าแลบต่อที่หมายคือ โรงงานผลิตยาเสพติดของ “เหวย เซียง กัง” ที่มีกำลังคุ้มกันหนาแน่น และทหารรบพิเศษทำลายเป้าหมายได้มาก เป็นไปตามแผนที่วางไว้
แต่แทนที่นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นจะให้คำชม
หรืออย่างน้อยทำเป็นนิ่งเฉยเสีย ต่อปฏิกิริยาที่มาจากฝ่ายพม่า
กลับออกมาพูดอย่างตำหนิว่าเป็น “โอเวอร์ แอ็กชั่น” อันมีผลต่อสิ่งที่ได้เคยคิดไว้แล้ว คือความต้องการที่จะย้าย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไปจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
การประกาศนโยบายเป็นศัตรูกับยาเสพติดของรัฐบาล จึงดูออกจะขัดๆ และต้องมีคำถามเมื่อการเข้าทำสงครามกับยาเสพติดแบบละเลงเลือดในครั้งนั้น ได้ผลตอบแทนคือการตำหนิติเตียน
ด้วยเหตุผลและสถานการณ์หรือนโยบายของพม่าที่มีต่อ “ว้า” เป็นดังข้างต้น คือให้ว้ามาเป็นกันชนกับไทย และว้าช่วยปราบกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ด้วย โดยที่เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่านั้น อยู่ที่เส้นเขาดอยลางตลอดแนว โดยพม่าอยู่ทางซีกเขาด้านเหนือ และไทยอยู่ทางด้านใต้ ซึ่งมีการยอมรับและปฏิบัติเช่นนั้นมาเป็นเวลานาน อันเป็นไปตามหลักสากลและตามข้อตกลงระหว่างไทยและอังกฤษ ที่ปกครองพม่าอยู่ในขณะทำสัญญาเส้นเขตแดนต่อกัน และพม่ารับสัญญาเขตแดนนั้นมาจากอังกฤษ เมื่อได้รับเอกราชแล้ว
แต่มีการเปลี่ยนแปลงสมัย “ทักษิณ” และ “ขิ่น ยุ้นต์”
ถนนสายเชียงใหม่-อำเภอฝาง ไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย และข้ามแม่น้ำกกที่บ้านท่าตอน วกไปทางตะวันออก ชิดอยู่กับบริเวณเชิงดอยลาง ซึ่งอยู่ในเขตไทยไปจนถึงอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อันเป็นทางแยกร่วมคือขึ้นไปทางเหนือของแม่จัน ไปอำเภอแม่สาย ตรงไปทางตะวันออกไปสู่แม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน ลงใต้เข้าตัวเมืองจังหวัดเชียงราย ถนนสายนี้หักจากพุ่งขึ้นเหนือไปทางตะวันออกที่บ้านท่าตอน และทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยม (ของแนวถนน) ในบริเวณนั้น
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแนวถนนที่ว่าหักเป็นรูปสามเหลี่ยมนี้ แผ่นดินของไทยที่ติดกับพม่า ก็หักเป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นเดียวกัน โดยมีแม่น้ำกกอยู่ตรงกลางฝั่งเหนือติดกับดอยลางที่ทิวเขายื่นเข้ามาบรรจบชิดแม่น้ำกกและฝั่งใต้ก็เป็นแผ่นดิน
แผ่นดินที่อยู่เหนือแม่น้ำกก และมีพื้นที่ว่างเป็นรูปสามเหลี่ยม เลยไปทางเหนือคือดอยลางนั้น ก็เป็นดินแดนไทยทั้ง 2 ด้าน แม่น้ำกก พื้นที่ซึ่งเป็นรูปจงอยปากนกนี้ มีทหารของกองทัพภาคที่ 3 (กองกำลังนเรศวร) ตั้งฐานปฏิบัติการชายแดนรักษาพื้นที่อยู่ โดยถือว่าตั้งแต่สันเขาดอยลางลงมาทางใต้นั้นเป็นของไทยอย่างชัดเจน และถูกต้องโดยสิทธิตามสัญญาการแบ่งเขตแดนที่ทำไว้กับอังกฤษ และพม่าก็ยอมรับทุกประการว่า เขตแดนของพม่าอยู่อีกฟากสันเขาหนึ่งของดอยลาง
วันนี้เกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่สามเหลี่ยมระหว่างแม่น้ำกกกับดอยลางที่บ้านท่าตอน
บริเวณจงอยปากนกนั้น นอกจากจะเป็นที่ตั้งของฐานปฏิบัติการชายแดนของกองกำลังนเรศวรของไทยแล้ว ยังมีทหารพม่าพร้อมอาวุธหนัก ข้ามสันเขาดอยลาง ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการยึดพื้นที่ด้วย จึงทำให้บริเวณนี้มีทั้งทหารไทยและทหารพม่าตั้งประจันหน้ากันอยู่
เมื่อมีการรุกล้ำอธิปไตย ทหารพม่าข้ามสันเขาดอยลางเข้ามาสู่ที่ราบริมแม่น้ำกกเช่นนี้ ย่อมเป็นการรุกรานอย่างเปิดเผย และทางทหารไทยจะต้องทำการผลักดันทหารพม่าออกไปให้พ้นจากสันเขาดอยลาง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดน คือหากมีการขอร้องหรือใช้การปฏิบัติการโดยละม่อมแล้ว ทหารพม่าที่รุกล้ำเขตแดนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไม่ยอมถอนกำลังออกไป ก็จะต้องใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการผลักดัน
คือการ “รบ” กับพม่า
แต่มี “นโยบาย” หรือคำสั่งจากระดับรัฐบาล คือรัฐบาลทักษิณ ไม่ให้ทำการรบเพื่อผลักดันทหารพม่าให้ออกไปพ้นจากสันเขาดอยลาง ไม่ให้ทหารกระทำการใดๆ ที่สมควรจะต้องทำในการปกป้องรักษาแผ่นดินและอธิปไตยของชาติ พูดง่ายๆ ก็คือ ปล่อยให้ทหารพม่าเข้ามายึดครองพื้นที่นั้นด้วย-สิ่งเหล่านี้ต้องการ “คำตอบ” ทั้งสิ้น
ที่นั่นเป็นเขตจังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดของ “ทักษิณ” เอง
“แม้ว” ลืมบ้านและลืมดอยแล้วหรือ? หรือว่ามีอะไรที่จะไปพูดคุยกับพม่า แอบแฝงด้วยผลประโยชน์เช่นเดียวกับที่เกาะกูด จังหวัดตราด บ้านเหล่ากอหก จังหวัดเลย
รายงาน “ลึก-หกสิบ, ลับ-สี่สิบ” วันนี้, น่าจะถือว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอย่างชัดเจนที่สุด โดย คตส. ไม่ต้องตั้งสำนวนสอบสวน ส่งฟ้องยื่นฟ้องใดๆ เพราะการกระทำนี้สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องได้ คือ แผ่นดินของพระราชอาณาจักรไทยประมาณ 250 ไร่ที่อยู่ในความยึดครอง หรือมีทหารต่างชาติเข้ามาประจำการอยู่อย่างเกือบเป็นการถาวร
แม้ว่าจะมีความคาบเกี่ยวกับรัฐบาล “ชวน 2” ที่รัฐบาล “ทักษิณ” เข้ามารับช่วงต่อใน พ.ศ. 2543 โดยปัญหานี้ น่าจะได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ก็ไม่ได้มีนโยบายเช่นว่านั้น
ปล่อยให้ปัญหาพอกพูนมานานวัน-นานปี, จนกลายเป็นว่า ไทยเราได้ยินยอมเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับพม่าไปแล้วโดยปริยาย เพราะไม่ได้มีการขัดขืนป้องกัน หรือแสดงความเป็นผู้มีอธิปไตยใดๆ ต่อดินแดนส่วนนั้น เพราะกองกำลังทหารพม่าเข้ามาประจำการอยู่อย่างเปิดเผยเหมือนกับว่าแผ่นดินส่วนนั้นเป็นของเขา
แผ่นดินที่มีปัญหาจากการที่ปักปันเขตแดนยังไม่เรียบร้อย ทั้งสองชาติที่มีเขตแดนติดต่อกัน จะต่างถอยออกมาให้พ้นบริเวณนั้น ให้เป็นพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อรอการแก้ไขปัญหาอย่างถาวรต่อไป ดินแดนที่มีปัญหาเช่นนี้ ไทยกับมาเลเซียก็มีปัญหากันอยู่หลายจุด แต่ก็แก้ไขโดยลักษณะดังกล่าวโดยให้เป็นพื้นที่ “โนแมนแลนด์” (No Manland)
แต่สำหรับพื้นที่ “เหนือท่าตอน” ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของพื้นที่ในบทท้ายของรายงานวันนี้, ไม่ได้อยู่ในลักษณะดังกล่าวคือ เป็นดินแดนที่ไทยมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ตลอดมา แต่เพิ่งจะเกิดปัญหาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ และปัญหาดังกล่าวน่าจะได้รับการแก้ไขในสมัยรัฐบาลทักษิณ แต่ก็ไม่ได้ทำกัน
ทั้งๆ ที่ดินแดนส่วนนี้ มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับนโยบายปราบปรามยาเสพติด ที่ประกาศเอาจริงเอาจัง แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า นโยบายที่ว่านั้นหวังผลอย่างจริงจัง หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชานิยม เพราะพื้นที่ตอนนั้นเป็นทั้งปากและจมูกของ “ว้า” ผู้ผลิตยาเสพติดรายใหญ่ที่สุดของโลก เพราะไม่ได้มีแต่ยาบ้าเพียงอย่างเดียว ทั้งยาอี ยาไอซ์ สารพัดอย่างที่ว้าผลิตได้หมด รวมทั้งยาเสพติดชนิดใหม่ๆ ที่ตั้งสูตรตำรับขึ้นมาเองโดยเฉพาะ
พื้นที่ตรงนี้-คือพื้นที่จะกล่าวถึงต่อไปว่าเกี่ยวกับว้าและยาเสพติดอย่างไร
เรามองในประเด็นแรกคือ ลักษณะของดินแดนที่ถูกกองทหารพม่ารุกล้ำเข้ามาและยึดครองเสียก่อน ว่าเหตุใดรัฐบาลที่ผ่านมา จึงไม่ดำเนินการผลักดันหรือทำอะไรที่เป็นการแสดงออกถึงการรักษาอธิปไตยและหวงแหนแผ่นดิน ซึ่งไม่ใช่ตารางนิ้วเดียว แต่มีเนื้อที่ถึง 250 ไร่ และยังเป็นดินแดนจุดที่ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางทหาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติด เพราะเป็นช่องทางเข้าออกของว้า
โดยเฉพาะเป็นเส้นทางสู่ “เมืองยอน” ที่ถือว่าเป็นเมืองหลวงของชนเผ่าว้า
ปล่อยให้เป็นเส้นทางเสมือนประตูสู่ว้า โดยที่มีนโยบายการปราบปรามยาเสพติดซึ่งมีโรงงานใหญ่อยู่ในเขตว้า อันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันทั้งทางนโยบายและการปฏิบัติ แม้ว่าไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ก็ซ่อนเงื่อนความเป็นจริงอยู่อย่างแน่นอน โดยจะต้องมองไปถึงความสัมพันธ์ของ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ อดีตนายกรัฐมนตรีของพม่า และ “ทักษิณ” ซึ่งต่างก็ตกเก้าอี้ด้วยกันทั้งคู่เพราะการปฏิวัติ
ขอปูพื้นทำความเข้าใจต่อรายงานชุดที่จะเป็นรายงานสองตอน ว่า
การจัดการต่อปัญหาภายในของพม่า ได้ใช้ชนกลุ่มน้อยจัดการกันเอง โดยสร้างความแตกแยกแล้วให้เกิดความอ่อนแอ เช่น ความพยายามที่บรรลุผลแล้ว ในการให้กองกำลังกะเหรี่ยงอิสระที่มี พล.อ.โบเมี๊ยะ เป็นผู้นำ (ประกาศตัวเองว่าเป็นประธานาธิบดี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด) แบ่งออกจากกันเป็น 2 ฝ่ายและกลายเป็นศัตรูกันคือ กะเหรี่ยงที่นับถือพระพุทธศาสนาแยกตัวออกไปอยู่กับพม่า และกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาคริสต์ ยังอยู่กับนายพลโบเมี๊ยะ
พม่าใช้กองกำลังชาวว้า เป็นกำลังอาสาสมัคร (กองกาเย่) ของพม่าเข้าจัดการกับกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ของ จาง สี ฝู่ ที่เรารู้จักกันในนามของ “ขุนส่า” จนสลายกองทัพ “ขุนส่า” ได้ในที่สุด และตกลงให้กลุ่มว้ามีเขตปกครองตนเอง เป็นกองกำลังคุมพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน (ไทยใหญ่) และเป็นพื้นที่กันชนระหว่างพม่ากับไทย โดยมอบพื้นที่บริเวณดอยลาง ซึ่งเป็นทิวเขาเส้นเขตแดนไทย-พม่าให้กับว้าทั้งหมด ตั้งแต่บริเวณจุดตั้งต้นดอยลางที่อยู่บริเวณติดกับแม่น้ำกก (คนเหนือเรียกแม่กก) เหนือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดไปทางทิศตะวันออก จนถึงแม่น้ำโขง ซึ่งอีกฟากหนึ่งเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยพื้นที่ทางใต้ดอยลางเป็นเขตอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เขตว้าที่ว่านี้ รวมทั้งจังหวัดท่าขี้เหล็ก ที่อยู่ตรงข้ามอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่เรารู้จักกันดีด้วย
เขตว้าที่พม่าให้ปกครองหรือดูแลตัวเองแบบกึ่งอิสระนี้ มิใช่รัฐอิสระหรือแยกเป็นอีกประเทศหนึ่ง แต่มีฐานะแบบจะเป็นเขตปกครองพิเศษมี “เปา เยา ยี่” เป็นผู้นำ และมียศทางทหารของว้าเองว่าเป็นพลเอก
ที่เรียกกันในไทยว่า “ว้าแดง” แทนที่จะเรียกว่า “ว้า” เฉยๆ เพราะกลุ่มนี้มีการติดต่อสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ และปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แบบจีน จึงเรียกว่า “ว้าแดง”
ว้าแดงมีการปกครองและการทหารของตัวเอง และ “เหวย เซียง กัง” ที่เรารู้จักชื่อกันดีว่าเป็นผู้ผลิตยาบ้ารายใหญ่ในเขตว้านั้น ก็มีตำแหน่งเป็นพันเอก ผู้บังคับการกรมในกองทัพว้านี้ และดูเหมือนว่า “บังรอน” เอเยนต์ยาบ้ารายใหญ่ของไทยที่ไปอยู่กับว้าแดง ก็ได้รับยศเป็น “ร้อยเอก” กลายเป็น ร.อ.สุรชัย ทองเงินฟู อยู่ในกองทัพว้าแดง
พม่าจะให้ว้ามีการปกครองตัวเองในพื้นที่พิเศษก็เป็นเรื่องของพม่า แต่โรงงานผลิตยาบ้า และผงขาวนั้นอยู่ในเขตว้า ทั้ง “เหวย เซียง กัง” และ “บังรอน” เป็นผู้ต้องหามีหมายจับของไทย โดยเฉพาะ “เหวย เซียง กัง” นั้น เป็นผู้ที่สหรัฐอเมริกาต้องการตัว มีหมายจับและรางวัลค่าหัวก้อนใหญ่ด้วยคือ 80 ล้านบาทไทย
ดังนั้น ปัญหาว้าที่ดอยลางจึงเป็นปัญหาของไทย และของโลกจากการเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่สำคัญขึ้นมาแทน “ขุนส่า” ที่ว้าร่วมกับพม่าปราบได้ แล้วว้าก็มาทำยาเสพติดแทนที่ “ขุนส่า”
นโยบายหรือยุทธศาสตร์ของพม่าต่อเขตว้านี้ ทำกันในสมัย พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ เป็นนายกรัฐมนตรีของพม่า และเมื่อ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ หมดอำนาจลงด้วยการปฏิวัติเงียบของ พล.อ.หม่อง เอ ผู้บัญชาการทหารบก แล้วมีนโยบายบางอย่างปรับเปลี่ยนไปบ้าง ซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายงานพิเศษตอนต่อไปถึงรายละเอียด
พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สนิทสนมเป็นพิเศษกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ถึงขนาดที่มีการนำธุรกิจด้านการสื่อสารไปลงทุนในพม่า และให้ลูกชายของ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ เป็นตัวแทนธุรกิจหรือ “นอมินี” ด้วย
คงจะยังจำกันได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวตำหนิการปฏิบัติการทางทหาร ที่เป็นภารกิจปกปิดลับที่สุด ว่าเป็นการปฏิบัติที่เกินความจำเป็น หรือเกินภารกิจที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นการปฏิบัติการ “โอเวอร์ แอ็กชั่น”
สิ่งที่กล่าวว่าเป็น “โอเวอร์ แอ็กชั่น” เกิดขึ้นในสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในปัจจุบันเป็นผู้บัญชาการทหารบก จากการที่มีการปฏิบัติการโดยหน่วยจู่โจมพิเศษจาก กองพันทหารจู่โจม (พัน.จจ.) ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ที่พล.อ.สุรยุทธ์ เคยเป็น ผบ.นสศ. มาก่อน เข้าปฏิบัติการจู่โจมแบบสายฟ้าแลบต่อที่หมายคือ โรงงานผลิตยาเสพติดของ “เหวย เซียง กัง” ที่มีกำลังคุ้มกันหนาแน่น และทหารรบพิเศษทำลายเป้าหมายได้มาก เป็นไปตามแผนที่วางไว้
แต่แทนที่นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นจะให้คำชม
หรืออย่างน้อยทำเป็นนิ่งเฉยเสีย ต่อปฏิกิริยาที่มาจากฝ่ายพม่า
กลับออกมาพูดอย่างตำหนิว่าเป็น “โอเวอร์ แอ็กชั่น” อันมีผลต่อสิ่งที่ได้เคยคิดไว้แล้ว คือความต้องการที่จะย้าย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไปจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
การประกาศนโยบายเป็นศัตรูกับยาเสพติดของรัฐบาล จึงดูออกจะขัดๆ และต้องมีคำถามเมื่อการเข้าทำสงครามกับยาเสพติดแบบละเลงเลือดในครั้งนั้น ได้ผลตอบแทนคือการตำหนิติเตียน
ด้วยเหตุผลและสถานการณ์หรือนโยบายของพม่าที่มีต่อ “ว้า” เป็นดังข้างต้น คือให้ว้ามาเป็นกันชนกับไทย และว้าช่วยปราบกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ด้วย โดยที่เส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่านั้น อยู่ที่เส้นเขาดอยลางตลอดแนว โดยพม่าอยู่ทางซีกเขาด้านเหนือ และไทยอยู่ทางด้านใต้ ซึ่งมีการยอมรับและปฏิบัติเช่นนั้นมาเป็นเวลานาน อันเป็นไปตามหลักสากลและตามข้อตกลงระหว่างไทยและอังกฤษ ที่ปกครองพม่าอยู่ในขณะทำสัญญาเส้นเขตแดนต่อกัน และพม่ารับสัญญาเขตแดนนั้นมาจากอังกฤษ เมื่อได้รับเอกราชแล้ว
แต่มีการเปลี่ยนแปลงสมัย “ทักษิณ” และ “ขิ่น ยุ้นต์”
ถนนสายเชียงใหม่-อำเภอฝาง ไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย และข้ามแม่น้ำกกที่บ้านท่าตอน วกไปทางตะวันออก ชิดอยู่กับบริเวณเชิงดอยลาง ซึ่งอยู่ในเขตไทยไปจนถึงอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อันเป็นทางแยกร่วมคือขึ้นไปทางเหนือของแม่จัน ไปอำเภอแม่สาย ตรงไปทางตะวันออกไปสู่แม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน ลงใต้เข้าตัวเมืองจังหวัดเชียงราย ถนนสายนี้หักจากพุ่งขึ้นเหนือไปทางตะวันออกที่บ้านท่าตอน และทำให้เกิดรูปสามเหลี่ยม (ของแนวถนน) ในบริเวณนั้น
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแนวถนนที่ว่าหักเป็นรูปสามเหลี่ยมนี้ แผ่นดินของไทยที่ติดกับพม่า ก็หักเป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นเดียวกัน โดยมีแม่น้ำกกอยู่ตรงกลางฝั่งเหนือติดกับดอยลางที่ทิวเขายื่นเข้ามาบรรจบชิดแม่น้ำกกและฝั่งใต้ก็เป็นแผ่นดิน
แผ่นดินที่อยู่เหนือแม่น้ำกก และมีพื้นที่ว่างเป็นรูปสามเหลี่ยม เลยไปทางเหนือคือดอยลางนั้น ก็เป็นดินแดนไทยทั้ง 2 ด้าน แม่น้ำกก พื้นที่ซึ่งเป็นรูปจงอยปากนกนี้ มีทหารของกองทัพภาคที่ 3 (กองกำลังนเรศวร) ตั้งฐานปฏิบัติการชายแดนรักษาพื้นที่อยู่ โดยถือว่าตั้งแต่สันเขาดอยลางลงมาทางใต้นั้นเป็นของไทยอย่างชัดเจน และถูกต้องโดยสิทธิตามสัญญาการแบ่งเขตแดนที่ทำไว้กับอังกฤษ และพม่าก็ยอมรับทุกประการว่า เขตแดนของพม่าอยู่อีกฟากสันเขาหนึ่งของดอยลาง
วันนี้เกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่สามเหลี่ยมระหว่างแม่น้ำกกกับดอยลางที่บ้านท่าตอน
บริเวณจงอยปากนกนั้น นอกจากจะเป็นที่ตั้งของฐานปฏิบัติการชายแดนของกองกำลังนเรศวรของไทยแล้ว ยังมีทหารพม่าพร้อมอาวุธหนัก ข้ามสันเขาดอยลาง ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการยึดพื้นที่ด้วย จึงทำให้บริเวณนี้มีทั้งทหารไทยและทหารพม่าตั้งประจันหน้ากันอยู่
เมื่อมีการรุกล้ำอธิปไตย ทหารพม่าข้ามสันเขาดอยลางเข้ามาสู่ที่ราบริมแม่น้ำกกเช่นนี้ ย่อมเป็นการรุกรานอย่างเปิดเผย และทางทหารไทยจะต้องทำการผลักดันทหารพม่าออกไปให้พ้นจากสันเขาดอยลาง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดน คือหากมีการขอร้องหรือใช้การปฏิบัติการโดยละม่อมแล้ว ทหารพม่าที่รุกล้ำเขตแดนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไม่ยอมถอนกำลังออกไป ก็จะต้องใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการผลักดัน
คือการ “รบ” กับพม่า
แต่มี “นโยบาย” หรือคำสั่งจากระดับรัฐบาล คือรัฐบาลทักษิณ ไม่ให้ทำการรบเพื่อผลักดันทหารพม่าให้ออกไปพ้นจากสันเขาดอยลาง ไม่ให้ทหารกระทำการใดๆ ที่สมควรจะต้องทำในการปกป้องรักษาแผ่นดินและอธิปไตยของชาติ พูดง่ายๆ ก็คือ ปล่อยให้ทหารพม่าเข้ามายึดครองพื้นที่นั้นด้วย-สิ่งเหล่านี้ต้องการ “คำตอบ” ทั้งสิ้น
ที่นั่นเป็นเขตจังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดของ “ทักษิณ” เอง
“แม้ว” ลืมบ้านและลืมดอยแล้วหรือ? หรือว่ามีอะไรที่จะไปพูดคุยกับพม่า แอบแฝงด้วยผลประโยชน์เช่นเดียวกับที่เกาะกูด จังหวัดตราด บ้านเหล่ากอหก จังหวัดเลย