"เจโทร"ชี้ ค่าเงินบาทแข็งโป๊กและความรู้สึกในทางลบเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุน ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นเริ่มลดการลงทุนในประเทศไทย ด้านประธานสภาอุตฯ ก็ออกโรง บอกส่งออกเดือดร้อน สำหรับนักบริหารเงินคาดบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง ขณะที่วานนี้ 34.18 บาท/ดอลลาร์ ธปท.ชี้เป็นไปตามกลไกตลาด ผู้ส่งออกอย่าเต้น
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำกรุงเทพฯ เปิดเผยผลการสำรวจสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทยจำนวน 351 รายครั้งล่าสุดเมื่อวานนี้(4) ระบุว่า อารมณ์ความรู้สึกทางธุรกิจต่อประเทศไทย "กำลังแย่ลง" เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ผลการสำรวจของเจโทรพบว่า บริษัทญี่ปุ่นที่บอกว่าจะลดการลงทุนของพวกตนในไทย มีจำนวนมากกว่าพวกที่กำลังวางแผนเพิ่มการลงทุนในประเทศนี้ ขณะที่มูลค่าของการลงทุนที่บริษัทญี่ปุ่นวางแผนไว้สำหรับประเทศไทยในปีนี้ ก็ได้ลดลงมาแล้ว 11% จากเมื่อปี 2546
"ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่เราได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นนี้ ที่แสดงว่าความรู้สึกกำลังย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง" นายโยอิจิ คาโต ประธานเจโทรกรุงเทพฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว
"เราพบว่าความตั้งใจที่จะลงทุนได้คลายตัวไป เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 1 ปีก่อน" เขาพูดต่อ
การสำรวจของเจโทรซึ่งกระทำปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดนี้ได้สอบถามสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 27 เมษายน ถึง 23 พฤษภาคมนั้น พบด้วยว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท คือเรื่องสร้างความวิตกกังวลมากที่สุดให้แก่บรรดาบริษัทญี่ปุ่นในไทย ติดตามด้วยเรื่องความไร้เสถียรภาพทางการเมือง, นโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และต้นทุนแรงงานซึ่งเพิ่มสูงขึ้น
"พวกบริษัทญี่ปุ่นมองว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 37.25 บาทแลกได้ 1 ดอลลาร์ เป็นอัตราที่ยังสามารถทำกำไรได้ แต่อัตราตลาดในปัจจุบันนี้ซึ่งอยู่ที่ 34.49 บาท ทำให้พวกเขาต้องขาดทุนในด้านผลกำไรไป 7.4%" นายคาโตชี้
ทางด้านนายคิโยฮารุ ยูกิโยชิ กรรมการบริหารหอการค้าญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ บอกว่าพวกบริษัทญี่ปุ่นเวลานี้กำลังใช้ท่าทีเฝ้ารอดูไปก่อน ยังไม่ตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ ในประเทศไทย
"เราอาจจะรอกันไปจนกระทั่งถึงการเลือกตั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ หวังใจว่า ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีให้สัญญาไว้" นายยูกิโยชิกล่าวกับเอเอฟพี
"เรื่องเงินบาทแข็งค่าคือเรื่องสำคัญที่พวกเราเป็นห่วงกันในขณะนี้ ถ้าเงินบาทยังคงแข็งต่อไปแล้ว ก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่เราจะโยกย้ายไปเวียดนาม" เขากล่าวต่อ
***บิ๊ก ส.อ.ท.ร้องแบงก์ชาติดูแล
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าได้หารือกับผู้ส่งออกในเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงว่า จะกระทบความสามารถในการแข่งขัน และหากยังแข็งค่าต่อเนื่องไปมากกว่านี้ ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ส.อ.ท. อาจจะขอเข้าพบผู้บริหารธปท.ให้เข้ามาช่วยดูแลค่าเงินบาท โดยเข้ามากำหนดมาตรการไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป แม้ผู้ประกอบการจะเข้าใจว่า เหตุผลการแข็งค่าของเงินบาทนั้น มาจากเงินทุนไหลเข้าตลาดเอเชียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมาจากตลาดหุ้น ที่มีการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศในมูลค่าสูงก็ตาม โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก โดยไตรมาส 2 ปีนี้ ผู้ประกอบการได้พยายามรักษาฐานลูกค้า แต่ก็ไม่ได้กำไรจากการส่งออก ซึ่งหากเป็นเช่นนี้นานเกินไป ก็คงจะกระทบต่อธุรกิจที่ไม่ส่งผลกำไร
นายสันติ กล่าวว่าในภาพรวมเศรษฐกิจ จากสภาวการณ์ด้านการเมืองที่ดีขึ้นและงบประมาณปี 2551 ที่เริ่มเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทำให้สามารถใช้จ่ายได้ทันเวลาในไตรมาส 4 ปีนี้ ประกอบกับการเร่งใช้จ่ายงบประมาณปี 2550 ทั้งงบประมาณ กระตุ้นเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข 4,000 - 5,000 ล้านบาท จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เรียกความมั่นใจกลับคืนมา และกลุ่มรากหญ้าจะมีเงินใช้จ่ายมากขึ้น จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปี จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4
นายบุญกิต จิตรงามปลั่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ ส.อ.ท. กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วง 2 วันนี้ ถือว่าแข็งค่าอย่างผันผวนและเร็วเกินไป โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าไปแล้วร้อยละ 15 จึงขอเรียกร้องให้ ธปท.เข้ามาดูแลและแทรกแซง เพื่อให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพให้มากที่สุด ซึ่งกลุ่มอัญมณีได้รับผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้รายได้เป็นบาทน้อยลง การถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สหรัฐ รวมไปถึงต้นทุนวัตถุดิบ เช่น ทองคำ เงิน ที่แพงขึ้น แม้ว่ายอดส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1 แต่นับว่าต่ำกว่าในหลายปีที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 10
ทั้งนี้ ส.อ.ท.ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดงาน Business Matching Day สำหรับอัญมณี โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจจากธุรกิจเอสเอ็มอีจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย คือ จันทบุรี ตาก และ กรุงเทพฯ ซึ่งการจับคู่ธุรกิจครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างและส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดต้นทุนจากการทำธุรกิจผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยจันทบุรีจะได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบจากจังหวัดตาก และจับคู่ธุรกิจกับคู่ค้าอัญมณีกับทางกรุงเทพฯ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมอัญมณีมีมูลค่าการส่งออกอยู่ใน 10 อันดับแรกของสินค้าส่งออกของไทย และในปี 2549 มีมูลค่าส่งออก 138,992 ล้านบาท
***บาท/ดอลลาร์ปิด 34.18 ส่อแข็งต่อ
เย็นวานนี้ (4 ก.ค.) ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 34.18/19 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 34.25/27 บาท/ดอลลาร์ โดยในระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 34.17 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 34.25 บาท/ดอลลาร์
"เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย ขณะที่ค่าเงินเยนและยูโรวันนี้เคลื่อนไหวทรงตัวในกรอบแคบๆ" นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงเทพ กล่าวและว่า กรอบเงินบาทวันนี้ (5 ก.ค.) คาดว่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 34.10-34.20 บาท/ดอลลาร์
**ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุบาทแข็งจากเงินไหลเข้า
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าเนื่องมาจากเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยในเดือน พ.ค.มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดอื่นนอกจากตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าสักพักก็จะลดความร้อนแรงลงมา เพราะตอนนี้ผู้ส่งออกก็ไม่เร่งขายเหมือนที่ผ่านมา
"ตลาดต่างประเทศแข็งค่ากว่าเดิม เพราะสภาพคล่องเงินบาทไหลไปไม่ถึง ผู้ส่งออกปรับตัวพอสมควร เข้าใจกลไกของตลาดมากขึ้น ตอนนี้ก็นิ่งมาก ผู้ที่นำเข้าก็เข้าซื้อดอลลาร์ด้วย เลยลดแรงกดดันต่อการไหลเข้าตลาดหุ้น ตอนนี้ค่อนข้างสมดุลมากขึ้นกว่าเก่า" ผู้ว่า ธปท.กล่าวและว่า ตั้งแต่ปลายปีจนถึงปัจจุบันบาทแข็งค่าขึ้น 5% ขณะที่อินเดีย 8.9% ส่วนฟิลิปปินส์ 6.7%
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าฯ ธปท. เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง โดยในช่วงเช้าของวานนี้ (4 ก.ค.) ค่าเงินบาทแตะอยู่ที่ระดับ 34.17 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปตามกลไกของตลาด เมื่อมีการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีคนนำเงินดอลลาร์มาแลกเงินบาทมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่หากมีเงินออกไปหลังจากการลงทุน ค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลงมา
"เมื่อค่าเงินบาทยังคงเป็นไปตามปัจจัยในภูมิภาค และความต้องการซื้อขายในตลาด แบงก์ชาติก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกแซง หรือดูแลอะไรเป็นพิเศษ แต่ยังคงจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป ส่วนกรณีที่ผู้ส่งออก มาเรียกร้องให้เราช่วยเข้าไปดูแลค่าเงินบาทนั้น คงจะต้องพิจารณาปัจจัยภาพรวมเป็นหลัก โดยไม่ควรพิจารณาหรือคอมเม้นต์ค่าเงินบาทเป็นรายวัน"
รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่ค่าเงินบาทในปี 2550 ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แม้ธปท.ได้ออกมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% และการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง 100% มาจากเงินต่างชาติที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย เนื่องเงินทุนที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องกันสำรองเงินทุนนำเข้า 30% รวมทั้งมีทางเลือกที่จะทำหรือไม่ทำประกันความเสี่ยง 100% ก็ได้ จึงทำให้ตลาดหุ้นกลายเป็นช่องที่เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนมาก
ประกอบกับตลาดหุ้นไทยยังเป็นการลงทุนที่ต้นทุนถูกที่สุดที่ได้รับผลตอบแทนมากว่าการลงทุนประเภทอื่น ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปี 2550 มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยแล้วจำนวนมาก เห็นได้จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ค่าเงินบาทเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้เงินบาทแข็งค่าไปแล้วกว่า 4% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าที่ ผู้ว่าการ ธปท.คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้าว่าทั้งปีจะแข็งค่าขึ้นประมาณ 3%
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ผู้ส่งออกต้องเข้าใจว่า เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นลักษณะอย่างนี้เพราะบางส่วนก็ปรับตัว บางส่วนก็ได้อานิสงส์ในทางที่ดี ทุกคนจะต้องรอดูสถานการณ์ คาดว่าจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนจะมองในเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าที่จะมองเรื่องการเมือง
ส่วนจำเป็นจะต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินก็ปรับตัวไปตามภาวะของตลาด ยังไม่มีอะไร.
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำกรุงเทพฯ เปิดเผยผลการสำรวจสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทยจำนวน 351 รายครั้งล่าสุดเมื่อวานนี้(4) ระบุว่า อารมณ์ความรู้สึกทางธุรกิจต่อประเทศไทย "กำลังแย่ลง" เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ผลการสำรวจของเจโทรพบว่า บริษัทญี่ปุ่นที่บอกว่าจะลดการลงทุนของพวกตนในไทย มีจำนวนมากกว่าพวกที่กำลังวางแผนเพิ่มการลงทุนในประเทศนี้ ขณะที่มูลค่าของการลงทุนที่บริษัทญี่ปุ่นวางแผนไว้สำหรับประเทศไทยในปีนี้ ก็ได้ลดลงมาแล้ว 11% จากเมื่อปี 2546
"ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่เราได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นนี้ ที่แสดงว่าความรู้สึกกำลังย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง" นายโยอิจิ คาโต ประธานเจโทรกรุงเทพฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว
"เราพบว่าความตั้งใจที่จะลงทุนได้คลายตัวไป เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 1 ปีก่อน" เขาพูดต่อ
การสำรวจของเจโทรซึ่งกระทำปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดนี้ได้สอบถามสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 27 เมษายน ถึง 23 พฤษภาคมนั้น พบด้วยว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท คือเรื่องสร้างความวิตกกังวลมากที่สุดให้แก่บรรดาบริษัทญี่ปุ่นในไทย ติดตามด้วยเรื่องความไร้เสถียรภาพทางการเมือง, นโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และต้นทุนแรงงานซึ่งเพิ่มสูงขึ้น
"พวกบริษัทญี่ปุ่นมองว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 37.25 บาทแลกได้ 1 ดอลลาร์ เป็นอัตราที่ยังสามารถทำกำไรได้ แต่อัตราตลาดในปัจจุบันนี้ซึ่งอยู่ที่ 34.49 บาท ทำให้พวกเขาต้องขาดทุนในด้านผลกำไรไป 7.4%" นายคาโตชี้
ทางด้านนายคิโยฮารุ ยูกิโยชิ กรรมการบริหารหอการค้าญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ บอกว่าพวกบริษัทญี่ปุ่นเวลานี้กำลังใช้ท่าทีเฝ้ารอดูไปก่อน ยังไม่ตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ ในประเทศไทย
"เราอาจจะรอกันไปจนกระทั่งถึงการเลือกตั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเพิ่มการลงทุนในประเทศไทยหรือไม่ หวังใจว่า ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีให้สัญญาไว้" นายยูกิโยชิกล่าวกับเอเอฟพี
"เรื่องเงินบาทแข็งค่าคือเรื่องสำคัญที่พวกเราเป็นห่วงกันในขณะนี้ ถ้าเงินบาทยังคงแข็งต่อไปแล้ว ก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่เราจะโยกย้ายไปเวียดนาม" เขากล่าวต่อ
***บิ๊ก ส.อ.ท.ร้องแบงก์ชาติดูแล
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าได้หารือกับผู้ส่งออกในเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงว่า จะกระทบความสามารถในการแข่งขัน และหากยังแข็งค่าต่อเนื่องไปมากกว่านี้ ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ส.อ.ท. อาจจะขอเข้าพบผู้บริหารธปท.ให้เข้ามาช่วยดูแลค่าเงินบาท โดยเข้ามากำหนดมาตรการไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป แม้ผู้ประกอบการจะเข้าใจว่า เหตุผลการแข็งค่าของเงินบาทนั้น มาจากเงินทุนไหลเข้าตลาดเอเชียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมาจากตลาดหุ้น ที่มีการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศในมูลค่าสูงก็ตาม โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก โดยไตรมาส 2 ปีนี้ ผู้ประกอบการได้พยายามรักษาฐานลูกค้า แต่ก็ไม่ได้กำไรจากการส่งออก ซึ่งหากเป็นเช่นนี้นานเกินไป ก็คงจะกระทบต่อธุรกิจที่ไม่ส่งผลกำไร
นายสันติ กล่าวว่าในภาพรวมเศรษฐกิจ จากสภาวการณ์ด้านการเมืองที่ดีขึ้นและงบประมาณปี 2551 ที่เริ่มเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทำให้สามารถใช้จ่ายได้ทันเวลาในไตรมาส 4 ปีนี้ ประกอบกับการเร่งใช้จ่ายงบประมาณปี 2550 ทั้งงบประมาณ กระตุ้นเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข 4,000 - 5,000 ล้านบาท จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เรียกความมั่นใจกลับคืนมา และกลุ่มรากหญ้าจะมีเงินใช้จ่ายมากขึ้น จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปี จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4
นายบุญกิต จิตรงามปลั่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ ส.อ.ท. กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วง 2 วันนี้ ถือว่าแข็งค่าอย่างผันผวนและเร็วเกินไป โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าไปแล้วร้อยละ 15 จึงขอเรียกร้องให้ ธปท.เข้ามาดูแลและแทรกแซง เพื่อให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพให้มากที่สุด ซึ่งกลุ่มอัญมณีได้รับผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้รายได้เป็นบาทน้อยลง การถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สหรัฐ รวมไปถึงต้นทุนวัตถุดิบ เช่น ทองคำ เงิน ที่แพงขึ้น แม้ว่ายอดส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1 แต่นับว่าต่ำกว่าในหลายปีที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 10
ทั้งนี้ ส.อ.ท.ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดงาน Business Matching Day สำหรับอัญมณี โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจจากธุรกิจเอสเอ็มอีจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย คือ จันทบุรี ตาก และ กรุงเทพฯ ซึ่งการจับคู่ธุรกิจครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างและส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อลดต้นทุนจากการทำธุรกิจผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยจันทบุรีจะได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบจากจังหวัดตาก และจับคู่ธุรกิจกับคู่ค้าอัญมณีกับทางกรุงเทพฯ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมอัญมณีมีมูลค่าการส่งออกอยู่ใน 10 อันดับแรกของสินค้าส่งออกของไทย และในปี 2549 มีมูลค่าส่งออก 138,992 ล้านบาท
***บาท/ดอลลาร์ปิด 34.18 ส่อแข็งต่อ
เย็นวานนี้ (4 ก.ค.) ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 34.18/19 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาด 34.25/27 บาท/ดอลลาร์ โดยในระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 34.17 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 34.25 บาท/ดอลลาร์
"เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากมีเงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย ขณะที่ค่าเงินเยนและยูโรวันนี้เคลื่อนไหวทรงตัวในกรอบแคบๆ" นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงเทพ กล่าวและว่า กรอบเงินบาทวันนี้ (5 ก.ค.) คาดว่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 34.10-34.20 บาท/ดอลลาร์
**ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุบาทแข็งจากเงินไหลเข้า
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าเนื่องมาจากเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยในเดือน พ.ค.มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดอื่นนอกจากตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าสักพักก็จะลดความร้อนแรงลงมา เพราะตอนนี้ผู้ส่งออกก็ไม่เร่งขายเหมือนที่ผ่านมา
"ตลาดต่างประเทศแข็งค่ากว่าเดิม เพราะสภาพคล่องเงินบาทไหลไปไม่ถึง ผู้ส่งออกปรับตัวพอสมควร เข้าใจกลไกของตลาดมากขึ้น ตอนนี้ก็นิ่งมาก ผู้ที่นำเข้าก็เข้าซื้อดอลลาร์ด้วย เลยลดแรงกดดันต่อการไหลเข้าตลาดหุ้น ตอนนี้ค่อนข้างสมดุลมากขึ้นกว่าเก่า" ผู้ว่า ธปท.กล่าวและว่า ตั้งแต่ปลายปีจนถึงปัจจุบันบาทแข็งค่าขึ้น 5% ขณะที่อินเดีย 8.9% ส่วนฟิลิปปินส์ 6.7%
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าฯ ธปท. เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง โดยในช่วงเช้าของวานนี้ (4 ก.ค.) ค่าเงินบาทแตะอยู่ที่ระดับ 34.17 บาทต่อดอลลาร์ สหรัฐว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปตามกลไกของตลาด เมื่อมีการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีคนนำเงินดอลลาร์มาแลกเงินบาทมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่หากมีเงินออกไปหลังจากการลงทุน ค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลงมา
"เมื่อค่าเงินบาทยังคงเป็นไปตามปัจจัยในภูมิภาค และความต้องการซื้อขายในตลาด แบงก์ชาติก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกแซง หรือดูแลอะไรเป็นพิเศษ แต่ยังคงจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป ส่วนกรณีที่ผู้ส่งออก มาเรียกร้องให้เราช่วยเข้าไปดูแลค่าเงินบาทนั้น คงจะต้องพิจารณาปัจจัยภาพรวมเป็นหลัก โดยไม่ควรพิจารณาหรือคอมเม้นต์ค่าเงินบาทเป็นรายวัน"
รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่ค่าเงินบาทในปี 2550 ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แม้ธปท.ได้ออกมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% และการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง 100% มาจากเงินต่างชาติที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย เนื่องเงินทุนที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องกันสำรองเงินทุนนำเข้า 30% รวมทั้งมีทางเลือกที่จะทำหรือไม่ทำประกันความเสี่ยง 100% ก็ได้ จึงทำให้ตลาดหุ้นกลายเป็นช่องที่เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนมาก
ประกอบกับตลาดหุ้นไทยยังเป็นการลงทุนที่ต้นทุนถูกที่สุดที่ได้รับผลตอบแทนมากว่าการลงทุนประเภทอื่น ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปี 2550 มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยแล้วจำนวนมาก เห็นได้จากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ค่าเงินบาทเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้เงินบาทแข็งค่าไปแล้วกว่า 4% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าที่ ผู้ว่าการ ธปท.คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้าว่าทั้งปีจะแข็งค่าขึ้นประมาณ 3%
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ผู้ส่งออกต้องเข้าใจว่า เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นลักษณะอย่างนี้เพราะบางส่วนก็ปรับตัว บางส่วนก็ได้อานิสงส์ในทางที่ดี ทุกคนจะต้องรอดูสถานการณ์ คาดว่าจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนจะมองในเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าที่จะมองเรื่องการเมือง
ส่วนจำเป็นจะต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินก็ปรับตัวไปตามภาวะของตลาด ยังไม่มีอะไร.